backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

โรคอ้วน (Obesity)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 13/07/2020

โรคอ้วน (Obesity)

โรคอ้วน เป็นความผิดปกติที่ซับซ้อนประการหนึ่ง ที่เกียวข้องกับภาวะที่มีไขมันมากเกินไปในร่างกาย และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดความเจ็บป่วย และปัญหาสุขภาพต่างๆ

คำจำกัดความ

โรคอ้วนคืออะไร

โรคอ้วน (Obesity) เป็นความผิดปกติที่ซับซ้อนประการหนึ่ง ที่เกียวข้องกับภาวะที่มีไขมันมากเกินไปในร่างกาย โรคอ้วนไม่ได้ส่งผลต่อร่างกายของผู้ป่วยเท่านั้น แต่ยังเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดความเจ็บป่วย และปัญหาสุขภาพต่างๆ เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน และความดันโลหิตสูงอีกด้วย

โรคอ้วนและภาวะน้ำหนักเกิน (overweight) มีแนวคิดที่แตกต่างกันสองประการ ภาวะน้ำหนักเกินเป็นภาวะหนึ่งที่น้ำหนักที่มากเกินไปเพิ่มขึ้นตามความสูงซึ่งไม่ได้เกิดจากไขมันส่วนเกินเท่านั้นแต่ยังเกิดจากกล้ามเนื้อจำนวนมากหรือน้ำในร่างกายด้วยเช่นกัน ภาวะทั้งสองประการนี้เป็นผลกระทบที่รุนแรงต่อสุขภาพ

โรคอ้วนพบได้บ่อยเพียงใด

ทุกคนสามารถเป็นโรคอ้วนได้ หากไม่มีการลดอาหารและการออกกำลังกายที่เหมาะสม โรคอ้วนมักมีการวินิจฉัยในผู้ที่ทำงานธุรการ หรือในสำนักงาน คุณสามารถจำกัดการเกิดโรคนี้ได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

อาการ

อาการของโรคอ้วน

ผู้ที่มีค่าดัชนีมวลร่างกาย (body mass index: BMI) ค่าสูงกว่า 25 จัดว่ามีภาวะน้ำหนักเกิน (overweight) ค่า 30 หรือสูงกว่าจัดว่าเป็นโรคอ้วน และค่า 40 หรือสูงกว่าจัดว่าเป็นโรคอ้วนรุนแรง ค่าดัชนีมวลร่างกายเป็นวิธีหนึ่งเพื่อให้ทราบว่า คนหนึ่งมีภาวะน้ำหนักเกินหรือไม่ สูตรในการคำนวณค่าดัชนีมวลร่างกาย คือ การใช้น้ำหนักตัวที่เป็นกิโลกรัม หารด้วยส่วนสูง (เมตร) ยกกำลังสอง (ลองคำนวณดัชนีมวลกายได้ที่นี่)

ค่าดัชนีมวลร่างกาย = น้ำหนัก (กก.) / (ความสูงเมตร2)

สำหรับคนส่วนใหญ่แล้ว ค่าดัชนีมวลร่างกายช่วยประมาณการปริมาณไขมันในร่างกายที่เหมาะสม อย่างไรก็ดี ค่าดัชนีมวลร่างกายไม่ได้วัดไขมันในร่างกายได้โดยตรง ตัวอย่างเช่น ในคนบางคนโดยเฉพาะนักกีฬาเพาะกาย อาจมีค่าดัชนีมวลร่างกายในระดับที่เป็นโรคอ้วน เนื่องจากกล้ามเนื้อมีการเจริญเติบโตมากเกินไป แม้ว่าไม่มีไขมันส่วนเกิน ดังนั้น หากเราเพียงยึดตามค่าดัชนีมวลร่างกาย จะไม่แสดงให้เห็นโรคอ้วนอย่างถูกต้อง ให้ปรึกษาแพทย์ หากมีข้อกังวลใดเกี่ยวกับค่าดัชนีมวลร่างกาย

โรคอ้วนสามารถเพิ่มความเสี่ยงของปัญหาสุขภาพที่รุนแรง เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน และโรคหลอดเลือดหัวใจ (coronary heart disease) สถานการณ์ดังกล่าวยังทำให้เกิดข้ออักเสบ (arthritis) ซึ่งทำให้เกิดการหายใจลำบาก (dyspnea) เมื่อใช้แรงมาก โรคหยุดหายใจขณะนอนหลับ (sleep apnea) และอ่อนเพลีย

อาจมีอาการอื่นๆ ที่ไม่ได้กล่าวถึง หากมีคำถามใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษาแพทย์

ควรไปพบหมอเมื่อใด

หากคุณคิดว่าอาจเป็นโรคอ้วน โดยเฉพาะหากกังวลเกี่ยวกับประเด็นต่างๆ ที่สัมพันธ์กับน้ำหนัก ให้ไปพบหมอโดยทันที คุณและแพทย์ที่ทำการรักษาสามารถประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพและพูดคุยเกี่ยวกับวิธีการต่างๆ เพื่อที่จะลดน้ำหนัก ให้ปรึกษาแพทย์เสมอเพื่อหาวิธีการวินิจฉัยโรค การรักษา และการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

รู้เรื่องสาเหตุ

สาเหตุของโรคอ้วน

โรคอ้วนเกิดจากแคลอรี่ปริมาณมากเกินไปที่ถูกดูดซึม ผู้ป่วยบางรายมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นมากเสียจนไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน อาจเกิดจากยีน (พ่อแม่มีแนวโน้มทางพันธุกรรม ที่จะถ่ายทอดยีนโรคอ้วนไปยังลูก) เหตุผลทางจิตวิทยา (รับประทานอาหารเมื่อมีความเครียด) หรือปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรม (ถูกกระตุ้นให้รับประทานอาหารมากขึ้น)

รู้เรื่องปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของโรคอ้วน

ปัจจัยต่างๆ ที่เพิ่มความเสี่ยงสำหรับโรคอ้วน ได้แก่

  • พันธุกรรม
  • ไลฟ์สไตล์ของครอบครัว
  • นิสัยการรับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ
  • เลิกสูบบุหรี่
  • นอนไม่พอ
  • การใช้ยาบางชนิด
  • อายุ
  • ปัญหาทางสังคมและเศรษฐกิจ
  • ประเด็นเกี่ยวกับสุขภาพ

การไม่มีความเสี่ยงไม่ได้หมายความว่า คุณไม่สามารถเป็นโรคนี้ได้ สัญญาณเตือนเหล่านี้มีไว้เพื่อการอ้างอิงเท่านั้น คุณควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม

ทำความเข้าใจการวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลที่นำเสนอในที่นี้ ไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ ให้ปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยโรคอ้วน

เพื่อวินิจฉัยโรคอ้วน แพทย์จะสอบถามเกี่ยวกับการตรวจร่างกายและประวัติสุขภาพ นิสัยการรับประทานอาหาร และระดับการออกกำลังกายของคุณ

จากนั้น แพทย์ที่ทำการรักษาอาจดำเนินการสองวิธีที่ใช้กันมากที่สุด สำหรับการประเมินและการวัดความเสี่ยงของสุขภาพ ที่สัมพันธ์กับน้ำหนักได้แก่

  • ค่าดัชนีมวลร่างกาย (Body mass index: BMI) โดยปกติแล้ว ผู้ที่มีค่าดัชนีมวลร่างกายที่สูงกว่า 25 จัดว่ามีน้ำหนักเกิน (overweight) ค่าดัชนีมวลร่างกาย 30 หรือสูงกว่าจัดว่าเป็นโรคอ้วน (obese) และค่าดัชนีมวลร่างกาย 40 หรือสูงกว่าจัดว่าเป็นโรคอ้วนรุนแรง (obese serious)
  • รอบเอว (การวัดรอบเอวในหน่วยเป็นนิ้ว) การวัดรอบเอวเป็นอีกวิธีหนึ่งในการประมาณการค่าไขมันในร่างกาย

การรักษาโรคอ้วน

การควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย และการผ่าตัด ล้วนแล้วแต่สามารถช่วยได้ ผู้เชี่ยวชาญด้านการควบคุมอาหารและแพทย์ สามารถช่วยเราวางแผนอาหารที่มีไขมันต่ำและแคลอรี่ต่ำ การออกกำลังกายเป็นวิธีที่ได้ผล โดยควรมีโปรแกรมการติดตามผลส่วนบุคคล เพื่อช่วยป้องกันอาการแทรกซ้อนของโรค ยาบางชนิด เช่น ยากระตุ้น (stimulants) สามารถทำให้น้ำหนักลดลง และทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ ให้ลองใช้ยาดังกล่าวหลังจากลองใช้การควบคุมอาหารและออกกำลังกายแล้วเท่านั้น โดยให้ใช้ยาภายใต้การกำกับดูแลโดยตรงของแพทย์

ไลฟ์สไตล์ที่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย การออกกำลังกายให้มากขึ้น และการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เป็นวิธีที่ปลอดภัยที่สุดในการลดน้ำหนัก และทำให้สุขภาพดีขึ้น ให้ดำเนินการร่วมกับแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านการควบคุมอาหาร เพื่อกำหนดปริมาณแคลอรี่ที่ปลอดภัยในแต่ละวัน ที่คุณสามารถบริโภคเพื่อให้สามารถช่วยลดน้ำหนักเพื่อรักษาสุขภาพ ให้ระลึกไว้ว่าการลดน้ำหนักอย่างช้าๆ และสม่ำเสมอ จะช่วยให้คุณหลีกเลี่ยงการมีน้ำหนักกลับมาเพิ่มมากขึ้น ผู้เชี่ยวชาญด้านการควบคุมอาหารสามารถแนะนำคุณเกี่ยวกับสิ่งดังต่อไปนี้

  • วิธีการเลือกอาหารที่มีประโยชน์
  • อาหารว่างที่มีประโยชน์
  • อ่านฉลากโภชนาการก่อนใช้
  • วิธีใหม่ในการแปรรูปอาหาร

คุณยังควรทราบเกี่ยวกับการจำกัดอาหารขยะ ภายใต้เทคนิคการลดแบบความเครียด เช่น โยคะ การออกกำลังกาย หรือการทำสมาธิ ให้ปรึกษาแพทย์ หากคุณมีความซึมเศร้าและความเครียดรุนแรง

ยาบางชนิด เช่น ยากระตุ้น (stimulants) สามารถทำให้น้ำหนักลดลงและทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ ให้ลองใช้ยาดังกล่าวหลังจากลองใช้การควบคุมอาหารและออกกำลังกายเท่านั้น โดยให้ใช้ยาภายใต้การกำกับดูแลโดยตรงของแพทย์

หากคุณเป็นโรคอ้วน (เกินกว่าร้อยละ 100 ของน้ำหนักร่างกายโดยหลักการ หรือมีค่าดัชนีมวลร่างกายที่สูงกว่า 40) และวิธีการลดไขมันอีกวิธีหนึ่งไม่ได้ผล อาจพิจาณาใช้การผ่าตัด เช่น การผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหาร การผูกกระเพาะอาหาร (gastric band) หรือการลดขนาดกระเพาะอาหาร (gastric contractions)

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองที่ช่วยจัดการโรคอ้วน

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองดังต่อไปนี้ อาจช่วยรับมือกับโรคอ้วนได้

  • แจ้งให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับภาวะสุขภาพของคุณ
  • แจ้งให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับยาทั้งหมดที่คุณใช้ ให้แจ้งแพทย์หากเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยา
  • พิจารณาการมีส่วนร่วมในกลุ่มที่สนับสนุนการลดน้ำหนัก
  • เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน
  • ทำความเข้าใจน้ำหนัก ดัชนีมวลร่างกาย และไขมันในร่างกายในปัจจุบันของคุณ
  • แจ้งให้แพทย์ทราบ หากคุณมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น ถึงแม้ว่ามีการลดน้ำหนักและออกกำลังกาย
  • แจ้งให้แพทย์ทราบ หากมีอาการท้องร่วงหรือน้ำตาลในเลือด (กลูโคส) ต่ำอย่างมากหลังการผ่าตัด
  • การเรียนรู้เกี่ยวกับภาวะของคุณ จะทำให้คุณทราบเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องทำ และการควบคุมภาวะร่างกายให้ดีขึ้น
  • ตั้งเป้าหมายที่สามารถทำได้จริง คุณไม่ควรตั้งเป้าหมายการลดน้ำหนักไว้สูงเกินไป เนื่องจากจะทำให้รู้สึกท้อแท้ได้ง่ายขึ้น
  • ปฏิบัติตามแผนการรักษาอย่างสม่ำเสมอ
  • มีบันทึกกระบวนการรักษา โปรดบันทึกรายการอาหารต่างๆ ที่ใช้และการออกกำลังกายที่ได้ทำมา จะช่วยให้คุณรักษาความเสมอต้นเสมอปลาย สำหรับการรับประทานอาหารและการออกกำลังกายประจำวันได้ นอกจากนี้ ยังช่วยให้คุณทราบเกี่ยวกับอาหารและกิจกรรมต่างๆ ที่คุณจำเป็นต้องรวมหรือนำออกจากรายการ ให้จำแนกและหลีกเลี่ยงอาหารต่างๆ ที่สามารถกระตุ้นความอยากอาหาร ให้รับประทานเมื่อรู้สึกหิวจริงเท่านั้น

หากคุณมีข้อสงสัย โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจได้ดีขึ้นถึงวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

Hello Health Group ม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 13/07/2020

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา