backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

โลวาสแตติน (Lovastatin)

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์ · ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ข้อบ่งใช้

ยา โลวาสแตติน ใช้สำหรับ

ยา โลวาสแตติน (Lovastatin) ใช้ร่วมกับการรับประทานอาหารอย่างเหมาะสม เพื่อช่วยลดคอเลสเตอรอลและไขมันที่ไม่ดี เช่น ไขมันเลว (LDL) ไตรกลีเซอไรด์ (triglycerides) และเพิ่มปริมาณของคอเลสเตอรอลที่ดี อย่างไขมันดี (HDL) ภายในเลือด ยานี้อยู่ในกลุ่มของยาสแตติน (statins) ทำงานโดยลดปริมาณของคอเลสเตอรอลที่ผลิตจากตับ การลดปริมาณของคอเลสเตอรอลที่ไม่ดีและไตรกลีเซอไรด์ และการเพิ่มปริมาณของคอเลสเตอรอลที่ดี จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ และช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจขาดเลือดฉับพลัน

นอกจากการรับประทานอาหารที่เหมาะสม (เช่น อาหารที่มีคอเลสเตอรอลหรือไขมันต่ำ) และการเปลี่ยนไลฟ์สไตล์อื่นๆ อาจช่วยให้ยาโลวาสแตตินทำงานได้ดีขึ้น รวมถึงการออกกำลังกาย การลดน้ำหนักเมื่อมีน้ำหนักเกิน และการงดสูบบุหรี่ โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

วิธีการใช้ยา โลวาสแตติน

รับประทานยาโลวาสแตตินตามที่แพทย์กำหนด โดยปกติคือวันละครั้งในมื้อเย็น ผู้ป่วยบางรายอาจต้องรับประทานยาโลวาสแตตินวันละสองครั้ง

ขนาดยาขึ้นอยู่กับสภาวะทางการแพทย์ การตอบสนองต่อการรักษา อายุ และยาโลวาสแตตินอื่นๆ ที่คุณกำลังใช้ แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบเกี่ยวกับยาทั้งหมดที่คุณใช้ (ทั้งยาตามใบสั่ง ยาที่หาซื้อเอง หรือสมุนไพรต่างๆ)

หลีกเลี่ยงการรับประทาน หรือดื่มน้ำเกรฟฟรุต นอกจากแพทย์จะสั่ง เกรฟฟรุตนั้นสามารถเพิ่มปริมาณของยาโลวาสแตตินในกระแสเลือดได้ โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

หากคุณยังใช้ยาอื่นที่ลดระดับของคอเลสเตอรอล เช่น ยาไบล์แอซิดไบดิ้งเรซิน (bile acid-binding resins) เช่นคอเลสไทรามีน (cholestyramine) หรือคอเลสทิพอล (colestipol) ควรรับประทานยาโลวาสแตตินอย่างน้อย 1 ชั่วโมง หรืออย่างน้อย 4 ชั่วโมงหลังจากใช้ยาโลวาสแตตินเหล่านี้ ผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีปฏิกิริยากับยาโลวาสแตตินและป้องกันการดูดซึมยาอย่างเต็มที่

รับประทานยาโลวาสแตตินเป็นประจำ เพื่อให้ได้ประโยชน์จากยาสูงสุด เพื่อให้ง่ายต่อการจำ ควรรับประทานยาในเวลาเดียวกันทุกวัน ควรใช้ยาโลวาสแตตินอย่างต่อเนื่อง แม้คุณจะรู้สึกเป็นปกติ คนส่วนใหญ่ที่มีระดับของคอเลสเตอรอลหรือไตรกลีเซอไรด์สูงจะไม่รู้สึกป่วย

ควรทำตามคำแนะนำของแพทย์ เกี่ยวกับการรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย อาจต้องใช้เวลานานถึง 4 สัปดาห์ กว่าจะได้รับประโยชน์สูงสุดจากยา

การเก็บรักษายาโลวาสแตติน

ยาโลวาสแตตินควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาโลวาสแตตินบางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยา หรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัย โปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่ควรทิ้งยาโลวาสแตตินลงในชักโครก หรือเทยาลงในท่อระบายน้ำ เว้นเสียแต่จะได้รับคำแนะนำให้ทำ ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้องเมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน โปรดสอบถามเภสัชกรเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยาโลวาสแตติน

ก่อนใช้ยาโลวาสแตติน

  • แจ้งให้แพทย์และเภสัชกรทราบ หากคุณแพ้ต่อยาโลวาสแตติน หรือยาโลวาสแตตินอื่นๆ หรือแพ้ส่วนประกอบในยาโลวาสแตตินแบบยาเม็ดหรือยาเม็ดออกฤทธิ์นาน สอบถามเภสัชกรถึงส่วนประกอบของยา
  • แจ้งให้แพทย์ทราบ หากคุณใช้ยาโลวาสแตตินชนิดใดชิดหนึ่งดังต่อไปนี้ คือ ยาต้านเชื้อรา เช่น ยาไอทราโคนาโซล (itraconazole) อย่างสปอรานอกซ์ (Sporanox) ยาคีโตโคนาโซล (Ketoconazole) อย่างไนโซรอล (Nizoral) ยาโพซาโคนาโซล (posaconazole) อย่างโนซาฟิล (Noxafil) และยาโวริโคนาโซล (voriconazole) อย่างวีเฟน (Vfend) ยาโบซีพรีเวียร์ (boceprevir) อย่างวิคเทรลิส (Victrelis) ยาคลาริโทรมัยซิน (clarithromycin) อย่างไบอาซิน (Biaxin) ยาโลวาสแตตินที่ประกอบด้วยโคบิซิสแตท (cobicistat-containing Lovastatin) อย่างสไตรไบด์ (Stribild) ยาอิริโทรมัยซิน (erythromycin) อย่างอีอีเอส (E.E.S.) หรืออิริก eryc) ยาเนฟาโซโดน (nefazodone) ยาต้านเชื้อไวรัสเอชไอวีบางชนิด (HIV protease inhibitors) รวมถึงยาอะทาซานาเวียร์ (atazanavir) อย่างเรยาทาส (Reyataz) ยาดารุนาเวียร์ (darunavir) อย่างเพรซิสตา (Prezista) ยาfosamprenavir (fosamprenavir) อย่างเลซิวา (Lexiva) ยาอินดินาเวียร์ (indinavir) อย่างคริซิแวน (Crixivan) ยาโลปินาเวียร์ (lopinavir) ในเคลทรา (in Kaletra) ยาเนวฟินนาเวียร์ (nelfinavir) อย่างไวราเซป (Viracept) ยาริโทนาเวียร์ (ritonavir) อย่างนอร์เวียร์ (Norvir) ในเคลทรา (in Kaletra) ยาซาควินาเวียร์ (Saquinavir) อย่างอินไวเรส (Invirase) และยาทิพล่านาเวียร์ (tipranavir) อย่างแอพทิวัส (Aptivus) ยาทีลาพรีเวียร์ (telaprevir) อย่างอินซิเวก (Incivek) และยาเทลิโทรมัยซิน (Telithromycin) อย่างเคเทก (Ketek) แพทย์อาจจะไม่ให้คุณใช้ยาโลวาสแตติน หรือคุณใช้หนึ่งในยาโลวาสแตตินเหล่านี้
  • แจ้งให้แพทย์และเภสัชกรทราบ เกี่ยวกับยาที่คุณกำลังใช้หรือมีแผนจะใช้ ทั้งยาโลวาสแตตินตามใบสั่งและยาโลวาสแตตินที่หาซื้อเอง วิตามิน อาหารเสริม และสมุนไพรต่างๆ โดยเฉพาะ ยาอะมิโอดาโรน (amiodarone) อย่างคอร์ดาโรน (Cordarone) หรือพาเซโรน (Pacerone) ยาต้านการแข็งตัวของเลือด (anticoagulants) หรือยาเจือจางเลือด (‘blood thinners’) เช่น ยาวาฟาริน (warfarin) อย่างคูมาดิน (Coumadin) ยาไซเมทิดีน (cimetidine) อย่างทากาเมต (Tagamet) ยาโคลชิซิน (colchicine) อย่างคอลคริส (Colcrys) ยาไซโคลสปอริน (cyclosporine) อย่างนีโอรอล (Neoral) หรือแซนดิมมูน (Sandimmune) ยาดานาซอล (Danazol) อย่างดาโนคริน (Danocrine) ยาดิลไทอะเซม (Diltiazem) อย่างคาร์ดิเซม (Cardizem) อย่างดิลาคอร์ (Dilacor) หรือไทอาแซค (Tiazac) ยาโดรเนดาโรน (dronedarone) อย่างมูลแทก (Multaq) ยาโลวาสแตตินลดคอเลสเตอรอลอื่นๆ เช่น ยาฟีโนไฟเบรต (fenofibrate) อย่างไทรคอร์ (Tricor) ยาเจมไฟโบรซิล (gemfibrozil) อย่างโลปิด (Lopid) และยาไนอาซิน (niacin) อย่างกรดไนโคทินิค (nicotinic acid) หรือไนอาคอร์ (Niacor) หรือไนอาสแปน (Niaspan) ยาสไปโรโนแลคโตน (spironolactone) อย่างอัลแดคโทน (Aldactone) ยาราโนลาซีน (Ranolazine)อย่างราเนซา (Ranexa) และยาเวอราปามิล (verapamil) อย่างคาแลน (Calan) โคเวรา (Covera) ไอโซปทิน (Isoptin) หรือเวราแลน (Verelan) ยังมียาโลวาสแตตินอีกมากที่อาจจะมีปฏิกิริยากับยาโลวาสแตติน แจ้งให้แพทย์เกี่ยวกับยาโลวาสแตตินทั้งหมดที่คุณใช้ แม้แต่ยาที่ไม่มีชื่ออยู่ในรายชื่อนี้ แพทย์อาจจำเป็นต้องเปลี่ยนขนาดยาโลวาสแตติน หรือเฝ้าระวังผลข้างเคียง
  • แจ้งให้แพทย์ทราบ หากคุณเป็นโรคตับ แพทย์อาจสั่งให้คุณทำการตรวจในห้องทดลอง เพื่อดูการทำงานของตับ แม้ว่าคุณจะไม่คิดว่าตัวเองเป็นโรคตับ แพทย์อาจจะไม่ให้คุณใช้ยาโลวาสแตติน หากคุณเป็นโรคตับ หรือผลการตรวจแสดงให้เห็นว่า คุณอาจจะเป็นโรคตับ
  • แจ้งให้แพทย์ทราบ หากคุณดื่มสุรามากกว่า 2 แก้วต่อวัน หากคุณอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป หากคุณเป็นโรคตับ หรือเคยมีอาการชัก ปวดกล้ามเนื้อหรืออ่อนแรง ความดันโลหิตต่ำ โรคเบาหวาน หรือโรคไต
  • แจ้งให้แพทย์ทราบ หากคุณตั้งครรภ์ หรือมีแผนที่จะตั้งครรภ์ คุณไม่ควรตั้งครรภ์ระหว่างที่ใช้ยาโลวาสแตติน ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีการคุมกำเนิดที่คุณสามารถใช้ได้ขณะใช้ยานี้ หากคุณตั้งครรภ์ระหว่างใช้ยาโลวาสแตติน หยุดใช้ยาแล้วติดต่อแพทย์ในทันที ยาโลวาสแตตินนั้นอาจทำอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้
  • อย่าให้นมบุตรขณะที่กำลังใช้ยาโลวาสแตติน
  • หากคุณกำลังจะรับการผ่าตัด รวมถึงการผ่าตัดทำฟัน แจ้งให้แพทย์หรือทันตแพทย์ทราบ หากคุณกำลังใช้ยาโลวาสแตติน หากคุณเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล เนื่องจากการบาดเจ็บหรือการบาดเจ็บที่รุนแรง แจ้งให้แพทย์ที่ดูแลคุณทราบว่า คุณกำลังใช้ยาโลวาสแตติน
  • สอบถามแพทย์ถึงความปลอดภัยในการดื่มสุรา ขณะใช้ยาโลวาสแตติน สุราอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรง
  • ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

    ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือ เกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์ เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้

    ยาโลวาสแตตินจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์ หมวด X โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

    การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

    • A= ไม่มีความเสี่ยง
    • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
    • C= อาจจะมีความเสี่ยง
    • D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
    • X= ห้ามใช้
    • N= ไม่ทราบแน่ชัด

    ผลข้างเคียง

    ผลข้างเคียงของการใช้ยาโลวาสแตติน

    รับการรักษาพยาบาลฉุกเฉินทันที หากคุณมีสัญญาณของอาการแพ้ ได้แก่ ลมพิษ หายใจติดขัด บวมที่ใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้น หรือลำคอ

    หยุดใช้ยาโลวาสแตตินและติดต่อแพทย์ในทันทีหากคุณมีผลข้างเคียงที่รุนแรงดังต่อไปนี้

    • อาการปวดกล้ามเนื้อ กดเจ็บ หรืออ่อนแรงที่หาสาเหตุไม่ได้
    • เป็นไข้ เหนื่อยล้าผิดปกติ และอุจจาระสีคล้ำ
    • ปวดหน้าอก
    • สับสน มีปัญหากับความทรงจำ
    • บวม น้ำหนักขึ้น ปัสสาวะน้อยกว่าปกติหรือไม่ปัสสาวะเลย
    • ระดับน้ำตาลในเลือดสูง (กระหายน้ำมากขึ้น ปัสสาวะมากขึ้น หิว ปากแห้ง มีกลิ่นปากเป็นกลิ่นผลไม้ ง่วงซึม ผิวแห้ง มองเห็นไม่ชัด น้ำหนักลด)
    • คลื่นไส้ ปวดกระเพาะส่วนบน คัน เบื่ออาหาร ปัสสาวะสีเข้ม ดีซ่าน (ผิวหรือดวงตาเป็นสีเหลือง)

    ผลข้างเคียงที่รุนแรงน้อยลงมาคือ ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อระดับเบา ปวดข้อต่อ คลื่นไส้เบาๆ ปวดกระเพาะหรือลำไส้ ท้องผูก หรือนอนไม่หลับ

    ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้ และอาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

    ปฏิกิริยาของยา

    ปฏิกิริยากับยาอื่น

    ยาโลวาสแตตินอาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่าคุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์ โดยเฉพาะ

    • ดีลาเวอร์ดีน (Delavirdine)
    • ฟีโนไฟเบรต (Fenofibrate)

    ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

    ยาโลวาสแตตินอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

    • น้ำเกรฟฟรุต

    ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

    ยาโลวาสแตตินอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบ ถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ โดยเฉพาะ

    • เคยดื่มสุราอย่างหนัก
    • โรคเบาหวานที่ควบคุมได้ไม่ดี
    • ภาวะขาดไทรอยด์ (Hypothyroidism)
    • เคยเป็นโรคตับ —ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง อาจทำให้ผลข้างเคียงรุนแรงขึ้น
    • อิเล็กโทรไลท์ผิดปกติ (Electrolyte disorder)
    • โรคระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine disorder) ขั้นรุนแรง
    • โรคลมชัก (Epilepsy) ที่ควบคุมได้ไม่ดี
    • ภาวะความดันโลหิตต่ำ (Hypotension)
    • โรคไตขั้นรุนแรง
    • โรคเกี่ยวกับระบบการเผาผลาญอาหารขั้นรุนแรง
    • ภาวะติดเชื้อ (Sepsis)—ผู้ป่วยที่มีอาการนี้อาจมีความเกี่ยวในการเกิดปัญหากับกล้ามเนื้อหรือไต
    • ภาวะไขมันในเลือดสูง (Hypercholesterolemia) เนื่องจากพันธุกรรม—ยานี้อาจจะมีประสิทธิภาพน้อยกว่าสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้
    • โรคตับ ระยะมีอาการ
    • เอนไซม์ตับสูงเกินไป—ผู้ป่วยที่มีอาการนี้ไม่ควรใช้ยา

    ขนาดยา

    ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง เพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

    ขนาดยาโลวาสแตตินสำหรับผู้ใหญ่

    ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาภาวะไขมันในเลือดสูง 

    ยาแบบออกฤทธิ์ทันที

    • ขนาดยาเริ่มต้น: 20 มก. รับประทานวันละครั้งพร้อมกับมื้อเย็น
    • ขนาดยาปกติ: 10 ถึง 80 มก. รับประทานวันละครั้งหรือแบ่งรับประทาน 1 หรือ 2 ครั้ง

    ยาแบบออกฤทธิ์นาน

    • ขนาดยาเริ่มต้น: 20 หรือ 40 หรือ 60 มก. รับประทานวันละครั้งก่อนนอน ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องลดปริมาณคอเลสเตอรอลในระดับน้อยอาจเริ่มที่ขนาด 10 มก. รับประทานก่อนนอน
    • ขนาดยาปกติ: 10 ถึง 60 มก. รับประทานวันละครั้งก่อนนอน

    ขนาดยาโลวาสแตตินสำหรับเด็ก

    ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาไขมันในเลือดสูงเนื่องจากเฮเทอโรไซกัสทางพันธุกรรม (Heterozygous Familial Hypercholesterolemia)

    ยาแบบออกฤทธิ์ทันที

    • ขนาดยาเริ่มต้น: 10 ถึง 17 ปี: 10 มก. รับประทานวันละครั้ง
    • ขนาดยาปกติ: 10 ถึง 17 ปี: 10 ถึง 40 มก. รับประทานวันละครั้ง

    คำแนะนำ: ไม่ควรปรับขนาดยาก่อนทุกๆ 4 สัปดาห์ ไม่ควรเพิามยาเกิน 10 มก. ทุกครั้งที่ปรับขนาดยา

    • ยาแบบออกฤทธิ์นาน: ไม่แนะนำยาโลวาสแตตินรูปแบบนี้สำหรับผู้ป่วยเด็ก

    รูปแบบของยา

    ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้

    • ยาเม็ดสำหรับรับประทาน: 10 มก. 20 มก. 40 มก.

    กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

    หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

    กรณีลืมใช้ยา

    หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

    ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


    เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา