backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

เซเลโคซิบ (Celecoxib)

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์ · ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ข้อบ่งใช้

ยา เซเลโคซิบ ใช้สำหรับ

ยา เซเลโคซิบ (Celecoxib) ใช้เพื่อรักษาอาการข้ออักเสบ (arthritis) อาการปวดแบบเฉียบพลัน และอาการปวดประจำเดือน หรือความรู้สึกไม่สบาย เป็นยาในกลุ่มยาบรรเทาอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID) เรียกว่า คอก-ทู อินฮิบิเตอร์ (Cox-2 inhibitor) ซึ่งช่วยบรรเทาอาการปวดและอาการบวม (อักเสบ)

การบรรเทาอาการปวดและอาการบวมที่มาจากยาเซเลโคซิบ ช่วยให้คุณจัดการกับกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ หากคุณกำลังรักษาอาการเรื้อรัง อย่าง โรคข้ออักเสบ สอบถามแพทย์เกี่ยวกับการใช้ยาบรรเทาอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ และยาอื่นๆ เพื่อรักษาอาการปวดของคุณ (สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ในส่วนของคำเตือน)

ยาเซเลโคซิบทำงานโดยการปิดกั้นเอนไซม์ในร่างกายที่ผลิตโพรสตาแกลนดิน (Prostaglandin) การลดลงของโพรสตาแกลนดินนั้น ช่วยลดอาการปวดและอาการบวมได้

ยาเซเลโคซิบยังอาจใช้เพื่อรักษาอาการปวดจากโรคเกาต์ได้อีกด้วย

วิธีการใช้ยา เซเลโคซิบ

ควรอ่านแนวทางการใช้ยาที่ได้จากเภสัชกร ก่อนเริ่มใช้ยาเซเลโคซิบและทุกครั้งที่ต้องเติมยา หากมีข้อสงสัยใดๆ โปรดสอบถามแพทย์หรือเภสัชกร

รับประทานยาเซเลโคซิบตามที่แพทย์กำหนด โดยปกติคือวันละ 1-2 ครั้ง เพื่อลดโอกาสในการเกิดอาการท้องไส้ปั่นป่วน อาจรับประทานยาพร้อมกับอาหารได้ ขนาดยาขึ้นอยู่กับสภาวะทางการแพทย์ และการตอบสนองต่อการรักษา รับประทานยาในขนาดยาที่ต่ำที่สุดเท่าที่มีประสิทธิภาพ และใช้นานเท่าที่กำหนดไว้เท่านั้น (สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ในส่วนของคำเตือน)

รับประทานยาเซเลโคซิบพร้อมกับน้ำเต็มแก้ว (240 มล.) นอกจากว่าแพทย์จะสั่งแบบอื่น อย่าล้มตัวลงนอนภายใน 10 นาที หลังจากรับประทานยาเซเลโคซิบ

สำหรับโรคอย่างชนิด (เช่น ข้ออักเสบ) อาจต้องใช้ยานี้เป็นประจำเป็นเวลานานถึง 2 สัปดาห์ กว่าที่จะได้รับผลของยาอย่างเต็มที่

ควรรับประทานยานี้ “เท่าที่จำเป็น’ (ไม่ได้รับประทานเป็นประจำ) ควรจำไว้ว่า ยาแก้ปวดจะได้ผลดีที่สุด หากรับประทานตั้งแต่เริ่มมีอาการ หากคุณรอจนกระทั่งอาการปวดนั้นแย่ลง ยาอาจจะทำงานได้ไม่เต็มที่

การเก็บรักษายา เซเลโคซิบ

ยาเซเลโคซิบควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาเซเลโคซิบบางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยาหรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัย โปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่ควรทิ้งยาเซเลโคซิบลงในชักโครก หรือในท่อระบายน้ำ เว้นแต่ได้รับคำแนะนำเช่นนั้น ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้องเมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน โปรดสอบถามเภสัชกรเพิ่มเติม เกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยา เซเลโคซิบ

อย่าใช้ยาเซเลโคซิบก่อนหรือหลังการผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจ (coronary artery bypass graft surgery)

ยานี้อาจทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ หรือการไหลเวียนของเลือดที่รุนแรงถึงชีวิต เช่น โรคหัวใจขาดเลือดฉับพลัน หรือโรคหลอดเลือดสมอง โดยเฉพาะหากคุณใช้เป็นเวลานาน

ยานี้ยังอาจทำให้เกิดผลที่รุนแรงกับกระเพาะหรือลำไส้ ทั้งอาการเลือดออก หรือลำไส้ทะลุ (perforation) อาการเหล่านี้อาจถึงแก่ชีวิต และสามารถเกิดขึ้นได้โดยไม่มีการเตือนล่วงหน้า ในขณะที่คุณกำลังใช้ยาเซเลโคซิบ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ

ไม่ควรใช้ยานี้หากคุณมีอาการแพ้ยาเซเลโคซิบ หรือหากคุณมีประวัติการแพ้ยาแอสไพริน ยาซัลฟา หรือยาบรรเทาอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์อื่นๆ

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยา

ยาเซเลโคซิบจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์ ประเภท C โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A= ไม่มีความเสี่ยง
  • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C= อาจจะมีความเสี่ยง
  • D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X= ห้ามใช้
  • N= ไม่มีข้อมูลเพียงพอ

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยา เซเลโคซิบ

รับการรักษาในทันที หากคุณมีสัญญาณของอาการแพ้เหล่านี้

  • ลมพิษ
  • หายใจติดขัด
  • บวมที่ใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้น หรือลำคอ

หยุดใช้ยาเซเลโคซิบและติดต่อแพทย์ในทันที หากคุณมีผลข้างเคียงที่รุนแรง ได้แก่

  • ปวดหน้าอก อ่อนแรง หายใจไม่อิ่ม พูดไม่ชัด มีปัญหากับการมองเห็นหรือการทรงตัว
  • อุจจาระเป็นสีดำ สีเลือด หรือคล้ายยางมะตอย
  • ไอเป็นเลือด หรืออาเจียนคล้ายกากกาแฟ
  • มีอาการบวมหรือน้ำหนักขึ้นอย่างรวดเร็ว
  • ปัสสาวะน้อยกว่าปกติหรือไม่ปัสสาวะเลย
  • คลื่นไส้ ปวดกระเพาะส่วนบน คัน เบื่ออาหาร ปัสสาวะสีเข้ม อุจจาระสีคล้ายดินเหนียว ดีซ่าน (ดวงตาและผิวเป็นสีเหลือง)
  • ผื่นผิวหนัง รอยช้ำ เป็นเหน็บ ชา ปวด กล้ามเนื้ออ่อนแรงอย่างรุนแรง
  • ปฏิกิริยาที่ผิวหนังอย่างรุนแรง – เป็นไข้ เจ็บคอ บวมที่ใบหน้าหรือลิ้น แสบร้อนที่ดวงตา ปวดผิว ตามด้วยผื่นผิวหนังสีแดงหรือม่วงที่แพร่กระจาย (โดยเฉพาะที่ใบหน้าหรือร่างกายส่วนบน) และทำให้เกิดแผลพุพองและผิวลอก

ผลข้างเคียงที่รุนแรงน้อยกว่ามีดังนี้

  • ท้องไส้ปั่นป่วน ท้องร่วง ท้องอืด มีแก็ส
  • มึนงง กังวลใจ ปวดหัว
  • น้ำมูกไหลหรือคัดจมูก เจ็บคอ
  • มีผดผื่นผิวหนังในระดับเบา

ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้ และอาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษากับแพทย์

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยาเซเลโคซิบอาจเกิดอันตรกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรจะแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่าคุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

แม้ยาบางชนิดไม่ควรใช้ร่วมกัน แต่ในบางกรณี อาจต้องมีการใช้ยาที่แตกต่างกันสองชนิด แม้ว่าอาจจะมีปฏิกิริยาเกิดขึ้น ในกรณีเหล่านี้ แพทย์อาจต้องเปลี่ยนขนาดยา หรือเพิ่มความระมัดระวังในการใช้อื่นๆ ที่จำเป็น แจ้งให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับยาที่คุณกำลังใช้ ทั้งยาตามใบสั่งหรือยาที่หาซื้อได้เอง

ไม่แนะนำให้ใช้ยานี้ร่วมกับยาดังต่อไปนี้ แพทย์อาจจะไม่ใช้ยานี้รักษาคุณหรือเปลี่ยนยาที่คุณกำลังใช้อยู่

การใช้ยานี้กับยาดังต่อไปนี้โดยปกติแล้วจะไม่แนะนำ แต่อาจจำเป็นต้องใช้ในบางกรณี หากคุณได้รับสั่งยาทั้งสองร่วมกัน แพทย์อาจต้องเปลี่ยนขนาดยาหรือความถี่ในการใช้ยา หนึ่งหรือทั้งสองชนิด

  • แอ็บซิกซิแมบ (Abciximab) อะนากรีไลด์ (Anagrelide) อะพิซาแบน (Apixaban) อาร์เดพาริน (Ardeparin) อาร์แกทโทรแบน (Argatroban) เบต้ากลูแคน (Beta Glucan) ไบวาลิรูดิน (Bivalirudin) เซริทินิบ (Ceritinib) เซอร์โทพาริน (Certoparin) ซิลอสทาซอล (Cilostazol) ไซตาโลแพรม (Citalopram) โคลพิโดเกรล (Clopidogrel) โคลวอคซามีน (Clovoxamine) ไซโคลสปอริน (Cyclosporine) ดาบิกาแทรน อีเทกซ์ซิเลต (Dabigatran Etexilate) ดาบราเฟนิบ (Dabrafenib) ดัลเทพาริน (Dalteparin) ดานาพารอยด์ (Danaparoid) เดซิรูดิน (Desirudin) ไดไพริดาโมล (Dipyridamole) ดูล็อกซีทีน (Duloxetine) อีนอกซาพาริน (Enoxaparin) เอปทิฟิบาไทด์ (Eptifibatide) อาร์โลทินิบ (Erlotinib) เอสซิตาโลแพรม (Escitalopram) เฟมอกเซทีน (Femoxetine) ฟีเวอร์ฟิว (Feverfew) เฟลสซินอกแซน (Flesinoxan) ฟลูออกซิทีน (Fluoxetine) ฟอนดาพารินุกซ์ (Fondaparinux) แป๊ะก๊วย (Ginkgo) กอสสิบพอล (Gossypol) เฮพาริน (Heparin) เลพิรูดิน (Lepirudin) ลีโวมินาซิพราน (Levomilnacipran) มีโดว์สวีท (Meadowsweet) เมโธเทรกเซท (Methotrexate) มิลแนซิแพรน (Milnacipran) นาโดรพาริน (Nadroparin) เนฟาโซโดน (Nefazodone) ไนทิซิโนน (Nitisinone) พาร์นาพาริน (Parnaparin) พารอกเซทีน (Paroxetine) เพมิเทรกเซด (Pemetrexed) เพนโทแซนโพลิซัลเฟตโซเดียม (Pentosan Polysulfate Sodium) เพนท็อกซิฟิลลีน (Pentoxifylline) พราลาเทรกเซต (Pralatrexate) พราซูเกรล (Prasugrel) โปรตีนซี (Protein C) เรวิพาริน (Reviparin) ริวารอกซาแบน (Rivaroxaban) ซิบิวทรามีน (Sibutramine) ทาโครลิมัส (Tacrolimus) ทิโคลพิดีน (Ticlopidine) ทินซาพาริน (Tinzaparin) ไทโรไฟแบน (Tirofiban) เวนลาฟาซีน (Venlafaxine) วิลาโซโดน (Vilazodone) วอร์ทิออกเซทีน (Vortioxetine) วาฟาริน (Warfarin) ซิเมลไดน์ (Zimeldine)

การใช้ยานี้กับยาดังต่อไปนี้อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงบางอย่างได้ แต่การใช้ยาทั้ง 2 ชนิดร่วมกันอาจเป็นการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ หากคุณได้รับสั่งยาทั้ง 2 ร่วมกัน แพทย์อาจต้องเปลี่ยนขนาดยาหรือความถี่ในการใช้ยาหนึ่งหรือทั้งสองชนิด

  • อะซีบูโทลอล (Acebutolol) อะซีโตเฮกซาไมด์ (Acetohexamide) อะลาเซพริล (Alacepril) แอลพรีโนลอล (Alprenolol) อะมิโลไรด์ (Amiloride) แอมโลดิปีน (Amlodipine) อะโรทิโนลอล (Arotinolol) แอสไพริน อะทีโนลอล (Atenolol) อะซิลซาร์แทนเมดอกซ์โซมิล (Azilsartan Medoxomil) อาโซเซไมด์ (Azosemide) เบฟูโนลอล (Befunolol) เบเมทิไซด์ (Bemetizide) เบนาซีพริล (Benazepril) เบนโดรฟลูเมตไทอะไซด์ (Bendroflumethiazide) เบนซ์ไทอาไซด์ (Benzthiazide) บีพริดิล (Bepridil) เบต้าโซลอล (Betaxolol) เบแวนโทลอล (Bevantolol) ไบโซโปรลอล (Bisoprolol) โบพินโดลอล (Bopindolol) บูซินโดลอล (Bucindolol) บูมีทาไนด์ (Bumetanide) บูพราโนลอล (Bupranolol) บูไทอาไซด์ (Buthiazide) แคนดีซาร์แทนซีเลกเซทิล (Candesartan Cilexetil) แคนเรโนเอต (Canrenoate) แคปโตพริล (Captopril) คาร์ทีโอลอล (Carteolol) คาร์วีไดลอล (Carvedilol) เซลิโพรลอล (Celiprolol) คลอโรไทอะไซด์ (Chlorothiazide) คลอร์โพรพาไมด์ (Chlorpropamide) คลอร์ทาลิโดน (Chlorthalidone) ซิลาเซพริล (Cilazapril) คลอพาไมด์ (Clopamide) ไซโคลเพนไธอะไซด์ (Cyclopenthiazide) เดลาพริล (Delapril) เดสเวนลาเฟซีน (Desvenlafaxine) ดิเลวาลอล (Dilevalol) ดิลไทอะเซม (Diltiazem) เอนาลาพริล (Enalaprilat) อีนาลาพริล เมเลียต (Enalapril Maleate) อิโพรซาร์แทน (Eprosartan) เอสโมลอล (Esmolol) กรดเอธาครีนิก (Ethacrynic Acid) ฟิโลดิปีน (Felodipine) ฟลูโคนาโซล (Fluconazole) ฟลูนาริซีน (Flunarizine) โฟซิโนพริล (Fosinopril) ฟูโรซีไมด์ (Furosemide) แกลโลพามิล (Gallopamil) ไกลคลาไซด์ (Gliclazide) ไกลเมพิไรด์ (Glimepiride) ไกลพิไซด์ (Glipizide) กลิควิโดน (Gliquidone) ไกลบูไรด์ (Glyburide) ไฮโดรคลอโรไทอะไซด์ (Hydrochlorothiazide) ไฮโดรฟลูเมไธอะไซด์ (Hydroflumethiazide) อิมิดาพริล (Imidapril) อินดาพาไมด์ (Indapamide) เออร์บีซาร์แทน (Irbesartan) เอสราดิพีน (Isradipine) ลาเบทาลอล (Labetalol) ลาซิดิพีน (Lacidipine) แลนดิโอลอล (Landiolol) ลีโวบูโนลอล (Levobunolol) ลิโดฟลาซีน (Lidoflazine) ลิซิโนพริล (Lisinopril) ลิเทียม (Lithium) ลอซาร์แทน (Losartan) มานิดิปีน (Manidipine) เมพินโดลอล (Mepindolol) เมทีคลอไทอะไซด์ (Methyclothiazide) เมทิพราโนลอล (Metipranolol) เมโทลาโซน (Metolazone) เมโทโพรลอล (Metoprolol) โมเอซิพริล (Moexipril) นาโดลอล (Nadolol) เนบิโวลอล (Nebivolol) นิคาร์ดิปีน (Nicardipine) ไนเฟดิปีน (Nifedipine) นิลวาดิไพน์ (Nilvadipine) นิโมดิไพน์ (Nimodipine) นิพราดิลอล (Nipradilol) ไนโซลดิปีน (Nisoldipine) ไนเทรนดิไพน์ (Nitrendipine) โอล์มีซาร์แทนเมดอกโซมิล (Olmesartan Medoxomil) ออกเพรนโนลอล (Oxprenolol) เพนบูโทลอล (Penbutolol) เพนโทพริล (Pentopril) เพอรินโดพริล (Perindopril) พินโดลอล (Pindolol) พิเรทาไนด์ (Piretanide) โพลีไทอะไซด์ (Polythiazide) พรานิดิไพน์ (Pranidipine) โพรพราโนลอล (Propranolol) ควินาพริล (Quinapril) รามิพริล (Ramipril) โซทาลอล (Sotalol) สไปราพริล (Spirapril) สไปโรโนแลคโตน (Spironolactone) ทาลิโนลอล (Talinolol) ทาโซซาร์แทน (Tasosartan) เทลมิซาร์แทน (Telmisartan) Temocapril, Tertatolol, Timolol, Tolazamide, Tolbutamide, Torsemide, Trandolapril, ไตรแอมเทอรีน (Triamterene) ไทรคลอร์เมไทอะไซด์ (Trichlormethiazide) วาลซาร์แทน (Valsartan) เวราพามิล (Verapamil) ซิพาไมด์ (Xipamide) โซเฟเนพริล (Zofenopril)

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาเซเลโคซิบอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาเซเลโคซิบอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ โดยเฉพาะ

  • ภาวะโลหิตจาง
  • โรคหัวใจ
  • ภาวะบวมน้ำ
  • มีประวัติการเป็นโรคหัวใจขาดเลือดฉับพลัน
  • ภาวะความดันโลหิตสูง
  • โรคไตระดับต่ำถึงปานกลาง
  • มีประวัติการมีแผลหรือเลือดออกในกระเพาะอาหาร
  • มีประวัติการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง – ควรใช้ด้วยความระมัดระวังเพราะอาจทำให้อาการแย่ลง
  • มีประวัติการเป็นโรคหอบหืดที่รู้สึกไวต่อแอสไพริน
  • มีประวัติการรู้สึกไวต่อแอสไพริน
  • ภาวะไตบกพร่องระดับรุนแรง
  • ภาวะตับบกพร่องระดับรุนแรง
  • โรคภูมิแพ้ซัลโฟ (Sulfa) หรือซัลโฟนาไมด์ (Sulfonamides) เช่น ยาซัลฟาเมทอกซาโซน (Sulfamethoxazole) แบคทริม (Bactrim®) หรือเซ็ปทรา (Septra®)—ผู้ป่วยที่มีอาการเหล่านี้ไม่ควรใช้ยานี้
  • การผ่าตัดหัวใจ เช่น การผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจ (coronary artery bypass graft surgery)—ไม่ควรใช้ยานี้เพื่อบรรเทาอาการปวดก่อนหรือหลังจากการผ่าตัด
  • สภาวะทางพันธุกรรมบางชนิด เช่น มีการเผาผลาญเอนไซม์ตับซีวายพี 2ซี9 (CYP2C9) ได้ไม่ดี
  • โรคตับระดับต่ำถึงปานกลาง—ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง อาจจำเป็นต้องลดขนาดยา

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาเซเลโคซิบสำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาอาการปวด

  • อาการปวดแบบเฉียบพลัน: เริ่มด้วยขนาด 400 มก. ตามด้วย 200 มก. หากจำเป็นในวันแรก แล้วหลังจากนั้นคือ 200 มก. วันละ 2 ครั้ง เท่าที่จำเป็น

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาอาการปวดประจำเดือน

  • เริ่มด้วยขนาด 400 มก. ตามด้วย 200 มก. หากจำเป็นในวันแรก แล้วหลังจากนั้นคือ 200 มก. วันละ 2 ครั้ง เท่าที่จำเป็น

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาอาการข้อเสื่อม

  • 200 มก. รับประทานวันละครั้ง หรือ 100 มก. รับประทานวันละ 2 ครั้ง

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคข้อรูมาตอยด์

  • 100-200 มก. รับประทานวันละ 2 ครั้ง

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่จากติ่งเนื้อที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม

  • 400 มก. รับประทานวันละ 2 ครั้ง พร้อมกับอาหาร

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบยึดติด

  • 200 มก. รับประทานวันละครั้ง หรือ 100 มก. รับประทานวันละ 2 ครั้ง
  • หากไม่มีผลที่ชัดเจนหลังจากรักษาไป 6 สัปดาห์ อาจทดลองใช้ขนาดยา 400 มก. รับประทานวันละครั้ง
  • หากยังไม่มีการตอบสนองหลังผ่านไป 6 สัปดาห์ อาจควรพิจารณารักษาด้วยวิธีอื่น

ขนาดยาเซเลโคซิบสำหรับเด็ก

ขนาดยาสำหรับเด็กโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ในเด็ก

อายุ 2 ปีขึ้นไป

  • น้ำหนักตัว 10 จนถึงต่ำกว่าหรือเท่ากับ 25 กก : 50 มก. รับประทานวันละ 2 ครั้ง
  • น้ำหนักตัวมากกว่า 25 กก : 100 มก. รับประทานวันละ 2 ครั้ง

รูปแบบของยา

ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้

  • แคปซูลสำหรับรับประทาน : 50 มก, 100 มก, 200 มก, 400 มก.

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉิน หรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

อาการของการใช้ยาเกินขนาด ได้แก่

  • ขาดพลังงาน
  • ง่วงซึม
  • คลื่นไส้และอาเจียน
  • ปวดท้อง
  • อาเจียนออกมาเป็นเลือดหรือคล้ายกากกาแฟ
  • อุจจาระเป็นเลือด หรือมีสีดำคล้ายยางมะตอย
  • หมดสติ
  • ลมพิษ
  • ผดผื่น
  • บวมที่ดวงตา ริมฝีปาก ลิ้น ลำคอ แขน มือ เท้า ข้อเท้า หรือขาส่วนล่าง
  • หายใจติดขัด หรือกลืนลำบาก

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมรับประทานยาควรรีบรับประทานทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลารับประทานยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปรับประทานยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา