backup og meta

โรคเอวีเอ็ม เกี่ยวข้องกับ "สโตรก" อย่างไร

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย วรภพ ไกยเดช · แก้ไขล่าสุด 10/07/2020

    โรคเอวีเอ็ม เกี่ยวข้องกับ "สโตรก" อย่างไร

    โรคเอวีเอ็ม (Arteriovenous Malformation; AVM) หรือโรคหลอดเลือดสมองผิดปกติ นั้นหมายถึงอาการที่กลุ่มเส้นเลือดเชื่อมต่อกันอย่างผิดปกติ โรคเอวีเอ็มสามารถเกิดขึ้นกับอวัยวะใดๆ ในร่างกายก็ได้ แต่หากเกิดในสมองนั้น ก็จะเป็นปัญหามากที่สุด

    เพื่อให้เข้าใจว่าทำไมโรคเอวีเอ็มถึงเป็นอันตรายนั้นเราต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเชื่อมโยงของเส้นเลือดแบบปกติกันก่อน

    โรคเอวีเอ็ม คืออะไร

    เส้นเลือดในโรคเอวีเอ็มนั้นมีหลายขนาด บางเส้นก็เล็กมากจนตรวจไม่พบเป็นเวลาหลายสิบปี บางเส้นก็ใหญ่และเป็นเส้นเลือดแดงที่คดเคี้ยว ที่จะสั่นอย่างแรงในจุดที่มีการเชื่อมต่อโดยตรงกับเส้นเลือดดำ เส้นเลือดในโรคเอวีเอ็มนั้นสามารถพบได้ทุกที่ในสมองรวมถึงบริเวณเนื้อสมองส่วนนอก เนื้อสมอง และก้านสมอง

    การเชื่อมต่อที่ “ปกติ’ ของเส้นเลือดแดงและเส้นเลือดดำ

    เส้นเลือดของคนเรานั้นมี 2 ชนิดหลัก ๆ ได้แก่เส้นเลือดแดงและเส้นเลือดดำ เส้นเลือดแดงทำหน้าที่นำเลือดที่มีออกซิเจนสูงออกจากหัวใจและปอดไปยังอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น กล้ามเนื้อต่างๆ กระดูก และสมอง ส่วนเส้นเลือดดำจะทำหน้าที่ส่งเลือดกลับเข้าสู่และหัวใจและปอดเพื่อเติมออกซิเจน เส้นเลือดแดงนั้นยิ่งแทรกซอนเข้าไปลึกเท่าไหร่ขนาดก็จะยิ่งเล็กลง จนถึงบริเวณที่เล็กที่สุดซึ่งเรียกว่าแขนงเส้นเลือดฝอย บริเวณนี้อัตราการไหลของเลือดก็จะช้าลงเพื่อส่งผ่านเลือดจากเส้นเลือดแดงไปสู่เส้นเลือดดำ

    หน้าที่ที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของแขนงเส้นเลือดฝอย คือลดแรงดันที่เกิดขึ้นเวลาที่เลือดไหลผ่านเส้นเลือดแดงที่มีขนาดใหญ่กว่าไปยังเนื้อเยื่อต่างๆ เส้นเลือดแดงจะต่อกับเส้นเลือดฝอยและมีขนาดใหญ่ขึ้น ไปจนถึงจุดที่เชื่อมต่อกับอวัยวะต่างๆ ตามเส้นทางที่ผ่านปอดและหัวใจ ซึ่งเป็นบริเวณที่เลือดมีการเติมออกซิเจนเป็นอันดับสุดท้าย

    การเชื่อมต่อที่ “ผิดปกติ’ ของเส้นเลือดแดงและเส้นเลือดดำ

    โรคเอวีเอ็มในสมองเกิดจากการเชื่อมต่อกันระหว่างเส้นเลือดแดงของเส้นเลือดดำโดยไม่มีแขนงเส้นเลือดฝอย ทำให้แรงดันจากเส้นเลือดแดงส่งผ่านไปยังเส้นเลือดดำโดยตรง การไหลของเลือดแบบผิดปกตินี้จะทำให้เกิดแรงดันและการไหลทะลักในเส้นเลือดอย่างสูง ทำให้เส้นเลือดเอวีเอ็มมีขนาดใหญ่ขึ้น และส่งผลต่อการทำหน้าที่ต่างๆ ของเนื้อเยื่อบริเวณรอบๆสมองได้

    ผู้ที่มีโอกาสเกิดโรคเอวีเอ็มในสมอง

    ภาวะนี้พบเพียง 0.1% ของประชากร และมักจะเป็นตั้งแต่กำเนิด และไม่ได้ส่งต่อไปยังสมาชิกในครอบครัวมากกว่า 1 คน โรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิงเท่าๆกัน โดยจะมีอาการในช่วงอายุระหว่าง 10 -30 ปี แต่บางคนอาจได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้เมื่ออายุ 50 ไปแล้วก็ได้

    อาการของโรคเอวีเอ็มมีอะไรบ้าง

    ผู้ป่วยครึ่งหนึ่งพบว่าตัวเองเป็นโรคเอวีเอ็มหลังจากที่มีภาวะเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง ส่วนผู้ป่วยอีกครึ่งหนึ่งพบว่ามีอาการชัก ปวดศีรษะและอาการต่างๆของโรคเส้นเลือดสมองเช่นอัมพาตหรืออาการอ่อนแรงของร่างกายครึ่งซีก

    การวินิจฉัยโรคเอวีเอ็ม

    การวินิจฉัยโรคเอวีเอ็มสามารถทำได้โดยนักรังสีวิทยาที่มีความเชี่ยวชาญ โดยใช้เครื่องซีเอทีสแกนสมอง อย่างไรก็ตามแพทย์ส่วนใหญ่มักรู้สึกว่าการวินิจฉัยโรคเอวีเอ็มหลังการทำเอ็มอาร์ไอเป็นเรื่องที่สะดวกกว่า แต่ในกรณีที่เกิดภาวะเลือดออกแล้ว บริเวณเส้นเลือดเอวีเอ็มจะเห็นไม่ชัดเนื่องจากภาวะเลือดออกในสมองบดบังซึ่งทำให้ต้องใช้วิธีการฉีดสีเข้าที่เส้นเลือดในสมองเพื่อวินิจฉัยในขั้นสุด

    วิธีการรักษาโรคเอวีเอ็ม

    วิธีการรักษาที่มีในปัจจุบันได้แก่ การผ่าตัดออก การอุดเส้นเลือด และการฉายรังสีศัลยกรรม โดยอาจใช้เพียงวิธีเดียวหรือใช้หลายวิธีร่วมกันได้ โดยทั่วไปแล้วจุดประสงค์ของการรักษาคือเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะเลือดออกหรือการเกิดเลือดออกซ้ำ

    หัวข้อที่ยังคงวิจัยกันในปัจจุบันก็คือ แพทย์ควรรักษาโรคเอวีเอ็มที่พบก่อนที่จะเกิดภาวะเลือดออกหรือไม่ แต่ไม่มีการศึกษาใดที่จะประเมินความเสี่ยงของการเกิดภาวะเลือดออกเมื่อเส้นเลือดเหล่านี้แตก และบางครั้งก็ยังมีการปล่อยโรคเอวีเอ็มที่ไม่แสดงอาการไว้โดยไม่รักษาอีกด้วย มิหนำซ้ำบางคนยังเชื่อว่าโรคเอวีเอ็มที่ตรวจพบก่อนที่จะทำให้เกิดภาวะเลือดออกยังมีความเสี่ยงของการเกิดเลือดออกน้อยกว่าการตรวจพบหลังจากการเกิดภาวะเลือดออกแล้วอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ข้อมูลที่ไม่แน่นอนนี้ก็ทำให้ศัลยแพทย์หลายท่านและผู้ป่วยมากมายเลือกที่จะผ่าตัดถึงแม้ว่าความเสี่ยงของการรักษาจะสามารถทำให้เกิดการบาดเจ็บของสมองได้อย่างถาวรก็ตาม

    การพยากรณ์โรค

    การดำเนินของโรคเอวีเอ็มนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เริ่มตั้งแต่มีการตรวจพบก่อนเกิดภาวะเลือดออกหรือหลังเลือดออก มากกว่า 90%ของผู้ที่เกิดภาวะเลือดออกจะไม่ถึงกับเสียชีวิต ส่วนในผู้ป่วยที่ตรวจพบโรคนี้หลังจากเกิดภาวะเลือดออกไปแล้ว การดำเนินของโรคจะขึ้นอยู่กับขนาดของรอยโรค อาการ และความใกล้ชิดกับตำแหน่งที่สำคัญๆในสมองดังที่กล่าวไปข้างต้นไม่ว่าจะทำการรักษาหรือไม่

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยหรือรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย วรภพ ไกยเดช · แก้ไขล่าสุด 10/07/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา