backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

กลุ่มอาการพาร์กินโซนิซึมแบบทุติยภูมิ (Secondary Parkinsonism)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จิดาภา ติยะสิริทานนท์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

กลุ่มอาการพาร์กินโซนิซึมแบบทุติยภูมิ (Secondary Parkinsonism)

คำจำกัดความ

กลุ่มอาการพาร์กินโซนิซึมแบบทุติยภูมิ คืออะไร

กลุ่มอาการพาร์กินโซนิซึมแบบทุติยภูมิ (Secondary Parkinsonism) จะมีอาการเหมือนกับโรคพาร์กินสัน หรือโรคสันนิบาต แต่อาการนี้จะเกิดจากยาบางชนิด ความผิดปกติของระบบประสาท หรือความเจ็บป่วยอื่นๆ

กลุ่มอาการพาร์กินโซนิซึมแบบทุติยภูมิ (Secondary Parkinsonism) เป็นกลุ่มอาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องปัญหาทางการเคลื่อนไหวที่พบในโรคพาร์กินสัน ปัญหาเหล่านี้รวมถึงตัวสั่น เคลื่อนไหวช้า แขนและขาอ่อนแรง

กลุ่มอาการพาร์กินโซนิซึมแบบทุติยภูมิพบได้บ่อยแค่ไหน

โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

อาการ

อาการของกลุ่มอาการพาร์กินโซนิซึมแบบทุติยภูมิ

อาการทั่วไปของกลุ่มอาการพาร์กินโซนิซึมแบบทุติยภูมิ ได้แก่

  • การแสดงสีหน้า หรือการแสดงอารมณ์ลดลง
  • เริ่มและควบคุมการเคลื่อนไหวยาก
  • เคลื่อนไหวไม่ได้หรือร่างกายอ่อนแรง (อัมพาต)
  • พูดเบาลง
  • ลำตัว แขนและขาอ่อนแรง
  • ตัวสั่น

ความสับสนและสูญเสียความทรงจำ อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยกลุ่มอาการพาร์กินโซนิซึมแบบทุติยภูมิ นี่เป็นเพราะโรคหลายโรคที่ทำให้เกิดกลุ่มอาการดังกล่าว สามารถส่งผลให้สมองเสื่อมได้เช่นกัน

สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจจะมีอาการอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น หากมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์

ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด

หากคุณมีสัญญาณหรืออาการที่ระบุข้างต้นหรือมีคำถามอื่นๆ โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายแต่ละคนตอบสนองต่างกัน คุณจึงควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาทางออกที่ดีที่สุดสำหรับสถานการณ์ของคุณ

สาเหตุ

สาเหตุของกลุ่มอาการพาร์กินโซนิซึมแบบทุติยภูมิ

กลุ่มอาการพาร์กินโซนิซึมแบบทุติยภูมิอาจเกิดได้จากปัญหาสุขภาพ เช่น

  • สมองได้รับการกระทบกระเทือน
  • โรคลิววีบอดีทั่วร่างกาย (diffuse Lewy body disease) ซึ่งเป็นประเภทหนึ่งของโรคสมองเสื่อม
  • โรคสมองอักเสบ
  • ติดเชื้อเอชไอวี (HIV) หรือโรคเอดส์ (AIDS)
  • โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • โรคประสาทเสื่อมในร่างกายหลายที่ (Multiple system atrophy)
  • โรคก้านสมองเสื่อม
  • โรคหลอดเลือดสมอง
  • โรควิลสัน (Wilson disease)

สาเหตุอื่นของภาวะพาร์กินสันทุติยภูมิยังรวมถึง

  • สมองได้รับความเสียหายจากยาชา เช่น ระหว่างการผ่าตัด
  • คาร์บอนมอนอกไซด์เป็นพิษ
  • ยาบางชนิดที่ใช้รักษาโรคจิตเภท หรืออาการคลื่นไส้
  • ปรอทเป็นพิษ รวมถึงสารพิษอื่นๆ
  • การใช้ยาเสพติดเกินขนาด
  • การใช้สาร MPTP (สารพิษต่อเซลล์ประสาทโดพามีน พบในยาเสพติด เป็นต้น)
  • ไม่ค่อยมีกรณีที่ผู้ติดสารเสพติดฉีดสาร MPTP เข้าร่างกายแล้วเกิดกลุ่มอาการพาร์กินโซนิซึมแบบทุติยภูมิ สารนี้จะเกิดขึ้นระหว่างการทำเฮโรอีน

    ปัจจัยเสี่ยง

    ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดกลุ่มอาการพาร์กินโซนิซึมแบบทุติยภูมิ

    โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

    การวินิจฉัยโรคและการรักษาโรค

    ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

    การวินิจฉัยกลุ่มอาการพาร์กินโซนิซึมแบบทุติยภูมิ

    แพทย์จะตรวจร่างกาย และถามคำถามเกี่ยวกับประวัติโรคประจำตัวและอาการของผู้ป่วย โปรดตระหนักไว้ว่าอาการของโรคอาจยากที่จะประเมินได้ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอายุมาก

    การตรวจอาจช่วยแสดงให้เห็นถึงสิ่งต่อไปนี้

    • เริ่มเคลื่อนไหวหรือหยุดเคลื่อนไหวลำบาก
    • กล้ามเนื้อตึง
    • ปัญหาเกี่ยวกับการแสดงท่าทาง
    • เดินช้าและงุ่มง่าม
    • ตัวสั่น
    • การตอบสนองโดยอัตโนมัติ (โดยทั่วไปแล้วจะต้องเป็นปกติ)

    แพทย์อาจแนะนำให้ตรวจหาว่าเป็นโรคอะไรกันแน่ และตัดโรคที่ไม่เกี่ยวข้องออกไป เนื่องจากโรคบางโรคอาจก่อให้เกิดอาการใกล้เคียงกัน

    การรักษากลุ่มอาการพาร์กินโซนิซึมแบบทุติยภูมิ

    หากกลุ่มอาการนี้เกิดจากการใช้ยา แพทย์อาจแนะนำให้เปลี่ยนหรือหยุดยา

    การรักษาโรคที่ไม่ได้แสดงอาการอื่นๆ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง อาจลดอาการหรือป้องกันไม่ให้โรครุนแรงขึ้นได้

    หากอาการที่เกิดขึ้นทำให้ไม่สามารถทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ตามปกติ แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยา ยาที่ใช้เพื่อรักษาโรคนี้อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรง สิ่งสำคัญก็คือ ต้องตรวจร่างกายโดยแพทย์เป็นประจำ กลุ่มอาการพาร์กินโซนิซึมแบบทุติยภูมิมีแนวโน้มว่า จะตอบสนองต่อการรักษาน้อยกว่าโรคพาร์กินสัน

    การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง

    การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองที่จะช่วยรับมือกับกลุ่มอาการพาร์กินโซนิซึมแบบทุติยภูมิ

    ไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองต่อไปนี้อาจช่วยป้องกันกลุ่มอาการพาร์กินโซนิซึมแบบทุติยภูมิได้

    • การรักษาโรคที่เป็นเหตุให้เกิดกลุ่มอาการพาร์กินโซนิซึมแบบทุติยภูมิ อาจช่วยลดความเสี่ยงได้
    • ผู้ใช้ยาที่อาจก่อให้เกิดกลุ่มอาการพาร์กินโซนิซึมแบบทุติยภูมิ ควรได้รับการเฝ้าสังเกตโดยผู้ให้บริการด้านการแพทย์อย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันไม่ให้โรครุนแรงขึ้น

    หากคุณมีข้อสงสัย โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจถึงวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณได้ดีขึ้น

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย จิดาภา ติยะสิริทานนท์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา