backup og meta

สัญญาณบ่งชี้ มะเร็งรังไข่ ที่อาจช่วยคุณจากโรคนี้ได้

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 26/05/2021

    สัญญาณบ่งชี้ มะเร็งรังไข่ ที่อาจช่วยคุณจากโรคนี้ได้

    มะเร็งรังไข่ เป็นหนึ่งในโรคมะเร็งที่อันตรายที่สุด แต่หากตรวจพบเร็ว อัตราการรอดชีวิตจะสูงถึงร้อยละ 95 นี่คือ สัญญาณบ่งชี้ มะเร็งรังไข่ และการรักษาในแต่ละขั้นตอน ที่จะสามารถช่วยคุณให้รอดชีวิตจากโรคนี้ได้

    สัญญาณบ่งชี้ มะเร็งรังไข่ ภัยเงียบที่คร่าชีวิต

    มักมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับอาการของ โรคมะเร็งรังไข่ กับอาการของโรคไม่ร้ายแรงอื่น ๆ ผู้ป่วยจึงมักไม่คิดว่า เป็นอาการรุนแรง จนกระทั่งเชื้อมะเร็งลุกลาม อาการดังกล่าว มีดังนี้

    • ท้องอืดหรือบวม
    • รู้สึกอิ่มเร็ว แม้จะรับประทานเพียงเล็กน้อย
    • น้ำหนักเพิ่มหรือลด
    • ปวดหลัง
    • การขับถ่ายเปลี่ยนไป เช่น ท้องผูก ท้องร่วง
    • รู้สึกปวดปัสสาวะบ่อยขึ้น
    • เลือดออกที่อวัยวะเพศ โดยหาสาเหตุไม่ได้
    • อ่อนเพลียมาก และเหนื่อยง่าย

    อาการดังกล่าวไม่ได้บ่งชี้ว่า คุณเป็นโรคมะเร็งรังไข่ คุณควรพบหมอ เพื่อรับการวินิจฉัยโรค

    การแพร่กระจายของเชื้อ โรคมะเร็งรังไข่

    แพทย์จะทำการตรวจ และจัดระดับของเนื้องอก ตามความเร็วที่คาดว่าเนื้องอกจะเติบโต เชื้อมะเร็งที่มีลักษณะคล้ายกับเนื้อเยื่อทั่วไป อาจเติบโตอย่างช้าๆ และจะถูกจัดอยู่ในกลุ่มเนื้องอกลำดับล่างๆ เชื้อมะเร็งที่ถูกจัดลำดับในกลุ่มที่สูง คือเชื้อมะเร็งที่มีอัตราการเติบโตสูง เนื้องอกในรังไข่ถูกแบ่งเป็น 4 ประเภท ได้แก่

    • ชนิด 0: เนื้องอกชนิด 0 เป็นเนื้องอกที่รุนแรงน้อยที่สุด และมีลักษณะคล้ายเซลล์เนื้อเยื่อขนาดเล็ก มักไม่ลามและรักษาได้ง่าย
    • ชนิด 1: เป็นเนื้องอกที่มีลักษณะคล้ายเซลล์ปกติ และเติบโตช้า
    • ชนิด 2: เป็นเนื้องอกที่มีลักษณะต่างจากเนื้อเยื่อปกติ และเติบโตค่อนข้างเร็ว
    • ชนิด 3: เป็นเนื้องอกที่แตกต่างจากเนื้อเยื่อปกติมาก เติบโตเร็ว ในลักษณะที่กระจัดกระจาย ถือเป็นเนื้องอกที่ร้ายแรงที่สุด

    การรักษาโรคมะเร็งรังไข่

  • สำหรับ โรคมะเร็งรังไข่ ในระยะแรก อาจทำการรักษาโดยการกำจัดเนื้องอกส่วนนั้น คุณยังสามารถมีบุตรได้ในอนาคตเนื่องจากคุณยังคงมีรังไข่และมดลูกเหมือนปกติ หากคุณมีประจำเดือน และไม่ต้องการมีบุตร คุณสามารถรับการผ่าตัดเอามดลูกและรังไข่ออก หลังจากการผ่าตัด คุณไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาอื่น ๆ อีก
  • มะเร็งขั้นต้น สำหรับมะเร็งขั้นที่ 1 คุณต้องเข้ารับการผ่าตัดรังไข่ ท่อนำไข่ หรือมดลูก หลังการผ่าตัด แพทย์อาจแนะนำให้มีการรักษาด้วยเคมีบำบัดหากความเสี่ยงในการกลับมาของเนื้องอกมีสูง
  • มะเร็งระยะท้าย ในช่วงระยะนี้ อาจไม่สามารถรักษาได้ ดังนั้น จุดประสงค์ในการรักษาคือ การควบคุมไม่ให้เชื้อมะเร็งลุกลาม เท่าที่เป็นไปได้
  • หากตรวจพบ โรคมะเร็งรังไข่ ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น คุณยังมีหนทางในการรักษา หากพบว่ามีอาการตามข้างต้น คุณควรปรึกษาแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจหามะเร็งรังไข่ คุณไม่ควรละเลยอาการที่เกิดขึ้น การตรวจวินิจฉัยโดยเร็ว สามารถช่วยให้คุณปลอดภัยจากมะเร็งรังไข่ได้

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 26/05/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา