backup og meta

ทุกเรื่องที่คุณอาจยังไม่รู้เกี่ยวกับอาการ หอบหืดตอนกลางคืน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 20/05/2021

    ทุกเรื่องที่คุณอาจยังไม่รู้เกี่ยวกับอาการ หอบหืดตอนกลางคืน

    เชื่อว่าหลายคนคงเคยรู้จักโรคหอบหืดกับมาบ้างแล้ว แต่เคยทราบหรือไม่ว่า ยังมีโรคหอบหืดอีกชนิดหนึ่งซึ่งเรียกว่า “หอบหืดตอนกลางคืน (Nocturnal Asthma)’ ซึ่งเป็นโรคหอบหืดที่จะรุนแรงขึ้นในตอนกลางคืน วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับหอบหืดชนิดนี้มาให้อ่านกัน

    หอบหืดตอนกลางคืน คืออะไร

    หอบหืดตอนกลางคืนเป็นอาการหอบหืดประเภทหนึ่ง ที่จะมีอาการรุนแรงขึ้นในตอนกลางคืน โดยจะมีอาการเกี่ยวกับการตอบสนองของระบบทางเดินหายใจ ซึ่งทำให้ปอดทำงานไม่ดี และมีความจำเป็นต้องใช้ยา โรคหอบหืดตอนกลางคืน มักมีความรุนแรงมากจนจำเป็นต้องได้รับการรักษา

    อาการของ หอบหืดตอนกลางคืน

    หากเป็น โรคหอบหืดตอนกลางคืน อาจปรากฏอาการต่าง ๆ ทั่วไปที่พบบ่อย เช่น ไอ หายใจมีเสียง หายใจลำบาก และแน่นหน้าอก อย่างไรก็ดี อาการต่าง ๆ จะมีความรุนแรงมากขึ้นในตอนกลางคืน จนรบกวนการนอน ส่งผลให้รู้สึกเหนื่อย ไม่สดชื่น หงุดหงิด และง่วงนอนในวันถัดมา ซึ่งสามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอาการแทรกซ้อนจากหอบหืดได้

    โรคหอบหืดตอนกลางคืน สามารถทำให้คุณภาพชีวิตลดลง และอาจทำให้อาการหอบหืดตอนกลางวันแย่ลงได้ หมายความว่า ผู้ป่วยอาจจะต้องเผชิญกับอาการหอบหืด ไม่เฉพาะในตอนกลางคืน แต่อาจจะเจอกับอาการหอบหืดในระหว่างวันด้วย

    สาเหตุของหอบหืดตอนกลางคืน

    ทำไมอาการหอบหืดจึงแย่ลงโดยเฉพาะในตอนกลางคืน ยังไม่มีเหตุผลที่แน่ชัดว่า อะไรเป็นสาเหตุให้คุณมีอาการหอบหืดในตอนกลางคืน แต่อย่างไรก็ดี สาเหตุที่อาจเป็นไปได้ของ โรคหอบหืดตอนกลางคืน มีดังนี้คือ

  • จมูกอักเสบ
  • ในตอนกลางคืนะหว่างที่นอนหลับ ทางเดินหายใจมีแนวโน้มตีบลง ซึ่งสามารถขัดขวางการหายใจได้ และอาจทำให้เกิดอาการไอ การไอจะทำให้ทางเดินหายใจมีความตึง และหากทางเดินหายใจมีความไวเป็นอย่างมาก สารคัดหลั่งที่เพิ่มขึ้นจากจมูกอักเสบ ก็สามารถกระตุ้นอาการต่าง ๆ ของหอบหืดขึ้นได้

    • ท่านอน

    การนอนในท่าเอนหลัง อาจกระตุ้นหอบหืด โรคหอบหืดตอนกลางคืน ได้จากหลายสาเหตุ ทั้งภาวะโพรงจมูกอักเสบมีการหลั่งของเหลวออกมามาก ปริมาตรปอดลดลง และปริมาณเลือดเพิ่มขึ้นในปอด และอากาศที่หายใจอาจถูกขัดขวางจากท่านอนเอนหลังได้

    • เครื่องปรับอากาศ

    การนอนในอากาศเย็นอาจทำให้ทางเดินหายใจเย็นลงและมีความชื้นลดลง การสูญเสียความร้อนและความชื้นในทางเดินหายใจ สามารถกระตุ้นหอบหืดได้ ดังนั้น หากเป็นไปได้ให้ปิดเครื่องปรับอากาศ เพื่อป้องกันไม่ให้ โรคหอบหืดตอนกลางคืน กำเริบ

  • กรดไหลย้อน
  • การเกิดกรดไหลย้อนนั้น สามารถเกิดร่วมกับอาการแสบร้อนกลางอก กรดในกระเพาะอาหารอาจไหลย้อนขึ้นผ่านหลอดอาหารไปยังกล่องเสียง ซึ่งอาจกระตุ้นการบีบเกร็งของหลอดลม โดยอาจมีอาการแย่ลงเมื่อนอนลง หรือใช้ยารักษาหอบหืด (ยาเหล่านี้จะทำให้ช่องปิดระหว่างกระเพาะอาหารและหลอดอาหารคลายตัวออก) ในบางครั้ง กรดในกระเพาะอาหารทำให้หลอดอาหารเกิดการระคายเคือง ซึ่งทำให้เกิดการหดตัวของทางเดินหายใจ หากกรดสามารถไหลย้อนขึ้นไปยังลำคอ และเข้าสู่ทางเดินหายใจ จะทำให้เกิดปฏิกิริยารุนแรง และทางเดินหายใจจะบีบแคบลง เพื่อป้องกันไม่ให้ของเหลวไหลลงสู่ปอด

    • ฮอร์โมน

    ฮอร์โมนอะดรีนาลีนเป็นฮอร์โมนชนิดหนึ่ง ที่แพร่กระจายในเลือด ซึ่งพบได้ในทุกคน ฮอร์โมนอะดรีนาลีนส่งผลต่อหลอดลม โดยทำให้กล้ามเนื้อผนังหลอดลมคลายตัว ทำให้ทางเดินหายใจคงขนาดปกติไว้ได้ตลอดเวลา นอกจากนี้ ฮอร์โมนอะดรีนาลีนยังกระตุ้นการปล่อยสารต้านภูมิแพ้ที่มีชื่อว่า “ฮีสตามีน (Histamine)’ ซึ่งทำให้เกิดการหลั่งน้ำมูก และการบีบเกร็งของหลอดลม ฮอร์โมนอะดรีนาลีนมีแนวโน้มลดลงในระหว่างนอนหลับ ดังนั้น สารต้านภูมิแพ้ฮิสตามีนก็จะลดลงด้วย ส่งผลให้หอบหืดมีอาการแย่ลงในช่วงเวลานี้

  • การตอบสนองระยะท้าย (Late Phase Response)
  • เมื่อผู้ป่วยได้รับสิ่งกระตุ้นหอบหืดหรือสารก่อภูมิแพ้อาจปรากฏอาการจับหืดขึ้น และอาจมีอาการหอบหืดครั้งที่ 2 ตามมาอีก ภายในเวลา 3-8 ชั่วโมงหลังจากครั้งแรก ซึ่งเรียกว่า “การตอบสนองหอบหืดในระยะท้าย’ โดยผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า ผู้ป่วยมีโอกาสมากกว่าที่จะมีการตอบสนองหอบหืดในระยะท้าย หากได้รับสารก่อภูมิแพ้ในตอนเย็น

    วิธีการรักษา หอบหืดตอนกลางคืน

    ถึงแม้ว่า โรคหอบหืดตอนกลางคืน ไม่สามารถรักษาให้หายขาด แต่การใช้ยาสามารถลดอาการอักเสบ และป้องกันอาการต่าง ๆ ได้ เนื่องจาก โรคหอบหืดตอนกลางคืน มักเกิดขึ้นในระหว่างนอนหลับ การรักษาจึงควรครอบคลุมช่วงเวลานี้ ส่วนใหญ่ยาที่ใช้ ได้แก่ ยารักษาหอบหืดสำหรับสูดดมที่ประกอบด้วยยาขยายหลอดลม (ฺBronchodilator) สามารถป้องกันการบีบเกร็งของหลอดลมได้ และยารักษาหอบหืดสำหรับสูดดมที่ประกอบด้วยคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) สามารถบรรเทาอาการได้ในระยะยาว ส่วนในกรณีที่ ผู้ป่วยมีภาวะกรดไหลย้อน อาจจำเป็นต้องใช้ยารักษากรดไหลย้อนร่วมด้วย

    ที่สำคัญ ผู้ป่วยควรอยู่ให้ห่างจากสิ่งกระตุ้นที่อาจทำให้เกิดอาการหอบหืด เช่น ไรฝุ่น สปอร์เชื้อรา และสะเก็ดผิวหนังสัตว์เลี้ยง การอยู่ห่างสิ่งกระตุ้นเหล่านี้ช่วยได้มากในการป้องกันโรคหอบหืด นอกจากนี้ คุณสามารถใช้เครื่องมือพิเศษเพื่อตรวจการทำงานของปอด หากพบว่า มีสิ่งบ่งชี้ผิดปกติใด ๆ ควรมีการรายงานให้แพทย์ทราบ โดยแพทย์และผู้ป่วยสามารถร่วมมือกันหาแผนการที่เหมาะสมเพื่อช่วยให้การนอนหลับดีขึ้น โรคหอบหืดตอนกลางคืน เป็นโรคที่มักมีความรุนแรง ดังนั้น ผู้ที่มีอาการควรไปพบหมอ เพื่อการวินิจฉัยและการรักษาโดยเร็วที่สุด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 20/05/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา