backup og meta

เทสโทสเตอโรน และความเกี่ยวข้องกับโรคต่าง ๆ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย pimruethai · แก้ไขล่าสุด 20/09/2022

    เทสโทสเตอโรน และความเกี่ยวข้องกับโรคต่าง ๆ 

    เทสโทสเตอโรน (Testosterone) เป็นฮอร์โมนเพศชายที่อยู่ในกลุ่มฮอร์โมนแอนโดรเจน ซึ่งช่วยกำหนดลักษณะของเพศชาย เช่น การมีเสียงที่ทุ้มต่ำ มวลกล้ามเนื้อและความแข็งแรงของกระดูก และยังส่งผลต่อสุขภาพทางเพศของผู้ชาย รวมถึงการแข็งตัวของอวัยวะเพศ การสร้างอสุจิ ดังนั้น หากเกิดปัญหาเทสทอสเทอโรนต่ำก็อาจส่งผลให้การสร้างอสุจิลดลง มวลกล้ามเนื้อลดลง แรงขับทางเพศลดลง ขนาดหน้าอกใหญ่ขึ้น รวมถึงยังอาจส่งผลให้อวัยวะเพศไม่แข็งตัวได้อีกด้วย

    เทสโทสเตอโรน คืออะไร

    เทสโทสเตอโรน คือ ฮอร์โมนเพศชายที่อยู่ในกลุ่มฮอร์โมนแอนโดรเจน ซึ่งมีหน้าที่สำคัญอย่างมากในช่วงเข้าสู่วัยรุ่น และอาจมีหน้าที่ในการช่วยกำหนดลักษณะของเพศชาย เช่น อวัยวะเพศชายและลูกอัณฑะโตขึ้น เสียงแตก กล้ามเนื้อและกระดูกแข็งแรงขึ้น ความสูงเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ หลังช่วงแตกเนื้อหนุ่มหรือเข้าสู่วัยรุ่น เทสโทสเตอโรนอาจมีส่วนช่วยในการทำงานของร่างกาย ดังนี้

  • การสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง
  • การสร้างมวลกระดูก
  • การกระจายของไขมันในร่างกาย
  • การสร้างขนบนใบหน้าและตามร่างกาย
  • การสร้างอสุจิ
  • การสร้างแรงขับทางเพศ
  • การแข็งตัวของอวัยวะเพศ
  • เทสโทสเตอโรนต่ำ เกี่ยวข้องกับสุขภาพอย่างไร

    ระดับเทสโทสเตอโรนต่ำอาจเกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพหลาย ๆ อย่าง เช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วน กลุ่มอาการเมตาโบลิคซินโดรม โรคอ้วน และความดันโลหิตสูง ซึ่งโอกาสที่ผู้ชายที่มีภาวะสุขภาพเหล่านี้จะมีระดับเทสโทสเตอโรนต่ำ อาจได้แก่

    • 2.4 เท่าสำหรับผู้ชายที่เป็นโรคอ้วน
    • 2.1 เท่าสำหรับผู้ชายที่เป็นเบาหวาน
    • 1.8 เท่าสำหรับผู้ชายที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง

    อย่างไรก็ตาม เทสโทสเตอโรนต่ำอาจไม่ได้เป็นสาเหตุในการเกิดปัญหาสุขภาพตามที่กล่าวมาข้างต้น ในทางกลับกัน ผู้ชายปัญหาสุขภาพบางอย่างก็อาจทำให้มีระดับเทสโทสเตอโรนต่ำได้เช่นกัน

    เทสโทสเตอโรนและความเกี่ยวข้องกับโรคต่าง ๆ

    สำหรับความเกี่ยวข้องระหว่างเทสโทสโตโรนกับโรคต่าง ๆ อาจมีดังนี้

    เทสโทสเตอโรนกับโรคเบาหวาน

    ผู้ชายที่เป็นโรคเบาหวานอาจมีเทสโทสเตอโรนต่ำ และผู้ชายที่มีเทสโทสเตอโรนต่ำก็อาจมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคเบาหวาน เนื่องจากเทสโทสเตอโรนมีส่วนช่วยให้เนื้อเยื่อของร่างกายในการดูดซึมน้ำตาลในเลือด ผู้ที่มีเทสโทสเตอโรนต่ำมักเกิดภาวะดื้ออินซูลิน เพราะร่างกายต้องสร้างอินซูลินมากขึ้น เพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้ปกติ

    เทสโทสเตอโรนกับโรคอ้วน

    ผู้ที่เป็นโรคอ้วนอาจมีแนวโน้มนการมีเทสโทสเตอโรนต่ำ และผู้ที่มีเทสโทสเตอโรนต่ำก็อาจมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคอ้วน เนื่องจากเซลล์ไขมันเผาผลาญเทสโทสเตอโรนให้กลายเป็นเอสโตรเจน และลดระดับเทสโทสเตอโรน โรคอ้วนยังลดระดับโปรตีนในเลือดชนิดหนึ่งที่มีหน้าที่ช่วยควบคุมปฏิกิริยาของฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนที่มีต่อร่างกาย (Sex Hormone Binding Globulin หรือ SHBG) อย่างไรก็ตาม การลดน้ำหนักและการรับประทานอาหารเสริมเทสโทสเตอโรนอาจช่วยเพิ่มระดับเทสโทสเตอโรนในผู้ที่มีเทสโทสเตอโรนต่ำได้

    เทสโทสเตอโรนกับภาวะสุขภาพอื่น ๆ

    • โรคซึมเศร้า ในการศึกษาผู้ชาย 4,000 คนที่อายุมากกว่า 70 ปี ผู้ที่มีระดับเทสโทสเตอโรนต่ำมีแนวโน้มจะเป็นโรคซึมเศร้าเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า
    • ภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ปัญหาเรื่องการแข็งตัวของอวัยวะเพศ เป็นหนึ่งในอาการที่อาจพบได้บ่อยในผู้ที่มีระดับเทสโทสเตอโรนต่ำ
    • ความดันโลหิตสูง ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงอาจแนวโน้มที่จะมีเทสโทสเตอโรนต่ำเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าเมื่อเทียบกับผู้ที่มีความดันปกติ ในทางกลับกัน หากเทสโทสเตอโรนสูงเกินไปก็อาจทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นได้เช่นกัน เนื่องจากเทสโทสเตอโรนมีหน้าที่หลายอย่างต่อหลอดเลือด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


    เขียนโดย pimruethai · แก้ไขล่าสุด 20/09/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา