backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ไพราซินาไมด์ (Pyrazinamide)

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ · ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ข้อบ่งใช้

ไพราซินาไมด์ ใช้สำหรับ

ไพราซินาไมด์ (Pyrazinamide) ใช้ร่วมกับยาอื่นเพื่อรักษาวัณโรค ยานี้เป็นยาปฏิชีวนะและทำงานโดยการหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ยาปฏิชีวนะนี้ใช้เพื่อรักษาและป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น ใช้ไม่ได้ผลกับการติดเชื้อไวรัส เช่น โรคหวัดหรือไข้หวัดใหญ่ การใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็น หรือใช้อย่างไม่ถูกต้อง อาจทำให้ประสิทธิภาพลดลงได้

วิธีการใช้ยาไพราซินาไมด์

ยาไพราซินาไมด์ สามารถรับประทานพร้อมกับอาหาร หรือรับประทานแยกต่างหากก็ได้ โดยปกติสามารถรับประทานยาวันละครั้งหรือสัปดาห์ละสองครั้ง หรือตามที่แพทย์กำหนด โดยขนาดยาที่รับประทาน ขึ้นอยู่กับอายุ น้ำหนักตัว สภาวะทางการแพทย์ และการตอบสนองต่อการรักษาเพื่อผลที่ดีที่สุด ควรใช้ยาปฏิชีวนะโดยเว้นช่วงที่เท่ากัน หากคุณใช้ยานี้ทุกวัน ควรรับประทานยาในเวลาเดียวกันทุกวัน หากคุณใช้ยาทุกสัปดาห์ ควรใช้ยาในวันเดียวกันของทุกสัปดาห์ และในเวลาเดียวกันของแต่ละวัน ควรทำเครื่องหมายเตือนวันและเวลาที่คุณควรใช้ยา ที่สำคัญควรใช้ยานี้และยารักษาวัณโรคอื่นๆ อย่างต่อเนื่องจนครบกำหนด แม้ว่าอาการจะหายไปแล้ว

แจ้งให้แพทย์ทราบ หากอาการของคุณไม่หายไปหรือแย่ลง

การเก็บรักษายา ไพราซินาไมด์

ยาไพราซินาไมด์ ควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาไพราซินาไมด์บางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยาหรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัย โปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่ควรทิ้งยาไพราซินาไมด์ลงในชักโครก หรือเทลงในท่อระบายน้ำเว้นแต่ได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้องเมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน โปรดสอบถามเภสัชกรเพิ่มเติม เกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยาไพราซินาไมด์

ควรใช้ยานี้ และยารักษาวัณโรคอื่นๆ อย่างต่อเนื่องจนครบกำหนด แม้ว่าอาการจะหายไปแล้วก็ตาม การหยุดใช้ยาเร็วเกินไป หรือข้ามมื้อยา อาจทำให้เชื้อแบคทีเรียเจริญเติบโตต่อไป ส่งผลให้การติดเชื้อกำเริบ และทำให้รักษาการติดเชื้อนั้นได้ยากขึ้นและมีอาการดื้อยา

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้

ยาไพราซินาไมด์จัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์ หมวด C โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A= ไม่มีความเสี่ยง
  • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C= อาจจะมีความเสี่ยง
  • D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X= ห้ามใช้
  • N= ไม่ทราบแน่ชัด
  • ผลข้างเคียง

    ผลข้างเคียงของการใช้ยา ไพราซินาไมด์

    เมื่อรับประทานยา ไพราซินาไมด์ อาจเกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร หรือมีอาการปวดที่กล้ามเนื้อหรือข้อต่อระดับเบา หากอาการเหล่านี้ไม่หายไปหรือรุนแรงขึ้น โปรดแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรในทันที โปรดจำไว้ว่า การที่แพทย์ให้คุณใช้ยาตัวนี้ เนื่องจากคำนวณแล้วว่า ยามีประโยชน์มากกว่าเป็นโทษ และคนที่ใช้ยานี้ส่วนใหญ่ไม่พบผลข้างเคียงที่ร้ายแรงใดๆ

    แจ้งให้แพทย์ทราบในทันที หากเกิดผลข้างเคียงที่ไม่ค่อยจะเกิดขึ้นแต่รุนแรงดังต่อไปนี้ ได้แก่ มีอาการของโรคตับ เช่น คลื่นไส้ อาเจียนบ่อยครั้ง เหนื่อยล้าหรืออ่อนแรงผิดปกติ ปวดท้องอย่างรุนแรง ดวงตาหรือผิวหนังเป็นสีเหลือง ปัสสาวะสีคล้ำ มีอาการปวดหรือบวมที่ข้อต่อ

    ควรรีบแจ้งให้แพทย์ทราบในทันที หากเกิดผลข้างเคียงที่หายากแต่รุนแรงมากดังต่อไปนี้ ได้แก่ สัญญาณของปัญหาเกี่ยวกับไต เช่น ปริมาณของปัสสาวะเปลี่ยนแปลง มีรอยช้ำหรือเลือดออกง่าย หัวใจเต้นเร็ว

    อาการแพ้ยาที่รุนแรงต่อยานี้ ค่อนข้างเกิดขึ้นได้ยาก แต่จำเป็นต้องได้รับการรักษาที่ทันท่วงที อาการของการแพ้รุนแรงมีดังนี้คือ เป็นไข้ไม่ยอมหาย มีอาการต่อมน้ำเหลืองบวมครั้งใหม่หรือรุนแรงขึ้น ผดผื่น คันหรือบวมโดยเฉพาะบริเวณใบหน้า ลิ้น และลำคอ วิงเวียนขั้นรุนแรง หายใจติดขัด

    ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้ และอาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

    ปฏิกิริยาของยา

    ปฏิกิริยากับยาอื่น

    ยานี้อาจส่งผลกระทบต่อผลการตรวจในห้องแล็บบางชนิด รวมถึงการตรวจคีโตนในปัสสาวะ และอาจทำให้เกิดผลเป็นเท็จได้ ควรแจ้งให้บุคลากรในห้องแล็บและแพทย์ของคุณทุกคนทราบว่า คุณกำลังใช้ยานี้

    ยาไพราซินาไมด์อาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาใดๆ โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

    ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

    ยาไพราซินาไมด์อาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

    ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

    ยาไพราซินาไมด์อาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ

    ขนาดยา

    ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง เพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

    ขนาดยาไพราซินาไมด์สำหรับผู้ใหญ่

    ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาวัณโรค – มีอาการ

    15 ถึง 30 มก./กก. (สูงสุด 2 กรัม) รับประทานวันละครั้ง ร่วมกับยาต้านวัณโรคอื่นอีก 3 ชนิด ในระยะเริ่มแรก 2 เดือน ของระยะเวลาการรักษา 6 เดือน หรือ 9 เดือน จะกว่าจะทราบผลการทดสอบความไวต่อยา สูตรยาอีกทางเลือกหนึ่งคืออาจใช้ 50 ถึง 75 มก./กก. (สูงสุด 3 กรัม) รับประทานสัปดาห์ละสองครั้ง หลังจากรักษาด้วยการมห้ยาทุกวัน 2 สัปดาห์ เพื่อเพิ่มการให้ความร่วมมือของผู้ป่วย

    อีกทางเลือกหนึ่ง ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อ (CDC) สมาคมทรวงอกแห่งอเมริกา (The American Thoracic Society) และสมาคมโรคติดเชื้อแห่งอเมริกา (the Infectious Diseases Society of America) แนะนำขนาดยาดังต่อไปนี้โดยขึ้นอยู่กับน้ำหนักร่างกายโดยประมาณ:

    ขนาดยาสำหรับทุกวัน

    • 40 ถึง 45 กก.: 1000 มก.
    • 56 ถึง 75 กก.: 1500 มก.
    • 76 ถึง 90 กก.: 2000 มก.

    ขนาดยาสำหรับสัปดาห์ละสองครั้ง

    • 40 ถึง 55 กก.: 2000 มก.
    • 56 ถึง 75 กก.: 3000 มก.
    • 76 ถึง 90 กก.: 4000 มก.

    ขนาดยาสำหรับสัปดาห์ละสองครั้ง

    • 40 ถึง 55 กก.: 1500 มก.
    • 56 ถึง 75 กก.: 2500 มก.
    • 76 ถึง 90 กก.: 3000 มก.

    ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาวัณโรค – ระยะแฝง

    ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญแพทย์สาธารสุขก่อนการใช้ยาร่วมกับยาไรแฟมพิน

    15 ถึง 20 มก./กก. ขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัวตามจริง (ไม่มีไขมัน) รับประทานวันละครั้ง (สูงสุด 2 กรัม) เป็นเวลา 2 เดือน อีกทางเลือกหนึ่งคืออาจให้ยาในขนาด 50 มก./กก. รับประทานสัปดาห์ละสองครั้ง (สูงสุด 4 กรัม)

    การปรับขนาดยาสำหรับไต

    • ผู้ผลิตแนะนำให้เริ่มการรักษาที่ขนาดยาในช่วงท้ายของช่วงขนาดยา และะเฝ้าระวังผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด
    • สำหรับการรักษาวัณโรคที่มีอาการ ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อ สมาคมทรวงอกแห่งอเมริกาและสมาคมโรคติดเชื้อแห่งอเมริกา แนะนำให้ใช้ยาทุกวัน สำหรับผู้ป่วยที่มีค่าครีอะตินีนเคลียรานซ์ (CrCl) น้อยกว่า 30 มล./นาที หรือผู้ป่วยที่รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (hemodialysis) ขนาดยาที่แนะนำคือ 25 ถึง 35 มก./กก. ต่อครั้ง สัปดาห์ละ 3 ครั้ง

    การปรับขนาดยาสำหรับตับ

    ควรเฝ้าระวังผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด

    การปรับขนาดยา

    โดยทั่วไปแล้วควรระมัดระวังการเลือกขนาดยาสำหรับผู้สูงอายุ มักจะเริ่มต้นที่ขนาดยาในช่วงท้ายของช่วงขนาดยา โดยคำนึงถึงความถี่ที่มากกว่าในการเกิดสมรรถภาพของตับ ไต หรือหัวใจลดลง และโรคที่เกิดขึ้นพร้อมกัน หรือการรักษาด้วยยาอื่นๆ

    ยาเชื้อนั้นมีปฏิกิริยาไวต่อยาไอโซไนอาซิด (isoniazid) และยาไรแฟมพิน (rifampin) ควรใช้ยาไพราซินาไมด์ต่อเนื่องเป็นเวลา 2 เดือนแรกของสูตรการรักษา 6 เดือน (9 เดือนหากมีเชื้อเอชไอวี) หากแสดงให้เห็นถึงการดื้อยาแบบปฐมภูมิ ควรปรับขนาดยาเท่าที่จำเป็น และดำเนินการรักษาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน หรือ 3 เดือน หลังผลการเพาะเชื้อเป็นลบ (9 เดือน หรือ 6 เดือนหลังผลการเพาะเชื้อเป็นลบ หากมีเชื้อเอชไอวี) หากพบว่าดื้อต่อยาหลายชนิด ควรดำเนินการรักษาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 12 ถึง 24 เดือน หลังผลการเพาะเชื้อเป็นลบ

    ข้อควรระวัง

    • ห้ามใช้ยาไพราซินาไมด์ในผู้ป่วยที่เป็นโรคตับขั้นรุนแรง และเป็นโรคเกาต์ฉับพลัน
    • ผู้ป่วยที่เริ่มต้นการใช้ยาไพราซินาไมด์ ควรมีการตรวจระดับเซรั่มกรดยูริกพื้นฐานและสมรรถภาพของตับก่อน ควรเฝ้าระวังสมรรถภาพตับอย่างใกล้ชิดระหว่างการรักษา และควรเฝ้าระวังผู้ป่วยที่เป็นโรคตับอยู่แล้ว หรือผู้ที่มีความเสี่ยงในการเป็นโรคตับอักเสบ ที่เกี่ยวข้องกับยาเพิ่มขึ้นอย่างใกล้ชิด
    • ควรหยุดใช้ยาไพราซินาไมด์ไม่ควรกับมาเริ่มใช้อีกครั้ง หากมีสัญญาณของความเสียหายต่อเซลล์ตับหรือภาวะกรดยูริกเกินในเลือด โดยปรากฏโรคข้ออักเสบแบบเกาต์อย่างฉับพลัน
    • มีรายงานพบอาการปวดตามข้อในผู้ป่วย อาการปวดนั้นอาจตอบสนองต่อยาแอสไพรินหรือยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์อื่นๆ
    • ควรระมัดระวังการใช้ยาในผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคเบาหวาน การจัดการโรคเบาหวานนั้นอาจยากมากขึ้น
    • การดื้อยาแบบปฐมภูมิของเชื้อไมโคแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลซิส (Mycobacterium tuberculosis) ต่อยาไพราซินาไมด์นั้น ไม่ค่อยจะเกิดขึ้น ในกรณีที่ทราบหรือต้องสงสัยว่าเกิดเชื้อดื้อยา ควรทำการทดสอบความไวของเชื้อภายในหลอดแก้ว โดยใช้ผลการเพาะเชื้อล่าสุดของเชื้อไมโคแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลซิสต่อยาไพราซินาไมด์และยาหลักตามปกติ
    • ประสบการณ์ทางการแพทย์ยังไม่มีการระบุความแตกต่างของการตอบสนองระหว่างผู้สูงอายุและผู้ป่วยที่อายุน้อยกว่า โดยทั่วไปแล้วควรระมัดระวังการเลือกขนาดยาสำหรับผู้สูงอายุ มักจะเริ่มต้นที่ขนาดยาในช่วงท้ายของช่วงขนาดยา โดยคำนึงถึงความถี่ที่มากกว่าในการเกิดสมรรถภาพของตับ ไต หรือหัวใจลดลง และโรคที่เกิดขึ้นพร้อมกัน หรือการรักษาด้วยยาอื่นๆ

    การฟอกไต (Dialysis)

    ยานี้จะถูกกำจัดออกหากมีการฟอกไต ดังนั้นควรให้ยาหลังจากการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม

    คำแนะนำอื่นๆ

    • วัณโรคส่วนใหญ่ควรให้การรักษาอย่างกว้างๆ (empirically treated) โดยใช้ยาต้านวัณโรค 4 ชนิด ทั้งยาไรแฟมพิน ไอโซไนอาซิด ไพราซินาไมด์ และไม่ยาอีแทมบูทอล (ethambutol) ก็ยาสเตรปโตมัยซิน (streptomycin) อาจปรับการรักษาเมื่อทราบความไวต่อยาของเชื้อ หากผู้ป่วยมีความเสี่ยงในการเป็นวัณโรคที่ดื้อต่อยาหลายชนิด อาจใช้สูตรยา 5 ชนิด
    • แถลงการณ์ร่วมของสมาคมทรวงอกแห่งอเมริกา ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อ และสมาคมโรคติดเชื้อแห่งอเมริกานั้นได้แนะนำว่าการให้ยาอย่างไม่ต่อเนื่องนั้นควรให้โดยใช้วิธีการรักษาภายใต้การสังเกตโดยตรง
    • ควรเฝ้าระวังทางการแพทย์ในสัปดาห์ที่ 2 4 และ 8
    • การรักษาการติดเชื้อวัณโรคแฝงด้วยยาไพราซินาไมด์นั้นจะเสร็จสิ้นก็ต่อเมื่อให้ยาอย่างน้อย 60 ครั้งภายใน 3 เดือน

    ขนาดยาไพราซินาไมด์สำหรับเด็ก

    ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาวัณโรค – มีอาการ

    วัณโรค

    (ใช้เป็นส่วนหนึ่งของสูตรยาหลายชนิด สูตรการรักษาประกอบด้วยระยะเริ่มแรก 2 เดือน ตามด้วยระยะต่อเนื่อง 4 หรือ 7 เดือน ความถี่ในการใช้ยาขึ้นอยู่กับระยะของการรักษา)

    ทารกหรือเด็กที่น้ำหนักน้อยกว่า 40 กก. และวัยรุ่นที่อายุไม่เกิน 14 ปีและมีน้ำหนักน้อยกว่า 40 กก.

    ผู้ป่วยที่ไม่ติดเชื้อเอชไอวี

    การบำบัดทุกวัน: 15 ถึง 30 มก./กก./ครั้ง (สูงสุด: 2 กรัม/ครั้ง) วันละครั้ง

    การรักษาภายใต้การสังเกตอย่างใกล้ชิด (Directly observed therapy): 50 มก./กก./ครั้ง (สูงสุด: 2 กรัม/ครั้ง) สัปดาห์ละสองครั้ง

    ผู้ป่วยที่เปิดรับเชื้อหรือติดเชื้อเอชไอวี

    การบำบัดทุกวัน: 20 ถึง 40 มก./กก./ครั้ง วันละครั้ง (สูงสุด: 2 กรัม/ครั้ง)

    รูปแบบของยา

    ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้

    • ยาเม็ดสำหรับรับประทาน

    กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

    หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉิน หรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

    กรณีลืมใช้ยา

    หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

    ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


    เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา