backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ไกลคลาไซด์ (Gliclazide)

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ · ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ข้อบ่งใช้

ยาไกลคลาไซด์ใช้สำหรับ

ยาไกลคลาไซด์ (Gliclazide) ใช้ร่วมกับการรับประทานอาหารและการออกกำลังกายเพื่อควบคุมภาวะน้ำตาลในเลือดสูงสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดไม่ต้องพึ่งพาอินซูลิน (non-insulin dependent diabetic patients) การควบคุมภาวะน้ำตาลในเลือดสูงจะช่วยป้องกันโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไต ปัญหาเกี่ยวกับการไหลเวียนของเลือด และอาการตาบอด

วิธีการใช้ยาไกลคลาไซด์

ยาไกลคลาไซด์มาในรูปแบบยาเม็ดประเภทต่างๆ ที่จะให้ขนาดยาแตกต่างกัน อย่าสับเปลี่ยนรูปแบบหรือยี่ห้อของยาไกลคลาไซด์นอกเสียจากแพทย์จะสั่งให้ทำเช่นนั้น

รับประทานยาไกลคลาไซด์พร้อมกับอาหารเช้าหรืออาหารมื้อแรกของวันตามที่แพทย์กำหนด โดยปกติคือวันละครั้ง ผู้ป่วยบางราย โดยเฉพาะผู้ที่ใช้ยาในขนาดสูง แพททย์อาจสั่งให้ใช้ยาวันละสองครั้ง ขนาดยาขึ้นอยู่กับสภาวะทางการแพทย์และการตอบสนองต่อการรักษา

เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียง แพทย์อาจสั่งให้คุณเริ่มใช้ยาไกลคลาไซด์ในขนาดต่ำแล้วค่อยๆ เพิ่มขนาดยา ควรทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

หากคุณกำลังใช้ยาต้านเบาหวานอื่นอยู่ก่อนแล้ว เช่น ยาคลอร์โพรพาไมด์ (chlorpropamide) ควรหยุดใช้ยาเก่าและเริ่มใช้ยาไกลคลาไซด์ตามคำแนะนำของแพทย์อย่างระมัดระวัง

หากคุณกำลังใช้ยาโคลเซเวแลม (colesevelam) ควรรับประทานยาไกลคลาไซด์อย่างน้อย 4 ชั่วโมงก่อนใช้ยาโคลเซเวแลม

ใช้ยาไกลคลาไซด์เป็นประจำเพื่อให้ได้รับประโยชน์จากยาสูงสุด เพื่อให้จำง่ายควรใช้ยาในเวลาเดียวกันทุกวัน

โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบหากอาการของคุณไม่ดีขึ้นหรือแย่ลง เช่น ระดับน้ำตาลในเลือดของคุณสูงเกินไปหรือต่ำเกินไป

การเก็บรักษายาไกลคลาไซด์

ยาไกลคลาไซด์ควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงและความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหายหรือเสื่อมสภาพ ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาไกลคลาไซด์บางยี่ห้ออาจมีวิธีเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยาหรือสอบถามเภสัชกรเสมอ และโปรดเก็บยาให้พ้นจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยงเพื่อความปลอดภัย

ไม่ควรทิ้งยาไกลคลาไซด์ลงในชักโครก หรือเทลงในท่อระบายน้ำ เว้นแต่ได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น หากยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้ยา ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้อง โดยสามารถสอบถามข้อมูลวิธีกำจัดยาที่ถูกต้องเพิ่มเติมได้จากเภสัชกร

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยาไกลคลาไซด์

ก่อนใช้ยานี้โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบหาก

  • คุณแพ้ต่อยาไกลคลาไซด์หรือส่วมผสมอื่นๆ ของยานี้ หรือคุณแพ้ต่อยาอื่น
  • คุณแพ้ต่อยาในกลุ่มเดียวกัน อย่างยาในกลุ่มซัลโฟนิลยูเรีย (sulphonylureas) แพ้ต่อยาที่เกี่ยวข้องกันอย่างไฮโปไกลซีมิก ซัลโฟนาไมด์ (hypoglycaemic sulphonamides)
  • เป็นโรคเบาหวานชนิดพึ่งพาอินซูลิน (insulin-dependant diabetes) หรือเบาหวานชนิดที่ 1
  • มีปัญหากับไตหรือตับอย่างรุนแรง
  • มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานกับภาวะคิโตซิส (ketosis) หรือภาวะเลือดเป็นกรด (acidosis)
  • มีภาวะพรีโคม่าจากเบาหวาน (diabetic pre-coma) และภาวะโคม่าจากโรคเบาหวาน (diabetic coma)
  • กำลังใช้ยารักษาการติดเชื้อรา
  • กำลังให้นมบุตร (อ่านเพิ่มเติมในส่วนการตั้งครรภ์ การให้นมบุตร และการเจริญพันธ์ุ)
  • เป็นโรคเบาหวานและกำลังรับการผ่าตัด ผ่านการบาดเจ็บ หรือกำลังติดเชื้ออย่างรุนแรง
  • เป็นโรคพอร์ฟิเรีย (porphyria) (โรคทางพันธุกรรมที่มีผลต่อตับหรือไขกระดูก)

ไม่ควรใช้ยานี้เพื่อรักษาโรคเบาหวานในเด็ก

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้

ยาไกลคลาไซด์จัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์ หมวด C โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A = ไม่มีความเสี่ยง
  • B = ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C = อาจจะมีความเสี่ยง
  • D = มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X = ห้ามใช้
  • N = ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยาไกลคลาไซด์

ผลข้างเคียงอาจมีดังนี้

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia)

ผลข้างเคียงที่พบได้มากที่สุดคือภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ หากคุณไม่ทำการรักษา อาการเหล่านี้อาจทำให้เกิดอาการง่วงซึม สูญเสียการเคลื่อนไหวที่สอดประสาน หรืออาจจะมีอาการโคม่า หากภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำนั้นรุนแรงหรือมีอาการเวลานาน  แม้ว่าจะสามารถควบคุมอาการได้ชั่วคราวจากการรับประทานน้ำตาล โปรดรับการรักษาในทันที

ความผิดปกติของเลือด

มีการรายงานพบอาการจำนวนเซลล์ในเลือดลดลง เช่น เกล็ดเลือด เซลล์เม็ดเลือดแดง และเซลล์เม็ดเลือดขาว ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการดังนี้

  • ตัวซีด
  • เลือดออกเป็นเวลานาน
  • มีรอยช้ำ
  • เจ็บคอ
  • เป็นไข้
  • เหนื่อยล้า หายใจลำบาก
  • เลือดกำเดาไหล
  • มีแผลในปาก หนาวสั่นอย่างรุนแรง

อาการเหล่านี้มักจะหายไปหลังจากหยุดการรักษา

ความผิดปกติของตับ

มีบางรายงานเกี่ยวกับการทำงานของตับผิดปกติ ซึ่งอาจทำให้ผิวหนังและดวงตาเป็นสีเหลือง หากคุณมีอาการนี้ควรติดต่อแพทย์ในทันที อาการจะค่อยๆ หายไปเมื่อหยุดใช้ยา แพทย์จะตัดสินใจว่าเมื่อไหร่ที่คุณควรจะหยุดการรักษา

ผิวหนังผิดปกติ

มีรายงานเกี่ยวกับปฏิกิริยาของผิวหนัง เช่น

  • ผดผื่น
  • รอยแดง
  • คัน
  • อาการแองจิโออีดีมา (Angioedema) ซึ่งเป็นอาการเนื้อเยื่อบวมอย่างรวดเร็วในบริเวณเปลือกตา ใบหน้า ริมฝีปาก ปาก ลิ้น ลำคอ เป็นต้น ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอาการหายใจติดขัด
  • ปฏฺิกิริยาของผิวหนังต่อแสงแดด

อาการผดผื่นอาจจะทำให้เกิดอาการแผลพุพองหนือผิวลอกที่แพร่กระจาย เช่น กลุ่มอาการสตีเวนส์จอห์นสัน (Stevens-Johnson syndrome) ภาวะทีอีเอ็น (toxic epidermal necrolysis) ที่อาจทำให้เสียชีวิต

ความผิดปกติของระบบย่อยอาหาร

ผลข้างเคียงของการใช้ยา อาจทำให้เกิดความผิดปกติของระบบย่อยอาหาร ดังนี้

ความผิดปกติของดวงตา

การมองเห็นของคุณอาจได้รับผลกระทบเป็นเวลาสั้นๆ โดยเฉพาะช่วงเริ่มต้นการรักษา ผลนี้จะขึ้นอยู่กับความเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำตาลในเลือด

สำหรับยาในกลุ่มซัลโฟนิลยูเรีย เคยมีการอธิบายถึงกรณีที่มีความเปลี่ยนแปลงของจำนวนเซลล์เม็ดเลือดและอาการอักเสบจากภูมิแพ้ที่บริเวณผนังหลอดเลือด ภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ (Hyponatremia) เคยมีการพบอาการตับบกพร่อง เช่น ดีซ่าน ซึ่งในกรณีส่วนใหญ่มักจะหายไปหลังจากหยุดใช้ยาในกลุ่มซัลโฟนิลยูเรีย แต่อาจทำไปสู่อาการตับวายที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ในบางกรณี

ผลข้างเคียงที่กล่าวมาข้างต้น อาจไม่ได้เกิดกับทุกคน หรือบางคนอาจมีอาการอื่นนอกเหนือจากนี้ หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยาไกลคลาไซด์อาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรด้วยว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง สมุนไพร เป็นต้น และเพื่อความปลอดภัย คุณไม่ควรเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาเองโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ผลการลดระดับน้ำตาลในเลือดของยาไกลคลาไซด์อาจจะรุนแรงขึ้นและอาจทำให้เกิดสัญญาณของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเมื่อใช้หนึ่งในยาเหล่านี้

  • ยาอื่นที่ใช้เพื่อรักษาภาวะน้ำตาลในเลือดสูง เช่น ยาต้านเบาหวานสำหรับรับประทาน ยายับยั้งตัวรับจีแอลพี-1 (GLP-1 receptor inhibitors) หรืออินซูลิน
  • ยาปฏิชีวนะ เช่น ซัลโฟนาไมด์ (sulphonamides) คลานิโทรมัยซิน (clarithromycin)
  • ยารักษาภาวะความดันโลหิตสูงหรือโรคหัวใจล้มเหลว อย่างยาในกลุ่มเบต้าบล็อกเกอร์ (beta blockers) ยารักษาหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Antiarrhythmics) ยาในกลุ่มเออีซีอินฮิบิเตอร์ (ACE- inhibitors) เช่น แคปโตพริล (captopril) เอนาลาพริล (enalapril)
  • ยารักษาการติดเชื้อรา เช่นไมโคนาโซล (miconazole) ฟลูโคนาโซล (fluconazole)
  • ยารักษาแผลในกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กส่วนต้น อย่าง เอช2 แอนตาโกนิสต์ (H2 receptor antagonists)
  • ยารักษาโรคซึมเศร้า เช่น ยาในกลุ่มเอ็มเอโอไอ (monoamine oxidase inhibitors) ยาแก้ปวด หรือยารักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (antirheumatics) อย่างเฟนีลยูตาโซน (phenylbutazone) ไอบูโพรเฟน (ibuprofen)
  • ยาที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์
  • ยาปฏิชีวนะซัลโฟนาไมด์ เช่น ซัลฟาเมโทซาโซล (sulfamethoxazole) โคไตรโมซาโซล (co-trimoxazole)
  • ยาต้านแบคทีเรีย ทั้งคลาริโทมัยซิน (clarithromycin) สารประกอบเตตราไซคลิลีน (tetracycline compounds) ยาไมโคนาโซลสำหรับรับประทาน (miconazole) ยาไตรเมโทพริม (trimethoprim) และยาโคลแรมเฟนิคอล (chloramphenicol)
  • ยาที่ใช้เพื่อลดระดับไขมันในเลือดสูง ยาลดระดับลิพิด (Lipid) เช่น คลอไฟเยรต (clofibrate)
  • ฮอร์โมน เช่น ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (testosterone) ออกทรีโอไทด์ (octreotide)
  • ยารักษาโรคเกาต์ (gout) เช่น ซัลฟินไพราโซน (sulfinpyrazone)
  • ยารักษาโรคมะเร็งเต้านมหรือโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก เช่นอะมิโนกลูเทติมายด์ (aminoglutethimide)
  • ยาไทรอยด์ฮอร์โมนที่ใช้เพื่อรักษาปัญหาเกี่ยวกับฮอร์โมน เช่น ไทรอกซีน (thyroxine)

ผลการลดระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดของยาไกลคลาไซด์อาจจะลดลงและระดับน้ำตาลอาจจะเพิ่มขึ้นเมื่อใช้หนึ่งในยาดังต่อไปนี้

  • ยารักษาความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง อย่างคลอร์โพรเมซีน (chlorpromazine)
  • ยาแก้อักเสบ อย่างคอร์ติโคสเตียรอยด์ (corticosteroids)
  • ยารักษาโรคหอบหืดหรือใช้ขณะคลอดบุตร อย่างซาลบูทามอลสำหรับฉีดเข้าหลอดเลือดดำ (intravenous salbutamol)
  • ยาริโทดรีน (ritodrine) และนาเทอ์บูทาลีน (terbutaline)
  • ยารักษาความผิดปกติของเต้านม ประจำเดือนมามาก และภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (endometriosis) อย่างดาทาโซล (danazol)
  • ยาที่กระตุ้นการปัสสาวะ อย่างยาขับปัสสาวะ โดยเฉพาะยาในกลุ่มไธอะไซด์ยูเรติก เช่น เบนโดรฟลูเมไธอะไซด์ (bendroflumethiazide)
  • ยาคุมกำเนิดสำหรับรับประทาน เช่น เอสโตรเจน (oestrogens) โปรเจนเตอโรน (progesterones)
  • ยาต้านแบคทีเรียไรฟามัยซิน (Rifamycins)
  • ยาระบายเพื่อรักษาอาการท้องผูก เช่น แมกนีเซียม ไฮดรอกไซด์ (magnesium hydroxide)
  • ฮอร์โมนอะดรีโนคอร์ติโคโทรปิก (Adrenocorticotropic hormones) ที่ใช้เพื่อรักษาภาวะขาดฮอร์โมนต่อมหมวกไตที่ศูนย์กลางของต้นกำเนิด อย่างเตตราโคซาทริน (tetracosactrin)
  • ยาไกลคลาไซด์อาจจะเพิ่มผลของยาลดลิ่มเลือด อย่างวาฟาริน (warfarin)
  • ผลของยาไกลคลาไซด์อาจจะลดลงเมื่อใช้ร่วมกับยาไดอะโซไซด์ (Diazoxide) ที่ใช้สำหรับรักษาภาวะความดันโลหิตสูง
  • ผลของยาไกลคลาไซด์อาจจะลดลงเมื่อใช้ร่วมกับยาลิเธียม (Lithium) ที่ใช้เพื่อรักษาความผิดปกติของสุขภาพจิต และยาไนเฟดิพีน (nifedipine) ที่ใช้เพื่อรักษาภาวะความดันโลหิตสูง

โปรดปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มใช้ยา

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาไกลคลาไซด์อาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาไกลคลาไซด์อาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ โดยเฉพาะเมื่อคุณ

  • มีปัญหาเกี่ยวกับไตหรือตับ
  • เป็นโรคฟอร์ฟิเรีย (porphyria) หรือภาวะขาดเอ็นไซม์ จี 6 พีดี (glucose 6-phosphate dehydrogenase deficiency) โรคเหล่านี้เป็นความผิดปกติทางพันธุกรรมที่หายาก

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาไกลคลาไซด์สำหรับผู้ใหญ่

โรคเบาหวานชนิดที่ 2

ผู้ใหญ่

ขนาดยาเริ่มต้นคือ รับประทาน 40-80 มก. ต่อวัน ค่อยๆ เพิ่มขนาดยาขึ้นมาถึง 320 มก. ต่อวันหากจำเป็น ขนาดยาที่มากกว่า 160 มก. ต่อวันอาจแบ่งให้ 2 ครั้ง

สำหรับยาเม็ดแบบปรับปรุงการออกฤทธิ์ (modified release tab) ขนาดยาเริ่มต้นคือ 30 มก. วันละครั้ง อาจเพิ่มขนาดยาขึ้นไปถึง 120 มก. ต่อวัน

ขนาดยาไกลคลาไซด์สำหรับเด็ก

ยังไม่มีการพิสูจน์ความความปลอดภัยและประสิทธิภาพของขนาดยานี้สำหรับผู้ป่วยเด็ก ยานี้อาจเป็นอันตรายต่อเด็กได้ ดังนั้นจึงควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับความปลอดภัยของยาก่อนใช้ยา สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดติดต่อกับแพทย์หรือเภสัชกร

รูปแบบของยา

ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้

  • ยาเม็ดสำหรับรับประทาน 40 มก. 60 มก. 80 มก.
  • ยาเม็ดแบบปรังปรุงการออกฤทธิ์ 30 มก.

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ทันทีที่นึกได้ หรือหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา