backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

เมดรอกซีโปรเจสเตอโรน (Medroxyprogesterone)

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์ · ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 28/06/2023

เมดรอกซีโปรเจสเตอโรน (Medroxyprogesterone)

เมดรอกซีโปรเจสเตอโรน (Medroxyprogesterone) คือ ฮอร์โมนเพศหญิงประเภทหนึ่งหรือโพรเจสติน (progestin) ยานี้คล้ายคลึงกับโพรเจสเทอโรน (progesterone) ที่ร่างกายสร้างขึ้นได้เองตามธรรมชาติ และใช้เพื่อทดแทนฮอร์โมนหากร่างกายผลิตได้ไม่เพียงพอ

ข้อบ่งใช้

ยา เมดรอกซีโปรเจสเตอโรน ใช้สำหรับ

ยา เมดรอกซีโปรเจสเตอโรน (Medroxyprogesterone) คือ ฮอร์โมนเพศหญิงประเภทหนึ่งหรือโพรเจสติน (progestin) ยานี้คล้ายคลึงกับโพรเจสเทอโรน (progesterone) ที่ร่างกายสร้างขึ้นได้เองตามธรรมชาติ และใช้เพื่อทดแทนฮอร์โมนหากร่างกายผลิตได้ไม่เพียงพอ

ยานี้สามารถใช้งานได้หลากหลาย สำหรับผู้หญิงที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ และไม่ได้เข้าสู่วัยหมดประจำเดือน ยานี้จะช่วยรักษาอาการมีเลือดออกผิดปกติทางมดลูก และเพื่อฟื้นฟูรอบเดือนให้กลับมาเป็นปกติ สำหรับผู้หญิงที่มีอาการขาดประจำเดือน (Amenorrhea)

ยา เมดรอกซีโปรเจสเตอโรน ยังเป็นส่วนหนึ่งของการบำบัดด้วยการใช้ฮอร์โมนผสม คู่กับฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) เพื่อลดอาการของหญิงวัยหมดประจำเดือน เช่น ร้อนวูบวาบ ยาเมดรอกซีโปรเจสเตอโรนจะถูกเพิ่มเข้าไปในการบำบัดทดแทนฮอร์โมนเอสโตรเจน เพื่อลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งมดลูก

ไม่ควรใช้ยานี้เพื่อทดสอบการตั้งครรภ์

วิธีการใช้ยา เมดรอกซีโปรเจสเตอโรน

รับประทานยานี้ตามที่แพทย์สั่ง ตามตารางการใช้ยาอย่างเคร่งครัด สอบถามแพทย์หากมีข้อสงสัยอะไร ขนาดยานั้นขึ้นอยู่กับอาการและการตอบสนองต่อการรักษา

สำหรับการใช้ในการบำบัดด้วยการใช้ฮอร์โมนผสมคู่กับเอสโตรเจน โดยทั่วไปจะรับประทานยานี้วันละครั้ง ตามจำนวนวันที่กำหนดในแต่ละเดือน

สำหรับการรักษาอาการขาดประจำเดือน และเลือดออกจากมดลูกที่ผิดปกติ โดยปกติจะรับประทานยานี้วันละครั้ง เป็นเวลา 5-10 วัน ในช่วงครึ่งหลังของรอบการมีประจำเดือนตามปกติ การมีเลือดออกภายหลังการหยุดยามักจะเกิดขึ้นหลังจาก 3-7 วันหลังจากหยุดใช้ยา

แจ้งให้แพทย์ทราบ หากอาการไม่ดีขึ้นหรือแย่ลง

การเก็บรักษายา เมดรอกซีโปรเจสเตอโรน

ยาเมดรอกซีโปรเจสเตอโรนควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยา เมดรอกซีโปรเจสเตอโรน บางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยาหรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัยโปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่ควรทิ้งยาเมดรอกซีโปรเจสเตอโรนลงในชักโครก หรือในท่อระบายน้ำ เว้นแต่จะได้รับคำแนะนำเช่นนั้น ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้องเมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน โปรดสอบถามเภสัชกรเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยา เมดรอกซีโปรเจสเตอโรน

ก่อนใช้ยา เมดรอกซีโปรเจสเตอโรน แจ้งให้แพทย์ทราบหากแพ้ยานี้ หรือมีอาการแพ้อื่นๆ ยานี้บางยี่ห้อในแคนาดาอาจมีส่วนประกอบผสมที่ไม่ได้มีฤทธิ์ในการรักษา เช่น ถั่วเหลือง สามารถทำให้เกิดอาการแพ้หรือปัญหาอื่นได้ บางคนที่แพ้ถั่วลิสงก็อาจจะแพ้ถั่วเหลืองด้วยเช่นกัน สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

ไม่ควรใช้ยานี้หากมีสภาวะโรคบางอย่าง ก่อนใช้ยานี้ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรหากมีประวัติสุขภาพดังนี้คือ เคยเกิดลิ่มเลือด มีเลือดออกในสมอง โรคตับ มะเร็งเต้านม หรือที่อวัยวะอื่นๆ ของผู้หญิง มีเลือดออกจากช่องคลอดโดยไม่ทราบสาเหตุ แท้งบุตร มีโรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคหัวใจขาดเลือดฉับพลัน (ภายใน 1 ปี)

ก่อนใช้ยานี้ ควรแจ้งประวัติทางการแพทย์ให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประวัติทางการแพทย์ของคนในครอบครัว โดยเฉพาะการตรวจพบก้อนเนื้อผิดปกติในเต้านมและมะเร็ง

  • โรคไต
  • โรคอ้วน
  • โรคหัวใจ เช่น เคยมีอาการหัวใจขาดเลือดฉับพลัน โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจวาย
  • ความดันโลหิตสูง
  • ชัก
  • ปวดหัวไมเกรน
  • หอบหืด
  • ระดับคอเลสเตอรอล/ไขมันในเลือดสูง
  • โรคซึมเศร้า
  • เบาหวาน
  • โรคหลอดเลือดสมอง

ยานี้อาจทำให้รู้สึกมึนงงหรือง่วงซึม หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์และกัญชา เพราะจะยิ่งทำให้มึนงง และง่วงซึมรุนแรงยิ่งขึ้น ห้ามขับรถ ใช้เครื่องจักร หรือทำกิจกรรมที่ต้องการความตื่นตัว จนกว่าจะสามารถทำได้อย่างปลอดภัย จำกัดปริมาณเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ปรึกษากับแพทย์หากกำลังใช้กัญชาเพื่อรักษาโรค

แจ้งให้แพทย์ทราบก่อนรับการผ่าตัด หรือต้องนั่งเก้าอี้/เตียงเป็นเวลานาน เช่น ขึ้นเที่ยวบินที่ยาวนาน อาจจำเป็นต้องหยุดใช้ยานี้สักพัก หรือใช้ด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากจะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นลิ่มเลือด สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดสอบถามแพทย์

ห้ามสูบบุหรี่ เพราะหากบุหรี่ที่ผสมกับยาตัวนี้จะทำให้มีความเสี่ยงมากขึ้น ในการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง เกิดลิ่มเลือด ความดันโลหิตสูง และหัวใจขาดเลือดฉับพลัน

ยาตัวนี้อาจทำให้เป็นบริเวณใบหน้าและผิวเป็นด่างดวงสีเข้มหรือฝ้า แสงแดดอาจจะยิ่งทำให้อาการนี้เป็นหนักขึ้น ควรจำกัดเวลาการเผชิญกับแสงแดด หลีกเลี่ยงการอาบแดด ใช้ครีมกันแดดและสวมเสื้อผ้าป้องกันเวลาอยู่นอกบ้าน

ห้ามใช้ยานี้ขณะตั้งครรภ์ เนื่องจากสามารถทำอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้ โดยเฉพาะในช่วง 4 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ หากตั้งครรภ์ หรือคิดว่าอาจจะตั้งครรภ์ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบในทันที

ยานี้สามารถส่งต่อผ่านน้ำนมแม่ได้ โปรดปรึกษากับแพทย์ก่อนการให้นมบุตร

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้ ยาเมดรอกซีโปรเจสเตอโรนจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์ ประเภท X โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A= ไม่มีความเสี่ยง
  • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C= อาจจะมีความเสี่ยง
  • D= มีหลักฐานความเสี่ยง
  • X= ยาต้องห้าม
  • N= ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยา เมดรอกซีโปรเจสเตอโรน

อาจเกิดอาการคลื่นไส้ ท้องอืด กดเจ็บที่หน้าอก ปวดหัว สารคัดหลั่งจากช่องคลอดเปลี่ยนสี อารมณ์แปรปรวน มองเห็นไม่ชัด มึนงง ง่วงซึม หรือน้ำหนักเพิ่ม/ลด หากอาการเหล่านี้ไม่ยอมหายไป หรือมีอาการแย่ลง ให้แจ้งแพทย์หรือเภสัชกรในทันที

โปรดจำไว้ว่าการที่แพทย์ให้ใช้ยาตัวนี้ เนื่องพิจารณาแล้วว่ายามีประโยชน์ มากกว่าความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น และคนที่ใช้ยานี้ส่วนใหญ่ไม่พบผลข้างเคียงที่ร้ายแรงใดๆ

โปรดแจ้งแพทย์ทันทีหากเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรง เช่น

  • เลือดออกที่ช่องคลอดอย่างผิดปกติ เป็นจุดหรือเลือดออกกะปริดกะปรอย
  • จิตใจและอารมณ์เปลี่ยนแปลง เช่น ซึมเศร้า เสียความทรงจำ
  • มีอาการบวมที่มือและขา
  • ปัสสาวะบ่อย รู้สึกแสบร้อน เจ็บปวด
  • มีก้อนในเต้านม
  • มีจุดสีคล้ำที่ผิวหรือใบหน้า
  • ผิวและดวงตาเป็นสีเหลือง
  • รู้สึกเหนื่อยล้าอย่างผิดปกติ

นานๆ ครั้งจะพบว่า ยานี้อาจทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับลิ่มเลือดที่รุนแรง จนอาจถึงแก่ชีวิตได้ เช่น

  • หัวใจขาดเลือดฉับพลัน
  • สโตรก
  • ลิ่มเลือดในปอดหรือขา
  • ตาบอด

รับการรักษาพยาบาลฉุกเฉินทันที หากมีอาการดังต่อไปนี้ ได้แก่

  • ปวดที่หน้าอก กราม แขนข้างซ้าย
  • รู้สึกอ่อนแรงที่ข้างใดข้างหนึ่งของร่างกาย
  • พูดไม่ชัด
  • การมองเห็นเปลี่ยนแปลงฉับพลัน มองเห็นไม่ชัดหรือเห็นภาพซ้อน สูญเสียการมองเห็น ตาปูด
  • สับสน
  • ปวดหัวอย่างรุนแรงฉับพลัน
  • มึนงงอย่างรุนแรง
  • หมดสติ
  • หายใจติดขัด
  • ไอเป็นเลือด
  • มีอาการปวด
  • อ่อนแรงที่บริเวณแขนและขา
  • มีอาการปวดและบวมที่น่อง
  • รู้สึกอุ่นเมื่อสัมผัส

บางครั้งอาจมีอาการแพ้ยานี้ที่รุนแรง แต่ส่วนใหญ่นั้นหาได้ยาก แต่ควรรับการรักษาในทันทีหากสังเกตเห็นอาการแพ้ที่รุนแรง ได้แก่ ผดผื่น คันและบวม โดยเฉพาะที่ใบหน้า ลิ้น ลำคอ รู้สึกมึนงงอย่างรุนแรง หายใจติดขัด

ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้ และอาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้ามีข้อสงสัยใด ๆ โปรดปรึกษากับแพทย์

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยาบางตัวที่อาจมีปฏิกิริยากับยานี้ ได้แก่

  • อะมิโนกลูเทติมายด์ (aminoglutethimide)
  • ยาที่ส่งผลกระทบต่อเอ็นไซม์ในตับที่กำจัดยาเมดรอกซีโปรเจสเตอโรนออกจากร่างกาย เช่น ยาไรแฟมพิน (rifampin) เซนต์จอห์นเวิร์ต
  • ยาต้านเชื้อรากลุ่มเอโซล (azole antifungals)
  • ไอทราโคนาโซล (itraconazole)
  • ยาต้านชักบางชนิด เช่น คาร์บามาเซพีน (carbamazepine) ฟีโนบาร์บิทัล (phenobarbital) เฟนิโทอิน (phenytoin)

ยานี้สามารถส่งผลกระทบต่อการตรวจภายในห้องแล็บบางอย่างได้ อย่าลืมแจ้งผู้ปฏิบัติการในห้องแล็บและแพทย์ ให้ทุกคนทราบว่า กำลังใช้ยาตัวนี้

เมดรอกซีโปรเจสเตอโรนอาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่กำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น

ควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรว่ากำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

เมดรอกซีโปรเจสเตอโรนอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

เมดรอกซีโปรเจสเตอโรนอาจส่งผลให้อาการโรคแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคก่อนใช้ยาเสมอ

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์และเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาเมดรอกซีโปรเจสเตอโรนสำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis)

104 มก. ฉีดใต้ผิวหนังทุก ๆ 3 เดือน (12 ถึง 14 สัปดาห์)

ระยะเวลาในการรักษา ไม่ควรเกิน 2 ปี

คำแนะนำ

  • สำหรับผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์เป็นประจำ และมีประจำเดือนตามปกติ การฉีดยาครั้งแรกควรให้ภายใน 5 วันแรกของรอบประจำเดือนตามปกติ หรืออย่างน้อย 6 สัปดาห์หลังการคลอด หากผู้ป่วยนั้นให้นมบุตร
  • หากระยะระหว่างการฉีดยาแต่ละครั้งมากกว่า 14 สัปดาห์ ควรตรวจให้แน่ใจว่าไม่ได้ตั้งครรภ์ก่อนให้ยานี้
  • ควรพิจารณาผลกระทบระยะยาวของการฉีดยาใต้ผิวหนังต่อความหนาแน่นของมวลกระดูก
  • หากอาการกลับมาหลังจากหยุดใช้ยา ควรมีการประเมินผลความหนาแน่นของมวลกระดูก ก่อนการรักษาอีกครั้ง

การใช้งาน เพื่อจัดการอาการปวดที่เกี่ยวข้องกับเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อการป้องกันเยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวผิดปกติ (Endometrial hyperplasia)

ยาเม็ดรับประทาน

5 หรือ 10 มก. ต่อวัน เป็นเวลา 12 ถึง 14 วันติดต่อในแต่ละเดือน สำหรับผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่ได้รับฮอร์โมนทดแทนเอสโตรเจน (Conjugated estrogens) 0.625 มก. ต่อวัน เริ่มให้ยาในวันแรกของรอบการมีประจำเดือน หรือวันที่ 16 ของการมีประจำเดือน

คำแนะนำ

  • ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่มีมดลูก และรับประทานเอสโตรเจน ควรจะเริ่มต้นบำบัดด้วยฮอร์โมนโพรเจสทิน (progestin therapy) ด้วย เพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งที่เยื่อบุโพรงมดลูก
  • การใช้เอสโตรเจนเดี่ยวๆ หรือใช้คู่กับโพรเจสติน ควรใช้ด้วยขนาดยาที่ต่ำที่สุดเท่าที่มีประสิทธิภาพ และใช้ในระยะเวลาที่สั้นที่สุด ขนาดยาเริ่มต้นควรเป็นขนาดยาที่ต่ำที่สุด
  • แนะนำว่าควรมีการประเมินซ้ำเป็นครั้งคราว (ระยะห่างประมาณ 3 ถึง 6 เดือน) เพื่อตรวจหาว่าการรักษานั้นยังจำเป็นหรือไม่
  • สำหรับผู้หญิงที่มีมดลูก ควรมีการสุ่มตรวจชิ้นเนื้อจากโพรงมดลูก (Endometrial Sampling) เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีเนื้อร้าย ในกรณีที่มีอาการเลือดออกจากช่องคลอดที่ผิดปกติบ่อยครั้ง หรือกลับมาเป็นซ้ำ

การใช้งาน เพื่อป้องกันเยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวผิดปกติในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่ไม่ได้ผ่าตัดมดลูก (non-hysterectomy) ที่ได้รับฮอร์โมนทดแทนเอสโตรเจน 0.625 มก. ต่อวัน

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อการคุมกำเนิด (Contraception)

ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ

150 มก. ทุก ๆ 3 เดือน (13 สัปดาห์) ที่กล้ามเนื้อกลูเตียล (gluteal) หรือเดลทอยด์ (deltoid)

ฉีดใต้ผิวหนัง

104 มก. ทุก ๆ 3 เดือน (12 ถึง 14 สัปดาห์) เข้าไปในต้นขาหรือหน้าท้อง

การฉีดครั้งแรก

  • ต้องแน่ใจว่าผู้ป่วยไม่ได้ตั้งครรภ์ขณะที่ฉีดยาครั้งแรก
  • การฉีดยาครั้งแรกควรให้แค่ในช่วง 5 วันแรกของรอบประจำเดือนตามปกติ ภายใน 5 วันหลังคลอดถ้าหากไม่ได้ให้นมบุตร และสัปดาห์ที่ 6 หลังการคลอดหากให้นมบุตร

การสับเปลี่ยนมาจากวิธีการคุมกำเนิดแบบอื่น

  • การฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ การฉีดยาครั้งแรกควรให้ในวันถัดจากการรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดในระยะทำงานครั้งสุดท้าย หรืออย่างน้อยในวันหลังจากรับประทานยาคุมกำเนิดในระยะพัก
  • การฉีดยาใต้ผิวหนัง การฉีดยาครั้งแรกควรให้ภายใน 7 วัน หลังจากวันสุดท้ายที่รับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดในระยะทำงาน หรือหลังจากถอดแผ่นหรือห่วงคุมกำเนิดออก ในแบบเดียวกัน จะรักษาการครอบคลุมของการคุมกำเนิดไว้ได้ เมื่อเปลี่ยนจากการฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อขนาด 150 มก. ควรให้ยาครั้งต่อไปภายในขนาดยาที่กำหนด สำหรับการฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ

คำแนะนำ

  • หากระยะห่างระหว่างการฉีดแต่ละครั้งนั้นมากกว่า 13 สัปดาห์ ควรตรวจการตั้งครรภ์ก่อนการใช้ยานี้
  • ประสิทธิภาพของยาแขวนตะกอนสำหรับฉีดเข้ากล้ามเนื้อนั้น ขึ้นอยู่กับการให้ยาตามตารางอย่างเคร่งครัด
  • ควรพิจารณาความเสี่ยง/ประโยชน์ของการสูญเสียความหนาแน่นของมวลกระดูก ในผู้หญิงทุกช่วงวัยและผลกระทบต่อค่ามวลกระดูกสูงสุดในวัยรุ่น ควบคู่ไปกับการประเมินผลการลดลงของความหนาแน่นของมวลกระดูกที่เกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์ และ/หรือให้นมบุตร ขณะที่ฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อในระยะยาว

วิธีการใช้ เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ในผู้หญิงที่มีโอกาสจะตั้งครรภ์

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาอาการเลือดออกจากมดลูกที่ผิดปกติ

ยาเม็ดสำหรับรับประทาน

  • 5 หรือ 10 มก. ต่อวัน เป็นเวลา 5 ถึง 10 วัน เริ่มตั้งแต่วันที่ 16 หรือ 21 ของรอบการมีประจำเดือน
  • ขนาดยาเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงสูงสุดต่อสารคัดหลั่งของเยื่อบุโพรงมดลูก ที่มีการเตรียมพร้อมอย่างเพียงพอด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจนภายในร่างกาย (endogenous) หรือสังเคราะห์จากภายนอก (exogenous) 10 มก. ต่อวันเป็นเวลา 10 วัน เริ่มตั้งแต่วันที่ 16 ของรอบการมีประจำเดือน

คำแนะนำ

  • การมีเลือดออกภายหลังการหยุดยา มักจะเกิดขึ้นภายใน 3 ถึง 7 วัน หลังจากการหยุดรับประทานยาเม็ด
  • ผู้ป่วยที่เคยมีการเกิดซ้ำของเลือดออกจากมดลูกแบบผิดปกติ อาจได้รับประโยชน์จากการวางแผนรอบการมีประจำเดือนด้วยยาเม็ดแบบรับประทาน
  • การใช้งาน อาการเลือดออกจากมดลูกที่ผิดปกติ เนื่องจากระดับความไม่สมดุลของฮอร์โมน เช่น เนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก หรือมะเร็งมดลูก

    ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาการขาดประจำเดือน (Amenorrhea)

    ยาเม็ดสำหรับรับประทาน

    • 5 หรือ 10 มก. ต่อวัน เป็นเวลา 5 ถึง 10 วัน
    • ขนาดยาสำหรับการเหนี่ยวนำการเปลี่ยนแปลงของสารคัดหลั่งของเยื่อบุโพรงมดลูก ที่มีการเตรียมพร้อมอย่างเพียงพอด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจนภายในร่างกาย (endogenous) หรือที่สังเคราะห์จากภายนอก (exogenous): 10 มก. ต่อวัน เป็นเวลา 10 วัน

    คำแนะนำ

    • สามารถเริ่มการรักษาเมื่อไหร่ก็ได้
    • การมีเลือดออกภายหลังการหยุดยา มักจะเกิดขึ้นภายใน 3 ถึง 7 วัน หลังจากการหยุดรับประทานยาเม็ด

    การใช้งาน เพื่อรักษาการขาดประจำเดือนแบบทุติยภูมิ (secondary amenorrhea) เนื่องจากระดับความไม่สมดุลของฮอร์โมน เช่น เนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก หรือมะเร็งมดลูก

    ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคมะเร็งในเซลล์ตับ (Renal Cell Carcinoma)

    • ขนาดยาเริ่มต้น 400 ถึง 1000 มก. ฉีดเข้ากล้ามเนื้อสัปดาห์ละครั้ง
    • ขนาดยาปกติ ลดขนาดยาลงมาที่ 400 มก. ฉีดเข้ากล้ามเนื้อเดือนละครั้ง เพื่อรักษาระดับของการพัฒนา

    คำแนะนำ

    • ไม่แนะนำให้ใช้ยานี้ในการบำบัดเบื้องต้น
    • ไม่สามารถตัดความรู้สึกไวที่มากขึ้นในกลุ่มผู้สูงอายุได้
    • ความถี่ในการให้ยาอาจลดลงหากมีการพัฒนาหรือการคงตัวเกิดขึ้น โดยปกติมักจะภายในไม่กี่สัปดาห์ไปจนถึงเดือน

    การใช้งาน ใช้เป็นการรักษาเสริม และการรักษาบรรเทา ในกรณีผ่าตัดไม่ได้ ทั้งเยื่อบุโพรงมดลูกกระจายไปที่อื่น (metastatic endometrial) หรือมะเร็งตับ

    ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษามะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก (Endometrial Carcinoma)

    • ขนาดยาเริ่มต้น: 400 ถึง 1000 มก. ฉีดเข้ากล้ามเนื้อสัปดาห์ละครั้ง
    • ขนาดยาปกติ: ลดขนาดยาลงมาที่ 400 มก. ฉีดเข้ากล้ามเนื้อเดือนละครั้งเพื่อรักษาระดับของการพัฒนา

    คำแนะนำ

    • ไม่แนะนำให้ใช้ยานี้ในการบำบัดเบื้องต้น
    • ไม่สามารถตัดความรู้สึกไวที่มากขึ้นในกลุ่มผู้สูงอายุได้
    • ความถี่ในการให้ยาอาจลดลงหากมีการพัฒนาหรือการคงตัวเกิดขึ้น โดยปกติมักจะภายในไม่กี่สัปดาห์ไปจนถึงเดือน

    การใช้งาน ใช้เป็นการรักษาเสริม และการรักษาบรรเทา ในกรณีผ่าตัดไม่ได้ รวมทั้งเยื่อบุโพรงมดลูกกระจายไปที่อื่น (metastatic endometrial) หรือมะเร็งตับ

    การปรับขนาดยาสำหรับไต

    ยังไม่มีการศึกษาวิจัยในเรื่องนี้

    การปรับขนาดยาสำหรับตับ

    ห้ามใช้ในผู้ที่มีอาการตับบกพร่องหรือเป็นโรคตับ

    คำแนะนำอื่นๆ

    คำแนะนำการใช้

    การฉีดยา

    • เขย่ายาให้ดีก่อนใช้เพื่อสร้างรูบแบบยาแขวนตะกอนที่เหมือนกัน
    • เปลี่ยนบริเวณฉีดยาทุกครั้ง
    • ไม่จำเป็นต้องปรับขนาดยาสำหรับน้ำหนักตัว
    • อย่าใช้เป็นการคุมกำเนิดในระยะยาว (นานกว่า 2 ปี) นอกจากว่าวิธีการคุมกำเนิดแบบอื่นนั้นจะไม่เพียงพอ
    • เพื่อหลักเลี่ยงการฉีดยาใต้ผิวหนังโดยไม่ตั้งใจ ควรมีการประเมินโครงสร้างร่างกายก่อนการฉีดยาในแต่ละครั้งเพื่อหาว่าจำเป็นต้องใช้เข็มที่ยาวกว่านี้หรือไม่ โดยเฉพาะการฉีดเข้ากล้ามเนื้อกลูเตียล
    • แนะนำให้ใช้ยาในขนาดที่ต่ำที่สุดเท่าที่มีประสิทธิภาพและรักษาในระยะเวลาที่สั้นที่สุด

    ทั่วไป

    • ควรมีประวัติทางการแพทย์ที่สมบูรณ์ทั้งของบุคคลและในครอบครัว ก่อนเริ่มต้นใช้ยาหรือกลับมาใช้ยานี้อีกครั้ง
    • ควรมีการตรวจประวัติและตรวจร่างกายประจำปี เช่น ความดันโลหิต อวัยวะเกี่ยวกับเต้านม ท้อง และกระดูกเชิงกราน รวมทั้งเซลล์วิทยาปากมดลูก (cervical cytology) และการตรวจสอบในห้องแล็บที่เกี่ยวข้องในผู้ป่วยที่ใช้ยานี้

    การเฝ้าสังเกต

    • กล้ามเนื้อและกระดูก (Musculoskeletal) ความหนาแน่นของมวลกระดูก
    • หัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular) ความดันโลหิต
    • กระบวนการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate metabolism) เฝ้าสังเกตผู้ป่วยโรคเบาหวานอย่างใกล้ชิด

    คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย

    • ผู้ป่วยควรรายงานการได้รับยานี้ในช่วงแรกของการตั้งครรภ์
    • ผู้ป่วยที่ใช้ยาคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนควรไปหาแพทย์ปีละครั้ง เพื่อทำการตรวจความดันโลหิตและการดูแลสุขภาพอื่นๆ
    • การฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อนั้น ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี (เอดส์) และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ ได้
    • ในช่วงเริ่มต้นของการรักษา รอบการมีประจำเดือนการถูกรบกวนทำให้เกิดอาการเลือดออก หรือเลือดกระปริดกระปรอยผิดปกติและไม่สามารถคาดเดาได้ และมักจะลดลงหลังจากดำเนินการรักษาไปอย่างต่อเนื่อง
    • ใช้วิธีการคุมกำเนิดสำรอง หรืออีกทางเลือกหนึ่ง เมื่อมีการใช้ตัวเหนี่ยวนำเอ็นไซม์ (enzyme inducers) คู่กับยานี้

    ขนาดยาเมดรอกซีโปรเจสเตอโรนสำหรับเด็ก

    ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อการคุมกำเนิด (Contraception)

    สำหรับเด็กหลังเริ่มมีประจำเดือนและวัยรุ่น

    ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ

    • 150 มก. ทุก ๆ 3 เดือน (13 สัปดาห์) ที่กล้ามเนื้อกลูเตียล (gluteal) หรือเดลทอยด์ (deltoid)

    ฉีดใต้ผิวหนัง

    • 104 มก. ทุกๆ 3 เดือน (12 ถึง 14 สัปดาห์) เข้าไปในต้นขาหรือหน้าท้อง

    การฉีดครั้งแรก

    • ต้องแน่ใจว่าผู้ป่วยไม่ได้ตั้งครรภ์ขณะที่ฉีดยาครั้งแรก
    • การฉีดยาครั้งแรกควรให้แค่ในช่วง 5 วันแรกของรอบประจำเดือนตามปกติ ภายใน 5 วันหลังคลอด ถ้าหากไม่ได้ให้นมบุตร และสัปดาห์ที่ 6 หลังการคลอดหากให้นมบุตร

    การสับเปลี่ยนมาจากวิธีการคุมกำเนิดแบบอื่น

    • การฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ: การฉีดยาครั้งแรกควรให้ในวันถัดจากการรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดในระยะทำงานครั้งสุดท้าย หรืออย่างน้อยในวันหลังจากรับประทานยาคุมกำเนิดในระยะพัก
    • การฉีดยาใต้ผิวหนัง: การฉีดยาครั้งแรกควรให้ภายใน 7 วันหลังจากวันสุดท้าย ที่รับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดในระยะทำงาน หรือหลังจากถอดแผ่นหรือห่วงคุมกำเนิดออก ในทางที่คล้ายคลึงกัน จะรักษาความคลอบคลุมการคุมกำเนิดเมื่อสับเปลี่ยนจากการฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อขนาด 150 มก. ควรให้ยาครั้งต่อไปภายในขนาดยาที่กำหนดสำหรับการฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ

    คำแนะนำ

    • หากระยะห่างระหว่างการฉีดแต่ละครั้งนั้นมากกว่า 13 สัปดาห์ ควรตรวจการตั้งครรภ์ก่อนจะให้ยานี้
    • ประสิทธิภาพของยาแขวนตะกอนสำหรับฉีดเข้ากล้ามเนื้อนั้น ขึ้นอยู่กับการให้ยาตามตารางอย่างเคร่งครัด
    • ควรพิจารณาความเสี่ยง/ประโยชน์ของการสูญเสียความหนาแน่นของมวลกระดูกในผู้หญิงทุกช่วงวัย และผลกระทบต่อค่ามวลกระดูกสูงสุดในวัยรุ่น ควบคู่ไปกับการประเมินผลการลดลงของความหนาแน่นของมวลกระดูก ที่เกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์ และ/หรือ ให้นมบุตร ขณะที่ฉีดยาในระยะยาว

    การใช้งาน เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ในผู้หญิงที่มีโอกาสจะตั้งครรภ์

    รูปแบบของยา

    ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้

    • ยาเม็ดสำหรับรับประทาน
    • ยาแขวนตะกอนสำหรับฉีดกล้ามเนื้อ
    • ยาแขวนตะกอนสำหรับฉีดใต้ผิวหนัง
    • ยาผงสำหรับผสม

    กรณีลืมใช้ยา

    หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

    กรณีลืมใช้ยา

    หากลืมใช้ยาควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

    ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


    เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 28/06/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา