backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

หมุนเปลี่ยนท่าทารกจากภายนอก (External Cephalic Version)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 11/08/2020

หมุนเปลี่ยนท่าทารกจากภายนอก (External Cephalic Version)

ข้อมูลพื้นฐาน

การหมุนเปลี่ยนท่าทารกจากภายนอกคืออะไร

การหมุนเปลี่ยนท่าทารกจากภายนอก (external cephalic version หรือ ECV) เป็นหัตถการประเภทหนึ่งในการเปลี่ยนทารกในครรภ์จากท่าก้นให้เป็นท่าศีรษะ ซึ่งถือเป็นวิธีที่ปลอดภัยและได้ผล

หากทารกอยู่ในท่าก้นหลังจากอายุครรภ์ 36 สัปดาห์ แพทย์จะแนะนำให้ใช้การหมุนเปลี่ยนท่าทารกจากภายนอก เพื่อใหคุณมีโอกาสในการคลอดธรรมชาติมากที่สุด วิธีหมุนเปลี่ยนท่าทารกในครรภ์วิธีนี้ถือว่าเหมาะสำหรับผู้หญิงส่วนใหญ่

ความจำเป็นในการ หมุนเปลี่ยนท่าทารกจากภายนอก

แพทย์จะแนะนำให้คุณรับการหมุนเปลี่ยนท่าทารกจากภายนอก หากคุณมีภาวะดังต่อไปนี้

  • ตั้งครรภ์ 36 ถึง 42 สัปดาห์ – ก่อนอายุครรภ์ 36 สัปดาห์ ทารกในครรภ์มีโอกาสเปลี่ยนเป็นท่ากลับศีรษะด้วยตัวเอง แต่การหมุนเปลี่ยนท่าทารกจากภายนอกอาจได้ผลมากกว่า หากทำโดยเร็วที่สุดหลังอายุครรภ์ 36 สัปดาห์ เนื่องจากทารกในครรภ์ยังมีขนาดเล็ก ล้อมรอบไปด้วยน้ำคร่ำ และมีที่ว่างมากกว่าในการเคลื่อนที่ในมดลูกได้
  • ตั้งครรภ์โดยมีทารกในครรภ์เพียงคนเดียว
  • ทารกในครรภ์ไม่เข้าไปในเชิงกราน ซึ่งทารกในครรภ์ที่ติดอยู่จะเคลื่อนที่ได้ยาก
  • มีน้ำคร่ำที่ล้อมรอบทารกในครรภ์เพียงพอสำหรับการหมุนท่าทารกในครรภ์ หากปริมาณน้ำคร่ำต่ำกว่าปกติ (oligohydramnios) จะทำให้ทารกในครรภ์เสี่ยงได้รับบาดเจ็บในระหว่างการหมุนเปลี่ยนท่าทารกจากภายนอกมากขึ้น
  • เคยตั้งครรภ์มาก่อน นั่นหมายความว่า ผนังช่องท้องมักมีความยืดหยุ่นมากกว่า และสามารถขยายได้ในระหว่างการหมุนเปลี่ยนท่าทารกจากภายนอก แต่ถึงแม้จะเพิ่งเคยตั้งครรภ์ครั้งแรก ก็สามารถหมุนเปลี่ยนท่าทารกจากภายนอกได้เช่นกัน
  • ทารกในครรภ์อยู่ในท่าก้นนำ ท่าก้นทั้งหมด หรือท่าเท้าเหยียดลงไปต่ำสุด

ความเสี่ยง

ความเสี่ยงของการ หมุนเปลี่ยนท่าทารกจากภายนอก

หากคุณมีภาวะเหล่านี้ แพทย์จะไม่แนะนำให้เข้ารับการการหมุนเปลี่ยนท่าทารกจากภายนอก

  • ถุงน้ำคร่ำแตก
  • คุณมีภาวะโรค เช่น ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ ที่ทำให้คุณไม่สามารถใช้ยากลุ่มโทโคไลติก (tocolytic medicines) บางชนิด ที่ใช้เพื่อป้องกันการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูก (uterine contractions)
  • จำเป็นต้องเข้ารับการผ่าคลอด (cesarean delivery) เนื่องจากปัญหาบางประการ เช่น ภาวะรกเกาะต่ำ (placenta previa) ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด (Placental Abruption)
  • ต้องเฝ้าระวังทารกในครรภ์เนื่องจากมีสิ่งบ่งชี้ว่า ทารกในครรภ์มีสุขภาพไม่ดี
  • ทารกในครรภ์มีศีรษะขยายตัวมากเกินไป (hyperextended head) หมายความว่าคอตั้งตรง แทนที่ศีรษะจะก้มไปข้างหน้า และคางดันเข้าหาหน้าอก
  • ทราบหรือสงสัยว่าทารกในครรภ์ความพิการแต่กำเนิด
  • ตั้งครรภ์โดยมีทารกในครรภ์หลายคน (แฝดสอง แฝดสาม หรือมากกว่า)
  • มดลูกมีรูปร่างผิดปกติ

ในบางกรณี แพทย์เลือกที่จะไม่ทำการหมุนเปลี่ยนท่าทารกจากภายนอก หากมีน้ำคร่ำน้อยกว่าปกติ (oligohydramnios) โดยรอบทารกในครรภ์

โชคดีที่ว่าการตรวจอย่างสม่ำเสมอ ทำให้การหมุนเปลี่ยนท่าทารกจากภายนอกมีความเสี่ยงค่อนข้างต่ำ ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ในการหมุนเปลี่ยนท่าทารกจากภายนอก ซึ่งทารกในครรภ์และมารดาได้รับการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด ได้แก่

  • สายสะดือบิดตัวหรือบีบตัว ทำให้กระแสเลือดและออกซิเจนที่ไปหล่อเลี้ยงทารกในครรภ์ลดลง
  • คลอดก่อนกำหนด ซึ่งเกิดจากถุงน้ำคร่ำรอบทารกในครรภ์แตก (premature rupture of the membranes หรือ PROM)
  • ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด (Placental Abruption) มดลูกแตก (rupture of the uterus) หรือสายสะดือบาดเจ็บ (damage to the umbilical cord) อาจมีอาการแทรกซ้อนดังกล่าว แต่พบได้น้อย
  • มีเลือดออกจากรก
  • ทารกมีการเต้นของหัวใจเปลี่ยนแปลง
  • ทารกมีอาการเจ็บปวด
  • ในกรณีที่พบได้น้อย คือ การคลอดเกิดขึ้นในระหว่างการทำหัตถการนี้ หรือทารกในครรภ์หรือมารดามีปัญหารุนแรงในระหว่างการหมุนเปลี่ยนท่าทารกจากภายนอก อาจต้องมีการผ่าคลอด (cesarean section : C-section) เพื่อทำคลอดทารกในครรภ์

การหมุนเปลี่ยนท่าทารกจากภายนอกมีความเสี่ยงเล็กน้อย ในการเกิดเลือดออกที่อาจนำไปสู่การผสมกันของเลือดของมารดาและทารกในครรภ์ ดังนั้น หญิงตั้งครรภ์ที่มีหมู่เลือด Rh-negative จะได้รับการฉีด Rh immunoglobulin เช่น RhoGAM เพื่อป้องกันภาวะ Rh sensitization ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนต่อทารกในครรภ์ ในการตั้งครรภ์ในอนาคต

ในกรณีที่พบได้น้อย จะมีการหมุนเปลี่ยนท่าทารกจากภายใน เพื่อคลอดทารกแฝดคนที่สอง หรือใช้ในระหว่างการคลอด เมื่อมีภาวะฉุกเฉินซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิตของทารกในครรภ์ ในกรณีดังกล่าว แพทย์พยายามหมุนเปลี่ยนท่าทารก โดยทำภายในมดลูก

คุณควรทำความเข้าใจถึงความเสี่ยงและอาการแทรกซ้อนต่างๆ ก่อนเข้ารับการผ่าตัดดังกล่าว หากมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์หรือศัลยแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ขั้นตอนการผ่าตัด

การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการ หมุนเปลี่ยนท่าทารกจากภายนอก

ส่วนใหญ่แล้ว การหมุนเปลี่ยนท่าทารกจากภายนอกมักทำก่อนคลอด โดยสูตินรีแพทย์และพยาบาลผดุงครรภ์จะอธิบายให้คุณทราบ เกี่ยวกับรูปแบบการรักษาที่ดีที่สุดและปลอดภัยที่สุด คุณอาจได้รับคำแนะนำให้คลอดทารกที่โรงพยาบาล

ขั้นตอนการหมุนเปลี่ยนท่าทารกจากภายนอก

การหมุนเปลี่ยนท่าทารกจากภายนอกมักใช้เวลาประมาณ 15 นาที สูตินรีแพทย์จะดันหน้าท้องของคุณอย่างระมัดระวัง เพื่อพยายามเปลี่ยนทารกในครรภ์ให้อยู่ในท่าศีรษะ แพทย์จะเฝ้าระวังการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อดูว่าปกติดีหรือไม่ การเต้นของหัวใจของทารกในครรภ์จะได้รับการเฝ้าระวัง เป็นเวลาถึง 45 นาที หลังการหมุนเปลี่ยนท่าทารกจากภายนอก

รายละเอียดอาจแตกต่างไปในแต่ละกรณี หากมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์

การพักฟื้น

หลังเข้ารับการหมุนเปลี่ยนท่าทารกจากภายนอก

หลังจากเข้ารับการหมุนเปลี่ยนท่าทารกจากภายนอก มีโอกาสร้อยละ 50 ที่คุณจะสามารถคลอดธรรมชาติได้ตามปกติ แต่หากไม่เป็นเช่นนั้น สูตินรีแพทย์อาจสามารถหมุนเปลี่ยนท่าทารกจากภายนอกได้อีกครั้งหนึ่ง ทารกจะหมุนเปลี่ยนท่าได้เองหลังจาก 36 สัปดาห์ สูตินรีแพทย์จะอธิบายให้คุณทราบเกี่ยวกับประโยชน์และความเสี่ยง ในการผ่าคลอดและการคลอดตามธรรมชาติ

ความเสี่ยงหลังหมุนเปลี่ยนท่าทารกจากภายนอก

โปรดปรึกษาแพทย์ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 11/08/2020

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา