backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

เลนาลิโดไมด์ (Lenalidomide)

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ · ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ข้อบ่งใช้

ยา เลนาลิโดไมด์ ใช้สำหรับ

ยา เลนาลิโดไมด์ (Lenalidomide) ใช้เพื่อรักษาโรคมะเร็งบางชนิด อย่างโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวมัลติเพิลมัยอิโลมา (Multiple Myeloma) หรือโรคมะเร็งเยื่อหุ้มเซลล์ต่อมน้ำเหลือง (Mantle Cell Lymphoma-MCL) ยานี้ทำงานโดยการชะลอหรือหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง

ยานี้ยังใช้เพื่อรักษาภาวะโลหิตจางในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของเลือดหรือไขกระดูกบางชนิด อย่างโรคเอ็มดีเอส (Myelodysplastic Syndromes-MDS) ยาเลนาลิโดไมด์ยังอาจช่วยลดความจำเป็นที่ต้องรับการถ่ายเลือดได้อีกด้วย

ยาเลนาลิโดไมด์นั้นไม่แนะนำให้ใช้สำหรับการรักษาโรคมะเร็งบางชนิด อย่างโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังชนิดซีแอลแอล (Chronic Lymphocytic Leukemia) เนื่องจากมีความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในการเกิดผลข้างเคียงที่เกี่ยวข้องกับหัวใจและการเสียชีวิต หากคุณเป็นโรคมะเร็งประเภทนี้ โปรดปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับความเสี่ยงในการใช้ยานี้

วิธีการใช้ยา เลนาลิโดไมด์

รับประทานยานี้พร้อมกับอาหารหรือรับประทานแยกต่างหากตามที่แพทย์กำหนด โดยปกติคือวันละครั้ง กลืนยาลงไปทั้งหมดพร้อมกับดื่มน้ำ สำหรับการรักษาสภาวะบางอย่าง (โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวมัลติเพิลมัยอิโลมาหรือโรคมะเร็งเยื่อหุ้มเซลล์ต่อมน้ำเหลือง)

คุณอาจจะได้รับคำแนะนำให้ใช้ยานี้เป็นรอบ (วันละครั้งเป็นเวลา 21 วัน แล้วหยุดใช้ยาเป็นเวลา 7 วัน) ขนาดยาขึ้นอยู่กับสภาวะทางการแพทย์ การตอบสนองต่อการรักษา และผลการตรวจในห้องแล็บ ควรทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างระมัดระวัง

อย่าแกะยา เคี้ยวยา หักยาแคปซูล หรือจับยานานเกินความจำเป็น หากผงภายในยาแคปซูลสัมผัสกับผิวหนังของคุณ ควรล้างบริเวณนั้นให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำสะอาด

เนื่องจากยานี้สามารถดูดซึมผ่านทางผิวหนังและปอดได้และอาจเป็นอันตรายกับทารกในครรภ์ ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์หรือผู้ที่อาจจะตั้งครรภ์ไม่ควรสัมผัสยานี้หรือสูดดมผงจากยาแคปซูลที่แตก ทุกคนควรล้างมือให้สะอาดหลังจากสัมผัสยานี้

ใช้ยานี้เป็นประจำเพื่อให้ได้ประโยชน์จากยาสูงสุด เพื่อให้ง่ายต่อการจำควรใช้ยาในเวลาเดียวกันทุกวัน

อย่าเพิ่มขนาดยาหรือใช้ยาบ่อยกว่าหรือนานกว่าที่กำหนด อาการของคุณจะไม่หายไวขึ้นและความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงอาจจะเพิ่มขึ้น

การเก็บรักษายา เลนาลิโดไมด์

ยาเลนาลิโดไมด์ ควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาเลนาลิโดไมด์บางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยาหรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัยโปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่ควรทิ้งยาเลนาลิโดไมด์ลงในชักโครก หรือเทลงในท่อระบายน้ำ เว้นแต่ได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้องเมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน โปรดสอบถามเภสัชกรเพิ่มเติม เกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยา เลนาลิโดไมด์

ก่อนใช้ยาเลนาลิโดไมด์ แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบหากคุณแพ้ยานี้ หรือ ยาธาลิโดไมด์ (thalidomide) หรือหากคุณเป็นโรคภูมิแพ้อื่นๆ ยานี้อาจมีส่วนประกอบไม่ออกฤทธิ์ เช่น แลคโตส (lactose) ที่ทำให้เกิดอาการแพ้หรือปัญหาอื่น โปรดปรึกษาเภสัชกรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ก่อนใช้ยานี้ แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบเกี่ยวกับประวัติทางการแพทย์ของคุณ โดยเฉพาะโรคไต โรคตับ เช่น โรคตับอักเสบบี โรคไทรอยด์ โรคอีสุกอีใส และโรคงูสวัด หรือการติดเชื้อเฮอร์พีส์ ซอสเตอร์ (herpes zoster infection)

ยานี้อาจทำให้เกิดอาการวิงเวียน อย่าขับรถ ใช้เครื่องจักร หรือทำกิจกรรมที่ต้องการความตื่นตัวจนกว่าคุณจะสามารถทำได้อย่างปลอดภัย และควรจำกัดปริมาณเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

ยาเลนาลิโดไมด์สามารถทำให้คุณแนวโน้มที่จะติดเชื้อมากขึ้นหรืออาจทำให้การติดเชื้อที่เป็นอยู่รุนแรงขึ้น ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ที่กำลังติดเชื้อที่อาจจะแพร่กระจายสู่ผู้อื่น เช่น โรคอีสุกอีใส โรคหัด หรือโรคไข้หวัดใหญ่ โปรดปรึกษาแพทย์หากคุณเปิดรับการติดเชื้อหรือปรึกษาสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

อย่าสร้างภูมิคุ้มกันหรือรับวัคซีนโดยไม่ปรึกษากับแพทย์ หลีกเลี่ยงการติดต่อกับผู้ที่เพิ่งรับวัคซีนเชื้อเป็น เช่น วัคซีนไข้หวัดใหญ่แบบพ่นจมูก

เพื่อลดโอกาสในการเกิดรอยบาด รอยช้ำ หรือการบาดเจ็บ ควรใช้ของมีคมด้วยความระมัดระวัง เช่น มีดโกนและกรรไกรตัดเล็บ และหลีกเลี่ยงกิจกรรม เช่น กีฬาที่ต้องมีการสัมผัสซึ่งกันและกัน

อย่าบริจาคเลือดหรือน้ำอสุจิขณะที่กำลังใช้ยาเลนาลิโดไมด์และภายใน 4 สัปดาห์หลังจากที่หยุดใช้ยานี้

ผู้สูงอายุอาจจะมีปฏิกิริยากับผลข้างเคียงของยานี้ได้มากกว่า

เนื่องจากยานี้สามารถดูดซึมผ่านทางผิวหนังและปอดได้และอาจเป็นอันตรายกับทารกในครรภ์ ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์หรือผู้ที่อาจจะตั้งครรภ์ไม่ควรสัมผัสยานี้หรือสูดดมผงจากยาแคปซูลที่แตก ทุกคนควรล้างมือให้สะอาดหลังจากสัมผัสยานี้

ห้ามใช้ยาเลนาลิโดไมด์ขณะตั้งครรภ์ ยานี้อาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ หากคุณตั้งครรภ์หรือคิดว่าอาจจะตั้งครรภ์ ควรหยุดใช้ยาเลนาลิโดไมด์และแจ้งให้แพทย์ทราบในทันที หากคุณเป็นผู้ชายและมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ได้ป้องกันกับผู้หญิงที่อาจจะตั้งครรภ์ได้ หรือหากคุณคิดว่าคู่รักของคุณอาจจะตั้งครรภ์ โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบในทันที

ยังไม่ทราบแน่ชัดว่า ยาเลนาลิโดไมด์ สามารถผ่านเข้าสู่น้ำนมแม่ได้หรือไม่ เนื่องจากความเสี่ยงในการเป็นอันตรายกับทารก จึงไม่แนะนำการให้นมบุตรขณะที่กำลังใช้ยานี้ โปรดปรึกษาแพทย์ก่อนให้นมบุตรเสมอ

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยา

ยาเลนาลิโดไมด์จัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์ หมวด N โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A= ไม่มีความเสี่ยง
  • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C= อาจจะมีความเสี่ยง
  • D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X= ห้ามใช้
  • N= ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยาเลนาลิโดไมด์

อาจเกิดอาการท้องร่วง ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร ท้องผูก วิงเวียน ผิวแห้ง ปากแห้ง หรือนอนไม่หลับ หากอาการเหล่านี้ไม่หายไปหรือรุนแรงขึ้นโปรดแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรในทันที

ผู้ที่ใช้ยานี้อาจจะมีผลข้างเคียงที่รุนแรง แต่หากแพทย์สั่งให้คุณใช้ยานี้ นั่นเป็นเพราะว่าแพทย์ได้พิจารณาแล้วว่ายามีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียง การเฝ้าระวังอย่างระมัดระวังจากแพทย์อาจจะช่วยลดความเสี่ยงได้

ควรแจ้งให้แพทย์ทราบในทันทีหากเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงดังต่อไปนี้

  • ความเปลี่ยนแปลงทางจิตใจหรืออารมณ์ (เช่นซึมเศร้า)
  • กระหายน้ำเพิ่มขึ้นหรือปัสสาวะเพิ่มขึ้น
  • สั่นเทา
  • เหน็บชาที่แขนหรือขา
  • หัวใจเต้นเร็ว ช้า หรือผิดปกติ
  • เหนื่อยล้าผิดปกติ
  • มีอาการบวมที่ข้อเท้าหรือเท้า

ในบางกรณีซึ่งไม่พบได้บ่อยนัก ผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวมัลติเพิลมัยอิโลมาที่กำลังรักษาด้วยยานี้ อาจจะเกิดโรคมะเร็งอื่น เช่น โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลัน (acute leukemia) หรือโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง (lymphoma) โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ยาเลนาลิโดไมด์ในบางครั้งอาจจะทำให้เกิดผลข้างเคียงเนื่องจากการสลายตัวอย่างรวดเร็วของเซลล์มะเร็ง หรือกลุ่มอาการมะเร็งถูกทำลาย (tumor lysis syndrome) เพื่อลดความเสี่ยงของคุณ แพทย์อาจจะเพิ่มยาและสั่งให้คุณดื่มน้ำให้มาก

โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบในทันทีหากคุณมีอาการดังนี้

  • ปวดหลังหรือปวดด้านข้าง (ปวดเอว)
  • สัญญาณของปัญหาเกี่ยวกับไต เช่น มีอาการปวดขณะปัสสาวะ ปัสสาวะสีชมพูหรือสีเลือด หรือปริมาณของปัสสาวะเปลี่ยนแปลง
  • กล้ามเนื้อกระตุกหรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง

ผู้ที่ใช้ยาเลนาลิโดไมด์เพื่อรักษาโรคมะเร็งเยื่อหุ้มเซลล์ต่อมน้ำเหลืองในบางครั้งอาจจะมีอาการของโรคมะเร็งเยื่อหุ้มเซลล์ต่อมน้ำเหลืองแย่ลงได้ (ปฏิกิริยาเนื้องอกลุกลาม) หากคุณมีอาการปวดเจ็บหรือบวมที่ต่อมน้ำเหลือง เป็นไข้ มีอาการปวด หรือผดผื่น โปรดติดต่อให้แพทย์ทราบในทันที

บางกรณีซึ่งพบได้ยาก ยาเลนาลิโดไมด์อาจทำให้เกิดโรคตับที่รุนแรง (อาจถึงแก่ชีวิต) จึงควรรับการรักษาในทันทีหากคุณมีอาการของความเสียหายต่อตับ เช่น คลื่นไส้และอาเจียนไม่หยุด เบื่ออาหาร ปวดท้องอย่างรุนแรง ดวงตาหรือผิวหนังเป็นสีเหลืองปัสสาวะสีคล้ำ

ยาเลนาลิโดไมด์มักจะทำให้เกิดผดผื่นได้ด้วยเช่นกัน แต่โดยปกติแล้วจะไม่รุนแรง แต่คุณอาจจะไม่สามารถแยกความแตกต่างของผดผื่นที่อาจจะเป็นสัญญาณของอาการแพ้ขั้นรุนแรงได้ ควรรับการรักษาในทันทีหากมีอาการผดผื่นเมื่อใช้ยา

การแพ้ยาที่รุนแรงต่อยานี้ ค่อนข้างเกิดขึ้นได้ยาก แต่จำเป็นต้องได้รับการรักษาที่ทันท่วงที โดยอาการของการแพ้รุนแรงมีดังนี้

  • ผดผื่น คันหรือบวม (โดยเฉพาะบริเวณใบหน้า ลิ้น และลำคอ)
  • วิงเวียนขั้นรุนแรง
  • หายใจติดขัด

ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้อาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยาเลนาลิโดไมด์อาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาใดๆ โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาเลนาลิโดไมด์อาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

  • ยาเลนาลิโดไมด์อาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาเลนาลิโดไมด์สำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคเอ็มดีเอส

10 มก. รับประทานวันละครั้ง

  • ระยะเวลาการรักษา ควรดำเนินการรักษาอย่างต่อเนื่องหรือปรับเปลี่ยนโดยขึ้นอยู่กับผลการวิจัยทางการแพทย์และห้องแล็บ
  • การใช้ยา มีจุดประสงค์หลักเพื่อรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะโลหิตจางแบบต้องได้รับเลือดประจำเนื่องจากมีความเสี่ยงต่ำหรือปานกลาง 1 ที่จะเป็นโรคเลือดจางเอ็มดีเอสที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติทางเซลล์พันธุศาสตร์ (deletion 5q cytogenetic abnormality) เพียงอย่างเดียว ไม่มีความปกติอื่นๆ ร่วมด้วย

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวมัลติเพิลมัยอิโลมา

  • สำหรับการใช้ร่วมกับยาเดกซาเมทาโซน (dexamethasone) คือ 25 มก. รับประทานวันละครั้งในวันที่ 1 ถึง 21 ในรอบ 28 วันวนซ้ำ
  • รักษาระดับการรักษาหลังจากการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดโดยใช้เซลล์ของตนเอง คือ 10 มก. วันละครั้งติดต่อกัน (วันที่ 1 ถึง 28 ในรอบ 28 วันวนซ้ำ) เป็นจำนวน 3 รอบ แล้วจึงเพิ่มขนาดยาจนถึง 15 มก. วันละครั้งหากสามารถทนได้
  • ระยะเวลาการรักษา (ทั้งสองข้อบ่งใช้) คือจนกว่าโรคจะรุนแรงขึ้นหรือมีความเป็นพิษเกินเกณฑ์ที่ไรับได้

คำแนะนำ

  • หลังจากการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดโดยใช้เซลล์ของตนเอง ให้เริ่มต้นรักษาระดับการรักษาหลังจากที่ค่าการฟื้นฟูของเลือดเพียงพอ (ค่าสมบูรณ์ของเม็ดเลือดขาวนิวโตรฟิล [ANC] 1000/ไมโครลิตร หรือมากกว่า และ/หรือจำนวนเกล็ดเลือด 75,000/ไมโครลิตรขึ้นไป)
  • สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการพิจารณาว่าเหมาะสมสำหรับการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดโดยใช้เซลล์ของตนเอง การเคลื่อนตัวของเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดควรจะเกิดขึ้นภายใน 4 รอบการรักษาที่ใช้ยานี้
  • ควรศึกษาข้อมูลผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตสำหรับคำแนะนำเกี่ยวกับขนาดยาเดกซาเมทาโซน

การใช้งาน

  • ใช้ร่วมกับเดกซาเมทาโซนเพื่อรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวมัลติเพิลมัยอิโลมา
  • เพื่อรักษาระดับการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวมัลติเพิลมัยอิโลมา หลังจากการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดโดยใช้เซลล์ของตนเอง

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

25 มก. รับประทานวันละครั้งในวันที่ 1 ถึง 21 ในรอบ 28 วันวนซ้ำ

ระยะเวลาการรักษา จนกว่าโรคจะรุนแรงขึ้นหรือมีความเป็นพิษเกินเกณฑ์ที่ยอมรับได้ ควรดำเนินการรักษาอย่างต่อเนื่อง ปรับเปลี่ยน หรือหยุดการรักษาโดยขึ้นอยู่กับผลการวิจัยทางการแพทย์และห้องแล็บ

การใช้งาน เพื่อรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่มีอาการกำเริบหรือรุนแรงขึ้นหลังจากผ่านการรักษา 2 ประเภทมาก่อน หนึ่งในนั้นรวมถึงการใช้ยาบอร์เทโซมิบ (bortezomib)

การปรับขนาดยาที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของไต

โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวมัลติเพิลมัยอิโลมาและโรคมะเร็งเยื่อหุ้มเซลล์ต่อมน้ำเหลือง

  • ค่าครีอะตินีนเคลียรานซ์ (CrCl) มากกว่า 60 มล./นาที ไม่มีการปรับขนาดยาที่แนะนำ
  • ค่าครีอะตินีนเคลียรานซ์ 30 ถึง 60 มล./นาที 10 มก. วันละครั้ง ควรพิจารณาเพิ่มขนาดยาไปที่ 15 มก. หลังจากผ่านไป 2 รอบการรักษาหากผู้ป่วยสามารถทนยาในขนาด 10 มก. โดยไม่มีความพิษของขนาดยาที่จำกัด (dose-limiting toxicity)
  • ค่าครีอะตินีนเคลียรานซ์ น้อยกว่า 30 มล./นาที (ไม่ได้ฟอกไต) 15 มก. วันเว้นวัน

โรคเอ็มดีเอส

  • ค่าครีอะตินีนเคลียรานซ์ มากกว่า 60 มล./นาที ไม่มีการปรับขนาดยาที่แนะนำ
  • ค่าครีอะตินีนเคลียรานซ์ 30 ถึง 60 มล./นาที 5 มก. วันละครั้ง
  • ค่าครีอะตินีนเคลียรานซ์ น้อยกว่า 30 มล./นาที (ไม่ได้ฟอกไต) 2.5 มก. วันละครั้ง

การรักษาฟื้นฟูหลังจากการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดโดยใช้เซลล์ของตนเอง โดยเฉพาะในผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวมัลติเพิลมัยอิโลมา โรคเอ็มดีเอส และโรคมะเร็งเยื่อหุ้มเซลล์ต่อมน้ำเหลือง ขึ้นอยู่กับการปรับขนาดยาในภายหลังตามความทนต่อยาของผู้ป่วยแต่ละราย

การปรับขนาดยาที่เกี่ยวข้องการทำงานของตับ

  • การทำงานของตับบกพร่อง ยังไม่มีข้อมูลการปรับขนาดยาจากผู้ผลิต แต่มีข้อสังเกตว่าตับบกพร่องระดับเบานั้นไม่มีผลต่อการกำจัดยาออกจากร่างกาย ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับตับบกพร่องระดับปานกลางถึงระดับรุนแรง
  • หากได้รับแจ้งผลการตรวจสมรรถภาพตับผิดปกติหรือค่าเอ็นไซม์ตับสูงเกินไป ควรระงับการรักษาชั่วคราว อาจพิจารณากลับไปสู่การรักษาในขนาดยาที่ต่ำกว่าเมื่อค่าตัวแปรกลับสู่ค่าพื้นฐาน

การปรับขนาดยา

สามารถทำในกรณีดังต่อไปนี้

  • ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ และ/หรือภาวะเกล็ดเลือดต่ำ ระดับ 3 หรือ 4
  • โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวมัลติเพิลมัยอิโลมา ซึ่งอาจต้องปรับขนาดยาโดยขึ้นกับความเปลี่ยนแปลงของเม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด ดังนี้

ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ

เมื่อจำนวนเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโตรฟิลนั้น

– ลดลงต่ำกว่า 1000/ไมโครลิตร ระงับการรักษาชั่วคราวและตามด้วยการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดทุกสัปดาห์

– กลับเข้าสู่ระดับ 1000/ไมโครลิตรขึ้นไป และมีความเป็นพิษแค่ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำเท่านั้น ให้กลับสู่การรักษาที่ขนาด 25 มก./วัน หรือเริ่มที่ขนาดยาเริ่มต้น

– กลับสู่ 1000/ไมโครลิตรขึ้นไป และมีความเป็นพิษอื่นๆ กลับสู่การรักษาในขนาดยาที่ต่ำกว่าขนาดถัดไป ไม่ควรต่ำกว่า 2.5 มก./วัน

– ค่าหลังจากนั้นแต่ละครั้งนั้นต่ำกว่า 1000/ไมโครลิตร ระงับการรักษาชั่วคราว

– ค่าหลังจากนั้นแต่ละครั้งกลับสู่ 1000/ไมโครลิตรขึ้นไป กลับสู่การรักษาในขนาดยาที่ต่ำกว่าขนาดถัดไป ไม่ควรต่ำกว่า 2.5 มก./วัน

ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ

เมื่อจำนวนเกล็ดเลือดนั้น

ลดลงต่ำกว่า 30,000/ไมโครลิตร ระงับการรักษาชั่วคราวและตามด้วยการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดทุกสัปดาห์

– กลับสู่ 30,000/ไมโครลิตรขึ้นไป กลับสู่การรักษาในขนาดยาที่ต่ำกว่าขนาดถัดไป ไม่ควรต่ำกว่า 2.5 มก./วัน

ค่าหลังจากนั้นแต่ละครั้งนั้นต่ำกว่า 30,000/ไมโครลิตร ระงับการรักษาชั่วคราว

ค่าหลังจากนั้นแต่ละครั้งกลับสู่ 30,000/ไมโครลิตรขึ้นไป กลับสู่การรักษาในขนาดยาที่ต่ำกว่าขนาดถัดไป ไม่ควรต่ำกว่า 2.5 มก./วัน

  • การรักษาระดับการรักษาหลังจากการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดโดยใช้เซลล์ของตนเอง

ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ

เมื่อจำนวนเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโตรฟิลนั้น

-ลดลงต่ำกว่า 500/ไมโครลิตร ระงับการรักษาชั่วคราวและตามด้วยการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดทุกสัปดาห์

-กลับสู่ 500/ไมโครลิตรขึ้นไป กลับสู่การรักษาในขนาดยาที่ต่ำกว่าขนาดถัดไปอย่างต่อเนื่องสำหรับวันที่ 1 ถึง 28 ของรอบการรักษา 28 วันซ้ำๆ

หากกำลังใช้ยาในขนาด 5 มก./วัน

-ค่าหลังจากลงนั้นลดลงต่ำกว่า 500/ไมโครลิตร ระงับการรักษาชั่วคราวไม่ควรต่ำกว่า 5 มก./วัน สำหรับวันที่ 1 ถึง 28 ของรอบการรักษา 28 วันซ้ำๆ

-ค่าหลังจากนั้นกลับสู่หรือมากกว่า 500/ไมโครลิตร กลับสู่การรักษาในขนาดยา 5 มก./วัน สำหรับวันที่ 1 ถึง 28 ของรอบการรักษา 28 วัน ไม่ควรต่ำกว่า 5 มก./วัน

ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ

เมื่อจำนวนเกล็ดเลือดนั้น

– ลดลงต่ำกว่า 30,000/ไมโครลิตร ระงับการรักษาชั่วคราวและตามด้วยการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดทุกสัปดาห์

– กลับสู่ 30,000/ไมโครลิตรขึ้นไป กลับสู่การรักษาในขนาดยาที่ต่ำกว่าขนาดถัดไปอย่างต่อเนื่องสำหรับวันที่ 1 ถึง 28 ของรอบการรักษา 28 วัน

หากกำลังใช้ยาในขนาด 5 มก./วัน

– ค่าหลังจากนั้นแต่ละครั้งนั้นต่ำกว่า 30,000/ไมโครลิตร ระงับการรักษาชั่วคราว ไม่ควรต่ำกว่า 5 มก./วัน สำหรับวันที่ 1 ถึง 28 ของรอบการรักษา 28 วัน

– ค่าหลังจากนั้นแต่ละครั้งกลับสู่ 30,000/ไมโครลิตรขึ้นไป กลับสู่การรักษาในขนาดยา 5 มก./วัน สำหรับวันที่ 1 ถึง 28 ของรอบการรักษา 28 วัน ไม่ควรต่ำกว่า 5 มก./วัน

  • โรคเอ็มดีเอส

ภายใน 4 สัปดาห์แรกของการรักษา ใช้ขนาด 10 มก. ต่อวัน และอาจปรับขนาดยาเมื่อมีความเปลี่ยนแปลงของเม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือดดังนี้

ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ

ค่าสมบูรณ์ของเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโตรฟิลพื้นฐานคือ 1000/ไมโครลิตรขึ้นไป

เมื่อจำนวนเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโตรฟิลนั้น

-ลงลดต่ำกว่า 750/ไมโครลิตร ระงับการรักษาชั่วคราว

-กลับสู่ 1000/ไมโครลิตรขึ้นไป กลับสู่การรักษาในขนาดยา 5 มก./วัน

ค่าสมบูรณ์ของเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโตรฟิลพื้นฐานน้อยกว่า 1000/ไมโครลิตร

เมื่อจำนวนเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโตรฟิลนั้น

-ลงลดต่ำกว่า 500/ไมโครลิตร ระงับการรักษาชั่วคราว

-กลับสู่ 500/ไมโครลิตร ขึ้นไป กลับสู่การรักษาในขนาดยา 5 มก./วัน

ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ

จำนวนเกล็ดเลือดพื้นฐานคือ 100,000/ไมโครลิตร ขึ้นไป

เมื่อจำนวนเกล็ดเลือดนั้น

-ลดลงต่ำกว่า 50,000/ไมโครลิตร ระงับการรักษาชั่วคราว

-กลับสู่ 50,000/ไมโครลิตรขึ้นไป กลับสู่การรักษาในขนาดยา 5 มก./วัน

จำนวนเกล็ดเลือดพื้นฐานต่ำกว่า 100,000/ไมโครลิตร

เมื่อจำนวนเกล็ดเลือดนั้น

-ลดลงถึง 50% ของค่าพื้นฐาน ระงับการรักษาชั่วคราว

จำนวนเกล็ดเลือดพื้นฐานคือ 60,000/ไมโครลิตร ขึ้นไป

เมื่อจำนวนเกล็ดเลือดนั้น

-กลับสู่ 50,000/ไมโครลิตรขึ้นไป กลับสู่การรักษาในขนาดยา 5 มก./วัน

จำนวนเกล็ดเลือดพื้นฐานน้อยกว่า 60,000/ไมโครลิตร

เมื่อจำนวนเกล็ดเลือดนั้น

-กลับสู่ 30,000/ไมโครลิตรขึ้นไป กลับสู่การรักษาในขนาดยา 5 มก./วัน

หลังจาก 4 สัปดาห์แรกของการรักษา ใช้ยาในขนาด 10 มก. ต่อวัน

ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ

เมื่อจำนวนเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโตรฟิลนั้น

-ลดลงต่ำกว่า 500/ไมโครลิตร เป็นเวลา 7 วันขึ้นไป หรือน้อยกว่า 500/ไมโครลิตร โดยมีความเกี่ยวข้องกับอาการไข้ (38.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป) ระงับการรักษาชั่วคราว

-กลับสู่ 500/ไมโครลิตรขึ้นไป กลับสู่การรักษาในขนาดยา 5 มก./วัน

ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ

เมื่อจำนวนเกล็ดเลือดนั้น

-ลดลงต่ำกว่า 30,000/ไมโครลิตร หรือน้อยกว่า 50,000/ไมโครลิตร โดยมีการถ่ายเกล็ดเลือด ระงับการรักษาชั่วคราว

-กลับสู่ 30,000/ไมโครลิตร ขึ้นไป (โดยไม่ล้มเหลวในการห้ามเลือด) กลับสู่การรักษาในขนาดยา 5 มก./วัน

ในระหว่างการรักษาในขนาดยา 5 มก. ต่อวัน

ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ

เมื่อจำนวนเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโตรฟิลนั้น

-ลดลงต่ำกว่า 500/ไมโครลิตร เป็นเวลา 7 วันขึ้นไป หรือน้อยกว่า 500/ไมโครลิตร โดยมีความเกี่ยวข้องกับอาการไข้ (38.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป) ระงับการรักษาชั่วคราว

-กลับสู่ 500/ไมโครลิตรขึ้นไป กลับสู่การรักษาในขนาดยา 2.5 มก./วัน

ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ

เมื่อจำนวนเกล็ดเลือดนั้น

-ลดลงต่ำกว่า 30,000/ไมโครลิตร หรือน้อยกว่า 50,000/ไมโครลิตร โดยมีการถ่ายเกล็ดเลือด ระงับการรักษาชั่วคราว

-กลับสู่ 30,000/ไมโครลิตร ขึ้นไป (โดยไม่ล้มเหลวในการห้ามเลือด) กลับสู่การรักษาในขนาดยา 2.5 มก./วัน

  • โรคมะเร็งเยื่อหุ้มเซลล์ต่อมน้ำเหลือง

ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ

เมื่อจำนวนเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโตรฟิลนั้น

-ลดลงต่ำกว่า 1000/ไมโครลิตร เป็นเวลา 7 วันขึ้นไป หรือน้อยกว่า 1000/mcL ไมโครลิตร โดยมีความเกี่ยวข้องกับอุณหภูมิ (38.5 dองศาเซลเซียสขึ้นไป) หรือลดลงต่ำกว่า 500/ไมโครลิตร ระงับการรักษาชั่วคราวและตามด้วยการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดทุกสัปดาห์

-กลับสู่ 1000/ไมโครลิตรขึ้นไป กลับสู่การรักษาในขนาดน้อยกว่าขนาดยาครั้งก่อน 5 มก./วัน อย่าต่ำกว่าขนาด5 มก./วัน

ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ

เมื่อจำนวนเกล็ดเลือดนั้น

-ลดลงต่ำกว่า 50,000/ไมโครลิตรระงับการรักษาชั่วคราวและตามด้วยการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดทุกสัปดาห์

  • -กลับสู่ 50,000/ไมโครลิตรขึ้นไป กลับสู่การรักษาที่ขนาดน้อยกว่าขนาดยาครั้งก่อน 5 มก./วัน อย่าต่ำกว่าขนาด 5 มก./วัน
  • อาการแพ้
  • – เกิดอาการผดผื่นผิวหนังระดับ 2 ถึง 3 ควรพิจารณาระงับการรักษาชั่วคราวหรือหยุดการรักษา

    – โรคแองจิโออีดีมา (Angioedema) เกิดอาการผดผื่น ผิวลอก หรือผดผื่นตุ่มน้ำพอง ระดับ 4 หรือสงสัยว่าจะเกิดกลุ่มอาการสตีเวนส์จอห์นสัน และภาวะท็อกซิก อีพิเดอร์มัล เนโครไลซิส (Toxic Epidermal Necrolysis) หยุดการรักษาโดยใช้ยานี้ถาวร

    • ปฏิกิริยาเนื้องอกลุกลาม

    – ปฏิกิริยาเนื้องอกลุกลามระดับ 1 หรือ 2 ควรพิจารณาใช้ยานี้ต่อไปโดยไม่ต้องระงับการรักษาชั่วคราว

    – ปฏิกิริยาเนื้องอกลุกลามระดับ 3 หรือ 4 ควรระงับการรักษาจนปฏิกิริยาเนื้องอกลุกลามลงลงไปที่ระดับ 1 หรือน้อยกว่า

    – คำแนะนำ หลังจากทำการประเมินทางการแพทย์อย่างระมัดระวังในผู้ป่วยแต่ละราย ควรพิจารณาการจัดการกับอาการของปฏิกิริยาเนื้องอกลุกลามโดยใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (corticosteroids) ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (non-steroidal anti-inflammatory drugs) และ/หรือยาแก้ปวดแบบเสพติด (narcotic analgesics)

    • ความเป็นพิษอื่นๆ ในโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวมัลติเพิลมัยอิโลมา โรคเอ็มดีเอส และโรคมะเร็งเยื่อหุ้มเซลล์ต่อมน้ำเหลืองระดับ 3 หรือ 4ระงับการรักษาและพิจารณาเริ่มต้นการรักษาใหม่อีกครั้งในขนาดยาถัดไปที่ต่ำกว่าเมื่อความเป็นพิษลดลงจนถึงระดับ 2 หรือต่ำกว่า
    • การฟอกไต (Dialysis)

    ผู้ป่วยที่ทำการฟอกไตที่มีค่าครีอะตินีนเคลียรานซ์น้อยกว่า 30 มล./นาที 5 มก. (โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวมัลติเพิลมัยอิโลมาและโรคมะเร็งเยื่อหุ้มเซลล์ต่อมน้ำเหลือง) หรือ 2.5 มก. (โรคเอ็มดีเอส) วันละครั้ง

    คำแนะนำ ในวันที่รับการฟอกไต ควรให้ยาหลังจากทำการฟอกไต

    คำแนะนำอื่นๆ

    คำแนะนำการใช้ยา

    -ใช้ยานี้ในประมาณเวลาเดียวกันในวันที่กำหนด ควรรับประทานพร้อมกับดื่มน้ำและหรืออาหาร

    -ควรแนะนำผู้ป่วยให้กลืนยาแคปซูลลงไปทั้งเม็ด ไม่ควรแกะเปิด หัก หรือเคี้ยวยาแคปซูล

    -ควรศึกษาข้อมูลการใช้ยาจากผู้ผลิตเพื่อรับทราบคำแนะนำการใช้ยานี้กับผู้ป่วยที่มีปัญหาในการกลืน

    -คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยที่ลืมใช้ยา สามารถรับประทานยาครั้งนั้นได้หากเวลาผ่านไปน้อยกว่า 12 ชั่วโมงหลังจากเวลาที่ลืมใช้ยา หากเวลาผ่านไปมากกว่า 12 ชั่วโมง ควรข้ามมื้อยานั้นไปและรับประทานยาครั้งถัดไปในเวลาตามปกติของวันถัดไป

    -หากผงภายในยาแคปซูลนั้นสัมผัสกับผิวหนังหรือเยื่อเมือก ควรสั่งให้แพทย์ล้างบริเวณนั้นให้สะอาดในทันทีโดยใช้สบู่และน้ำสะอาดเพื่อล้างเยื่อเมือกที่ได้รับผลกระทบโดยใช้น้ำ

    การเก็บรักษา

    -เก็บไว้ในอุณหภูมิต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส

    -เก็บยานี้ไว้ในบรรจุภัณฑ์เดิม

    การเฝ้าระวัง

    – หัวใจและหลอดเลือด สัญญาณหรืออาการของภาวะลิ่มเลือดหลุดอุดหลอดเลือด (thromboembolism)

    – ความเป็นพิษต่อทารกในครรภ์ การตั้งครรภ์ (ในผู้หญิงที่มีโอกาสที่จะตั้งครรภ์)

    – ต่อมไร้ท่อ การทำงานของต่อมไทรอยด์

    – เลือด สัญญาณหรืออาการของภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำและภาวะเกล็ดเลือดต่ำ

    -โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวมัลติเพิลมัยอิโลมา ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (ทุกสัปดาห์สำหรับการรักษา 2 รอบแรก และในวันที่ 1 และ 15 ของรอบที่ 3 และทุกๆ 28 วันหลังจากนั้น)

    -โรคเอ็มดีเอส ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (ทุกๆ สัปดาห์เป็นเวลา 8 สัปดาห์แรก และอย่างน้อยทุกๆ เดือนหลังจากนั้น)

    -โรคมะเร็งเยื่อหุ้มเซลล์ต่อมน้ำเหลือง ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (ทุกสัปดาห์สำหรับรอบการรักษา 28 วันแรก ทุกๆ 2 สัปดาห์สำหรับการรักษารอบที่ 2 ถึง 4 และทุกๆ เดือนหลังจากนั้น)

    – ตับ เอ็นไซม์ตับ

    – ดวงตา ความสามารถในการมองเห็น

    – มะเร็ง โรคมะเร็งชนิดที่ 2 (Second primary malignancies)

    คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย

    -ควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่อาจจะเป็นอันตราย เช่นการขับรถและการใช้เครื่องจักรจนกว่าคุณจะทราบว่ายาส่งผลต่อคุณอย่างไร

    -ปรึกษาแพทย์ถึงคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการคุมกำเนิดขณะที่กำลังใช้ยานี้

    -เมื่อแกะยาแคปซูลออกจากแผง ควรกดที่ปลายเม็ดยาเพียงด้านเดียวเพื่อลดความเสี่ยงในการทำให้ยาแคปซูลแตก

    ขนาดยาเลนาลิโดไมด์สำหรับเด็ก

    ยังไม่มีการพิสูจน์ความความปลอดภัยและประสิทธิภาพของขนาดยานี้สำหรับผู้ป่วยเด็ก ยานี้อาจเป็นอันตรายต่อเด็กได้ ดังนั้นจึงควรทำความเข้าใจกับความปลอดภัยของยาก่อนการใช้ยา สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดติดต่อกับแพทย์หรือเภสัชกร

    รูปแบบของยา

    ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้

    • ยาแคปซูลสำหรับรับประทาน

    กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

    หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

    กรณีลืมใช้ยา

    หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

    ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


    เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา