backup og meta

เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบพกพา ตัวช่วยใหม่ป้องกันเส้นเลือดในสมองแตก

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปราโมทย์ วงศ์คำ · แก้ไขล่าสุด 10/04/2021

    เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบพกพา ตัวช่วยใหม่ป้องกันเส้นเลือดในสมองแตก

    เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบพกพา ใช้สำหรับสังเกตสุขภาพของหัวใจ ซึ่งถือเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญสำหรับผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง หรือที่นิยมเรียกกันว่า “เส้นเลือดในสมองแตก’ คือ ภาวะฉุกเฉินที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ถึงแม้คุณจะรอดชีวิตจากภาวะนี้ได้แล้ว แต่อาการแทรกซ้อนที่รุนแรงก็สามารถส่งผลกระทบต่อชีวิตของคุณได้ ดังนั้น การค้นหาวิธีป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง จึงถือเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก ทาง Hello คุณหมอ จึงนำเรื่องนี้มาฝากกัน

    เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบพกพาคืออะไร

    เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบพกพา หรือ เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมง (Holter Monitor) เป็นเครื่องมือชนิดพิเศษ ที่ใช้เพื่อบันทึก คลื่นไฟฟ้าหัวใจ ของคุณ โดยการแปะแผ่นวัด คลื่นไฟฟ้าหัวใจ ไว้ที่ผิวหนังบริเวณหัวใจ แผ่นนี้จะเชื่อมต่อกับตัวเครื่องบันทึก คลื่นไฟฟ้าหัวใจ แบบพกพาที่มีน้ำหนักเบา กะทัดรัด สามารถพกพาไปได้ทุกที่ ไม่จำเป็นต้องเสียเวลานอนค้างที่โรงพยาบาล เมื่อต้องตรวจ คลื่นไฟฟ้าหัวใจ

    เมื่อติดเครื่องบันทึก คลื่นไฟฟ้าหัวใจ แบบพกพา คุณสามารถทำกิจกรรมทั่วไป หรือทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ได้ตามปกติ ยกเว้นกิจกรรมที่ต้องเคลื่อนไหวแขนมาก ๆ หรือทำให้เครื่องและแผ่นวัดเปียก เช่น การอาบน้ำ การว่ายน้ำ เครื่องนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาหัวใจเต้นผิดปกติเป็นประจำ ช่วยให้แพทย์สามารถตรวจวิเคราะห์ คลื่นไฟฟ้าหัวใจ ของคุณได้

    คลื่นไฟฟ้าหัวใจ ผิดปกติ อาจกระตุ้นให้หลอดเลือดหัวใจแตกได้

    ข้อมูลของสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกา (American Heart Association) เผยว่า 1 ใน 5 คน ของผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองครั้งแรก มีภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (Atrial Fibrillation) ซึ่งเป็นอาการที่เกิดขึ้นเมื่อหัวใจของคุณพบความผิดปกติ คือ หัวใจห้องบนซ้ายเต้นแรง (Atrium) ทำให้หดตัวและสูบฉีดเลือดออกไปได้น้อยกว่าปกติ เลือดจึงตกค้าง และอาจเกิดลิ่มเลือดที่ไปอุดตันบริเวณหลอดเลือดสมอง จนทำให้หลอดเลือดในสมองแตกได้ ดังนั้น ผู้ที่มีภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคเส้นเลือดในสมองแตก

    สำหรับผู้ที่มีภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว อาจมีอาการเจ็บหน้าอก หัวใจเต้นถี่ หน้ามืด เวียนศีรษะ อ่อนเพลีย ในขณะที่บางคนอาจไม่แสดงอาการใด ๆ เลย นอกจากนี้ ภาวะความดันโลหิตสูง ความเครียด โรคหัวใจ ปอดบวม ต่อมไทรอยด์หลั่งฮอร์โมนมากเกินไป การดื่มแอลกอฮอล์ หรือการสูบบุหรี่ ก็สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วได้เช่นกัน

    ตัวช่วยในการตรวจหาสาเหตุของโรคหลอดเลือดสมอง

    อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า ผู้ที่มีภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว มีความเสี่ยงเกิดโรคหลอดเลือดสมองมากขึ้น การสวมเครื่องบันทึก คลื่นไฟฟ้าหัวใจ แบบพกพา สามารถช่วยตรวจจับภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วได้ไวและดีขึ้น เครื่องจะบันทึกการเต้นของหัวใจ และเช็คว่า คลื่นไฟฟ้าหัวใจ ผิดปกติหรือไม่ ช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยอาการ แนะนำการรักษา และการบำบัด เพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองได้อย่างเหมาะสม จึงถือว่า เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบพกพา ช่วยลดการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง อาการแทรกซ้อน และการเสียชีวิตลงได้

    แพทย์อาจขอให้คุณสวมเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบพกพา ในขณะทำกิจวัตรประจำวันเป็นเวลา 24-48 ชั่วโมง อย่างไรก็ตาม ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วเป็นภาวะที่ตรวจพบได้ยาก สามารถแสดงอาการแตกต่างกันไปได้หลากหลาย บางครั้ง อาการที่เกิดขึ้นเนื่องจาก คลื่นไฟฟ้าหัวใจ ผิดปกติอาจเป็นแล้วก็หายไปก่อนที่คุณและแพทย์จะทราบด้วยซ้ำ มีผลการศึกษาวิจัยที่พบว่า ผู้ป่วยบางคนอาจจำเป็นต้องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจให้นานขึ้น เพื่อหาจังหวะการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ

    มีงานวิจัยค้นพบเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจตัวใหม่ เรียกว่า “Reveal LINQ Insertable Cardiac Monitor’ ซึ่งได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกาว่า เป็นเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบไร้สายที่มีขนาดเล็กมาก สามารถฝังไว้ใต้ผิวหนังของผนังทรวงอก เพื่อบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจได้หลายวัน เครื่องนี้สามารถตรวจจับความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจได้ดีขึ้นกว่าเดิม

    เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบพกพา สามารถตรวจจับสาเหตุของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองบางชนิดได้ จึงช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ได้ การใช้เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบพกพาร่วมกับการใช้ยาแผนปัจจุบันตามที่แพทย์สั่ง จึงช่วยให้คุณและแพทย์สามารถควบคุมโรคหลอดเลือดสมองได้ดีขึ้น

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ปราโมทย์ วงศ์คำ · แก้ไขล่าสุด 10/04/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา