backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ตรวจค่าน้ำตาลสะสมในเลือด (Glycohemoglobin Test)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 22/03/2021

ตรวจค่าน้ำตาลสะสมในเลือด (Glycohemoglobin Test)

การ ตรวจค่าน้ำตาลสะสมในเลือด (glycohemoglobin test) เป็นการตรวจเลือดประเภทหนึ่งที่ใช้ตรวจสอบปริมาณน้ำตาลกลูโคสในเลือด

ข้อมูลพื้นฐาน

การ ตรวจค่าน้ำตาลสะสมในเลือด คืออะไร

การ ตรวจค่าน้ำตาลสะสมในเลือด (glycohemoglobin test) หรือที่เรียกกันติดปากว่าการตรวจ “ฮีโมโกลบิน เอวันซี’ (hemoglobin A1c) เป็นการตรวจเลือดประเภทหนึ่งที่ใช้ตรวจสอบปริมาณน้ำตาล (กลูโคส) ที่จับตัวกับฮีโมโกลบินในเซลล์เม็ดเลือดแดง เมื่อฮีโมโกลบินและกลูโคสจับตัวกัน น้ำตาลจะเคลือบฮีโมโกลบิน ยิ่งปริมาณน้ำตาลในเลือดมากเท่าไหร่ รอยเคลือบก็จะยิ่งมีชั้นหนาขึ้นเท่านั้น

การตรวจค่าน้ำตาลสะสมในเลือด เป็นการวัดความหนาของรอยเคลือบในช่วงเวลา 2-3 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งเท่ากับอายุขัยของเซลล์เม็ดเลือดแดง ผู้ป่วยโรคเบาหวานหรือมีภาวะอื่น ๆ ที่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นมักพบว่ามีค่าน้ำตาลสะสมในเลือด (น้ำตาลที่ติดอยู่กับฮีโมโกลบิน) มากกว่าปกติ

นอกจากนี้ การตรวจค่าน้ำตาลสะสมในเลือด ยังสามารถใช้วินิจฉัยภาวะก่อนเบาหวาน (Prediabetes) หรือเบาหวาน (Diabetes) ได้ โดยเป็นการตรวจสอบการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในระยะยาวในผู้ป่วยโรคเบาหวาน แพทย์ส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่า การตรวจค่าน้ำตาลสะสมในเลือด หรือการตรวจหาระดับเอซีวันนี้ เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการตรวจว่าผู้ป่วยสามารถควบคุมเบาหวานได้ดีเพียงใด

การตรวจน้ำตาลในเลือดด้วยตัวเองที่บ้านถือเป็นการวัดระดับน้ำตาลในเลือดในขณะหนึ่งเท่านั้น ซึ่งระดับน้ำตาลในเลือดสามารถเปลี่ยนแปลงในระหว่างวันจากสาเหตุหลายประการ เช่น การใช้ยา อาหาร การออกกำลังกาย และระดับอินซูลินในเลือด

สำหรับผู้ที่เป็นเบาหวาน มีข้อแนะนำว่า ควรต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในระยะยาว ซึ่งผลการตรวจค่าน้ำตาลสะสมในเลือดจะไม่เปลี่ยนแปลงไปตามปัจจัยแปรผันต่าง ๆ เช่น อาหาร การออกกำลังกาย ยาที่ใช้

กลูโคสในเลือดจะจับตัวกับฮีโมโกลบินในเซลล์เม็ดเลือดแดงในอัตราคงที่ เนื่องจากเซลล์เม็ดเลือดแดงมีอายุ 3 ถึง 4 เดือน โดยการตรวจค่าน้ำตาลสะสมในเลือด จะแสดงให้เห็นถึงปริมาณกลูโคสที่พบในพลาสมาของเลือด การตรวจนี้ยังแสดงให้เห็นด้วยว่า ในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา คุณมีการควบคุมโรคเบาหวานได้ดีเพียงใด และแพทย์จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงแผนการรักษาเบาหวานหรือไม่

นอกจากนี้ การตรวจค่าน้ำตาลสะสมในเลือดยังสามารถช่วยให้แพทย์ทราบว่า ผู้ป่วยมีความเสี่ยงในการเกิดปัญหาต่าง ๆ จากโรคเบาหวาน เช่น ไตวาย ปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น อาการชาที่ขาหรือเท้า มากน้อยเพียงใด การรักษาระดับน้ำตาลสะสมในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด สามารถลดโอกาสในการเกิดปัญหาต่าง ๆ ได้

ความจำเป็นใน การตรวจค่าน้ำตาลสะสมในเลือด

ความจำเป็นในการตรวจชนิดนี้ขึ้นอยู่กับประเภทเบาหวานที่เป็น และการควบคุมเบาหวานของคุณว่าทำได้ดีเพียงใด อีกทั้งยังขึ้นอยู่กับคำแนะนำของแพทย์ด้วย การตรวจค่าน้ำตาลสะสมในเลือด สามารถทำได้ 2-4 ครั้งต่อปี แต่หากผู้ป่วยเพิ่งเคยได้รับการวินิจฉัยว่า เป็นโรคเบาหวาน หรือควบคุมเบาหวานได้ไม่ดี แพทย์อาจให้เข้ารับการตรวจบ่อยขึ้น

นอกจากนี้ การตรวจค่าน้ำตาลสะสมในเลือดยังอาจใช้เป็นส่วนหนึ่งของการตรวจสุขภาพ หรือเมื่อสงสัยว่าเกิดโรคเบาหวานเนื่องจากสิ่งบ่งชี้หรืออาการต่าง ๆ ของระดับกลูโคสในเลือดสูง เช่น

ข้อควรรู้ก่อนตรวจ

ข้อควรรู้ก่อน ตรวจค่าน้ำตาลสะสมในเลือด

การตรวจค่าน้ำตาลสะสมในเลือด จะไม่แสดงให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของน้ำตาลในเลือดที่เกิดขึ้นชั่วคราวหรือเฉียบพลัน และไม่ได้บ่งบอกถึงคุณภาพการควบคุมโรคเบาหวานที่เกิดขึ้นใน 3-4 สัปดาห์ที่ผ่านมา นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำตาลในเลือดที่รวดเร็วในผู้ป่วยโรคเบาหวาน “ที่ควบคุมได้ยาก’ ก็จะไม่พบในการตรวจนี้ด้วยเช่นกัน

หากผู้ป่วยมีภาวะฮีโมโกลบินผันแปร เช่น ฮีโมโกลบินที่มีเซลล์รูปเคียว (sickle cell hemoglobin) หรือที่เรียกว่า hemoglobin S จะพบว่าฮีโมโกลบินเอ (hemoglobin A) มีปริมาณลดลง ซึ่งอาจเป็นข้อจำกัดของการตรวจค่าน้ำตาลสะสมในเลือด เพื่อวินิจฉัยและเฝ้าระวังเบาหวานของผู้ป่วย

โลหิตจาง เม็ดเลือดแดงแตก หรือเลือดออกรุนแรง อาจทำให้ผลการตรวจค่าน้ำตาลสะสมในเลือดมีค่าต่ำผิดปกติได้ หรือหากผู้ป่วยมีภาวะขาดธาตุเหล็ก ก็อาจทำให้ระดับน้ำตาลสะสมสูงขึ้นได้

ในกรณีที่ผู้ป่วยเพิ่งได้รับการถ่ายเลือด การตรวจค่าน้ำตาลสะสมในเลือด อาจมีความผิดพลาด และไม่แสดงให้เห็นการควบคุมกลูโคสที่ถูกต้องในระยะเวลา 2-3 เดือน

ขั้นตอนการตรวจ

การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจค่าน้ำตาลสะสมในเลือด

คุณไม่จำเป็นต้องงดอาหารก่อนเข้ารับ การตรวจค่าน้ำตาลสะสมในเลือด และการตรวจนี้สามารถดำเนินการในช่วงเวลาใดของวันก็ได้ แม้กระทั่งหลังรับประทานอาหาร

ขั้นตอนการตรวจค่าน้ำตาลสะสมในเลือด

เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ ที่ทำการเจาะเลือดจะดำเนินการต่อไปนี้

  • รัดยางรอบต้นแขน เพื่อหยุดการไหลเวียนของเลือด หลอดเลือดด้านล่างยางรัดจะขยายตัวขึ้น ทำให้เจาะหลอดเลือดได้ง่ายขึ้น
  • ทำความสำอาดบริเวณที่เจาะเลือดด้วยแอลกอฮอล์
  • เจาะเข็มเข้าไปในหลอดเลือด อาจจำเป็นต้องเจาะมากกว่าหนึ่งครั้ง
  • ติดหลอดบรรจุเลือดเข้ากับเข็มเจาะเลือด
  • นำยางรัดออกจากแขน เมื่อเก็บเลือดเพียงพอแล้ว
  • วางผ้ากอซหรือก้อนสำลีไว้บนบริเวณที่เจาะเลือดในขณะที่ดึงเข็มออก
  • กดบริเวณที่เจาะเลือดแล้วปิดด้วยผ้าพันแผล

หลังการตรวจค่าน้ำตาลสะสมในเลือด

การรัดยางที่ต้นแขนในระหว่าง การตรวจค่าน้ำตาลสะสมในเลือด อาจแน่นมาก จนคุณอาจรู้สึกเจ็บแขนได้บ้าง แต่คุณอาจไม่รู้สึกใด ๆ จากเข็มเจาะ หรืออาจมีเพียงความรู้สึกเหมือนมดกัดหรือแมลงต่อยเท่านั้น

คุณอาจนำผ้ากอซหรือสำลีออกได้ในเวลาประมาณ 20 ถึง 30 นาทีหลังเจาะเลือด และจะได้รับการนัดหมายให้เข้ารับผลการทดสอบ โดยแพทย์จะอธิบายให้ทราบเกี่ยวกับผลการทดสอบ ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

ผลการตรวจ

ผลการตรวจค่าน้ำตาลสะสมในเลือด

การวินิจฉัยโรคเบาหวานจำเป็นต้องมีการยืนยัน โดยการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดแบบเดิมซ้ำ หรือเข้ารับการทดสอบที่แตกต่างออกไปในวันอื่น

ค่าปกติที่ระบุไว้ ณ ที่นี้ ซึ่งเรียกว่า ค่าอ้างอิง (reference range) เป็นเพียงแนวทางเท่านั้น ค่าเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไปตามห้องปฏิบัติการ และห้องปฏิบัติการของคุณอาจมีค่าปกติที่แตกต่างออกไป รายงานจากห้องปฏิบัติการควรมีช่วงค่าที่ห้องปฏิบัติการของคุณใช้

นอกจากนี้ แพทย์จะประเมินผลการตรวจของคุณโดยยึดตามสุขภาพของคุณและปัจจัยอื่น ๆ นั่นหมายความว่า ค่าที่อยู่นอกเหนือจากค่าปกติที่ระบุไว้ ณ ที่นี้ อาจยังคงเป็นค่าปกติสำหรับคุณและห้องปฏิบัติการของคุณ

ระดับน้ำตาลสะสมในเลือด หรือฮีโมโกลบิน เอวันซี (HbA1c)

ค่าปกติ : น้อยกว่า 5.7%

ภาวะก่อนเป็นเบาหวาน (ความเสี่ยงเบาหวานเพิ่มขึ้น) : 5.7%–6.4% โรคเบาหวาน : 6.5% และสูงกว่า

ผู้ใหญ่และหญิงที่ไม่ตั้งครรภ์ส่วนใหญ่ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานประเภท 1 หรือประเภท 2 ควรรักษาระดับน้ำตาลสะสมในเลือดให้น้อยกว่า 7%

เด็กส่วนใหญ่ที่เป็นเบาหวานประเภท 2 ควรรักษาระดับน้ำตาลสะสมในเลือดให้น้อยกว่า 7%

ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับแผนการรักษาเบาหวานและการตั้งเป้าหมายระดับน้ำตาลสะสมในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ดี ซึ่งแพทย์จะพิจารณาจากเกณฑ์ดังนี้

ค่า A1c% และค่าเฉลี่ยน้ำตาลในเลือด (estimated average glucose : eAG)

  • A1c 6% = 126 mg/dL 7.0 mmol/L
  • A1c 7% = 154 mg/dL 8.6 mmol/L
  • A1c 8% = 183 mg/dL 10.2 mmol/L
  • A1c 9% = 212 mg/dL 11.8 mmol/L
  • A1c 10% = 240 mg/dL 13.4 mmol/L
  • A1c 11% = 269 mg/dL 14.9 mmol/L
  • A1c 12% = 298 mg/dL 16.5 mmol/L

ค่า A1c ที่แนะนำสำหรับเด็กและวัยรุ่นที่เป็นเบาหวานประเภท 1

ค่า Age A1c %

  • เด็กอายน้อยกว่า 6 ปี : น้อยกว่า 8.5%
  • เด็กอายุ 6–12 ปี : ค่าน้อยกว่า 8%
  • วัยรุ่นอายุ 13–19 ปี : ค่าน้อยกว่า 7.5%

ค่าสูง

ภาวะสุขภาพบางประการสามารถเพิ่มระดับน้ำตาลสะสม แต่ผลตรวจอาจยังคงอยู่ในค่าปกติ ภาวะสุขภาพดังกล่าว ได้แก่ กลุ่มอาการคุชชิ่ง (Cushing’s syndrome) เนื้องอกต่อมหมวกไตชนิดฟีโอโครโมไซโตมา (pheochromocytoma) และภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (polycystic ovary syndrome: PCOS)

การรักษาด้วยยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroid) ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่เพิ่มระดับ A1c ได้

จากผลการทดสอบในห้องปฏิบัติการและโรงพยาบาล ค่าปกติสำหรับการตรวจค่าน้ำตาลสะสมในเลือดอาจมีความหลากหลายขึ้นอยู่กับห้องปฏิบัติการและโรงพยาบาล โปรดปรึกษาแพทย์หากมีคำถามใด ๆ เกี่ยวกับผลการทดสอบอย่างละเอียด

หากมีคำถามใด ๆ เกี่ยวกับ การตรวจค่าน้ำตาลสะสมในเลือด โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจคำแนะนำของแพทย์ได้ดีขึ้น

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 22/03/2021

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา