backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

เฟกโซเฟนาดีน (Fexofenadine)

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์ · ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 25/09/2020

เฟกโซเฟนาดีน (Fexofenadine)

เฟกโซเฟนาดีน (Fexofenadine)  จัดอยู่ในกลุ่มต้านฮีสตามีน (Antihistamine) ทำหน้าที่ยับยั้งสารธรรมชาติอย่างฮีสตามีน (Histamine) ที่ร่างกายสร้างขึ้นมา ขณะมีอาการแพ้

ข้อบ่งใช้

เฟกโซเฟนาดีน ใช้สำหรับ

ยาเฟกโซเฟนาดีน (Fexofenadine)  จัดอยู่ในกลุ่มต้านฮีสตามีน (Antihistamine) ทำหน้าที่ยับยั้งสารธรรมชาติอย่างฮีสตามีน (Histamine) ที่ร่างกายสร้างขึ้นมา ขณะมีอาการแพ้

ยาเฟกโซเฟนาดีใช้เพื่อบรรเทาอาการภูมิแพ้ต่าง ๆ เช่น  น้ำมูกไหล  อาการคันบริเวณจมูก ดวงตา น้ำตาไหล จาม ลมพิษ เป็นต้น

วิธีการใช้ ยาเฟกโซเฟนาดีน

  • ซื้อยารับประทานเอง หากคุณซื้อยารับประทานเอง ควรอ่านคำแนะนำบนบรรจุภัณฑ์อย่างระเอียด  หากมีข้อสงสัยโปรดสอบถามเภสัชกร หากแพทย์สั่งให้คุณใช้ยาเฟกโซเฟนาดีน ควรรับประทานตามที่แพทย์กำหนด โดยปกติคือวันละ 2 ครั้ง (ทุกๆ 12 ชั่วโมง)
  • ยาเฟกโซเฟนาดีนในรูปแบบของยาน้ำ ควรเขย่าขวดทุกครั้งก่อนรับประทาน หลีกเลี่ยงการใช้ช้อนธรรมดาในการตวงยา ให้ใช้อุปกรณ์สำหรับตวงยาเท่านั้นเพื่อให้ได้ปริมาณยาที่ถูกต้อง
  • ยาเฟกโซเฟนาดีนในรูปแบบยาเม็ด หากคุณรับประทานยาเม็ดแบบละลายเร็ว ควรรับประทานขณะท้องว่าง ให้ยาเม็ดละลายก่อน หากต้องดื่มพร้อมน้ำให้รับประทานยาเฟกโซเฟนาดีนพร้อมกับน้ำเปล่า  ห้ามดื่มพร้อมน้ำผลไม้ (เช่น น้ำแอปเปิ้ล เกรฟฟรุต หรือน้ำส้ม)  เพราะอาจจะลดการดูดซึมของยา
  • อย่างไรก็ตาม อย่ารับประทานยาลดกรดที่มีอะลูมิเนียมและแมกนีเซียมภายใน 2 ชั่วโมงหลังจากรับประทานยาเฟกโซเฟนาดีน เนื่องจากยาลดกรดสามารถลดการดูดซึมยาเฟกโซเฟนาดีนได้ แจ้งให้แพทย์ทราบหากอาการของคุณไม่ดีขึ้นหรือแย่ลง

    การเก็บรักษา ยาเฟกโซเฟนาดีน

    • ยาเฟกโซเฟนาดีนควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย
    • ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาเฟกโซเฟนาดีนบางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยาหรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัย โปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
    • ไม่ควรทิ้งยาเฟกโซเฟนาดีนลงในชักโครก หรือเทยาลงในท่อระบายน้ำ เว้นแต่ได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้อง เมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน โปรดสอบถามเภสัชกรเพิ่มเติม เกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง

    ข้อควรระวังและคำเตือน

    ข้อควรรู้ก่อนใช้ยา เฟกโซเฟนาดีน

    ก่อนใช้ยาเฟกโซเฟนาดีน

  • แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบหากคุณแพ้ยาเฟกโซเฟนาดีน ยาอื่นๆ หรือแพ้ส่วนประกอบในยาเม็ด หรือยาน้ำแขวนตะกอนเฟกโซเฟนาดีน สอบถามเภสัชกรสำหรับรายชื่อของส่วนประกอบยา
  • แจ้งให้แพทย์และเภสัชกรทราบเกี่ยวกับยาที่คุณกำลังใช้หรือตั้งใจจะใช้ ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่หาซื้อเอง วิตามิน อาหารเสริม และสมุนไพร โดยเฉพาะยาอิริโทรมัยซิน (erythromycin) เช่น อีมัยซิน (e-mycin) หรืออีริโทรซิน (erythrocin) และยาคีโตโคนาโซล (ketoconazole) อย่างไนโซรอล (nizoral) แพทย์อาจต้องเปลี่ยนขนาดยา หรือเฝ้าระวังผลค้างเคียงอย่างใกล้ชิด
  • หากคุณกำลังรับประทานยาลดกรด ที่มีอะลูมิเนียมและแมกนีเซียม เช่น มาล็อกซ์ (maalox) หรือไมแลกตา (mylanta) และอื่นๆ ให้รับประทานยาลดกรดสองสามชั่วโมง ก่อนหรือหลังจากรับประทานยาเฟกโซเฟนาดีน
  • แจ้งให้แพทย์ทราบ หากคุณเป็นหรือเคยเป็นโรคไต
  • แจ้งให้แพทย์ทราบ หากคุณตั้งครรภ์ มีแผนที่จะตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร หากคุณตั้งครรภ์ขณะใช้ยาเฟกโซเฟนาดีนให้ติดต่อแพทย์ทันที
  • ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

    ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือ เกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้

    ยา เฟกโซเฟนาดีน จัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์ ประเภท C จัดโดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

    การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

    • A= ไม่มีความเสี่ยง
    • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
    • C= อาจจะมีความเสี่ยง
    • D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
    • X= ห้ามใช้
    • N= ไม่มีข้อมูลเพียงพอ

    ผลข้างเคียง

    ผลข้างเคียงของการใช้ยา เฟกโซเฟนาดีน

    ผลข้างเคียงจากการใช้ยา เฟกโซเฟนาดีน เช่น ผล คลื่นไส้ ท้องร่วง ท้องไส้ปั่นป่วน ปวดประจำเดือน ง่วงซึม รู้สึกเหนื่อยล้า เวียนศีรษะ ในกรณีที่มีอาการแพ้อย่างรุนแรง จะมีอาการ ดังนี้

    • หายใจติดขัด
    • มีอาการบวมที่ใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้น ลำคอ
    • ลมพิษ
    • ไข้ หนาวสั่น

    ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้ และอาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

    ปฏิกิริยาของยา

    ปฏิกิริยากับยาอื่น

    ยาเฟกโซเฟนาดีน อาจเกิดอันตรกิริยา กับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

    โดยปกติจะไม่แนะนำการใช้ยานี้ร่วมกับยาดังต่อไปนี้ แต่อาจจำเป็นในบางกรณี

    • เอลิกลูสแตท (Eliglustat) โลมิเทไพด์ (Lomitapide) นิโลตินิบ (Nilotinib) ไซมีพรีเวียร์ (Simeprevir) โทโคเฟอร์โซแลน (Tocophersolan)

    หากคุณได้รับสั่งยาทั้งสองร่วมกัน แพทย์อาจต้องเปลี่ยนขนาดยาหรือความถี่ในการใช้ยาตัวใดตัวหนึ่งหรือทั้งสองอย่าง

    การใช้ยานี้กับยาดังต่อไปนี้อาจเพิ่มความเสี่ยงของผลข้างเคียงบางอย่าง แต่การใช้ยาทั้งสองร่วมกันอาจเป็นการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ หากคุณได้รับสั่งยาทั้งสองร่วมกัน แพทย์อาจต้องเปลี่ยนขนาดยา หรือความถี่ในการใช้ยา ตัวใดตัวหนึ่งหรือทั้งสองอย่าง

    • อะลูมิเนียมคาร์บอเนตพื้นฐาน (Aluminum Carbonate Basic)
    • อะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ (Aluminum Hydroxide)
    • อะลูมิเนียมฟอสเฟต (Aluminum Phosphate)
    • ไดไฮดรอกซีอลูมิเนียมอะมิโนแอซิเตด (Dihydroxyaluminum Aminoacetate)
    • ไดไฮดรอกซีอลูมิเนียมโซเดียมคาร์บอร์เนต (Dihydroxyaluminum Sodium Carbonate)
    • แมกัลเดรต (Magaldrate)
    • แมกนีเซียมคาร์บอเนต (Magnesium Carbonate)
    • แมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ (Magnesium Hydroxide)
    • แมกนีเซียมออกไซด์ (Magnesium Oxide)
    • แมกนีเซียมไตรซิลิเกต (Magnesium Trisilicate)
    • สมุนไพรเซนต์จอห์น (St John’s Wort)

    ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

    ยาเฟกโซเฟนาดีนอาจมีปฏิกิริยากับอาหาร หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

    • น้ำแอปเปิ้ล
    • น้ำเกรฟฟรุต
    • น้ำส้ม

    ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

    ยาเฟกโซเฟนาดีน อาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ โดยเฉพาะ

  • โรคไต ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง ผลของยาอาจจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากความเร็วในการกำจัดยาออกจากร่างกายลดลง
  • โรคฟีนิลคีโตนูเรีย (Phenylketonuria) ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง ยาเม็ดแตกตัวในปากสำหรับรับประทานนั้นมีสารฟีนิลอะลานีน (Phenylalanine)
  • ขนาดยา

    ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

    ขนาด ยาเฟกโซเฟนาดีน สำหรับผู้ใหญ่

    ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ (Allergic Rhinitis)

    • 60 มก. รับประทานวันละสองครั้ง หรือ 180 มก. วันละครั้งพร้อมกับน้ำเปล่า

    ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคลมพิษ (Urticaria)

    • 60 มก. รับประทานวันละสองครั้ง หรือ 180 มก. วันละครั้งพร้อมกับน้ำเปล่า

    ขนาด ยาเฟกโซเฟนาดีน สำหรับเด็ก

    ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ (Allergic Rhinitis)

    ยาเม็ดสำหรับรับประทาน

    • 6 ถึง 11 ปี 30 มก. รับประทานวันละสองครั้งพร้อมกับน้ำเปล่า
    • 12 ปีขึ้นไป 60 มก. รับประทานวันละสองครั้ง หรือ 180 มก. วันละครั้งพร้อมกับน้ำเปล่า

    ยาเม็ดแบบแตกตัวสำหรับรับประทาน

    • 6 ถึง 11 ปี 30 มก. รับประทานวันละสองครั้ง

    ยาน้ำแขวนตะกอนสำหรับรับประทาน

    • โรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ 2 ถึง 11 ปี 30 มก. รับประทานวันละ 2 ครั้งพร้อมกับน้ำเปล่า
    • โรคลมพิษเรื้อรังแบบไม่ทราบสาเหตุ (Chronic idiopathic urticaria) 6 เดือนถึง 1 ปี 15 มก. รับประทานวันละสองครั้งและสำหรับเด็กอายุ 2 ถึง 11 ปี 30 มก. รับประทานวันละ 2 ครั้ง

    ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาโรคลมพิษ (Urticaria)

    ยาเม็ดสำหรับรับประทาน

    • 6 ถึง 11 ปี 30 มก. รับประทานวันละสองครั้งพร้อมกับน้ำเปล่า
    • 12 ปีขึ้นไป 60 มก. รับประทานวันละสองครั้ง หรือ 180 มก. วันละครั้งพร้อมกับน้ำเปล่า

    ยาเม็ดแบบแตกตัวสำหรับรับประทาน

    • 6 ถึง 11 ปี: 30 มก. รับประทานวันละสองครั้ง

    ยาน้ำแขวนตะกอนสำหรับรับประทาน

    • โรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ 2 ถึง 11 ปี 30 มก. รับประทานวันละ 2 ครั้งพร้อมกับน้ำเปล่า
    • โรคลมพิษเรื้อรังแบบไม่ทราบสาเหตุ (Chronic idiopathic urticaria) 6 เดือนถึง 1 ปี: 15 มก. รับประทานวันละสองครั้งและสำหรับเด็กอายุ 2 ถึง 11 ปี 30 มก. รับประทานวันละ 2 ครั้ง

    รูปแบบของยา เฟกโซเฟนาดีน

    ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้

    • ยาน้ำแขวนตะกอนสำหรับรับประทาน รูปแบบเกลือไฮโดรคลอไรด์ (hydrochloride) 30 มก./5 มล. (120 มล.)
    • ยาเม็ดสำหรับรับประทาน รูปแบบเกลือไฮโดรคลอไรด์ 30 มก. 60 มก. 180 มก.
    • ยาเม็ดแบบแตกตัวสำหรับรับประทาน รูปแบบเกลือไฮโดรคลอไรด์  30 มก.

    กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

    หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉิน หรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

    กรณีลืมใช้ยา

    หากคุณลืมรับประทานยาควรรีบรับประทานทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลารับประทานยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปรับประทานยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

    ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


    เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 25/09/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา