backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

Loratadine (ลอราทาดีน) ข้อบ่งใช้ และผลข้างเคียง

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ · ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย ปราโมทย์ วงศ์คำ · แก้ไขล่าสุด 17/08/2023

Loratadine (ลอราทาดีน) ข้อบ่งใช้ และผลข้างเคียง

Loratadine (ลอราทาดีน) เป็นยาต้านฮีสตามีนที่จะรักษาอาการ อย่างเช่น อาการคัน น้ำมูกไหล น้ำตาไหล และอาการจามจากไข้ละอองฟาง และอาการภูมิแพ้ประเภทอื่น ยาตัวนี้ยังใช้เพื่อบรรเทาอาการคันจากโรคลมพิษ

ข้อบ่งใช้

Loratadine ใช้สำหรับ

Loratadine เป็นยาต้านฮีสตามีนที่จะรักษาอาการ อย่างเช่น อาการคัน น้ำมูกไหล น้ำตาไหล และอาการจามจากไข้ละอองฟาง และอาการภูมิแพ้ประเภทอื่น ยาตัวนี้ยังใช้เพื่อบรรเทาอาการคันจากโรคลมพิษ

ยาลอราทาดีนไม่ได้ป้องกันโรคลมพิษ ป้องกัน หรือรักษาปฏิกิริยาแพ้รุนแรง ตัวอย่างเช่น ภูมิแพ้แบบเฉียบพลันรุนแรง (Anaphylaxis) ดังนั้น หากหมอของคุณสั่งจ่ายยาเอพิเนฟรีน (Epinephrine) เพื่อรักษาปฏิกิริยาภูมิแพ้ พกเครื่องฉีดเอพิเนฟรีนไปกับคุณด้วยทุกครั้ง อย่าใช้ลอราทาดีนแทนที่เอพิเนฟริน

หากคุณรักษาโดยใช้ยาลอราทาดีนด้วยตัวเอง เป็นเรื่องสำคัญในการอ่านคำแนะนำบนฉลากยา เพื่อที่จะได้รู้ว่าเมื่อไหร่ที่คุณต้องปรึกษากับหมอหรือเภสัชกรของคุณ

อย่าใช้ยาลอราทาดีน ในเด็กวัยต่ำกว่า 6 ปี นอกจากว่าหมอจะสั่ง หากคุณใช้ยาเม็ดประเภทเคี้ยวได้ อย่าใช้ในเด็กวัยต่ำกว่า 2 นอกจากว่าหมอของคุณจะสั่ง

วิธีการใช้ยา ลอราทาดีน

หากคุณใช้ยาตัวนี้ ที่หาซื้อตามร้านขายยาเพื่อรักษาด้วยตัวเอง อ่านคำแนะนำบนฉลากให้ละเอียด ก่อนรับประทานยาลอราทาดีน หากหมอของคุณจ่ายยาลอราทาดีน ให้ปฏิบัติตามแนวทางจากหมอของคุณ และคำแนะนำบนฉลากยา หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ ปรึกษากับหมอหรือเภสัชกรของคุณเพิ่มเติม

รับประทานยาลอราทาดีนอย่างเดียว หรือพร้อมอาหาร วันละครั้ง หรือตามคำแนะนำบนฉลากยา หรือตามที่หมอสั่ง หากคุณรับประทานยาเม็ดประเภทที่เคี้ยวได้ เคี้ยวยาแต่ละเม็ดให้ดี แล้วจึงกลืนลงไป ขนาดยาจะขึ้นอยู่กับอายุ อาการ และการตอบสนองต่อการรักษาของคุณ อย่าเพิ่ม หรือรับประทานขนาดยาบ่อยกว่าที่หมอสั่ง อย่ารับประทานยาลอราทาดีน เกินกว่าที่หมอแนะนำสำหรับอายุของคุณ

บอกหมอของคุณ หากอาการภูมิแพ้ของคุณ ไม่ดีขึ้นหลังการรักษาผ่านไป 3 วัน หรือหากผื่นของคุณเกิดขึ้นนานกว่า 6 สัปดาห์ เข้ารับการดูแลทางการแพทย์ทันที หากอาการของคุณทรุดลง หรือคุณคิดว่ามีปัญหาทางการแพทย์ร้ายแรงอื่นๆ เช่น อาการตอบสนอง ปฏิกิริยาภูมิแพ้แแบบเฉียบพลันรุนแรง

วิธีเก็บรักษายา ลอราทาดีน

เก็บยาลอราทาดีนไว้ในอุณหภูมิห้อง ห่างไกลจากแสงแดดและความชื้น เพื่อป้องกันการเสื่อมสภาพของตัวยา คุณไม่ควรเก็บยาลอราทาดีนในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง อาจมียาลอราทาดีนหลายยี่ห้อที่ต้องเก็บรักษาต่างกัน จึงเป็นสิ่งสำคัญเสมอในการตรวจสอบฉลากยาสำหรับคำแนะนำในการเก็บรักษาหรือสอบถามเภสัชกร เพื่อความปลอดภัย คุณควรเก็บยาให้ห่างจากเด็กและสัตว์เลี้ยง

คุณไม่ควรทิ้งยาลอราทาดีนลงในชักโครก หรือทิ้งลงท่อระบายน้ำ นอกจากได้รับคำแนะนำเช่นนั้น เป็นเรื่องสำคัญในการทิ้งยาให้เหมาะสม เมื่อยาหมดอายุ หรือไม่จำเป็นต้องใช้แล้ว ปรึกษากับเภสัชกรของคุณสำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม เกี่ยวกับการทิ้งยาของคุณอย่างไรให้ปลอดภัย

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยา ลอราทาดีน

ก่อนรับประทานยาลอราทาดีน

  • แจ้งหมอและเภสัชกรของคุณ หากคุณแพ้ยาลอราทาดีน หรือยาลอราทาดีนชนิดอื่นๆ หรือส่วนผสมใดๆ ก็ตามที่อยู่ในยาลอราทาดีนประเภทที่คุณกำลังจะรับประทาน ตรวจสอบฉลากผลิตภัณฑ์ยาสำหรับรายชื่อของส่วนผสม
  • บอกหมอและเภสัชกรของคุณ ถึงผลิตภัณฑ์ยาลอราทาดีน วิตามิน อาหารเสริมโภชนาการ และผลิตภัณฑ์สมุนไพร ทั้งที่แพทย์เป็นผู้สั่งและซื้อเอง ซึ่งคุณกำลังรับประทานหรือวางแผนที่จะรับประทาน อย่าลืมที่จะเอ่ยถึงชื่อยาตัวนี้ด้วย ได้แก่ ยาลอราทาดีนสำหรับโรคหวัดและอาการภูมิแพ้อื่นๆ
  • บอกหมอของคุณ หากคุณเป็นหรือเคยเป็นโรคหอบหืด โรคตับหรือโรคไต
  • บอกหมอของคุณ หากคุณตั้งครรภ์ วางแผนว่าจะตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร หากคุณตั้งครรภ์ในขณะที่รับประทานยาลอราทาดีน โทรแจ้งหมอของคุณ
  • หากคุณเป็นโรคฟีนิลคีโตนูเรีย (Phenylketonuria) ซึ่งเป็นโรคทางพันธุกรรม ซึ่งต้องหลีกเลี่ยงอาหารบางชนิดเพื่อป้องกันภาวะบกพร่องทางสติปัญญา (Mental retardation) คุณควรทราบว่าผลิตภัณฑ์บางชนิดของยาเม็ดชนิดรับประทานที่แตกตัวได้ อาจมีส่วนผสมของแอสพาแทม (Aspartame) ที่ฟอร์มตัวขึ้นเป็นฟีนิลอะลานีน (Phenylalanine) กรดอะมิโนจำเป็นที่ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นไ้ด้เอง

ความปลอดภัยในช่วงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ไม่มีงานวิจัยเพียงพอในผู้หญิง ที่จะระบุความเสี่ยงเมื่อใช้ยาลอราทาดีน ในระหว่างตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษากับหมอของคุณทุกครั้ง เพื่อชั่งน้ำหนักถึงประโยชน์และความเสี่ยงที่เกิดขึ้นได้ ก่อนใช้ยาลอราทาดีน ยานี้เป็นยาที่มีดัชนีความเสี่ยงในสตรีมีครรภ์ระดับ B (Pregnancy risk category B) อ้างอิงจากองค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (FDA)

ระดับความเสี่ยงของยาที่ห้ามใช้ในสตรีมีครรภ์ อ้างอิงจากองค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา ได้แก่

  • A= ไม่มีความเสี่ยง
  • B= ไม่พบความเสี่ยงในงานวิจัยบางชิ้น
  • C= อาจจะมีความเสี่ยง
  • D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X= ห้ามใช้
  • N= ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงจากการใช้ยา ลอราทาดีน

เข้ารับการช่วยเหลือทางการแพทย์ หากคุณมีสัญญาณของปฏิกิริยาภูมิแพ้ใดๆ ก็ตาม ได้แก่ ผื่นลมพิษ หายใจลำบาก อาการบวมที่ใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้นหรือคอของคุณ

โทรแจ้งหมอของคุณทันที หากคุณมีผลข้างเคียงรุนแรง อย่างเช่น การเต้นของหัวใจเร็วหรือไม่เท่ากัน หน้ามืด ดีซ่าน (ผิวหนังหรือดวงตาเป็นสีเหลือง) หรืออาการชัก

ผลข้างเคียงที่รุนแรงไม่มาก อาจเกิดขึ้น ได้แก่ ปวดหัว วิตกกังวล รู้สึกเหนื่อยหรือง่วงซึม ปวดท้อง ท้องเสีย ปากแห้ง เจ็บคอ เสียงแหบ ตาแดง มองเห็นไม่ชัด เลือดกำเดาไหลหรือผื่นทางผิวหนัง

ไม่ใช่ทุกคนจะพบผลข้างเคียงเหล่านี้ อาจมีผลข้างเคียงบางอาการที่ไม่มีอยู่ด้านบน หากคุณมีความกังวลใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับหมอหรือเภสัชกรของคุณ

ปฏิกิริยาต่อยา

ปฏิกิริยากับยาตัวอื่น

ยาลอราทาดีนอาจทำปฏิกิริยากับยาตัวอื่นที่คุณใช้อยู่ ซึ่งสามารถเปลี่ยนประสิทธิภาพการทำงานของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงต่อผลข้างเคียงที่รุนแรงได้ เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดปฏิกิริยาของยา คุณควรจดรายชื่อยาทั้งหมดที่คุณใช้อยู่ ทั้งยาที่ต้องใช้ใบสั่งยา ยาที่ไม่ใช้ใบสั่งแพทย์ และผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร ให้หมอและเภสัชกรดู เพื่อความปลอดภัยของคุณอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนปริมาณยาใดๆ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากหมอ

ยาลอราทาดีนมีความคล้ายคลึงอย่างมากกับยาเดสลอราทาดีน (Desloratadine) อย่าใช้ยาที่มีส่วนผสมของเดสลอราทาดีน ในขณะที่ใช้ ยาลอราทาดีน

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาลอราทาดีนอาจทำปฎิกิริยากับอาหารและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยจะเปลี่ยนประสิทธิภาพการทำงานของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดผลข้างเคียงรุนแรงอื่นๆ โปรดปรึกษากับหมอหรือเภสัชกรของคุณ ถึงปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่อาจเกิดขึ้นได้ ก่อนใช้ยาตัวนี้

ปฏิกิริยากับอาการโรค

ยาลอราทาดีนอาจทำปฎิกิริยากับอาการโรคของคุณ อาจทำให้อาการโรคของคุณทรุดลง หรือเปลี่ยนประสิทธิภาพการทำงานของยา จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะบอกให้หมอและเภสัชกรรู้ถึงอาการโรคที่คุณกำลังเป็น

โรคเบาหวานประเภท 2 (Type 2 diabetes mellitus) คุณสมบัติการหดหลอดเลือดในยาตัวนี้ อาจทำให้ผู้ป่วยเบาหวาน มีความเสี่ยงมากขึ้นในการเกิด

  • โรคหัวใจและหลอดเลือด
  • ต่อมลูกหมากโต

ทางเดินปัสสาวะอุดตันหรือปัญหาในการปัสสาวะ ผลกระทบของยาต้านฮีสตามีน (Anti-histamine) บางชนิด อาจทำให้ปัญหาในการปัสสาวะของคุณทรุดลง

ต้อหิน อาจทำให้เกิด

  • ความดันในตาด้านในอาจเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
  • โรคหัวใจและหลอดเลือด

ความดันโลหิตสูง คุณสมบัติการหดหลอดเลือดในยาตัวนี้อาจทำให้

โรคไต อาจส่งผลให้ระดับลอราทาดีนในเลือดเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดผลข้างเคียง อาจจำเป็นต้องลดขนาดยาลง

โรคตับ อาจส่งผลให้ระดับลอราทาดีนในเลือดเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดผลข้างเคียง

ต่อมไทรอยด์ผิดปกติ หากอาการต่อมไทรอยด์ผิดปกติเป็นสาเหตุให้อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น คุณสมบัติหดหลอดเลือดในยาตัวนี้ อาจทำให้อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มมากขึ้นไปอีก

ปัสสาวะไม่ออก อาการอาจทรุดลง หากมีการใช้คู่กับยาซูโดเอฟีดรีน (Pseudoephedrine)

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ใดๆ ควรปรึกษาหมอและเภสัชกรของคุณทุกครั้ง เพื่อรับทราบข้อมูลเพื่อเติม ก่อนใช้ยาลอราทาดีน

ขนาดยาลอราทาดีนสำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาทั่วไปสำหรับผู้ใหญ่ที่เป็นโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้

  • รับประทานครั้งละ 10 มิลลิกรัม วันละครั้ง

ขนาดยาทั่วไปสำหรับผู้ใหญ่ที่เป็นลมพิษ

  • รับประทานครั้งละ 10 มิลลิกรัม วันละครั้ง

ขนาดยาลอราทาดีนสำหรับเด็ก

ขนาดยาทั่วไปสำหรับเด็กที่เป็นโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้

  • วัย 2 ถึง 5 ปี รับประทานครั้งละ 5 มิลลิกรัม วันละครั้ง (ยาน้ำเชื่อม)
  • วัยตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป รับประทานครั้งละ 10 มิลลิกรัม วันละครั้ง (ยาเม็ด ยาแคปซูล และ ยาเม็ดแตกตัวในช่องปาก)

ขนาดยาทั่วไปสำหรับเด็กที่เป็นลมพิษ

  • วัย 2 ถึง 5 ปี รับประทานครั้งละ 5 มิลลิกรัม วันละครั้ง (ยาน้ำเชื่อม)
  • วัยตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป รับประทานครั้ง 10 มิลลิกรัม วันละครั้ง (ยาเม็ด ยาแคปซูล และ ยาเม็ดประเภทแตกตัวได้)

รูปแบบยา

ยาลอราทาดีนมีให้เลือกใช้ในรูปแบบและฤทธิ์ยาดังต่อไปนี้คือ

  • ยาเม็ดสำหรับรับประทาน

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

ในกรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด แจ้งศูนย์การแพทย์ฉุกเฉินท้องถิ่นหรือไปยังห้องฉุกเฉินที่ใกล้ที่สุด

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมใช้ยาลอราทาดีน กลับมาใช้ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ อย่างไรก็ตาม หากใกล้ถึงเวลาที่คุณจะต้องใช้ยาครั้งต่อไป ข้ามขนาดยาครั้งที่แล้ว และใช้ขนาดยาตามกำหนดการเดิม อย่าเพิ่มขนาดยา

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย ปราโมทย์ วงศ์คำ · แก้ไขล่าสุด 17/08/2023

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา