backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

แกรนิซีตรอน (Granisetron)

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ · ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ข้อบ่งใช้

แกรนิซีตรอนใช้สำหรับ

แกรนิซีตรอน (Granisetron) นิยมใช้เพื่อป้องกันอาการคลื่นไส้และอาเจียน เนื่องจากการทำเคมีบำบัด และการฉายรังสีบำบัด ทำงานโดยการยับยั้งสารเคมีในร่างกาย อย่าง เซโรโทนิน (serotonin) ที่ทำให้เกิดอาการอาเจียน

วิธีการใช้ยา แกรนิซีตรอน

ยานี้ใช้สำหรับรับประทาน ควรทำตามแนวทางการใช้ยาจากแพทย์  หากมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์

โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบหากอาการของคุณไม่ดีขึ้นหรือแย่ลง

การเก็บรักษายา แกรนิซีตรอน

ยาแกรนิซีตรอนควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง ให้พ้นแสงและความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเสื่อมสภาพ ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาแกรนิซีตรอนบางยี่ห้ออาจมีวิธีเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรอ่านคำแนะนำบนบรรจุภัณฑ์หรือสอบถามเภสัชกรเสมอ และโปรดเก็บยาให้พ้นจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยงเพื่อความปลอดภัย

ไม่ควรทิ้งยาแกรนิซีตรอนลงในชักโครก หรือเทยาลงในท่อระบายน้ำ เว้นเสียแต่จะได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น หากยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้ยา ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้อง โดยสามารถสอบถามข้อมูลวิธีกำจัดยาที่ถูกต้องได้จากเภสัชกร

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยาแกรนิซีตรอน

ก่อนใช้ยาแกรนิซีตรอน 

  • โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบหากคุณแพ้ยายาแกรนิซีตรอน ยาอื่นๆ หรือส่วนผสมที่ไม่ออกฤทธิ์ของยาแกรนิซีตรอน โปรดสอบถามเภสัชกรเกี่ยวกับรายชื่อของส่วนผสมที่ไม่ออกฤทธิ์ เนื่องจากยานี้อาจมีส่วนประกอบที่ทำให้เกิดอาการแพ้หรือปัญหาอื่นๆ ได้
  • โปรดแจ้งประวัติทางการแพทย์ของคุณให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบ

ยานี้อาจทำให้คุณง่วงซึมหรือวิงเวียน อาจทำให้คุณคิดได้ช้าลง และอาจทำให้คุณสูญเสียการเคลื่อนไหวที่สอดประสาน อย่าขับรถ ใช้เครื่องจักรจน หรือทำกิจกรรมที่ต้องการความตื่นตัว กว่าคุณจะทราบว่ายาส่งผลต่อคุณอย่างไร และแพทย์ยืนยันว่าคุณสามารถทำกิจกรรมเหล่านี้ได้อย่างปลอดภัย ทั้งยังควรจำกัดปริมาณเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วย

ยาแกรนิซีตรอนอาจทำให้เกิดสภาวะที่ส่งผลกระทบต่ออัตราการเต้นของหัวใจ เช่น กลุ่มอาการระยะคิวทียาว (QT prolongation) ทำให้มีอาการวิงเวียนศีรษะอย่างรุนแรง หมดสติ รวมถึงหัวใจเต้นเร็ว หัวใจเต้นผิดปกติ เป็นต้น ซึ่งอาการอาจร้ายแรงจนถึงแก่ชีวิต

ความเสี่ยงในการเกิดรระยะคิวทียาวอาจเพิ่มขึ้น หากคุณมีสภาวะบางอย่าง หรือกำลังใช้ยาบางชนิด ฉะนั้น ควรแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบเกี่ยวกับยาทั้งหมดที่คุณกำลังใช้ รวมถึงสภาวะดังต่อไปนี้

  • ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจบางอย่าง เช่น หัวใจล้มเหลว หัวใจเต้นช้า ระยะคิวทียาวในตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG)
  • ประวัติคนในครอบครัวมีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ เช่น ระยะคิวทียาวในตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ หัวใจตายฉับพลัน (sudden cardiac death)
  • ระดับของโพแทสเซียมหรือแมกนีเซียมในเลือดต่ำ โดย ความเสี่ยงนี้จะเพิ่มขึ้นหากคุณกำลังใช้ยาบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะหรือยาขับน้ำ
  • เหงื่อออกมาก ท้องร่วง หรืออาเจียน

ผู้สูงอายุอาจจะมีปฏิกิริยาไวต่อผลข้างเคียงของยานี้มากกว่า โดยเฉพาะระยะคิวทียาว

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือ เกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์ เพื่อประเมินประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้

ยาแกรนิซีตรอนจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์ หมวด B โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A = ไม่มีความเสี่ยง
  • B = ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C = อาจจะมีความเสี่ยง
  • D = มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X = ห้ามใช้
  • N = ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยาแกรนิซีตรอน

อาจเกิดอาการท้องร่วง ท้องผูก ปวดท้อง อ่อนแรง ปวดศีรษะ มีไข้ วิงเวียน ง่วงซึม นอนไม่หลับ และวิตกกังวลเกิดขึ้น หากอาการเหล่านี้ไม่หายไป หรือรุนแรงขึ้น โปรดแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรในทันที

โปรดจำไว้ว่า การที่แพทย์ให้คุณใช้ยาตัวนี้ เนื่องจากประเมินแล้วว่ายามีประโยชน์มากกว่าเป็นโทษ และคนที่ใช้ยานี้ส่วนใหญ่ ไม่พบผลข้างเคียงที่ร้ายแรงใดๆ

ผลข้างเคียงต่อไปนี้พบได้ไม่บ่อย แต่รุนแรงและเป็นอันตรายอย่างมาก หากพบควรรีบเข้ารับการรักษาพยาบาลทันที

  • การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อที่ผิดปกติ
  • อาการแข็งเกร็งที่กล้ามเนื้อ
  • เจ็บหน้าอก
  • หัวใจเต้นเร็วหรือผิดปกติ
  • วิงเวียนอย่างรุนแรง หรือหมดสติ

ยานี้อาจเพิ่มระดับของเซโรโทนิน และอาจทำให้เกิดสภาวะรุนแรง ที่เรียกว่า กลุ่มอาการเซราโทนิน หรือเซโรโทนินเป็นพิษ ความเสี่ยงอาจเพิ่มขึ้น หากคุณใช้ยาอื่นที่สามารถเพิ่มเซโรโทนินได้ ดังนั้น จึงควรแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบ เกี่ยวกับยาทั้งหมดที่คุณกำลังใช้ และหากมีอาการต่อไปนี้ ควรรีบเข้ารับการรักษาพยาบาลทันที

  • หัวใจเต้นเร็ว
  • มองเห็นภาพหลอน
  • สูญเสียการเคลื่อนไหวอย่างสอดประสาน
  • วิงเวียนอย่างรุนแรง
  • คลื่นไส้อาเจียนและท้องเสียอย่างรุนแรง
  • กล้ามเนื้อกระตุก
  • มีไข้โดยหาสาเหตุไม่ได้
  • มีอาการร้อนรน หรือกระสับกระส่ายอย่างผิดปกติ

การแพ้ยาที่รุนแรงนี้ค่อนข้างเกิดขึ้นได้ยาก แต่จำเป็นต้องได้รับการรักษาที่ทันท่วงที อาการของการแพ้รุนแรงมีดังนี้ ผดผื่น คันหรือบวม โดยเฉพาะบริเวณใบหน้า ลิ้น ลำคอ เวียนศีรษะขั้นรุนแรง หายใจติดขัด

ผลข้างเคียงที่กล่าวมาข้างต้น อาจไม่ได้เกิดกับทุกคน หรือบางคนอาจมีอาการอื่นนอกเหนือจากนี้ หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ไม่ควรใช้ยาแกรนิซีตรอนกับยาอะโปมอร์ฟีน (apomorphine) เพราะอาจทำให้เกิดปฏิกิริยาที่รุนแรงหลายประการ ฉะนั้น หากคุณกำลังใช้ยาดังกล่าว โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบก่อนใช้ยาแกรนิซีตรอน

นอกจากยาแกรนิซีตรอนแล้ว ยาอื่นๆ เช่น อะมิโอดาโรน (amiodarone) โดฟีทิไลด์ (dofetilide) พิโมไซด์ (pimozide) โปรเคนเอไมด์ (procainamide) ควินิดีน (quinidine) โซทาลอล (sotalol) ยาปฏิชีวนะแมคโครไลด์ (macrolide antibiotics) อย่าง อิริโทรมัยซิน (erythromycin) ก็อาจส่งผลกระทบต่ออัตราการเต้นของหัวใจได้ เช่น ระยะคิวทียาว (QT prolongation) ได้เช่นกัน

ความเสี่ยงในการเกิดกลุ่มอาการเซโรโทนิน (serotonin syndrome) หรือความเป็นพิษของเซโรโทนินนั้น อาจเพิ่มขึ้น หากคุณใช้ยาอื่นที่สามารถเพิ่มเซโรโทนินได้ เช่น เมทิลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีน (MDMA) หรือเอ็กซ์ตาซี (ecstasy) สมุนไพรเซนต์จอห์นเวิร์ท (St. John’s wort) ยาต้านซึมเศร้าบางชนิด (antidepressants) รวมถึงยาในกลุ่มเอสเอสอาร์ไอ (SSRIs) เช่น ฟลูออกซิทีน (fluoxetine) หรือพาร็อกซีทีน (paroxetine) ยาในกลุ่มเอสเอ็นอาร์ไอ (SNRIs) เช่น ดูล็อกซีทีน (duloxetine) หรือเวนลาฟาซีน (venlafaxine) และอื่นๆ ความเสี่ยงในการเกิดกลุ่มอาการเซโรโทนิน และความเป็นพิษของเซโรโทนิน มักจะมากขึ้นเมื่อคุณเริ่มใช้ หรือเพิ่มขนาดยาเหล่านี้

แจ้งรายชื่อของยาทั้งหมดที่คุณใช้ ให้แพทย์และเภสัชกรทราบ

ยาแกรนิซีตรอนอาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ และอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรด้วยว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง สมุนไพร เป็นต้น และเพื่อความปลอดภัย คุณไม่ควรเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาเองโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาแกรนิซีตรอนอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาแกรนิซีตรอนอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาแกรนิซีตรอนสำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาอาการคลื่นไส้อาเจียน เนื่องจากการทำเคมีบำบัด

  • ฉีดยาเข้าหลอดเลือด: 10 ไมโครกรัม/กก. นานกว่า 5 นาที เริ่มให้ยา 30 นาทีก่อนเริ่มการทำเคมีบำบัด
  • รับประทาน: 2 มก. ให้ยาไม่เกิน 1 ชั่วโมงก่อนการทำเคมีบำบัด หรือ 1 มก. วันละสองครั้ง โดยให้ยาครั้งแรก 1 ชั่วโมงก่อนทำเคมีบำบัด และให้ยาครั้งที่สอง 12 ชั่วโมงหลังจากนั้น

ยาแกรนิซีตรอนแบบซึมผ่านผิวหนัง: แปะแผ่นยาที่แขนด้านนอกเป็นเวลาอย่างน้อย 24 ชั่วโมง ก่อนการทำเคมีบำบัด โดยสามารถแปะแผ่นยาก่อนการทำเคมีบำบัดได้นานสูงสุด 48 ชั่วโมง ถอดแผ่นแปะยาอย่างน้อย 24 ชั่วโมง หลังจากเสร็จสิ้นการทำเคมีบำบัด สามารถแปะแผ่นยาไว้ได้นานถึง 7 วัน ขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการทำเคมีบำบัด ยาแกรนิซีตรอนแบบซึมผ่านผิวหนังมีขนาด 52 ตารางเซนติเมตร แผ่นยาหนึ่งแผ่นมียาแกรนิซีตรอนขนาด 34.3 มก. แผ่นยาออกฤทธิ์ 3.1 มก. ต่อ 24 ชั่วโมงเป็นเวลานาน 7 วัน

ควรแปะแผ่นแปะยาแบบซึมผ่านผิวหนังลงบนบริเวณผิวด้านนอกต้นแขนที่สะอาด แห้ง และสุขภาพสมบูรณ์ดี ไม่ควรแปะแผ่นยาแกรนิซีตรอนแบบซึมผ่านผิวหนังที่บริเวณผิวที่มีรอยแดง ระคายเคือง หรือบาดเจ็บ เมื่อฉีกซองบรรจุแผ่นยาแล้วควรใช้ทันที และไม่ควรตัดแบ่งใช้

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาอาการคลื่นไส้อาเจียน เนื่องจากการฉายรังสีบำบัด

  • 2 มก. รับประทานภายใน 1 ชั่วโมงก่อนการฉายรังสีบำบัด

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาอาการคลื่นไส้อาเจียน หลังการผ่าตัด

การป้องกันและการรักษา

  • ฉีดยาเข้าหลอดเลือด : 1 มก. ไม่ต้องเจือจาง นานกว่า 30 วินาที ให้ยาก่อนการให้ยาระงับความรู้สึก (anesthesia) หรือทันทีหลังจากให้ยาระงับความรู้สึก หรือให้หลังจากการผ่าตัด

การปรับขนาดยาไต

ไม่มีการปรับขนาดยาที่แนะนำ

การปรับขนาดยาสำหรับตับ

ไม่มีการปรับขนาดยาที่แนะนำ

การปรับขนาดยา

ยังไม่มีการพิสูจน์ว่าขนาดยามากกว่า 40 ไมโครกรัม/กก. นั้นมีประสิทธิภาพในการควบคุมอาการคลื่นไส้อาเจียนเนื่องจากการทำเคมีบำบัดได้มากกว่า

คำแนะนำอื่นๆ

ควรใช้ยาแกรนิซีตรอนในวันเดียวกันกับที่ทำเคมีบำบัด สามารถให้ยาแบบฉีดโดยไม่ต้องเจือจางยา เป็นเวลา 30 วินาที หรือให้ยาแบบเจือจางในน้ำเกลือ หรือสารละลายเด็กโทรส 5% (dextrose 5%) แล้วหยอดยานานกว่า 5 นาที (หรือเจือจางมากขึ้น 20 ถึง 50 มล. แล้วให้ยานานกว่า 30 ถึง 60 นาที)

ขนาดยาแกรนิซีตรอนสำหรับเด็ก

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาอาการคลื่นไส้อาเจียน เนื่องจากการทำเคมีบำบัด

อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 2 ถึง 16 ปี : 10 ไมโครกรัม/กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ 30 นาทีก่อนการทำเคมีบำบัด

งานวิจัย

การทดลองทางการแพทย์แบบสุ่มและอำพรางสองฝ่าย (Randomized double-blind clinical studies) ทำโดยการฉีดยาแกรนิซีตรอนในช่วงระหว่าง 10 ถึง 40 ไมโครกรัม/กก.

ข้อควรระวัง

  • ยังไม่มีการพิสูจน์ความความปลอดภัย และประสิทธิภาพของยาแกรนิซีตรอนแบบรับประทาน สำหรับผู้ป่วยเด็ก (อายุน้อยกว่า 18 ปี)
  • ยังไม่มีการพิสูจน์ความความปลอดภัย และประสิทธิภาพของยาแกรนิซีตรอนแบบฉีดเข้าหลอดเลือดดำ สำหรับผู้ป่วยเด็กที่อายุต่ำกว่า 2 ปี เนื่องจากขาดการทดลองทางด้านประสิทธิภาพ และการสังเกตระยะคิวทีที่ยาว (QT prolongation)

รูปแบบของยา

ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้

  • ยาสารละลายสำหรับรับประทาน
  • ยาสารละลายสำหรับฉีดเข้าหลอดเลือดดำ
  • ยาเม็ดสำหรับรับประทาน
  • แผ่นฟิล์มแปะที่ผิวหนังออกฤทธิ์นาน
  • ยาแขวนตะกอนสำหรับฉีดใต้กล้ามเนื้อ ออกฤทธิ์นาน

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉิน หรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา