backup og meta

ภาวะผนังหลอดเลือดสมองเปราะ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พิมพร เส็นติระ · แก้ไขล่าสุด 11/02/2020

    ภาวะผนังหลอดเลือดสมองเปราะ

    ภาวะผนังหลอดเลือดสมองเปราะ

    ภาวะสมองขาดเลือด (stroke) ซึ่งเป็นภาวะที่ขาดเลือดไปเลี้ยงสมองแบบฉับพลัน ส่งผลต่อหลอดเลือดใหญ่ที่นำไปสู่และอยู่ภายในสมอง โรคหลอดเลือดสมองมีสองประเภทที่สำคัญ ได้แก่ ภาวะสมองขาดเลือดจากหลอดเลือดสมองตีบตัน (Ischemic stroke) ตามปกติเกิดจากการตีบตันของการส่งเลือดไปเลี้ยงสมอง ภาวะเลือดออกในสมอง (hemorrhagic strokes) เกิดขึ้นเมื่อเลือดไหลจากหลอดเลือดที่แตกเข้าสู่สมอง ในวัยผู้ใหญ่ โรคหลอดเลือดสมอง 80% จะเกิดจากการตีบตัน และ 20% เกิดจากเลือดไหลในสมอง วันนี้ Hello คุณหมอ จะมาช่วยให้คุณเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้มากขึ้น

    ภาวะผนังหลอดเลือดสมองเปราะ (Amyloid Angiopathy) คืออะไร

    Cerebral amyloid angiopathy (CAA) หมายถึงส่วนประกอบของความผิดปกติประเภทหนึ่ง ที่อะมีลอยด์ (amyloid) เกิดตกตะกอนในสมอง และมักจะพบในสมองของผู้ป่วยสูงอายุที่มีระบบประสาทและสมองแข็งแรงดี อย่างไรก็ตาม CAA อาจนำไปสู่ภาวะสมองเสื่อม ภาวะเลือดออกในกะโหลกศีรษะ (intracranial hemorrhage, ICH)

    สาเหตุของ ภาวะผนังหลอดเลือดสมองเปราะ (Amyloid Angiopathy) นี้ยังไม่ถูกค้นพบ แต่มีข้อสังเกตว่าอาจเกิดจากพันธุกรรมในครอบครัว

    ภาวะเลือดออกในเนื้อสมอง (intracerebral hemorrhage, ICH) คืออะไร

    เส้นเลือดขนาดเล็กที่นำเลือดไปเลี้ยงส่วนลึกเข้าภายในเนื้อสมอง ความดันเลือดสูง (hypertension) อาจทำให้เส้นเลือดฝอยเล็กๆ เหล่านี้แตกและเลือดไหลเข้าเยื่อหุ้มสมองได้ เลือดจะจับตัวและเกิดลิ่มเลือดที่เรียกว่าก้อนเลือดขัง (hematoma) ขณะที่เลือดไหลในสมอง บริเวณที่หลอดเลือดสมองส่งเลือดไปเลี้ยงในตอนนี้ก็จะขาดเลือดที่อุดมไปด้วยออกซิเจน และเรียกว่าภาวะสมองขาดเลือด ICH อาจเกิดได้จากสาเหตุมากมาย และการใช้ยา

    อาการของ ICH มีอะไรบ้าง

    ถ้าคุณเกิดอาการ ICH ให้โทรเรียกรถพยาบาลทันที! อาการต่างๆ ปกติจะเกิดขึ้นอย่างฉับพลันและอาจแตกต่างไปตามตำแหน่งที่เลือดไหล อาการต่างๆ ที่พบบ่อยได้แก่

  • ปวดศีรษะ คลื่นไส้และอาเจียน
  • เซื่องซึมหรือสับสน
  • เกิดอาการอ่อนแรงหรือชาที่ใบหน้า แขนหรือขาโดยฉับพลัน ตามปกติเกิดที่ด้านเดียว
  • หมดสติ
  • สูญเสียการมองเห็นชั่วคราว
  • ชัก
  • CAA เป็นสาเหตุที่สำคัญของ ICH ในผู้สูงอายุ ปัจจัยเสี่ยงของ CAA ได้แก่อายุที่มากขึ้นและการปรากฎของยีนแอลลีล (alleles) และอะโปไลโปโปรตีน (apolipoprotein) บางประเภท หากมีอาการใดๆ เหล่านี้เกิดขึ้น คุณจะต้องไปพบแพทย์หรือผู้ให้บริการทางสุขภาพ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย พิมพร เส็นติระ · แก้ไขล่าสุด 11/02/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา