backup og meta

เพศสัมพันธ์กับโรคหลอดเลือดสมอง เกี่ยวข้องกันได้อย่างไร

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 16/02/2021

    เพศสัมพันธ์กับโรคหลอดเลือดสมอง เกี่ยวข้องกันได้อย่างไร

    ผู้คนมักมีข้อสงสัยมาเป็นเวลานานแล้วว่า เพศสัมพันธ์ สามารถเป็นสาเหตุให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองได้หรือไม่ ปัจจุบัน มีผลการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างโรคหลอดเลือดสมองและเพศสัมพันธ์มากมาย ที่สามารถตอบคำถามได้ว่า เพศสัมพันธ์กับโรคหลอดเลือดสมอง เกี่ยวข้องกันได้อย่างไร และใครบ้างที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้ขณะมีเพศสัมพันธ์ วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลข้อมูลเรื่องนี้มาให้อ่านกันค่ะ

    เพศสัมพันธ์กับโรคหลอดเลือดสมอง เกี่ยวข้องกันอย่างไร

    โดยส่วนใหญ่แล้ว โรคหลอดเลือดสมองเป็นผลมาจากการสะสมของพฤติกรรมที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ เช่น การสูบบุหรี่ และปัญหาสุขภาพในระยะยาวต่าง ๆ เช่น ความดันโลหิตสูง ภาวะระดับไขมันและคอเลสเตอรอลสูง โรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้น้อย ความผิดปกติเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด และโรคหัวใจ

    สำหรับวัยรุ่นทั้งหญิงและชาย มักไม่พบโรคหลอดเลือดสมอง ที่เกิดจากเพศสัมพันธ์และการถึงจุดสุดยอด การเกิดโรคหลอดเลือดสมองที่มาจากปัญหาเพศสัมพันธ์ในคนวัยนี้ มักเกิดจากปัจจัยและเหตุการณ์ร่วมกันที่ไม่ใช่เรื่องปกติซึ่งพบได้บ่อย

    ในระหว่างมีเพศสัมพันธ์ ร่างกายของผู้หญิงและผู้ชายจะหลั่งฮอร์โมนเอนดอร์ฟิน นอกจากนี้สมองผู้ชายยังหลั่งฮอร์โมนที่เรียกว่าฮอร์โมนโดพามีน (Dopamin) ส่วนผู้หญิงร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนอ็อกซีโทซิน  ซึ่งฮอร์โมนเหล่านี้อาจทำให้ความดันเลือด (Blood Pressure) หรือความดันโลหิตสูงขึ้นได้ เมื่อความดันโลหิตสูงขึ้น ก็อาจทำให้ลิ่มเลือดถูกผลักเข้าไปยังสมอง จนทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองได้

    ใครบ้างที่มีความเสี่ยง เกิดโรคหลอดเลือดสมองจากเพศสัมพันธ์

    ผู้ที่เคย เกิดโรคหลอดเลือดสมองในระหว่างมีเพศสัมพันธ์ หรือภายใน 2-3 ชั่วโมงหลังมีเพศสัมพันธ์ มักมีสัญญาณเตือนล่วงหน้าเป็นเวลาหลายสัปดาห์ หรือแม้กระทั่งหลายเดือน สัญญาณเตือนล่วงหน้าประการหนึ่งที่พบได้ทั่วไปก็คือ อาการปวดศีรษะแบบสายฟ้าฟาด (Thunderclap Headache) ซึ่งเป็นอาการปวดศีรษะที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน รุนแรง และมีความทรมาน

    หากคุณเคยมีอาการปวดศีรษะลักษณะนี้ในระหว่างมีเพศสัมพันธ์ ควรรีบปรึกษาคุณหมอทันที เพื่อให้คุณหมอตรวจวินิจฉัยอาการอย่างละเอียด เมื่อเกิดอาการปวดศีรษะแบบสายฟ้าฟาดในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ ส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยมักหยุดกิจกรรมในทันที ไม่ได้มีเพศสัมพันธ์ต่อไปจนทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง แต่ผู้ป่วยราวร้อยละ 30-50 ก็มีความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองชนิดสมองขาดเลือด (Ischemic Stroke)

    สำหรับผู้ที่มีภาวะหลอดเลือดโป่งพองในสมอง (Brain Aneurysm) การมีเพศสัมพันธ์ยัง เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สามารถกระตุ้นให้เกิดภาวะเลือดออกในสมอง (Hemorrhagic Stroke) ได้อีกด้วย

    อายุที่เพิ่มขึ้น ไม่ได้ทำให้เกิดความเสี่ยงในการ เกิดโรคหลอดเลือดสมองจากเพศสัมพันธ์ มีรายงานว่าผู้ป่วยที่เกิดโรคหลอดเลือดสมองในระหว่างมีเพศสัมพันธ์บางราย เป็นคนวัยหนุ่มสาวที่ไม่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองแต่แรก

    ปัญหาสุขภาพทางเพศแก้ได้

    ปัญหาสุขภาพทางเพศถือเป็นเรื่องละเอียดอ่อน และอาจทำให้คุณหวาดระแวงและไม่กล้ามีเพศสัมพันธ์ครั้งใหม่ จนอาจกระทบกับความสัมพันธ์ของคุณ อย่างไรก็ดี คุณสามารถรับมือและทำให้ชีวิตรักของคุณมีความสุขขึ้นได้ ด้วยวิธีเหล่านี้

  • วางแผนการมีเพศสัมพันธ์ล่วงหน้า เช่นเดียวกับการวางแผนทำกิจกรรมอื่น ๆ อาจดูเหมือนไม่โรแมนติกในช่วงแรก แต่สามารถช่วยให้เพศสัมพันธ์ราบรื่นและสดชื่นมากขึ้นได้
  • เลือกมีเพศสัมพันธ์ในเวลาที่คุณและคู่รักของคุณรู้สึกอยากพักผ่อน ผ่อนคลาย และเมื่อมีความเป็นส่วนตัว
  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มากเกินไป เนื่องจากแอลกอฮอล์มีผลต่อความสามารถในการแข็งตัวของอวัยวะเพศ หรือทำให้อวัยวะแข็งตัวได้ไม่นาน นอกจากนี้ แอลกอฮอล์ยังทำให้รู้สึกเหนื่อยล้า และง่วงซึมได้อีกด้วย
  • หากโรคหลอดเลือดสมองเป็นอุปสรรคต่อการเคลื่อนไหว หรือบั่นทอนอารมณ์ทางเพศ ให้ลองร่วมรักในท่าใหม่ ๆ ซึ่งอาจเหมาะกับคุณและคู่รักของคุณมากกว่า
  • หากมีปัญหาในการสอดใส่ คุณสามารถใช้เจลหล่อลื่นช่วยได้
  • ระหว่างมีเพศสัมพันธ์ หากรู้สึกไม่สบายตัว สามารถใช้หมอนหนุนในจุดที่ต้องการได้
  • พยายามพูดคุยและอธิบายสถานการณ์ของคุณให้คนรักเข้าใจ เพื่อจะได้ช่วยกันแก้ปัญหา
  • การมีเพศสัมพันธ์ ใช้พลังงานเทียบเท่ากับการเดินขึ้นลงบันไดประมาณ 1-2 รอบ โดยปกติแล้วการ เกิดโรคหลอดเลือดสมองจากเพศสัมพันธ์ เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยาก แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้ และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 16/02/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา