backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

เซฟาโซลิน (Cefazolin)

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรพิมพ์จิต วัฒนชโนบล


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 07/11/2023

ข้อบ่งใช้

เซฟาโซลินใช้เพื่อรักษา

ยาเซฟาโซลิน (Cefazolin) ใช้เพื่อรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียต่างๆ และอาจใช้ก่อนหรือในขณะการผ่าตัดเพื่อป้องกันการติดเชื้อ ยานี้อยู่ในกลุ่มของยาปฏิชีวนะเซฟาโลสปอริน (cephalosporin) ทำงานโดยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย

วิธีการใช้ยาเซฟาโซลิน

ขึ้นอยู่กับแต่ละผลิตภัณฑ์ ยานี้อาจให้โดยการฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือเข้ากล้ามเนื้อ ใช้ยาตามที่แพทย์กำหนดอย่างเคร่งครัด ขนาดยาขึ้นอยู่กับสภาวะทางการแพทย์ และการตอบสนองต่อการรักษา สำหรับเด็กต้องขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัว

หากคุณใช้ยานี้ที่บ้าน ควรเรียนรู้วิธีเตรียมยาและคำแนะนำการใช้ยาจากบุคลากรทางการแพทย์ ก่อนใช้ยาควรตรวจสอบว่ามีฝุ่นตะกอนหรือเปลี่ยนสีหรือไม่ หากมีไม่ควรใช้ยานั้น เรียนรู้วิธีการเก็บรักษาและกำจัดอุปกรณ์ทางการแพทย์อย่างปลอดภัย

เพื่อให้ได้ผลดีที่สุดควรใช้ยาปฏิชีวนะโดยเว้นระยะห่างที่เท่ากัน เพื่อให้ง่ายต่อการจำควรใช้ยาในเวลาเดียวกันทุกวัน

ใช้ยาอย่างต่อเนื่องจนครบตามกำหนด แม้อาการจะหายไปหลังจากผ่านไปไม่กี่วัน การหยุดใช้ยาเร็วเกินไปอาจทำให้กลับมาติดเชื้ออีกครั้ง แจ้งให้แพทย์ทราบหากอาการของคุณไม่หายไปหรือแย่ลง

การเก็บรักษายาเซฟาโซลิน

ควรเก็บในตู้เย็นเพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเสื่อมสภาพ ห้ามเก็บยานี้ในช่องแช่แข็ง ยาเซฟาโซลินบางยี่ห้ออาจเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบคำแนะนำการเก็บรักษาบนบรรจุภัณฑ์หรือสอบถามเภสัชกร เพื่อความปลอดภัยโปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่ควรทิ้งยาลงในชักโครกหรือเทลงท่อระบายน้ำ เว้นแต่จะได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้องเมื่อยาหมดอายุหรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน โปรดสอบถามเภสัชกรเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยาเซฟาโซลิน

แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบหากคุณแพ้ยานี้หรือแพ้ยาในกลุ่มเซฟาโลสปอริน (cephalosporin) หรือยาเพนิซิลลิน (penicillin) หรือหากคุณมีการแพ้อื่นๆ ยานี้อาจมีส่วนประกอบที่ไม่ออกฤทธิ์ ซึ่งทำให้เกิดอาการแพ้หรือปัญหาอื่นได้ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดสอบถามเภสัชกร

ก่อนใช้ยานี้โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบเกี่ยวกับประวัติทางการแพทย์ของคุณ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรคไต โรคตับ โรคกระเพาะ/ลำไส้ เช่น โรคลำไส้ใหญ่อักเสบ (colitis)

ยาเซฟาโซลิน อาจทำให้วัคซีนเชื้อแบคทีเรียชนิดเชื้อเป็น (เช่น วัคซีนไทรอยด์) ทำงานไม่ได้ตามปกติ อย่ากระตุ้นภูมิคุ้มกัน (immunizations) หรือรับวัคซีนขณะที่กำลังใช้ยานี้นอกจากแพทย์สั่ง

การทำงานของไตจะลดลงเมื่อคุณมีอายุเพิ่มขึ้น เนื่องจากยานี้ถูกกำจัดออกจากร่างกายโดยไต ผู้สูงอายุจึงมีความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงขณะใช้ยานี้ได้มากกว่า

แจ้งให้แพทย์ทราบหากคุณตั้งครรภ์ก่อนใช้ยานี้

ยานี้สามารถส่งต่อผ่านทางน้ำนมแม่ได้และอาจมีผลที่ไม่ดีต่อทารก โปรดปรึกษาแพทย์ก่อนให้นมบุตร

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อชั่งน้ำหนัก ประโยชน์ และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้ ยาเซฟาโซลินจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์ หมวด B โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A= ไม่มีความเสี่ยง
  • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C= อาจจะมีความเสี่ยง
  • D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X= ห้ามใช้
  • N= ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยาเซฟาโซลิน

อาจเกิดอาการบวม รอยแดง อาการปวด หรืออาการเจ็บบริเวณที่ฉีดยา ยานี้ยังอาจจะทำให้เกิดอาการที่พบได้ไม่บ่อย อย่างเช่น เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง หรือปวดศีรษะ แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบในทันที หากอาการเหล่านี้ไม่หายไปหรือแย่ลง

โปรดจำไว้ว่าการที่แพทย์ให้คุณใช้ยาตัวนี้ เนื่องจากพิจารณาแล้วว่า ยามีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยงจากผลข้างเคียง และคนที่ใช้ยานี้ส่วนใหญ่ไม่พบผลข้างเคียงที่ร้ายแรงใดๆ

แจ้งให้แพทย์ทราบในทันที หากคุณมีผลข้างเคียงที่รุนแรง ได้แก่ ปัสสาวะสีเข้ม มีรอยช้ำ หรือเลือดออกง่าย หัวใจเต้นเร็ว/รัว/จังหวะการเต้นผิดปกติ ชัก อ่อนแรงผิดปกติ ดวงตา/ผิวเป็นสีเหลือง มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจและอารมณ์ (เช่น สับสน)

ยานี้อาจทำให้เกิดสภาวะของลำไส้ที่รุนแรง แต่พบได้ไม่บ่อย เช่น อาการท้องร่วงจากเชื้อคลอสทริเดียม ดิฟฟิไซล์ (Clostridium difficile) เนื่องจากการดื้อยาของเชื้อแบคทีเรีย อาการนี้อาจเกิดขึ้นระหว่างการรักษา หรือหลังจากหยุดการรักษาหลายสัปดาห์จนถึงเดือน แจ้งให้แพทย์ทราบในทันทีหากคุณมีอาการ ได้แก่ ท้องร่วงบ่อยๆ ปวดท้อง หรือปวดเกร็งในท้อง หรือมีเลือด/มูกในอุจจาระ

อย่าใช้ยาแก้ท้องร่วง หรือยาแก้ปวดชนิดเสพติด (narcotic pain medications) หากคุณมีอาการเหล่านี้ เพราะอาจทำให้อาการแย่ลงได้

การใช้ยานี้เป็นเวลานานหรือใช้ซ้ำๆ อาจทำให้เกิดการติดเชื้อราในช่องปาก หรือยีสต์ในช่องคลอด แจ้งให้แพทย์ทราบ หากคุณสังเกตเห็นรอยคราบสีขาวภายในปาก มีการเปลี่ยนแปลงของสารคัดหลั่งจากอวัยวะเพศ หรืออาการใหม่อื่นๆ

อาการแพ้ที่รุนแรงของยานี้ไม่ค่อยเกิดขึ้น แต่ควรรับการรักษาในทันทีหากเกิดอาการแพ้ที่รุนแรง ได้แก่ ผดผื่น คัน/บวม (โดยเฉพาะใบหน้า ลิ้น ลำคอ) เวียนหัวอย่างรุนแรง หายใจติดขัด

ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้ และอาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยาที่อาจมีปฏิกิริยากับยานี้ได้แก่ ยาปฏิชีวนะกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ (aminoglycoside) เช่น โทบรามัยซิน (tobramycin) เจนตามัยซิน (gentamicin) ยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น วาฟาริน (warfarin) ยาคลอแรมเฟนิคอล (chloramphenicol)

แม้ว่ายาปฏิชีวนะส่วนใหญ่จะไม่ค่อยส่งผลกระทบต่อการคุมกำเนิดโดยใช้ฮอร์โมน เช่น ยาเม็ดคุมกำเนิด แผ่นคุมกำเนิด หรือห่วงคุมกำเนิด ยาปฏิชีวนะบางตัว เช่น ไรแฟมพิน (rifampin) ไรฟาบูทิน (rifabutin) สามารถลดประสิทธิภาพของการคุมกำเนิดได้ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการตั้งครรภ์ หากคุณกำลังใช้การคุมกำเนิดโดยใช้ฮอร์โมน ควรสอบถามแพทย์หรือเภสัชกรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ยานี้อาจส่งผลกระทบต่อผลการทดสอบในห้องแล็บบางประการ รวมถึงการตรวจคูมบ์ (Coombs’ test) ซึ่งเป็นการตรวจเพื่อวินิจฉัยภาวะโลหิตจาง อาจทำให้ผลการตรวจเป็นเท็จได้ อย่าลืมแจ้งให้บุคคลากรในห้องแล็บและแพทย์ทุกคนทราบว่า คุณกำลังใช้ยานี้อยู่

ยาเซฟาโซลินอาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนยาโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาเซฟาโซลินอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาเซฟาโซลินอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะทางสุขภาพของคุณก่อนใช้ยาเสมอ

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาเซฟาโซลินสำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคถุงน้ำดีอักเสบ (Cholecystitis)

  • การติดเชื้อระดับไม่รุนแรง เนื่องจากแบคทีเรียแกรมบวกรูปร่างกลมที่มีปฎิกิริยาตอบรับไว (susceptible gram-positive cocci) : 250-500 มก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ทุกๆ 8 ชั่วโมง
  • การติดเชื้อปานกลางถึงรุนแรง : 500 มก.-1 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อทุกๆ 6-8 ชั่วโมง
  • การติดเชื้อที่รุนแรงถึงชีวิต เช่น เยื่อบุหัวใจอักเสบ (Endocarditis) หรือติดเชื้อในกระแสเลือด (Septicemia) : 1-1.5 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 6 ชั่วโมง

คำแนะนำ: ในบางกรณี (เกิดได้น้อยมาก) เคยมีการใช้ยาขนาดสูงถึง 12 กรัม/วัน สำหรับการติดเชื้อที่รุนแรงถึงชีวิต

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาท่อน้ำเชื้ออสุจิอักเสบ (epididymitis) ชนิดไม่เจาะจง

  • การติดเชื้อระดับไม่รุนแรง เนื่องจากแบคทีเรียแกรมบวกรูปร่างกลมที่มีปฎิกิริยาตอบรับไว (susceptible gram-positive cocci) : 250-500 มก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อทุกๆ 8 ชั่วโมง
  • การติดเชื้อปานกลางถึงรุนแรง : 500 มก.-1 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อทุกๆ 6-8 ชั่วโมง
  • การติดเชื้อที่รุนแรงถึงชีวิต เช่น เยื่อบุหัวใจอักเสบ (Endocarditis) หรือติดเชื้อในกระแสเลือด (Septicemia) : 1-1.5 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำทุกๆ 6 ชั่วโมง

คำแนะนำ

ในบางกรณีซึ่งเกิดได้น้อยมาก เคยมีการใช้ยาขนาดสูงถึง 12 กรัม/วัน สำหรับการติดเชื้อที่รุนแรงถึงชีวิต

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาการติดเชื้อที่ข้อต่อ

  • การติดเชื้อระดับไม่รุนแรง เนื่องจากแบคทีเรียแกรมบวกรูปร่างกลมที่มีปฎิกิริยาตอบรับไว (susceptible gram-positive cocci) : 250-500 มก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ทุกๆ 8 ชั่วโมง
  • การติดเชื้อปานกลางถึงรุนแรง : 500 มก.-1 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อทุกๆ 6-8 ชั่วโมง
  • การติดเชื้อที่รุนแรงถึงชีวิต เช่น เยื่อบุหัวใจอักเสบ (Endocarditis) หรือติดเชื้อในกระแสเลือด (Septicemia): 1-1.5 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดทุกๆ 6 ชั่วโมง

คำแนะนำ: ในบางกรณีซึ่งเกิดได้น้อยมาก เคยมีการใช้ยาขนาดสูงถึง 12 กรัม/วัน สำหรับการติดเชื้อที่รุนแรงถึงชีวิต

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคกระดูกอักเสบ (Osteomyelitis)

  • การติดเชื้อระดับไม่รุนแรงเนื่องจากแบคทีเรียแกรมบวกรูปร่างกลมที่มีปฎิกิริยาตอบรับไว (susceptible gram-positive cocci) : 250-500 มก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อทุกๆ 8 ชั่วโมง
  • การติดเชื้อปานกลางถึงรุนแรง: 500 มก.-1 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อทุกๆ 6-8 ชั่วโมง
  • การติดเชื้อที่รุนแรงถึงชีวิต เช่นเยื่อบุหัวใจอักเสบ (Endocarditis) หรือติดเชื้อในกระแสเลือด (Septicemia): 1-1.5 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดทุกๆ 6 ชั่วโมง

คำแนะนำ: ในบางกรณีซึ่งเกิดได้น้อยมาก เคยมีการใช้ยาขนาดสูงถึง 12 กรัม/วัน สำหรับการติดเชื้อที่รุนแรงถึงชีวิต

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาต่อมลูกหมากอักเสบ (Prostatitis)

  • การติดเชื้อระดับเบา เนื่องจากแบคทีเรียแกรมบวกรูปร่างกลมที่มีปฎิกิริยาตอบรับไว (susceptible gram-positive cocci) : 250-500 มก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อทุกๆ 8 ชั่วโมง
  • การติดเชื้อปานกลางถึงรุนแรง : 500 มก.-1 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อทุกๆ 6-8 ชั่วโมง
  • การติดเชื้อที่รุนแรงถึงชีวิต เช่น เยื่อบุหัวใจอักเสบ (Endocarditis) หรือติดเชื้อในกระแสเลือด (Septicemia) : 1-1.5 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดทุกๆ 6 ชั่วโมง

คำแนะนำ: ในบางกรณีซึ่งเกิดได้น้อยมาก เคยมีการใช้ยาขนาดสูงถึง 12 กรัม/วัน สำหรับการติดเชื้อที่รุนแรงถึงชีวิต

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาการติดเชื้อที่ผิวหรือเนื่อเยื่ออ่อน

  • การติดเชื้อระดับไม่รุนแรง เนื่องจากแบคทีเรียแกรมบวกรูปร่างกลมที่มีปฎิกิริยาตอบรับไว (susceptible gram-positive cocci) : 250-500 มก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อทุกๆ 8 ชั่วโมง
  • การติดเชื้อปานกลางถึงรุนแรง : 500 มก.-1 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อทุกๆ 6-8 ชั่วโมง
  • การติดเชื้อที่รุนแรงถึงชีวิต เช่น เยื่อบุหัวใจอักเสบ (Endocarditis) หรือติดเชื้อในกระแสเลือด (Septicemia) : 1-1.5 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดทุกๆ 6 ชั่วโมง

คำแนะนำ: ในบางกรณีซึ่งเกิดได้น้อยมาก เคยมีการใช้ยาขนาดสูงถึง 12 กรัม/วัน สำหรับการติดเชื้อที่รุนแรงถึงชีวิต

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาการติดเชื้อแบคทีเรีย

  • การติดเชื้อระดับไม่รุนแรง เนื่องจากแบคทีเรียแกรมบวกรูปร่างกลมที่มีปฎิกิริยาตอบรับไว (susceptible gram-positive cocci) : 250-500 มก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อทุกๆ 8 ชั่วโมง
  • การติดเชื้อปานกลางถึงรุนแรง : 500 มก.-1 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อทุกๆ 6-8 ชั่วโมง
  • การติดเชื้อที่รุนแรงถึงชีวิต เช่น เยื่อบุหัวใจอักเสบ (Endocarditis) หรือติดเชื้อในกระแสเลือด (Septicemia): 1-1.5 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดทุกๆ 6 ชั่วโมง

คำแนะนำ: ในบางกรณีซึ่งเกิดได้น้อยมาก เคยมีการใช้ยาขนาดสูงถึง 12 กรัม/วัน สำหรับการติดเชื้อที่รุนแรงถึงชีวิต

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาการติดเชื้อที่ผิวและโครงสร้างผิว

  • การติดเชื้อระดับไม่รุนแรงเนื่องจากแบคทีเรียแกรมบวกรูปร่างกลมที่มีปฎิกิริยาตอบรับไว (susceptible gram-positive cocci) : 250-500 มก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อทุกๆ 8 ชั่วโมง
  • การติดเชื้อปานกลางถึงรุนแรง : 500 มก.-1 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อทุกๆ 6-8 ชั่วโมง
  • การติดเชื้อที่รุนแรงถึงชีวิต เช่นเยื่อบุหัวใจอักเสบ (Endocarditis) หรือติดเชื้อในกระแสเลือด (Septicemia) : 1-1.5 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดทุกๆ 6 ชั่วโมง

คำแนะนำ: ในบางกรณีซึ่งเกิดได้น้อยมาก เคยมีการใช้ยาขนาดสูงถึง 12 กรัม/วัน สำหรับการติดเชื้อที่รุนแรงถึงชีวิต

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาติดเชื้อในกระแสเลือด (Septicemia)

  • 1-1.5 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดทุกๆ 6 ชั่วโมง

คำแนะนำ: ในบางกรณีซึ่งเกิดได้น้อยมาก เคยมีการใช้ยาขนาดสูงถึง 12 กรัม/วัน สำหรับการติดเชื้อที่รุนแรงถึงชีวิต

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาเยื่อบุหัวใจอักเสบ (Endocarditis)

  • 1-1.5 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดทุกๆ 6 ชั่วโมง

คำแนะนำ: ในกรณีหายาก มีการใช้ยาขนาดสูงถึง 12 กรัม/วัน สำหรับการติดเชื้อที่รุนแรงถึงชีวิต

คำแนะนำจากสมาคมโรคหัวใจสหรัฐอเมริกา (American Heart Association) และสมาคมโรคติดเชื้อแห่งสหรัฐอเมริกา (Infectious Diseases Society of America) :

  • 2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดทุกๆ 8 ชั่วโมง

ระยะเวลาการรักษา

  • การติดเชื้อที่เยื่อบุหัวใจที่ลิ้นหัวใจเดิม (Native valve infective endocarditis) : 6 สัปดาห์
  • เยื่อบุหัวใจอักเสบที่เกี่ยวข้องกับลิ้นหัวใจเทียมหรืออวัยวะเทียมอื่นๆ : อย่างน้อย 6 สัปดาห์

คำแนะนำ

  • คำแนะนำสำหรับการติดเชื้อที่มาจากเชื้อสายพันธุ์สแตฟิโลค็อกคัสที่มีปฏิกิริยาไวต่อออกซาซิลลิน (oxacillin-susceptible) ในผู้ป่วยที่แพ้ยาเพนนิซิลิน (ที่ไม่ใช่การแพ้ชนิดรุนแรง)
  • สำหรับการติดเชื้อที่เกี่ยวข้องกับลิ้นหัวใจเทียมหรืออวัยวะเทียมอื่นๆ : ควรใช้ยานี้ร่วมกับเจนตามัยซิน (gentamicin) ใน 2 สัปดาห์แรก และไรแฟมพิน (rifampin) เป็นเวลาอย่างน้อย 6 สัปดาห์
  • ควรมีการศึกษาแนวทางในปัจจุบันเพื่อข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาอาการปอดบวม (Pneumonia)

  • 500 มก. ฉีดเข้าหลอดเลือดหรือกล้ามเนื้อทุกๆ 12 ชั่วโมง
  • การใช้งาน : เพื่อรักษาอาการปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมเนีย

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาการติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ

  • 1 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดหรือกล้ามเนื้อทุกๆ 12 ชั่วโมง
  • การใช้งาน : เพื่อรักษาการติดเชื้อที่ระบบปัสสาวะฉับพลันและไม่ซับซ้อนเนื่องจากเชื้ออีโคไล เชื้อพี มิราบิลิส เชื้อสายพันธุ์เคลบเซลลา และเชื้อสเตรปโทคอกโคสิสสายพันธุ์ต่างๆ

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อป้องกันขณะการผ่าตัด

  • ก่อนการผ่าตัด : 1-2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือด หรือ 1 กรัมฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 30-60 นาทีก่อนเริ่มผ่าตัด
  • ระหว่างการผ่าตัด (สำหรับการผ่าตัดนาน 2 ชั่วโมงขึ้นไป) : 500 มก.-1 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดหรือกล้ามเนื้อระหว่างการผ่าตัด
  • หลังจากผ่าตัด : 500 ก.-1 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดหรือกล้ามเนื้อทุกๆ 6-8 ชั่วโมงเป็นเวลา 24 ชั่วโมง

คำแนะนำ

  • การใช้ยานี้ก่อนการผ่าตัด ระหว่างผ่าตัด และหลังการผ่าตัดอาจช่วยลดโอกาสในการติดเชื้อหลังการผ่าตัดสำหรับผู้ป่วยที่ผ่านการผ่าตัดที่ถูกจัดว่าปนเปื้อนหรืออาจปนเปื้อน เช่นการผ่าตัดมดลูกผ่านทางช่องคลอด (Vaginal Hysterectomy) การผ่าตัดถุงน้ำดี (cholecystectomy) ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง (เช่นอายุมากกว่า 70 ปี หรือโรคถุงน้ำดีอักเสบฉับพลัน) ดีซ่านจากท่อตัน (obstructive jaundice) หรือหรือนิ่วในท่อน้ำดีทั่วไป
  • ควรให้ยาก่อนการผ่าตัด 30-60 นาที เพื่อจะได้มีระดับของยาปฏิชีวนะที่เพียงพอในเซรั่มและเนื้อเยื่อเมื่อเริ่มผ่าตัด
  • ควรให้ยานี้ (หากจำเป็น) ในช่วงระหว่างการผ่าตัดเพื่อเพื่อจะได้มีระดับของยาปฏิชีวนะที่เพียงพอ ในช่วงเวลาที่คาดการณ์ว่าจะสัมผัสกับอวัยวะที่ติดเชื้อสูงสุด สำหรับการผ่าตัดที่มีความยาว 2 ชั่วโมงขึ้นไป การให้ยาควรปรับโดยขึ้นอยู่กับระยะเวลาของการผ่าตัด
  • การให้ยาก่อนการผ่าตัดยังอาจจะได้ผลกับผู้ป่วยที่ติดเชื้อบริเวณที่ผ่าตัดที่อาจมีปัจจัยเสี่ยง เช่นขณะการผ่าตัดเปิดหัวใจ (open-heart surgery) และการผ่าตัดกระดูกเทียม (prosthetic arthroplasty) การให้ยาเพื่อป้องกันโรคอาจดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง 3-5 วันหลังจากผ่าตัดเสร็จสิ้น
  • หากพบสัญญาณของการติดเชื้ออาจมีการนำตัวอย่างไปเพื่อเพาะเชื้อหรือทำการตรวจสอบปฏิกิริยาความไว เพื่อบ่งชี้อวัยวะที่ติดเชื้อ เพื่อการรักษาที่ถูกต้อง

การใช้งาน: เป็นการป้องกันก่อนการผ่าตัดเพื่อป้องกันการติดเชื้อหลังการผ่าตัดในการผ่าตัดที่ปนเปื้อนหรืออาจจะปนเปื้อน

คำแนะนำจากสมาคมเภสัชกรในระบบสาธารณะสุขแห่งอเมริกา (ASHP) สมาคมโรคติดเชื้อแห่งสหรัฐอเมริกา สมาคมโรคติดต่อจากการผ่าตัด (SIS) และสมาคมการดูแลโรคระบาดวิทยาแห่งอเมริกา (SHEA)

ขนาดยาก่อนการผ่าตัด

  • น้ำหนักน้อยกว่า 120 กก. : 2 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดหนึ่งครั้ง
  • น้ำหนัก 120 กก.ขึ้นไป : 3 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดหนึ่งครั้ง
  • ช่วงเวลาให้ยาซ้ำ (ตั้งแต่เริ่มให้ยาก่อนการผ่าตัดครั้งแรก) : 4 ชั่วโมง

คำแนะนำ

  • เริ่มให้ยา 60 นาทีก่อนการผ่าตัด
  • ปกติแล้วการให้ยาเพื่อการป้องกันเพียงครั้งเดียวก็เพียงพอ หากการป้องกันต้องดำเนินไปจนหลังการผ่าตัดควรใช้ระยะเวลาอย่างน้อง 24 ชั่วโมง
  • เพื่อให้แน่ใจว่ามีระดับของยาในเซรั่มและเนื้อเยื่อเพียงพอ อาจต้องให้ยาซ้ำอีกครั้งหากการผ่าตัดเกินเวลา
  • อาจจำเป็นต้องให้ยาอีกครั้ง หากระยะครึ่งชีวิตของยานั้นสั้น เช่น แผลไหม้ที่กว้าง หรือมีเลือดออกขณะผ่าตัดนานเกินหรือมากเกิน อาจไม่จำเป็นต้องให้ยาซ้ำ หากระยะครึ่งชีวิตของยานั้นยาว เช่น ไตบกพร่อง
  • อาจแนะนำการใช้ยานี้ร่วมกับยาอื่น ขึ้นอยู่กับชนิดของการผ่าตัด
  • ควรมีการศึกษาแนวทางในปัจจุบันเพื่อข้อมูลเพิ่มเติม

การใช้งาน : แนะนำเพื่อการป้องกันระหว่างการผ่าตัดสำหรับการผ่าตัดดังต่อไปนี้

  • การผ่าตัดไส้ติ่ง สำหรับอาการไส้ติ่งอักเสบที่ไม่ซับซ้อน
  • ทางเดินน้ำดี: การผ่าตัดเปิด การผ่าตัดชนิดที่คอยได้ (elective) การผ่าตัดผ่านกล้องที่มีควมเสี่ยงสูง
  • หัวใจ: ผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ กระบวนการสอดเครื่องมือเข้าหัวใจ เช่นการใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (pacemaker implantation) หรือใส่อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ปั๊มเลือดทดแทนการบีบตัวของหัวใจ (ventricular assist devices)
  • การผ่าตัดคลอด
  • ลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง
  • ระบบทางเดินอาหาร : กระบวนการเข้าสู่ท่อระบบทางเดินอาหาร (เช่น การผ่าตัดรักษาโรคอ้วน (bariatric) การผ่าตัดตับอ่อน (pancreaticoduodenectomy) กระบวนการที่ไม่ต้องเข้าสู่ท่อระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคกรดไหลย้อน (antireflux) การเลือกตัดเฉพาะประสาทที่ควบคุมกระเพาะอาหารส่วนที่มีเยื่อเมือกผลิตกรด (highly selective vagotomy) สำหรับผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง
  • หัวและคอ : อวัยวะปลอมทดแทนที่สะอาด (ไม่นับท่อระบาย [tympanostomy tubes]) การผ่าตัดโรคมะเร็งที่สะอาดกึ่งปนเปื้อน (clean-contaminated) การผ่าตัดที่สะอาดกึ่งปนเปื้อนอื่นๆ โดยไม่นับการผ่าตัดต่อมทอมซิล (tonsillectomy) และการผ่าตัดโพรงจมูกและไซนัสด้วยกล้องเอ็นโดสโคป (functional endoscopic sinus procedures)
  • ปลูกถ่ายหัวใจ ปอด หัวใจ-ปอด
  • การรักษาไส้เลื่อน อย่างการผ่าตัดแก้ไขภาวะไส้เลื่อนโดยใช้แผ่นสารสังเคราะห์เย็บปิดรู (hernioplasty) และการผ่าตัดเย็บซ่อมแซมหน้าท้องส่วนที่มีไส้เลื่อน (Herniorrhaphy)
  • การผ่าตัดมดลูก (Hysterectomy) : ทางช่องคลอดหรือหน้าท้อง
  • การผ่าตัดระบบประสาท (Neurosurgery) : การผ่าตัดกะโหลกศีรษะแบบรอได้ (Elective craniotomy) การทำทางเชื่อมโพรงสมอง (CSF-shunting) การปลูกถ่ายเครื่องปั๊มภายใน (intrathecal pumps)
  • กระดูกและข้อ : ผ่าตัดกระดูกสันหลังโดยมีหรือไม่มีเครื่องมือ การซ่อมแซมข้อสะโพกที่แตก (hip fracture repair) ปลูกถ่ายอุปกรณ์ยึดตรึงกระดูกภายใน (internal fixation devices) เช่น ตะปู สกรู แผ่น ลวด การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม (total joint replacement)
  • การปลูกถ่ายตับอ่อนและไต
  • การทำศัลยกรรมพลาสติก : ปราศจากปัจจัยเสี่ยงหรือสะอาดกึ่งปนเปื้อน
  • ลำไส้เล็ก : ไม่อุดตัน อุดตัน
  • ทรวงอก : การผ่าตัดที่ไม่เกี่ยวข้องกับหัวใจ รวมทั้งการตัดกลีบปอด (Lobectomy) การตัดปอด ทั้งข้าง (Pneumonectomy) การผ่าตัดเนื้อปอดออก (lung resection) การผ่าตัดเปิดช่องทรวงอก (thoracotomy) การผ่าตัดทรวงอกโดยใช้กล้องส่อง (video-assisted thoracoscopic surgery)
  • ทางเดินปัสสาวะ : การตรวจระบบปัสสาวะส่วนล่างด้วยเครื่องมือโดยมีความเสี่ยงว่าจะติดเชื้อ รวมทั้งการตัดตรวจชิ้นเนื้อต่อมลูกหมาก (transrectal prostate biopsy) ทำความสะอาดโดยไม่เข้าสู่ระบบทางเดินปัสสาวะรวมไปถึงการใส่อวัยวะปลอม การทำความสะอาดที่ผ่านเข้าสู่ทางเดินปัสสาวะซึ่งสะอาดกึ่งปนเปื้อน
  •  หลอดเลือด

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อป้องกันเยื่อบุหัวใจอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย

คำแนะนำจากสมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกา (AHA)

  • 1 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือกล้ามเนื้อ 30-60 นาทีก่อนการผ่าตัด
  • แนะนำเป็นทางเลือกสำหรับผู้ป่วยที่มีหรือไม่มีอาการแพ้ยาเพนนิซิลิน/ยาแอมพิซิลลิน ไม่สามารถรับประทานยาได้ (เว้นแต่จะมีประวัติการแพ้อย่างรุนแรง การบวมใต้ชั้นผิวหนัง [angioedema] หรือลมพิษ [urticaria] โดยใช้ยาเพนนิซิลินหรือยาแอมพิซิลลิน)
  • ควรมีการศึกษาข้อมูลแนวทางในปัจจุบันเพื่อข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อป้องกันการติดเชื้อสเตร๊บโตคอคคัล กรุ๊ปบี ในทารกแรกเกิด (Perinatal Group B Streptococcal Disease) 

คำแนะนำจากหน่วยงานป้องกันโรคติดต่อในสหรัฐอเมริกา

  • ฉีดเริ่มต้น 2 กรัมเข้าหลอดเลือดดำ ตามด้วย 1 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 8 ชั่วโมงจนคลอด

คำแนะนำ

  • แนะนำเป็นยาที่ควรสำหรับคนไข้ที่แพ้ยาเพนนิซิลิน (ไม่มีอาการแพ้รุนแรง)
  • ใช้ยานี้อย่างน้อย 4 ชั่วโมงก่อนคลอดถือว่าเป็นยาปฏิชีวนะป้องกันที่เหมาะสมในระหว่างคลอด
  • ควรมีการศึกษาข้อมูลแนวทางในปัจจุบันเพื่อข้อมูลเพิ่มเติม การใช้งาน: ยาปฏิชีวนะป้องกันขณะการคลอดเพื่อป้องกันการติดเชื้อสเตร๊บโตคอคคัสกรุ๊ปบีในทารกแรกเกิด

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบ (Peritonitis) 

คำแนะนำจากสมาคมการฟอกไตทางช่องท้องระหว่างประเทศ (ISPD)

ฟอกต่อเนื่อง (เปลี่ยนถ่ายของเหลวทั้งหมด)

  • ขนาดยาเริ่มต้น : 500 มก./ลิตร ฉีดเข้าช่องท้อง
  • ขนาดยาประคับประคองการรักษา : 125 มก./ลิตร ฉีดเข้าช่องท้อง การให้ยาเป็นระยะๆ (เปลี่ยนถ่ายวันละครั้ง) : 15 ถึง 20 มก./กก ฉีดเข้าช่องท้อง วันละครั้ง ระยะเวลาการรักษา : 14-21 วัน

คำแนะนำ

  • สามารถให้ยาปฏิชีวนะในช่องท้องได้อย่างต่อเนื่อง (ทุกๆ การเปลี่ยนถ่าย) หรือให้เป็นระยะๆ (วันละครั้ง)
  • สำหรับการให้ยาเป็นระยะๆ ควรให้สารละลายสำหรับฟอกไตที่มียาปฏิชีวนะอย่างน้อย 6 ชั่วโมง เพื่อให้มีการดูดซึมของยาอย่างเพียงพอ
  • ควรมีการศึกษาข้อมูลแนวทางในปัจจุบันเพื่อข้อมูลเพิ่มเติม

การใช้งาน : สำหรับการรักษาภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบที่เกี่ยวข้องกับการฟอกไตทางช่องท้อง

การปรับขนาดยาสำหรับไต 

ผู้ใหญ่

  • ค่าครีอะตินีนเคลียรานซ์ (CrCl) 35 -54 มล./นาที : โดยปกติให้ยาทุกๆ 8 ชั่วโมงหรือนานกว่านั้น
  • ค่าครีอะตินีนเคลียรานซ์ 11-34 มล./นาที : 50% ของขนาดยาปกติทุกๆ 12 ชั่วโมง
  • ค่าครีอะตินีนเคลียรานซ์ 10 มล./นาทีหรือน้อยกว่า : 50% ของขนาดยาปกติทุกๆ 18 ถึง 24 ชั่วโมง

คำแนะนำ สำหรับผู้ใหญ่ แนะนำให้การลดขนาดยาหลังจากให้ยาครั้งแรกลงมาให้เหมาะสมกับความรุนแรงของการติดเชื้อ

คำแนะนำอื่นๆ 

คำแนะนำการให้ยา

  • บรรจุภัณฑ์ชนิดดูเพล็กซ์ (Duplex[R]) : ฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำนานกว่า 30 นาที อย่าใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกในชุดการเชื่อมต่อ
  • บรรจุภัณฑ์ชนิดกาแล็กซี (Galaxy[R]) : (PL 2040 Plastic) : ให้ยาทางหลอดเลือดดำอย่างต่อเนื่องหรือเป็นระยะๆ อย่าใช้บรรจุภัณฑ์แบบพลาสติกในชุดการเชื่อมต่อ
  • ผงยาในขวดไวอัล : อาจฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือกล้ามเนื้อ

-ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ : ฉีดเข้ามวลกล้ามเนื้อขนาดใหญ่

-ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ : อาจฉีดเข้าโดยตรงอย่างรวดเร็ว (bolus) หรือให้ยาเป็นระยะ หรือให้ยาอย่างต่อเนื่อง

สำหรับการฉีดโดยตรงควรฉีดช้าๆ 3-5 นาทีโดยตรง หรือผ่านท่อสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับของเหลวเข้าทางหลอดเลือดดำ

  • การฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำนั้น นิยมสำหรับอาการติดเชื้อที่รุนแรงถึงชีวิต

การเก็บรักษา 

  • บรรจุภัณฑ์ชนิดดูเพล็กซ์ : ยังไม่ได้ใช้ : เก็บที่ 20-25 องศาเซลเซียส (68-77 องศาฟาเรนไฮต์)
  • ระหว่างการเดินทางเพื่อนำไปใช้ อนุญาตให้ได้ที่ 15-30 องศาเซลเซียส (59-86 องศาฟาเรนไฮต์)
  • หลังจากที่ผสมยาแล้ว (เปิดใช้งาน) : อาจเก็บได้นานถึง 24 ชั่วโมงที่อุณหภูมิห้อง หรือ 7 วันในตู้เย็น
  • บรรจุภัณฑ์ชนิดกาแล็กซี : เก็บที่อุณหภูมิต่ำกว่า -20 องศาเซลเซียส (-4 องศาฟาเรนไฮต์) และควรถือด้วยความระมัดระวัง ยาที่ละลายแล้วแล้วมีความคงตัว นานเป็นเวลา 48 ชั่วโมงที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส (77 องศาฟาเรนไฮต์) หรือ 30 วันที่อุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียส ห้ามแช่แข็งอีกครั้ง
  • ยาผงในขวดไวอัล: ก่อนการผสมยาให้เก็บที่ 20-25 องศาเซลเซียส (68-77 องศาฟาเรนไฮต์)
  • ป้องกันจากแสง หลังจากการผสมยา/เจือจาง : ยาที่ละลายแล้วมีความคงตัวเป็นเวลา 24 ชั่วโมงที่อุณหภูมิห้อง หรือเป็นเวลา 10 วันที่อุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียส (41 องศาฟาเรนไฮต์)

เทคนิคการผสมยา/เตรียมยา

  • บรรจุภัณฑ์ชนิดดูเพล็กซ์และยาผงในขวดไวอัล : ควรศึกษาข้อมูลผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิต
  • บรรจุภัณฑ์ชนิดกาแล็กซี : ละลายบรรจุภัณฑ์แช่แข็งโดยวางไว้ที่อุณหภูมิห้อง (25 องศาเซียลเซียส [77 ฟาเรนไฮต์]) หรือในตู้เย็น (5 องศาเซียลเซียส [41 ฟาเรนไฮต์]) อย่าละลายยาโดยการแช่ไว้ใต้น้ำหรือไมโครเวฟ

ความเข้ากันของการฉีดยาทางหลอดเลือด (IV compatibility) 

  • สารเจือจางที่เข้ากันและสารละลายฉีดเข้าหลอดเลือดดำ (ยาผงในขวด) : น้ำกลั่นที่ใช้ผสมยาฉีด
  • น้ำที่ยับยั้งการออกฤทธิ๋ของเชื้อแบคทีเรียแล้วเพื่อใช้ผสมยาฉีด (ขวดไวอัลขนาดใหญ่ [pharmacy bulk vials]) น้ำเกลือโซเดียมคลอไรด์สำหรับฉีด เภสัชตํารับของประเทศสหรัฐอเมริกา (USP) 5% หรือ 10% สารเดกซ์โทรส (Dextrose) หรือกลูโคส (Glucose) สำหรับฉีด เภสัชตํารับของประเทศสหรัฐอเมริกา 5% สารเดกซ์โทรสในสารละลายแลคเตทริงเกอร์ (Lactated Ringer) สำหรับฉีด
  • เภสัชตํารับของประเทศสหรัฐอเมริกา 5% เดกซ์โทรส และ 0.9% น้ำเกลือโซเดียมคลอไรด์สำหรับฉีด
  • เภสัชตํารับของประเทศสหรัฐอเมริกา 5% เดกซ์โทรส และ 0.45% น้ำเกลือโซเดียมคลอไรด์สำหรับฉีด
  • เภสัชตํารับของประเทศสหรัฐอเมริกา 5% เดกซ์โทรส และ 0.2% น้ำเกลือโซเดียมคลอไรด์สำหรับฉีด
  • เภสัชตํารับของประเทศสหรัฐอเมริกา สารละลายแลคเตทริงเกอร์สำหรับฉีด
  • เภสัชตํารับของประเทศสหรัฐอเมริกา น้ำตาลอินเวิร์ต (invert sugar) 5% หรือ 10% ในน้ำกลั่นที่ใช้ผสมยาฉีด สารละลายริงเกอร์สำหรับฉีด
  • เภสัชตํารับของประเทศสหรัฐอเมริกา 5% โซเดียมไบคาร์บอเนตสำหรับฉีด

เภสัชตํารับของประเทศสหรัฐอเมริกา

  • บรรจุภัณฑ์ชนิดดูเพล็กซ์ : ห้ามใส่สารเติมแต่งลงในบรรจุภัณฑ์
  • บรรจุภัณฑ์ชนิดกาแล็กซี : ห้ามใส่ยาเสริม

ทั่วไป

  • ยานี้ใช้สำหรับการรักษาการติดเชื้อที่รุนแรงเนื่องจากมีปฏิกิริยาไวต่อเชื้อแบคทีเรียที่กำหนด
  • การเพาะเชื้อและข้อมูลของปฏิกิริยาความไวของเชื้อควรถูกพิจารณา เมื่อมีการเลือกหรือแก้ไขสูตรยาต้านเชื้อแบคทีเรีย หรือหากไม่มีข้อมูลอาจทำอาจพิจารณาจากระบาดวิทยาในท้องถิ่น (local epidemiology) และรูปแบบของปฏิกิริยาความไวเมื่อเลือกการรักษาแบบกว้าง (empiric therapy)
  • ยานี้กำจัดเชื้อสเตรปโทคอกไคจากโพรงจมูก (Nasopharynx) แต่ยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวประสิทธิภาพในการป้องกันไข้รูมาติก (rheumatic fever) ที่ตามมาภายหลัง ยาเพนนิซิลิน จี เบนซาทีนสำหรับฉีด (penicillin G benzathine) นั้นถูกพิจารณาเป็นยาลำดับแรกๆ ที่ควรถูกเลือกใช้ในการรักษาและป้องกันการติดเชื้อสเตรปโทคอกคัล (รวมถึงการป้องกันไข้รูมาติก)
  • มีปริมาณโซเดียมประมาณ 48 มก. (2 มิลลิอิควิวาเลนท์) ต่อกรัมของยา

การเฝ้าระวัง

  • ระบบเลือด : ผู้ป่วยที่ค่าเวลาโปรทรอมบิน (Prothrombin time) อยู่ในระดับเสี่ยง (ตับหรือไตทำงานบกพร่อง สภาวะโภชนาการต่ำ การรักษาด้วยยาต้านจุลชีพ [antimicrobial therapy] ในระยะยาว)
  • ระบบไต : สมรรถภาพของไตในผู้สูงอายุ

คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย 

  • ควรหลีกเลี่ยงการข้ามมื้อยาและใช้ยาให้ครบตามกำหนด
  • ติดต่อแพทย์ทันทีหากอุจจาระเหลวหรือมีเลือด

ขนาดยาเซฟาโซลินสำหรับเด็ก

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาโรคถุงน้ำดีอักเสบ (Cholecystitis) 

1 เดือนขึ้นไป

  • การติดเชื้อระดับไม่รุนแรงถึงปานกลาง : 25-50 มก./กก./วัน แบ่งฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 3 หรือ 4 ครั้ง
  • การติดเชื้อที่รุนแรง: 100 มก./กก./วัน แบ่งฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 3 หรือ 4 ครั้ง

คำแนะนำจากสถาบันกุมารเวชแห่งสหรัฐอเมริกา (American Academy of Pediatrics)

อายุ 7 วัน หรือน้อยกว่า

  • 25 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือกล้ามเนื้อทุกๆ 12 ชั่วโมง

อายุ 8-28 วัน

  • น้ำหนักไม่เกิน 2 กก. : 25 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือกล้ามเนื้อทุกๆ 12 ชั่วโมง
  • น้ำหนักมากกว่า 2 กก. : 25 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือกล้ามเนื้อทุกๆ 8 ชั่วโมง

อายุ 1 เดือนขึ้นไป

การติดเชื้อระดับไม่รุนแรงถึงปานกลาง

  • 25-50 มก./กก./วัน แบ่งฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 3 ครั้ง
  • ขนาดยาสูงสุด : 3 กรัม/วัน

การติดเชื้อที่รุนแรง

  • 100 ถึง 150 มก./กก./วัน แบ่งฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 3 ครั้ง
  • ขนาดยาสูงสุด: 6 กรัม/วัน

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาถุงเก็บอสุจิอักเสบ – ไม่เจาะจง

อายุ 1 เดือนขึ้นไป

  • การติดเชื้อระดับไม่รุนแรงถึงปานกลาง : 25-50 มก./กก./วัน แบ่งฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 3 หรือ 4 ครั้ง
  • การติดเชื้อที่รุนแรง : 100 มก./กก./วัน แบ่งฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 3 หรือ 4 ครั้ง

คำแนะนำจากสถาบันกุมารเวชแห่งสหรัฐอเมริกา

อายุ 7 วัน หรือน้อยกว่า

  • 25 มก./กก./วัน ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือกล้ามเนื้อทุกๆ 12 ชั่วโมง

อายุ 8-28 วัน

  • น้ำหนักไม่เกิน 2 กก. : 25 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือกล้ามเนื้อทุกๆ 12 ชั่วโมง
  • น้ำหนักมากกว่า 2 กก. :  25 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือกล้ามเนื้อทุกๆ 8 ชั่วโมง

1 เดือนขึ้นไป

การติดเชื้อระดับไม่รุนแรงถึงปานกลาง

  • 25- 50 มก./กก./วัน แบ่งฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 3 ครั้ง
  • ขนาดยาสูงสุด : 3 กรัม/วัน

การติดเชื้อที่รุนแรง

  • 100 ถึง 150 มก./กก. แบ่งฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 3 ครั้ง
  • ขนาดยาสูงสุด : 6 กรัม/วัน

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาการติดเชื้อที่ข้อต่อ 

1 เดือนขึ้นไป

  • การติดเชื้อระดับเบาถึงปานกลาง : 25-50 มก./กก./วัน แบ่งฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 3 ครั้ง
  • การติดเชื้อที่รุนแรง : 100 มก./กก./วัน แบ่งฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 3 ครั้ง

คำแนะนำจากสถาบันกุมารเวชแห่งสหรัฐอเมริกา 

อายุ 7 วัน หรือน้อยกว่า

  • 25 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดหรือกล้ามเนื้อทุกๆ 12 ชั่วโมง

อายุ 8-28 วัน

  • น้ำหนักไม่เกิน 2 กก. : 25 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดหรือกล้ามเนื้อทุกๆ 12 ชั่วโมง
  • น้ำหนักมากกว่า 2 กก. : 25 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดหรือกล้ามเนื้อทุกๆ 8 ชั่วโมง

1 เดือนขึ้นไป

การติดเชื้อระดับไม่รุนแรงถึงปานกลาง

  • 25-50 มก./กก./วัน แบ่งฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 3 ครั้ง
  • ขนาดยาสูงสุด : 3 กรัม/วัน

การติดเชื้อที่รุนแรง

  • 100-150 มก./กก. แบ่งฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 3 ครั้ง
  • ขนาดยาสูงสุด : 6 กรัม/วัน

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาโรคกระดูกอักเสบ

1 เดือนขึ้นไป

  • การติดเชื้อระดับไม่รุนแรงถึงปานกลาง : 25-50 มก./กก./วัน แบ่งฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 3 ครั้ง
  • การติดเชื้อที่รุนแรง : 100 มก./กก./วัน แบ่งฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 3 หรือ 4 ครั้ง

คำแนะนำจากสถาบันกุมารเวชแห่งสหรัฐอเมริกา

อายุ 7 วัน หรือน้อยกว่า

  • 25 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดหรือกล้ามเนื้อทุกๆ 12 ชั่วโมง

อายุ 8-28 วัน

  • น้ำหนักถึง 2 กก. : 25 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดหรือกล้ามเนื้อทุกๆ 12 ชั่วโมง
  • น้ำหนักมากกว่า 2 กก. : 25 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดหรือกล้ามเนื้อทุกๆ 8 ชั่วโมง

1 เดือนขึ้นไป

การติดเชื้อระดับไม่รุนแรงถึงปานกลาง

  • 25-50 มก./กก./วัน แบ่งฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 3 ครั้ง
  • ขนาดยาสูงสุด : 3 กรัม/วัน

การติดเชื้อที่รุนแรง

  • 100 -150 มก./กก. แบ่งฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 3 ครั้ง
  • ขนาดยาสูงสุด : 6 กรัม/วัน

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาโรคปอดบวม 

1 เดือนขึ้นไป

  • การติดเชื้อระดับเบาถึงปานกลาง : 25-50 มก./กก./วัน แบ่งฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 3 ครั้ง
  • การติดเชื้อที่รุนแรง : 100 มก./กก. แบ่งฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 3 ครั้ง

คำแนะนำจากสถาบันกุมารเวชแห่งสหรัฐอเมริกา 

อายุ 7 วัน หรือน้อยกว่า

  • 25 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือกล้ามเนื้อทุกๆ 12 ชั่วโมง

อายุ 8-28 วัน

  • น้ำหนักไม่เกิน 2 กก. : 25 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือกล้ามเนื้อทุกๆ 12 ชั่วโมง
  • น้ำหนักมากกว่า 2 กก. : 25 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือกล้ามเนื้อทุกๆ 8 ชั่วโมง

1 เดือนขึ้นไป

การติดเชื้อระดับไม่รุนแรงถึงปานกลาง

  • 25-50 มก./กก./วัน แบ่งฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 3 ครั้ง
  • ขนาดยาสูงสุด : 3 กรัม/วัน

การติดเชื้อที่รุนแรง

  • 100-150 มก./กก. แบ่งฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 3 ครั้ง
  • ขนาดยาสูงสุด : 6 กรัม/วัน

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาต่อมลูกหมากอักเสบ

1 เดือนขึ้นไป

  • การติดเชื้อระดับเบาถึงปานกลาง : 25-50 มก./กก./วัน แบ่งฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 3 ครั้ง
  • การติดเชื้อที่รุนแรง : 100 มก./กก. แบ่งฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 3 หรือ 4 ครั้ง

คำแนะนำจากสถาบันกุมารเวชแห่งสหรัฐอเมริกา 

อายุ 7 วัน หรือน้อยกว่า

  • 25 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือกล้ามเนื้อทุกๆ 12 ชั่วโมง

อายุ 8-28 วัน

  • น้ำหนักไม่เกิน 2 กก. : 25 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือกล้ามเนื้อทุกๆ 12 ชั่วโมง
  • น้ำหนักมากกว่า 2 กก. : 25 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือกล้ามเนื้อทุกๆ 8 ชั่วโมง

1 เดือนขึ้นไป

การติดเชื้อระดับไม่รุนแรงถึงปานกลาง

  • 25-50 มก./กก./วัน แบ่งฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 3 ครั้ง
  • ขนาดยาสูงสุด : 3 กรัม/วัน

การติดเชื้อที่รุนแรง

  • 100-150 มก./กก. แบ่งฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 3 ครั้ง
  • ขนาดยาสูงสุด : 6 กรัม/วัน

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาการติดเชื้อที่ผิวหรือเนื้อเยื่ออ่อน 

1 เดือนขึ้นไป

  • การติดเชื้อระดับไม่รุนแรงถึงปานกลาง : 25-50 มก./กก./วัน แบ่งฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 3 ครั้ง
  • การติดเชื้อที่รุนแรง : 100 มก./กก./วัน แบ่งฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 3 ครั้ง

คำแนะนำจากสถาบันกุมารเวชแห่งสหรัฐอเมริกา 

อายุ 7 วัน หรือน้อยกว่า

  • 25 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดหรือกล้ามเนื้อทุกๆ 12 ชั่วโมง

อายุ 8-28 วัน

  • น้ำหนักไม่เกิน 2 กก. : 25 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดหรือกล้ามเนื้อทุกๆ 12 ชั่วโมง
  • น้ำหนักมากกว่า 2 กก. : 25 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดหรือกล้ามเนื้อทุกๆ 8 ชั่วโมง

1 เดือนขึ้นไป

การติดเชื้อระดับรุนแรงถึงปานกลาง

  • 25-50 มก./กก./วัน แบ่งฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 3 ครั้ง
  • ขนาดยาสูงสุด : 3 กรัม/วัน

การติดเชื้อที่รุนแรง

  • 100-150 มก./กก. แบ่งฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 3 ครั้ง
  • ขนาดยาสูงสุด : 6 กรัม/วัน

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาการติดเชื้อแบคทีเรีย

1 เดือนขึ้นไป

  • การติดเชื้อระดับไม่รุนแรงถึงปานกลาง : 25-50 มก./กก./วัน แบ่งฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 3 ครั้ง
  • การติดเชื้อที่รุนแรง : 100 มก./กก./วัน แบ่งฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 3 ครั้ง

คำแนะนำจากสถาบันกุมารเวชแห่งสหรัฐอเมริกา

อายุ 7 วัน หรือน้อยกว่า

  • 25 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดหรือกล้ามเนื้อทุกๆ 12 ชั่วโมง

อายุ 8-28 วัน

  • น้ำหนักไม่เกิน 2 กก. : 25 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดหรือกล้ามเนื้อทุกๆ 12 ชั่วโมง
  • น้ำหนักมากกว่า 2 กก. : 25 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดหรือกล้ามเนื้อทุกๆ 8 ชั่วโมง

1 เดือนขึ้นไป

การติดเชื้อระดับไม่รุนแรงถึงปานกลาง

  • 25-50 มก./กก./วัน แบ่งฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 3 ครั้ง
  • ขนาดยาสูงสุด : 3 กรัม/วัน

การติดเชื้อที่รุนแรง

  • 100-150 มก./กก. แบ่งฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 3 ครั้ง
  • ขนาดยาสูงสุด : 6 กรัม/วัน

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาที่ระบบทางเดินปัสสาวะ 

1 เดือนขึ้นไป

  • การติดเชื้อระดับเบาถึงปานกลาง : 25-50 มก./กก./วัน แบ่งฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 3 ครั้ง
  • การติดเชื้อที่รุนแรง : 100 มก./กก. แบ่งฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 3 ครั้ง

คำแนะนำจากสถาบันกุมารเวชแห่งสหรัฐอเมริกา 

อายุ 7 วัน หรือน้อยกว่า

  • 25 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดหรือกล้ามเนื้อทุกๆ 12 ชั่วโมง

อายุ 8-28 วัน

  • น้ำหนักไม่เกิน 2 กก. : 25 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดหรือกล้ามเนื้อทุกๆ 12 ชั่วโมง
  • น้ำหนักมากกว่า 2 กก. : 25 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดหรือกล้ามเนื้อทุกๆ 8 ชั่วโมง

1 เดือนขึ้นไป

การติดเชื้อระดับไม่รุนแรงถึงปานกลาง

  • 25-50 มก./กก./วัน แบ่งฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 3 ครั้ง
  • ขนาดยาสูงสุด : 3 กรัม/วัน

การติดเชื้อที่รุนแรง

  • 100-150 มก./กก. แบ่งฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 3 ครั้ง
  • ขนาดยาสูงสุด : 6 กรัม/วัน

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาการติดเชื้อที่ผิวและโครงสร้างผิว

1 เดือนขึ้นไป

  • การติดเชื้อระดับเบาถึงปานกลาง : 25-50 มก./กก./วัน แบ่งฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 3 หรือ 4 ครั้ง
  • การติดเชื้อที่รุนแรง : 100 มก./กก./วัน แบ่งฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 3 หรือ 4 ครั้ง

คำแนะนำจากสถาบันกุมารเวชแห่งสหรัฐอเมริกา 

อายุ 7 วัน หรือน้อยกว่า

  • 25 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือกล้ามเนื้อทุกๆ 12 ชั่วโมง

อายุ 8-28 วัน

  • น้ำหนักไม่เกิน 2 กก : 25 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือกล้ามเนื้อทุกๆ 12 ชั่วโมง
  • น้ำหนักมากกว่า 2 กก : 25 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดหรือกล้ามเนื้อทุกๆ 8 ชั่วโมง

1 เดือนขึ้นไป

การติดเชื้อระดับเบาถึงปานกลาง

  • 25-50 มก./กก./วัน แบ่งฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 3 ครั้ง
  • ขนาดยาสูงสุด : 3 กรัม/วัน

การติดเชื้อที่รุนแรง :

  • 100-150 มก./กก. แบ่งฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 3 ครั้ง
  • ขนาดยาสูงสุด : 6 กรัม/วัน

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาติดเชื้อในกระแสเลือด 

1 เดือนขึ้นไป

  • 100 มก./กก./วัน แบ่งฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 3 หรือ 4 ครั้ง

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาเยื่อบุหัวใจอักเสบ

1 เดือนขึ้นไป

  • 100 มก./กก./วัน แบ่งฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 3 หรือ 4 ครั้ง

คำแนะนำจากสมาคมโรคหัวใจสหรัฐอเมริกา

1 ปีขึ้นไป

  • 100 มก./กก./วัน แบ่งฉีดเข้าหลอดเลือดดำทุกๆ 8 ชั่วโมง
  • ขนาดยาสูงสุด : 12 กรัม/วัน
  • ระยะเวลาการรักษา : อย่างน้อย 4 ถึง 6 สัปดาห์

คำแนะนำ

  • เป็นสูตรทางเลือกสำหรับเชื้อสเตรปโทคอกไค ที่ไวต่อเพนนิซิลิน จี อย่างมาก (ความเข้มข้นของยาที่สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียขั้นต่ำ [MBC] มากขึ้น 0.1 ไมโครกรัม/มล.) เชื้อสเตปฟิโลคอกไค (เชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส หรือเชื้อสแตปฟิโลคอคไค โคแอกกูเลส [coagulase] ที่เป็นแกรมลบ) มีปฏิกิริยาไวต่อเพนนิซิลิน จี ขนาดไม่เกิน1 ไมโครกรัม/มล. (หายาก) และเชื้อสแตปฟิโลคอคไคที่ต้านทานต่อเพนนิซิลิน 1 ไมโครกรัม/มล. เชื้อสเตรปโทคอกไคที่ไวต่อเพนนิซิลิน จี อย่างมาก ซึ่งรวมถึง เชื้อสเตรปโทคอกไค วิริแดนส์ส่วนใหญ่ (viridans) เชื้อสเตรปโทคอกไคกลุ่มเอ บี ซี จี และกลุ่มดี ที่ไม่ใช่กลุ่มเอ็นเตอร์โรคอคคัล (สเตรปโทคอกคัส บอวิสหรือสเตรปโทคอกคัส เอไควนัส)
  • สำหรับเชื้อสเตรปโทคอกไคที่ต้านทานต่อเพนนิซิลินจี 0.1 ไมโครกรัม/มล. อาจใช้ยานี้ร่วมกับเจนตามัยซินหรือใช้แยกต่างหากในช่วง 3-5 วันแรก
  • ควรมีการศึกษาข้อมูลแนวทางในปัจจุบันเพื่อข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อป้องกันเยื่อบุหัวใจอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย 

คำแนะนำจากสมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกา (AHA)

เด็ก : 50 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดหรือกล้ามเนื้อ 30-60 นาทีก่อนการผ่าตัด

ขนาดยาสูงสุด : 1 กรัม/ครั้ง

คำแนะนำ

  • แนะนำเป็นทางเลือกสำหรับผู้ป่วยที่มีหรือไม่มีอาการแพ้ยาเพนนิซิลิน/ยาแอมพิซิลลิน ไม่สามารถรับประทานยาได้ (เว้นแต่จะมีประวัติการแพ้อย่างรุนแรง การบวมใต้ชั้นผิวหนัง [angioedema] หรือลมพิษ [urticaria] โดยใช้ยาเพนนิซิลินหรือยาแอมพิซิลลิน)
  • ควรมีการศึกษาข้อมูลแนวทางในปัจจุบันเพื่อข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อการป้องกันขณะผ่าตัด 

คำแนะนำจากสมาคมเภสัชกรในระบบสาธารณสุขแห่งอเมริกา (ASHP) สมาคมโรคติดเชื้อแห่งสหรัฐอเมริกา (IDSA) สมาคมโรคติดต่อจากการผ่าตัด (SIS) และสมาคมการดูแลโรคระบาดวิทยาแห่งอเมริกา (SHEA)

ขนาดยาก่อนการผ่าตัด : 30 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำครั้งเดียว

ขนาดยาสูงสุด

  • น้ำหนักน้อยกว่า 120 กก. : ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ครั้งละ 2 กรัม
  • น้ำหนัก 120 กก. ขึ้นไป : ฉีดเข้าหลอดเลือดครั้งละ 3 กรัม ช่วงเวลาให้ยาซ้ำ (ตั้งแต่เริ่มให้ยาก่อนการผ่าตัดครั้งแรก) : 4 ชั่วโมง

คำแนะนำ

  • เริ่มให้ยา 60 นาทีก่อนการผ่าตัด
  • ปกติแล้วการให้ยาเพื่อการป้องกันเพียงครั้งเดียวก็เพียงพอ หากการป้องกันต้องดำเนินไปจนหลังการผ่าตัดควรใช้ระยะเวลาไม่เกิน 24 ชั่วโมง
  • เพื่อให้แน่ใจว่ามีระดับของยาในเซรั่มและเนื้อเยื่อเพียงพอ อาจต้องให้ยาซ้ำอีกครั้ง หากการผ่าตัดเกินจากช่วงระยะเวลาการให้ยาซ้ำที่ตามที่แนะนำ
  • อาจจำเป็นต้องให้ยาอีกครั้งหากระยะครึ่งชีวิตของยานั้นสั้นลง เช่นมีแผลไหม้ที่กว้าง หรือมีเลือดออกขณะผ่าตัดนานเกินหรือมากเกิน อาจไม่จำเป็นต้องให้ยาซ้ำหากระยะครึ่งชีวิตของยานั้นยาวขึ้น เช่น ไตบกพร่อง
  • อาจแนะนำการใช้ยานี้ร่วมกับยาอื่น ขึ้นอยู่กับชนิดของการผ่าตัด
  • ควรมีการศึกษาแนวทางในปัจจุบันเพื่อข้อมูลเพิ่มเติม

การใช้งาน : แนะนำเพื่อการป้องกันในการผ่าตัดสำหรับการผ่าตัดดังต่อไปนี้

  • การผ่าตัดไส้ติ่งสำหรับอาการไส้ติ่งอักเสบที่ไม่ซับซ้อน
  • ทางเดินน้ำดี : การผ่าตัดเปิด การผ่าตัดชนิดที่คอยได้ (elective) การผ่าตัดผ่านกล้องที่มีควมเสี่ยงสูง
  • หัวใจ : ผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ กระบวนการสอดเครื่องมือเข้าหัวใจ เช่น การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (pacemaker implantation) หรือใส่อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ปั๊มเลือดทดแทนการบีบตัวของหัวใจ (ventricular assist devices)
  • การผ่าตัดคลอด
  • ลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง
  • ระบบทางเดินอาหาร : กระบวนการเข้าสู่ท่อระบบทางเดินอาหาร (เช่น การผ่าตัดรักษาโรคอ้วน (bariatric) การผ่าตัดตับอ่อน (pancreaticoduodenectomy) กระบวนการที่ไม่ต้องเข้าสู่ท่อระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคกรดไหลย้อน (antireflux) การเลือกตัดเฉพาะประสาทที่ควบคุมกระเพาะอาหารส่วนที่มีเยื่อเมือกผลิตกรด (highly selective vagotomy) สำหรับผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง
  • หัวและคอ: อวัยวะปลอมทดแทนที่สะอาด (ไม่นับท่อระบาย [tympanostomy tubes]) การผ่าตัดโรคมะเร็งที่สะอาดกึ่งปนเปื้อน (clean-contaminated) การผ่าตัดที่สะอาดกึ่งปนเปื้อนอื่นๆ โดยไม่นับการผ่าตัดต่อมทอมซิล (tonsillectomy) และการผ่าตัดโพรงจมูกและไซนัสด้วยกล้องเอ็นโดสโคป (functional endoscopic sinus procedures)
  • หัวใจ ปอด การปลูกถ่าย หัวใจ-ปอด -การรักษาไส้เลื่อน อย่างการผ่าตัดแก้ไขภาวะไส้เลื่อนโดยใช้แผ่นสารสังเคราะห์เย็บปิดรู (hernioplasty) และการผ่าตัดเย็บซ่อมแซมหน้าท้องส่วนที่มีไส้เลื่อน (Herniorrhaphy)
  • การผ่าตัดมดลูก (Hysterectomy) : ทางช่องคลอดหรือหน้าท้อง
  • การผ่าตัดระบบประสาท (Neurosurgery) : การผ่าตัดกะโหลกศีรษะแบบรอได้ (Elective craniotomy) การทำทางเชื่อมโพรงสมอง (CSF-shunting) การปลูกถ่ายเครื่องปั๊มภายใน (intrathecal pumps)
  • กระดูกและข้อ : ผ่าตัดกระดูกสันหลังโดยมีหรือไม่มีเครื่องมือ การซ่อมแซมข้อสะโพกที่แตกหัก (hip fracture repair) ปลูกถ่ายอุปกรณ์ยึดตรึงกระดูกภายใน (internal fixation devices) เช่น ตะปู สกรู แผ่น ลวด การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม (total joint replacement)
  • ตับอ่อน การปลูกถ่ายตับอ่อนและไต
  • การทำศัลยกรรมพลาสติก : ปราศจากปัจจัยเสี่ยงหรือสะอาดกึ่งปนเปื้อน
  • ลำไส้เล็ก : ไม่อุดตัน อุดตัน
  • ทรวงอก : การผ่าตัดที่ไม่เกี่ยวข้องกับหัวใจ รวมทั้งการตัดกลีบปอด (Lobectomy) การตัดปอดทั้งข้าง (Pneumonectomy) การผ่าตัดเนื้อปอดออก (lung resection) การผ่าตัดเปิดทรวงอก (thoracotomy) การผ่าตัดทรวงอกโดยใช้กล้องส่อง (video-assisted thoracoscopic surgery)
  • ทางเดินปัสสาวะ : การตรวจระบบปัสสาวะส่วนล่างโดยใช้เครื่องมือโดยมีความเสี่ยงว่าจะติดเชื้อ รวมทั้งการตัดตรวจชิ้นเนื้อต่อมลูกหมาก (transrectal prostate biopsy) ทำความสะอาดโดยไม่เข้าสู่ระบบทางเดินปัสสาวะรวมไปถึงการใส่อวัยวะปลอม การทำความสะอาดที่ผ่านเข้าสู่ทางเดินปัสสาวะ กึ่งสะอาดกึ่งปนเปื้อน
  • หลอดเลือด

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบ (Peritonitis) 

คำแนะนำจากสมาคมการฟอกไตทางช่องท้องระหว่างประเทศ (ISPD)

การป้องกัน : การสัมผัสกับสิ่งปนเปื้อน

  • 125 มก./ลิตร ฉีดเข้าช่องท้อง การผ่าตัดทำฟันแบบรุกรานร่างกาย : 25 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ครั้งเดียว 30-60 นาทีก่อนการผ่าตัด
  • ขนาดยาสูงสุด : 1 กรัม/ครั้ง

กระบวนการสำหรับระบบทางเดินอาหาร

  • 25 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ครั้งเดียว หยอดเข้าหลอดเลือดดำภายใน 60 นาทีก่อนการผ่าตัด
  • ขนาดยาสูงสุด : 2 กรัม/ครั้ง

การรักษา: แบบต่อเนื่อง

  • ขนาดยาเริ่มต้น : 500 มก./ลิตร ฉีดเข้าช่องท้อง
  • ขนาดยาประคับประคองการรักษา : 125 มก./ลิตร ฉีดเข้าช่องท้อง การให้ยาแบบเป็นระยะ : 20 มก./กก. ฉีดเข้าช่องท้องวันละครั้ง

คำแนะนำ

  • สำหรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง การเปลี่ยนถ่ายด้วยขนาดยาเริ่มต้น ควรใช้เวลา 3-6 ชั่วโมง การเปลี่ยนถ่ายหลังจากนั้น ขณะการรักษาควรใช้ขนาดยาระดับประคับประคองการรักษา
  • สำหรับการรักษาแบบให้ยาเป็นระยะ ควรให้ยาวันละครั้งในระยะยาว (เว้นแต่จะระบุระยะเวลาที่เฉพาะเจาะจง)
  • ควรมีการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางในปัจจุบันเพื่อข้อมูลเพิ่มเติม

การปรับขนาดยาสำหรับไต 

ผู้ป่วยเด็ก

  • ค่าครีอะตินีนเคลียรานซ์ (CrCl) 40-70 มล./นาที : 60% ของขนาดยาปกติ แบ่งให้ทุกๆ 12 ชั่วโมง
  • ค่าครีอะตินีนเคลียรานซ์ 20-40 มล./นาที : 25% ของขนาดยาปกติ แบ่งให้ทุกๆ 12 ชั่วโมง
  • ค่าครีอะตินีนเคลียรานซ์ 5-20 มล./นาที : 10% ของขนาดยาปกติ แบ่งให้ทุกๆ 24 ชั่วโมง

คำแนะนำ

สำหรับผู้ป่วยเด็ก ขนาดยาที่แนะนำทั้งหมดให้หลังจากการให้ยาในขนาดยาเริ่มต้น

รูปแบบของยา

ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้

  • ยาผงสำหรับฉีด
  • สารละลายสำหรับฉีดเข้าหลอดเลือดดำ
  • ยาผงสำหรับฉีดเข้าหลอดเลือดดำ
  • สารละลายสำหรับฉีด

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด 

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรพิมพ์จิต วัฒนชโนบล


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 07/11/2023

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา