backup og meta

การรับรู้ ระยะของโรคมะเร็งปอด ช่วยคุณสู้มะเร็งได้อย่างไร

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 11/06/2021

    การรับรู้ ระยะของโรคมะเร็งปอด ช่วยคุณสู้มะเร็งได้อย่างไร

    เมื่อพบว่าคุณเป็นมะเร็งปอด แพทย์จะบอกคุณว่ามะเร็งอยู่ในขั้นใด คนส่วนใหญ่เข้าใจว่ายิ่งเป็นมะเร็งระยะท้าย ๆ อาการของโรคจะรุนแรงขึ้น ซึ่งนั่นก็เป็นความจริง แต่อย่างไรก็ตาม ระยะของโรคมะเร็งปอด จะบอกว่าได้ว่ามะเร็งปอดนั้นลุกลามมากเพียงใด และส่วนใดของปอดที่ได้รับผลกระทบ และนี่คือรายละเอียดที่คุณควรทราบในเบื้องต้น

    ทำไมคุณจำเป็นต้องทราบ ระยะของโรคมะเร็งปอด

    ระยะของมะเร็งปอด เป็นตัวบ่งบอกตำแหน่ง และขนาดของเนื้องอก และการแพร่กระจายของเชื้อมะเร็ง ระยะของมะเร็งเป็นสิ่งที่แพทย์และคุณจะพูดคุยกัน ถึงการเติบโตของเชื้อมะเร็ง โดยไม่จำเป็นต้องใช้คำศัพท์ทางการแพทย์ที่มากเกินไป ทั้งยังเป็นส่วนสำคัญในการตัดสินใจ เพื่อการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

    ระยะของมะเร็งปอด มีอะไรบ้าง

    มีการจัดระยะของโรคมะเร็งที่แพทย์ใช้ การจัดระยะนี้เรียกว่า ระยะโรคมะเร็งแบบ TNM การจัดระยะแบบนี้ขึ้นอยู่กับ 3 ปัจจัย ได้แก่

    • ขนาดและตำแหน่งของเนื้องอก (T หรือ Tumor Status)
    • ต่อมน้ำเหลืองเกี่ยวข้องหรือไม่ (N หรือ Nodal Status)
    • มะเร็งแพร่เข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองแล้วหรือไม่ (M หรือ Metastatic Status)

    ตัวอย่างเช่น หากไม่มีก้อนเนื้อ จะเรียกว่า “ระยะ T0′ หากมะเร็งแพร่เข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองจะเรียกว่า “N1′

    การจัดระยะของมะเร็งตามขนาดของเซลล์ ทั้งเซลล์ขนาดเล็กและที่ไม่ใช่ขนาดเล็กนั้น เป็นการจัดระยะอีกรูปแบบหนึ่ง

    มะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก

    มะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก (Non-Small Cell Lung Cancer) เป็นมะเร็งที่มีความซับซ้อนกว่าชนิดเซลล์เล็ก เป็นชนิดมะเร็งที่แบ่งระยะการเกิดตามระยะการเกิดมะเร็งแบบ TNM ซึ่งสามารถแบ่งได้ดังต่อไปนี้

    • ระยะที่ 1A เป็นระยะที่ตรวจเจอมะเร็ง ในส่วนที่ลึกลงไปในปอดและเนื้อเยื่อปอด เนื้องอกมีขนาดไม่เกิน 3 เซนติเมตรในแนวขวาง และยังไม่แพร่ไปสู่หลอดลม และต่อมน้ำเหลือง
    • ระยะที่ 1B เป็นระยะที่มะเร็งมีขนาดใหญ่ขึ้น และแพร่ลึกลงไปในเนื้อเยื่อปอด เนื้องอกขยายลงไปสู่ปอดเข้าเยื่อหุ้มปอด โดยมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 3 เซนติเมตร หรือขยายเข้าสู่หลอดลม แต่ยังไม่แพร่เข้าสู่ต่อมน้ำเหลือง การผ่าตัดหรือการใช้เคมีบำบัดเป็นวิธีในการรักษามะเร็งปอดระยะ 1A และ1B
    • ระยะที่ 2A เป็นระยะที่เนื้อมะเร็งมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 3 เซนติเมตร แต่แพร่เข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองข้างเดียวกับหน้าอกที่มีเนื้องอกอยู่
    • ระยะที่ 2B เป็นระยะที่มะเร็งยังไม่แพร่เข้าสู่ต่อมน้ำเหลือง แต่แพร่เข้าสู่ผนังทรวงอก หลอดลม เยื่อหุ้มปอด กระบังลม และเนื้อเยื่อหัวใจ ระยะนี้อาจหมายถึงการที่มะเร็งแพร่เข้าสู่ต่อมน้ำเหลือง และหนึ่งในอาการมีดังนี้ คือ เนื้องอกมีขนาดมากกว่า 3 เซนติเมตร เนื้องอกแพร่เข้าสู่หลอดลม หรือเนื้องอกแพร่เข้าสู่เยื่อหุ้มปอด
    • ระยะที่ 3A เป็นระยะที่พบเนื้องอกในปอดและต่อมน้ำเหลืองในบริเวณกลางอก จัดว่าเป็นระยะลุกลามของโรค และการผ่าตัดเป็นวิธีที่ใช้ในการรักษาในระยะนี้
    • ระยะที่ 3B เนื้องอกมีได้หลายขนาด มะเร็งปอดจะลุกลามเข้าสู่ต่อมน้ำเหลือง และแพร่เข้าสู่ปอด คอ และอาจเข้าสู่หัวใจ เส้นเลือดใหญ่หลักๆ หรือหลอดอาหาร ดังนั้น จึงไม่สามารถทำการผ่าตัดเอาออกได้ จึงต้องเป็นการรักษาด้วยเคมีบำบัด และฉายรังสีในบางกรณี
    • ระยะที่ 4 มะเร็งปอดแพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่น ๆ ระยะนี้ถือเป็นระยะรุนแรงที่สุด ผู้ป่วยมะเร็งในขั้นนี้อาจอาสาเป็นผู้ป่วยในการทดลองทางการแพทย์ เพื่อประเมินหาประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยาชนิดใหม่ ๆ

    มะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก

    มะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก (Small Cell Lung Cancer) ไม่แบ่งระยะการเกิดตามแบบ แต่มักจะแพร่กระจายเร็ว และแบ่งออกเป็น 2 ระยะคือ ระยะโรคจำกัดที่ (Limited Stage) และระยะโรคแพร่กระจาย (Extensive Stage)

  • ระยะโรคจำกัดที่ หมายถึง ระยะที่มะเร็งปอดยังจำกัดอยู่ที่บริเวณข้างใดข้างหนึ่งของหน้าอก
  • ระยะโรคแพร่กระจาย หมายถึง ระยะมะเร็งปอด ที่แพร่กระจาย นอกเหนือจากบริเวณหน้าอก บริเวณที่มะเร็งปอดมักแพร่กระจายไปถึง ได้แก่ ตับ ต่อมหมวกไต กระดูกและสมอง
  • การระบุ ระยะของมะเร็งปอด จะช่วยแพทย์ในการกำหนดวิธีการรักษาที่เหมาะสม แต่พึงระลึกไว้ว่า ระยะของมะเร็งไม่ใช่สิ่งที่บ่งบอกแนวทางหรือผลลัพธ์ของโรคเสมอไป การคาดการณ์อาการของโรคยังขึ้นอยู่กับสุขภาพโดยรวม ความแข็งแรง และภาวะอื่น ๆ ของร่างกาย และการตอบสนองต่อการรักษาด้วย

    ยิ่งเป็นมะเร็งระยะท้าย ๆ อาการของโรคจะรุนแรงขึ้น แต่ ระยะของมะเร็งปอด จะบอกว่า มะเร็งปอดลุกลามมากเพียงใด และส่วนใดของปอดที่ได้รับผลกระทบ

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 11/06/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา