backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ริสเพอร์ดาล® (Risperdal®)

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ · ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ข้อบ่งใช้

ริสเพอร์ดาล® (ยาริสเพอริโดน) ใช้สำหรับ

ริสเพอร์ดาล® (Risperdal®) เป็นยาในกลุ่มของยาต้านอาการทางจิตรุ่นที่ 2 (atypical antipsychotics) ยานี้ทำงานโดยการเปลี่ยนการทำงานของสารตามธรรมชาติบางชนิดภายในสมอง

ริสเพอร์ดาล® ใช้เพื่อรักษาอาการบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับสมอง เช่น

  • โรคจิตเภท (Schizophrenia) อาการป่วยทางจิตที่ทำให้เกิดอาการกระวนกระวายใจหรือความคิดที่ผิดปกติ หมดความสนใจในชีวิต และอารมณ์ที่รุนแรงหรือไม่เหมาะสม
  • ช่วงอารมณ์คลุ้มคลั่ง (Episodes of mania) คลุ้มคลั่ง ตื่นเต้นผิดปกติ หรือหงุดหงิด) หรือมีช่วงอารมณ์ผสมผสาน (มีอาการของช่วงคลุ้มคลั่งและซึมเศร้าพร้อมๆ กัน)
  • โรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar disorder) จิตอารมณ์คลุ้มคลั่งและซึมเศร้า (manic depressive disorder) ซึ่งเป็นโรคที่ทำให้เกิดช่วงอารมณ์ซึมเศร้า ช่วงอารมณ์คลุ้มคลั่ง และช่วงอารมณ์ผิดปกติอื่นๆ
  • ปัญหาเกี่ยวกับพฤติกรรม เช่น ก้าวร้าว ทำให้ตนเองบาดเจ็บ และอารมณ์เปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหันของผู้ที่เป็นโรคออทิซึม (autism) ซึ่งเป็นสภาวะที่ทำให้เกิดพฤติกรรมซ้ำๆ มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ยาก และมีปัญหาเกี่ยวกับการสื่อสาร

วิธีการใช้ริสเพอร์ดาล® (ยาริสเพอริโดน)

สำหรับยาเม็ดแบบรับประทาน คุณควรจะ

  • รับประทานริสเพอร์ดาล®ตามที่แพทย์กำหนด ในเรื่องเกี่ยวกับ ขนาดยาและตารางการใช้ยา
  • ปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลบนฉลากยาที่คุณไม่เข้าใจ
  • ใช้หลอดหยดยาที่แถมมา เพื่อตวงริสเพอร์ดาล®รูปแบบสารละลายสำหรับรับประทาน คุณสามารถรับประทานยาสารละลายนั้นพร้อมกับน้ำเปล่า น้ำส้ม กาแฟ หรือนมไขมันต่ำ อย่ารับประทานยาสารละลายพร้อมกับชาหรือน้ำอัดลม
  • อย่าดันเม็ดยาแตกตัวสำหรับรับประทานออกมาจากแผงยา ควรเช็ดมือให้แห้งและลอกแผ่นฟอยด์บนแผงยาออก แกะยาออกมาแล้ววางบนลิ้นอย่างรวดเร็ว เม็ดยาจะค่อยๆ ละลาย และสามารถกลืนลงไปได้พร้อมกับหรือปราศจากน้ำ อย่าเคี้ยวหรือบดเม็ดยา

การเก็บรักษาริสเพอร์ดาล® (ยาริสเพอริโดน)

ริสเพอร์ดาล® ควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ริสเพอร์ดาล® บางชนิดอาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยาหรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัย โปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่ควรทิ้งริสเพอร์ดาล®ลงในชักโครก หรือเทลงในท่อระบายน้ำ เว้นแต่ได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้องเมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน โปรดสอบถามเภสัชกรเพิ่มเติม เกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ริสเพอร์ดาล® (ยาริสเพอริโดน)

ก่อนใช้ยานี้ คุณควรจะทราบว่า

  • ผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม (dementia) ซึ่งเป็นความผิดปกติของสมองที่ส่งผลกระทบกับความจำ ความคิดอย่างชัดเจน การสื่อสาร และการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน และยังอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์และลักษณะนิสัย ที่กำลังใช้ยาระงับอาการทางจิต (ยารักษาอาการป่วยทางจิต) เช่น ริสเพอร์ดาล® อาจจะมีความเสี่ยงในการเสียชีวิตระหว่างการรักษาเพิ่มขึ้น
  • ผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม อาจจะมีโอกาสมากกว่าที่จะเป็นโรคหลอดเลือดสมอง หรือภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว (mini stroke) ระหว่างการรักษา
  • โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบ หากคุณต้องรับการผ่าตัด รวมถึงการผ่าตัดทำฟัน
  • ริสเพอร์ดาล® อาจทำให้คุณง่วงซึม อย่าขับรถหรือใช้เครื่องจักรจนกว่าคุณจะทราบว่ายานี้ส่งผลต่อคุณอย่างไร
  • คุณอาจจะมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง (hyperglycemia) ขณะที่กำลังใช้ยานี้ แม้ว่าคุณจะไม่ได้เป็นโรคเบาหวานอยู่
  • หากคุณเป็นโรคจิตเภท คุณมักจะมีโอกาสเป็นโรคเบาหวาน มากกว่าผู้ที่ไม่ได้เป็นโรคจิตเภท และใช้ริสเพอร์ดาล® หรือยาที่คล้ายคลึงกัน ที่อาจจะเพิ่มความเสี่ยงนี้
  • ริสเพอร์ดาล® อาจทำให้ร่างกายของคุณเย็นลงได้ยากขึ้นเมื่อร่างกายร้อนหรืออุ่นขึ้นจากที่ร่างกายเย็นมาก โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบ หากคุณวางแผนที่จะออกกำลังกายอย่างหนัก หรือเปิดรับอุณภูมิสูงหรือต่ำ
  • ริสเพอร์ดาล® อาจทำให้เกิดอาการวิงเวียน หน้ามืด และหมดสติเมื่อคุณลุกขึ้นจากท่านอนเร็วเกินไป

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือ เกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้

ริสเพอร์ดาล® จัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์ หมวด D โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A= ไม่มีความเสี่ยง
  • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C= อาจจะมีความเสี่ยง
  • D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X= ห้ามใช้
  • N= ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ริสเพอร์ดาล® (ยาริสเพอริโดน)

ริสเพอร์ดาล® อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบหากอาการเหล่านี้รุนแรงหรือไม่หายไป

  • คลื่นไส้
  • อาเจียน
  • ท้องร่วง
  • ท้องผูก
  • แสบร้อนกลางอก
  • ปากแห้ง
  • น้ำลายเพิ่มขึ้น
  • ความอยากอาหารเพิ่มขึ้น
  • น้ำหนักเพิ่มขึ้น
  • ปวดท้อง
  • วิตกกังวล
  • กระสับกระส่าย
  • ร้อนรน
  • ฝันมากกว่าปกติ
  • นอนหลับได้ยากหรือนอนหลับไม่สนิท
  • เต้านมโตขึ้นหรือมีสารคัดหลั่งจากเต้านม
  • ประจำเดือนมาช้าหรือขาดประจำเดือน
  • สมรรถภาพทางเพศลดลง
  • มีปัญหากับการมองเห็น
  • มีอาการปวดกล้ามเนื้อหรือข้อต่อ
  • ผิวแห้งหรือเปลี่ยนสี
  • ปัสสาวะติดขัด

ผลข้างเคียงบางอย่างอาจจะรุนแรง หากคุณมีอาการดังต่อไปนี้ หรือเกิดผลข้างเคียงที่อยู่ในส่วนของคำเตือนที่สำคัญ หรือส่วนของข้อควรระวังพิเศษ โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบในทันที

  • เป็นไข้
  • กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง
  • สับสน
  • ชีพจรเต้นเร็วหรือผิดปกติ
  • เหงื่อออก
  • การเคลื่อนไหวของใบหน้าหรือร่างกายผิดปกติ
  • หมดสติ
  • อาการชัก
  • การเคลื่อนไหวเชื่องช้าหรือเดินลากขาไปมา
  • ผดผื่น
  • ลมพิษ
  • คัน
  • หายใจติดขัดหรือกลืนลำบาก
  • อวัยวะเพศชายแข็งตัวแบบมีอาการปวดหรือนานหลายชั่วโมง

ริสเพอร์ดาล® อาจทำให้เด็กมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาดไว้ และอาจทำให้เด็กชายหรือวัยรุ่นชายมีขนาดเต้านมใหญ่ขึ้น โปรดปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับความเสี่ยงในการใช้ยานี้กับเด็ก

ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้ หรืออาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ริสเพอร์ดาล® อาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาใดๆ โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ยาที่อาจมีปฏิกิริยากับยานี้ได้แก่

  • ยาต้านซึมเศร้า (Antidepressants)
  • ยาคาร์บาเมเซพีน (Carbamazepine) อย่างเทเกรทอล (Tegretol)
  • ยาไซเมทิดีน (Cimetidine) อย่างทากาเมต (Tagamet)
  • ยาโคลซาปีน (Clozapine) อย่างโคลซาริล (Clozaril)
  • ยาโดพามีน อะโกนิสต์ (Dopamine agonists) เช่น ยาโบรโมคริปทีน (bromocriptine) อย่างพาร์โลเดล (Parlodel) ยาคาเบอร์โกลีน (cabergoline) อย่างดอสทิเน็กซ์ (Dostinex) ยาเลโวโดพา (levodopa) อย่างโดพาร์ (Dopar) หรือลาโรโดพา (Larodopa) ยาเพอร์โกไลด์ (pergolide) อย่างเพอร์แมกซ์ (Permax) และยาโรพินิโรล (ropinirole) อย่างเรควิป (Requip)
  • ยารักษาโรควิตกกังวล ความดันโลหิตสูง หรืออาการชัก
  • ยารักษาอาการป่วยทางจิต
  • ยาพารอกเซทีน (Paroxetine) อย่างพาซิล (Paxil)
  • ยาฟีโนบาร์บิทัล (Phenobarbital) อย่างลูมินอล (Luminal) หรือซอลโฟทอน (Solfoton)
  • ยาฟีนีลโทอิน (Phenytoin) อย่างไดแลนทิน (Dilantin)
  • ยาควินิดีน (Quinidine) อย่างควินากลูต (Quinaglute) หรือควินิเดกซ์ (Quinidex)
  • ยารานิทิดีน (Ranitidine) อย่างแซนแทค (Zantac)
  • ยาไรแฟมพิน (Rifampin) อย่างไรฟาดิน (Rifadin) หรือไรแมคเทน (Rimactane)
  • ยากล่อมประสาท
  • ยานอนหลับ
  • ยาคลายเครียด (Tranquilizers)
  • กรดวาโพรลิก (Valproic acid) อย่างเดพาโคต (Depakote) หรือเดพาเคน (Depakene)

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

แอลกอฮอล์สามารถเพิ่มอาการง่วงซึมที่เกิดจากยานี้ได้ อย่าดื่มสุราขณะที่กำลังใช้ริสเพอร์ดาล®

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ริสเพอร์ดาล® อาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ

โรคที่อาจมีปฏิกิริยากับยานี้ได้แก่

  • โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) ความผิดปกติของระบบประสาทที่ทำให้เกิดอาการเคลื่อนไหวลำบาก การควบคุมกล้ามเนื้อลำบาก และการทรงตัวลำบาก
  • ภาวะคอเลสเตอรอลสูง (Dyslipidemia)
  • เซลล์เม็ดเลือดขาวในเลือดต่ำหรือจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาวในเลือดลดลง
  • กลืนลำบาก
  • โรคมะเร็งเต้านม
  • อาการปวดเค้นหน้าอก (Angina)
  • หัวใจเต้นผิดปกติ
  • ความดันโลหิตสูงหรือต่ำ
  • โรคหัวใจล้มเหลว
  • โรคหัวใจวาย
  • โรคหลอดเลือดสมอง
  • อาการชัก
  • โรคหัวใจ โรคไต หรือโรคตับ
  • โรคเบาหวาน

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง เพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาของริสเพอร์ดาล® (ยาริสเพอริโดน) สำหรับผู้ใหญ่

โรคจิตเภท (ขนาดยาต่อวัน)

  • ขนาดยาเริ่มต้น 2 มก.
  • การปรับขนาดยา 1-2 มก.
  • ขนาดยาเป้าหมาย 4-8 มก.
  • ช่วงขนาดยาที่มีประสิทธิภาพ 4-16 มก.

โรคอารมณ์สองขั้วช่วงอารมณ์คลุ้มคลั่ง (ขนาดยาต่อวัน)

  • ขนาดยาเริ่มต้น 2-3 มก.
  • การปรับขนาดยา 1 มก.
  • ขนาดยาเป้าหมาย 1-6 มก.
  • ช่วงขนาดยาที่มีประสิทธิภาพ 1-6 มก.

อาการหงุดหงิดในโรคออทิสติก (autistic disorder) (ขนาดยาต่อวัน)

ขนาดยาเริ่มต้น

  • 25 มก. สามารถเพิ่มขนาดยา 0.5 มก. ใน 4 วัน (น้ำหนักตัวน้อยกว่า 20 กก.)
  • 5 มก. สามารถเพิ่มขนาดยา 1 มก. ใน 4 วัน (น้ำหนักตัวมากกว่าหรือเท่ากับ 20 กก.)

การปรับขนาดยาหลังจากวันที่ 4 ของการให้ยา ปรับทุกๆ 2 อาทิตย์ขึ้นไป

  • 25 มก. (น้ำหนักตัวน้อยกว่า 20 กก.)
  • 5 มก. (น้ำหนักตัวมากกว่าหรือเท่ากับ 20 กก.)

ขนาดยาเป้าหมาย

  • 5 มก. (น้ำหนักตัวน้อยกว่า 20 กก.)
  • 1 มก. (น้ำหนักตัวมากกว่าหรือเท่ากับ 20 กก.)

ช่วงขนาดยาที่มีประสิทธิภาพ 0.5-3 มก.

ขนาดยาของริสเพอร์ดาล® (ยาริสเพอริโดน) สำหรับเด็ก

โรคจิตเภท วัยรุ่น (ขนาดยาต่อวัน)

  • ขนาดยาเริ่มต้น 0.5 มก.
  • การปรับขนาดยา 0.5-1 มก.
  • ขนาดยาเป้าหมาย 3 มก.
  • ช่วงขนาดยาที่มีประสิทธิภาพ 1-4 มก.

โรคอารมณ์สองขั้วช่วงอารมณ์คลุ้มคลั่ง เด็กและวัยรุ่น (ขนาดยาต่อวัน)

  • ขนาดยาเริ่มต้น 0.5 มก.
  • การปรับขนาดยา 0.5-1 มก.
  • ขนาดยาเป้าหมาย 1-2.5 มก.
  • ช่วงขนาดยาที่มีประสิทธิภาพ 1-6 มก.

รูปแบบของยา

ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้

  • ยาเม็ด 6 มก. 8 มก. 10 มก. ยาสารละลาย (ยาน้ำ) 1มก./ 1มล. และยาเม็ดแบบแตกตัว (ยาเม็ดละลายอย่างรวดเร็วภายในปาก) สำหรับรับประทาน

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉิน หรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา