backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ

1

ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ไซโปรเฮปตาดีน (Cyproheptadine)

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรพิมพ์จิต วัฒนชโนบล


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ข้อบ่งใช้

ยา ไซโปรเฮปตาดีน ใช้สำหรับ

ยา ไซโปรเฮปตาดีน (Cyproheptadine) มักใช้เพื่อบรรเทาอาการแพ้ เช่น น้ำตาไหล น้ำมูกไหล คันที่ดวงตาหรือจมูก จาม ลมพิษ และอาการคัน ทำงานโดยการยับยั้งสารตามธรรมชาติบางอย่าง เช่น ฮีสตามีน (histamine) ที่ร่างกายผลิตขึ้นเมื่อมีปฏิกิริยาการแพ้ นอกจากนี้ยา ไซโปรเฮปตาดีน ยังสามารถยับยั้งสารธรรมชาติบางอย่างในร่างกาย อย่างเซโรโทนิน (serotonin) ได้อีกด้วย

ไม่ควรใช้ยา ไซโปรเฮปตาดีน กับทารกแรกเกิด และทารกที่คลอดก่อนกำหนด

วิธีการใช้ ยาไซโปรเฮปตาดีน

รับประทานยานี้พร้อมกับอาหาร หรือแยกต่างหาก ตามที่แพทย์กำหนด โดยปกติคือวันละ 2 ถึง 3 ครั้ง หากคุณใช้ยานี้ในรูปแบบของยาน้ำ ควรตวงยาด้วยความระมัดระวัง โดยใช้เครื่องมือสำหรับตวงยาโดยเฉพาะ อย่าใช้ช้อนโต๊ะธรรมดาในการตวงยา เนื่องจากอาจจะได้ขนาดยาที่ไม่ถูกต้อง

ขนาดยาขึ้นอยู่กับอายุ สภาวะทางการแพทย์ และการตอบสนองต่อการรักษา สำหรับเด็กนั้น ขนาดยายังอาจขึ้นอยู่กับน้ำหนักและขนาดตัวอีกด้วย อย่าเพิ่มขนาดยา หรือใช้ยานี้ถี่เกินกว่าที่แพทย์กำหนด แจ้งให้แพทย์ทราบ หากอาการของคุณไม่ดีขึ้นหรือแย่ลง

การเก็บรักษายาไซโปรเฮปตาดีน

ยาไซโปรเฮปตาดีนควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง ให้พ้นจากแสงและความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเสื่อมสภาพ ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาไซโปรเฮปตาดีนบางยี่ห้ออาจจะมีวิธีเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบคำแนะนำบนบรรจุภัณฑ์ หรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัย โปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่ควรทิ้งยาไซโปรเฮปตาดีนลงในชักโครก หรือเทยาลงในท่อระบายน้ำ เว้นเสียแต่จะได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้องเมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน โปรดสอบถามเภสัชกร เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยาไซโปรเฮปตาดีน

ก่อนใช้ยาไซโปรเฮปตาดีน แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบ หากคุณแพ้ยานี้ หรือมีโรคภูมิแพ้อื่นๆ ยานี้อาจมีส่วนประกอบที่ไม่ออกฤทธิ์ ที่ทำให้เกิดอาการแพ้ได้ โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ก่อนใช้ยานี้ แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบ เกี่ยวกับประวัติทางการแพทย์ของคุณ โดยเฉพาะปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ เช่น โรคหอบหืด หรือโรคถุงลมโป่งพอง (Emphysema) มีความดันที่ดวงตามากหรือโรคต้อหิน (glaucoma) โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคไต มีอาการชัก มีปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะอาหารหรือลำไส้ (เช่น เป็นแผล หรืออุดตัน) ภาวะไทรอยด์ทำงานมากเกิน (hyperthyroidism) ปัสสาวะลำบาก เช่น เนื่องจากโรคต่อมลูกหมากโต (enlarged prostate)

ยานี้อาจทำให้คุณวิงเวียนหรือง่วงซึม หรือทำให้มองเห็นได้ไม่ชัด อย่าขับรถ ใช้เครื่องจักร หรือทำกิจกรรมที่ต้องการความตื่นตัว หรือการมองเห็นที่ชัดเจน จนกว่าคุณจะมั่นใจว่า สามารถทำได้อย่างปลอดภัย ควรหลีกเลี่ยงการดื่มสุรา

ก่อนการผ่าตัด แจ้งให้แพทย์หรือทันตแพทย์ทราบ เกี่ยวกับยาที่คุณกำลังใช้ (ทั้งยาตามใบสั่งยา ยาที่หาซื้อเอง และสมุนไพรต่างๆ)

ยานี้ในรูปแบบของยาน้ำ อาจมีส่วนประกอบของแอลกอฮอล์และ/หรือน้ำตาล ควรใช้ด้วยความระมัดระวังในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน โรคตับ หรือสภาวะอื่นๆ ที่จำเป็นต้องจำกัด/หลีกเลี่ยงการรับประทานสารเหล่านี้ โปรดสอบถามแพทย์หรือเภสัชกร เกี่ยวกับวิธีการใช้ยานี้อย่างปลอดภัย

เด็กอาจจะมีปฏิกิริยาที่ไวต่อผลข้างเคียงของยานี้ได้มากกว่า ยานี้สามารถทำให้เด็กเล็กเกิดอาการตื่นตัว แทนที่จะมีอาการง่วงซึม

ผู้สูงอายุอาจจะมีปฏิกิริยาที่ไวต่อผลข้างเคียงของยานี้ได้มากกว่า โดยเฉพาะอาการง่วงซึม วิงเวียน ท้องผูก สับสน หรือปัสสาวะลำบาก อาการง่วงซึม วิงเวียน และสับสนนั้น สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการล้มได้

ขณะการตั้งครรภ์ ควรใช้ยานี้เมื่อจำเป็นเท่านั้น โปรดปรึกษากับแพทย์ เรื่องความเสี่ยงและประโยชน์ของการใช้ยา

ยังไม่ทราบว่ายานี้สามารถส่งต่อผ่านทางน้ำนมแม่ได้หรือไม่ โปรดปรึกษากับแพทย์ ก่อนการให้นมบุตร

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือ เกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้

ยาไซโปรเฮปตาดีนจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์ หมวด B จัดโดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A= ไม่มีความเสี่ยง
  • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C= อาจจะมีความเสี่ยง
  • D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X= ห้ามใช้
  • N= ไม่มีข้อมูลเพียงพอ

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยาไซโปรเฮปตาดีน

อาจเกิดอาการง่วงซึม วิงเวียน มองเห็นไม่ชัด ท้องผูก หรือปาก/จมูก/คอแห้ง หากอาการเหล่านี้ไม่ยอมหายไปหรือแย่ลง ควรแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบในทันที

เพื่อบรรเทาอาการปากแห้ง ควรอมลูกอม (ไม่มีน้ำตาล) เคี้ยวหมากฝรั่ง (ไม่มีน้ำตาล) ดื่มน้ำ หรือใช้สารทดแทนน้ำลาย (saliva substitute)

โปรดจำไว้ว่า การที่แพทย์ให้คุณใช้ยาตัวนี้ เนื่องจากพิจารณาแล้วว่ายามีประโยชน์ มากกว่าความเสี่ยงของผลข้างเคียง และคนที่ใช้ยานี้ส่วนใหญ่ไม่พบผลข้างเคียงที่ร้ายแรงใดๆ

แจ้งให้แพทย์ทราบทันที หากคุณมีผลข้างเคียงที่รุนแรง ได้แก่ มีการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจหรืออารมณ์ (เช่น กระสับกระส่าย สับสน เห็นภาพหลอน) สั่นเทา ปัสสาวะลำบาก หัวใจเต้นเร็วหรือผิดปกติ

รับการรักษาในทันที หากคุณมีผลข้างเคียงที่รุนแรงมาก ได้แก่ อาการชัก

การแพ้ยาที่รุนแรงต่อยานี้ ค่อนข้างเกิดขึ้นได้ยาก แต่จำเป็นต้องได้รับการรักษาที่ทันท่วงที อาการของการแพ้รุนแรงมีดังนี้ ผดผื่น คันหรือบวม (โดยเฉพาะบริเวณใบหน้า ลิ้น และลำคอ) วิงเวียนขั้นรุนแรง หายใจติดขัด

ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้ และอาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบ หากคุณใช้ยาอื่นที่ทำให้เกิดอาการง่วงซึม เช่น ยาบรรเทาอาการปวดหรืออาการไอ ที่มีสารโอปิออยด์ (opioid) อย่างโคเดอีน (codeine) หรือไฮโดรโคโดน (hydrocodone) เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กัญชา ยานอนหลับ หรือยาสำหรับอาการวิตกกังวล อย่างอัลปราโซแลม (alprazolam) ลอราซีแพม (lorazepam) หรือโซลพิเดม (zolpidem) ยาคลายกล้ามเนื้อ อย่างคาริโซโพรดอล (carisoprodol) ไซโคลเบนซาพรีน (cyclobenzaprine) หรือยาต้านฮีสตามีนอื่นๆ (antihistamines) อย่างเซทิริซีน (cetirizine) หรือไดเฟนไฮดรามีน (diphenhydramine)

ควรตรวจสอบฉลากของยาทั้งหมด (เช่น ยาแก้แพ้ หรือแก้ไอ-หวัด) เนื่องจากอาจมีส่วนประกอบที่ทำให้เกิดอาการง่วงซึมได้ สอบถามเภสัชกร เกี่ยวกับวิธีการใช้ยาเหล่านี้อย่างปลอดภัย

อย่าใช้ยาต้านฮีสตามีนอื่นๆ ที่ทาลงบนผิว เช่น ยาไดเฟนไฮดรามีน แบบครีม ขี้ผึ้ง หรือสเปรย์ เนื่องจากอาจเพิ่มผลข้างเคียงได้

ยานี้อาจส่งผลกระทบต่อผลการตรวจในห้องแล็บบางอย่าง รวมถึงการการทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง หรือการทดสอบเมไทราโพน (metyrapone test) อาจทำให้ผลการตรวจเป็นเท็จได้ ควรแจ้งให้บุคคลากรในห้องแล็บและแพทย์ทราบว่า คุณกำลังใช้ยานี้อยู่

ยาไซโปรเฮปตาดีนอาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาไซโปรเฮปตาดีนอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาไซโปรเฮปตาดีนอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง เพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาไซโปรเฮปตาดีนสำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาอาการแพ้

  • ขนาดยาเริ่มต้น: 4 มก. รับประทานวันละ 3 ครั้ง
  • ขนาดยาเพื่อการรักษาแบบประคับประคอง: 12 ถึง 16 มก./วัน ในบางครั้งอาจเพิ่มถึง 32 มก./วัน แต่ห้ามเกิน 0.5 มก./กก./วัน

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ (allergic rhinitis)

  • ขนาดยาเริ่มต้น: 4 มก. รับประทานวันละ 3 ครั้ง
  • ขนาดยาเพื่อการรักษาแบบประคับประคอง : 12 ถึง 16 มก./วัน ในบางครั้งอาจเพิ่มถึง 32 มก./วัน แต่ห้ามเกิน 0.5 มก./กก./วัน

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาอาการคัน (Pruritus)

  • ขนาดยาเริ่มต้น: 4 มก. รับประทานวันละ 3 ครั้ง
  • ขนาดยาเพื่อการรักษาแบบประคับประคอง : 12 ถึง 16 มก./วัน ในบางครั้งอาจเพิ่มถึง 32 มก./วัน แต่ห้ามเกิน 0.5 มก./กก./วัน

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาลมพิษ (urticaria)

  • ขนาดยาเริ่มต้น: 4 มก. รับประทานวันละ 3 ครั้ง
  • ขนาดยาเพื่อการรักษาแบบประคับประคอง : 12 ถึง 16 มก./วัน ในบางครั้งอาจเพิ่มถึง 32 มก./วัน แต่ห้ามเกิน 0.5 มก./กก./วัน
  • ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคกลัวอ้วน (Anorexia Nervosa)

    • ขนาดยาเริ่มต้น: 2 มก. รับประทานวันละ 4 ครั้ง
    • ขนาดยาเพื่อการรักษาแบบประคับประคอง : อาจค่อยๆ เพิ่มขนาดยาได้ภายใน 3 สัปดาห์ ได้ถึง 8 มก. รับประทานวันละ 4 ครั้ง

    ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษากลุ่มอาการคุชชิง (Cushing’s Syndrome)

    • ขนาดยาเริ่มต้น: 2 มก. รับประทานวันละ 4 ครั้ง
    • ขนาดยาเพื่อการรักษาแบบประคับประคอง : อาจค่อยๆ เพิ่มขนาดยาได้ภายใน 3 สัปดาห์ ได้ถึง 8 มก. รับประทานวันละ 4 ครั้ง

    ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ (Cluster Headache)

    • 4 มก. รับประทานวันละ 4 ครั้ง

    ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาอาการปวดหัวไมเกรน

    • 4 ถึง 8 มก. รับประทานวันละ 3 ครั้ง

    การปรับขนาดยาสำหรับตับ

    ยังไม่มีการศึกษาเภสัชจลนศาสตร์ (pharmacokinetics) ของยาไซโปรเฮปตาดีนในผู้ป่วยโรคตับ เนื่องจากยาไซโปรเฮปตาดีนนั้น ถูกเผาผลาญเป็นหลักที่ตับ จึงควรระมัดระวังเมื่อใช้ยานี้กับผู้ป่วย ที่มีภาวะตับบกพร่อง

    ขนาดยาไซโปรเฮปตาดีนสำหรับเด็ก

    ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาอาการแพ้

    0.25 มก./กก./วัน หรือ 8 มก./ตารางเมตรของพื้นที่ร่างกาย แบ่งรับประทานเป็น 2 ถึง 3ครั้ง หรือแบ่งตามอายุดังนี้

    • 2 ถึง 6 ปี: 2 มก. รับประทานวันละ 2 ถึง 3 ครั้ง ห้ามเกิน 12 มก./วัน
    • 7 ถึง 14 ปี: 4 มก. รับประทานวันละ 2 ถึง 3 ครั้ง ห้ามเกิน 16 มก./วัน

    ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ (allergic rhinitis)

    0.25 มก./กก./วัน หรือ 8 มก./ตารางเมตรของพื้นที่ร่างกาย แบ่งรับประทานเป็น 2 ถึง 3ครั้ง หรือแบ่งตามอายุดังนี้

    • 2 ถึง 6 ปี: 2 มก. รับประทานวันละ 2 ถึง 3 ครั้ง ห้ามเกิน 12 มก./วัน
    • 7 ถึง 14 ปี: 4 มก. รับประทานวันละ 2 ถึง 3 ครั้ง ห้ามเกิน 16 มก./วัน

    ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาอาการคัน (Pruritus)

    0.25 มก./กก./วัน หรือ 8 มก./ตารางเมตรของพื้นที่ร่างกาย แบ่งรับประทานเป็น 2 ถึง 3ครั้ง หรือแบ่งตามอายุดังนี้

    • 2 ถึง 6 ปี: 2 มก. รับประทานวันละ 2 ถึง 3 ครั้ง ห้ามเกิน 12 มก./วัน
    • 7 ถึง 14 ปี: 4 มก. รับประทานวันละ 2 ถึง 3 ครั้ง ห้ามเกิน 16 มก./วัน

    ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาลมพิษ (urticaria)

    0.25 มก./กก./วัน หรือ 8 มก./ตารางเมตรของพื้นที่ร่างกาย แบ่งรับประทานเป็น 2 ถึง 3ครั้ง หรือแบ่งตามอายุดังนี้

    • 2 ถึง 6 ปี: 2 มก. รับประทานวันละ 2 ถึง 3 ครั้ง ห้ามเกิน 12 มก./วัน
    • 7 ถึง 14 ปี: 4 มก. รับประทานวันละ 2 ถึง 3 ครั้ง ห้ามเกิน 16 มก./วัน

    ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาอาการเบื่ออาหาร (Anorexia)

    • อายุมากกว่า 13 ปี: 2 มก. รับประทานวันละ 4 ครั้ง อาจค่อยๆ เพิ่มขนาดยาขึ้นภายใน 3 สัปดาห์ ได้ถึง 8 มก. รับประทานวันละ 4 ครั้ง ขนาดยาสูงสุดคือ 32 มก./วัน

    ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาอาการปวดหัวไมเกรน

    • 4 มก. รับประทานวันละ 2 ถึง 3 ครั้ง

    ข้อควรระวัง

    ไม่ควรใช้ยาไซโปรเฮปตาดีนกับทารกแรกเกิด หรือทารกที่คลอดก่อนกำหนด

    รูปแบบของยา

    ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้

    • ยาเม็ด
    • ยาน้ำเชื่อม

    กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

    หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉิน หรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

    กรณีลืมใช้ยา

    หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยาเป็นสองเท่า

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    เภสัชกรพิมพ์จิต วัฒนชโนบล


    เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา