backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ตับอักเสบ บี (Hepatitis B)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปราโมทย์ วงศ์คำ · แก้ไขล่าสุด 20/01/2020

ตับอักเสบ บี (Hepatitis B)

รู้เรื่องเบื้องต้น

ตับอักเสบ บี คืออะไร

ตับอักเสบ บี (Hepatitis B) เป็นโรคติดเชื้อทางตับ ที่มีสาเหตุมาจากไวรัสตับอักเสบ บี (HBV) เป็นหนึ่งในไวรัสที่ส่งผลกระทบต่อตับ ตับอักเสบ บี มี 2 รูปแบบ คือ

  • โรคติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี ชนิดฉับพลัน เป็นโรคระยะสั้นที่เกิดขึ้นภายใน 6 เดือนแรก หลังจากที่มีการสัมผัสกับไวรัสตับอักเสบ บี การติดเชื้ออย่างฉับพลัน สามารถนำไปสู่อาการติดเชื้อเรื้อรัง–แต่ก็ไม่เสมอไป
  • โรคติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี ชนิดเรื้อรัง เป็นโรคติดเชื้อระยะยาวที่เกิดขึ้น เมื่อยังมีไวรัสหลงเหลืออยู่ในร่างกาย

พบได้บ่อยแค่ไหน

โรคฉับพลันที่มาพร้อมกับอาการ พบได้บ่อยในหมู่ผู้ใหญ่ ขณะที่การติดเชื้อเรื้อรัง มักพบได้บ่อยในหมู่เด็กทารกและเด็กเล็กมากกว่าผู้ใหญ่

อ้างอิงจากสถิติขององค์กรอนามัยโลก ประชากรโลกจำนวน 2 พันล้านคนป่วยเป็นโรคตับอักเสบ บี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประชากรจำนวน 250 ล้านคนที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี เรื้อรัง พบว่าอยู่ในภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก

รู้จักอาการ

อาการของตับอักเสบ บี

ตับอักเสบ บี ถือเป็นโรคฆาตกรเงียบ เพราะหลายคน ไม่แสดงอาการใดๆ ดังนั้น โรคจึงมักจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่ทันสังเกตได้เป็นเวลาหลายปี

อาการแรกๆ อาจได้แก่

  • เกิดผื่น
  • เจ็บกระดูกข้อต่อ
  • อ่อนเพลีย
  • ดีซ่าน

อาการที่ตามมา ได้แก่

  • อุจจาระมีสีซีดหรือสีเทา
  • ปัสสาวะสีเข้ม
  • อาการคัน
  • เบื่ออาหาร
  • คลื่นไส้
  • อาเจียน
  • มีไข้ต่ำ
  • อาการเจ็บในช่องท้อง
  • เนื้องอกหลอดเลือด (spider angiomas) ที่เกิดขึ้นบนผิวหนัง

อาการรุนแรงอาจนำไปสู่โรคตับแข็ง โรคท้องมาน (ascitites) และตับล้มเหลว

อาจมีอาการบางประเภทที่ไม่ได้ปรากฏอยู่ข้างบน ถ้าคุณมีความกังวลเกี่ยวกับอาการ โปรดปรึกษาหมอของคุณ

เมื่อไหร่ที่ควรพบหมอ

หากคุณมีสัญญาณหรืออาการใดๆ ตามด้านบนหรือมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษากับหมอของคุณ นอกจากนี้ หากคุณรู้ตัวว่า คุณสัมผัสกับโรคตับอักเสบ บี ติดต่อหมอของคุณทันที การรักษาเชิงป้องกันอาจลดความเสี่ยงในการติดเชื้อของคุณ หากคุณได้รับการรักษาภายใน 24 ชั่วโมงของการสัมผัสกับไวรัส

รู้จักสาเหตุ

อะไรทำให้เกิดตับอักเสบ บี

สาเหตุมาจากไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตัวนี้สามารถแพร่เข้าสู่คนอื่นได้โดยการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อ และใช้เข็มที่ไม่ได้ฆ่าเชื้อร่วมกัน เลือดและของเหลวในร่างกายของผู้ติดเชื้อ (อย่างเช่น น้ำอสุจิ สารคัดหลั่งจากช่องคลอด น้ำนม น้ำตา น้ำลายและของเหลวจากแผลเปิด) สามารถแพร่เชื้อไวรัสนี้ได้ ผู้ที่ติดเชื้อสามารถแพร่ไวรัสไปสู่เด็กทารกได้ด้วยเช่นกัน

รู้ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงสำหรับโรคตับอักเสบ บี

ตับอักเสบ บี จะแพร่กระจายผ่านการสัมผัสกับเลือด เชื้ออสุจิ หรือของเหลวอื่นๆ จากร่างกายของผู้ติดเชื้อ ความเสี่ยงในการติดเชื้อของคุณจะเพิ่มขึ้น เมื่อคุณ

  • มีเพศสัมพันธ์กับคู่ขาหลายคน หรือกับผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี แบบไม่ป้องกัน
  • ใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน ในระหว่างการฉีดยาเข้าเส้นเลือด
  • เป็นเพศชายที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ชายอีกคน
  • ใช้ชีวิตร่วมกับผู้ที่มีอาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี เรื้อรัง
  • เป็นเด็กทารกที่เกิดจากแม่ที่ติดเชื้อ
  • ทำอาชีพที่ต้องสัมผัสกับเลือดมนุษย์
  • เดินทางไปยังพื้นที่ที่มีอัตราการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บีสูง อย่างเช่น ทวีปแอฟริกา เอเชียกลางและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และยุโรปตะวันออก

การไม่มีปัจจัยเสี่ยงไม่ได้หมายความว่า คุณจะไม่มีโอกาสเป็นโรคนี้ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเหล่านี้มีไว้ใช้เพื่ออ้างอิงเท่านั้น คุณควรปรึกษาหมอของคุณสำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม

ทำความเข้าใจการวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ใดๆ ทุกครั้งควรปรึกษาหมอของคุณเพื่อรับทราบข้อมูลเพื่อเติม

การวินิจฉัยโรคตับอักเสบ บี

หากหมอสงสัยว่าคุณเป็นโรคตับอักเสบ บี หมอจะสั่งให้คุณตรวจเลือด ซึ่งการตรวจเลือดสามารถระบุได้ว่า คุณมีไวรัสในร่างกายหรือไม่ และเป็นไวรัสแบบฉับพลันหรือเรื้อรัง หมอของคุณอาจต้องผ่าตัดเอาตัวอย่างตับ มาตรวจดูว่าตับของคุณมีความเสียหายหรือไม่ โดยในการตรวจนี้ หมอจะใช้เข็มบางๆ แทงผ่านเข้าผิวหนัง เข้าไปในตับของคุณ และเก็บเนื้อเยื่อตัวอย่างสำหรับการวิเคราะห์ทางแล็บ

วิธีรักษาตับอักเสบ บี

หากคุณรู้ตัวว่าคุณสัมผัสกับไวรัสตับอักเสบ บี รีบไปพบของคุณทันที หากคุณยังไม่ได้รับวัคซีน หรือไม่แน่ใจว่าคุณได้รับวัคซีนแล้วหรือยัง หรือไม่ทราบว่าคุณจะตอบสนองต่อวัคซีนหรือไม่ การได้รับการฉีดวัคซีนภูมิคุ้มกันโกลบูริน ตับอักเสบ บี ภายใน 12 ชั่วโมงของการสัมผัสกับไวรัส จะช่วยให้คุณป้องกันจากการเกิดโรคตับอักเสบ บี หากคุณยังไม่ได้รับวัคซีนในตอนนั้น คุณอาจป่วยเป็นตับอักเสบ บี ฉับพลันหรือเรื้อรัง

การรักษาจะขึ้นอยู่กับรูปแบบของโรคตับอักเสบ บี ที่คุณเป็น

โรคติดเชื้อตับอักเสบ บี ชนิดฉับพลัน

หากหมอของคุณระบุว่า คุณเป็นโรคติดเชื้อตับอักเสบ บี ประเภทฉับพลัน ก็หมายความว่า เป็นโรคที่เกิดขึ้นระยะสั้นๆ และจะหายไปเอง คุณอาจไม่จำเป็นต้องรักษา หมออาจสั่งให้คุณพักผ่อนเพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสระยะใกล้ชิด และรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ และดื่มน้ำอย่างเพียงพอ ในขณะที่ร่างกายของคุณต่อสู้กับการติดเชื้อ

นอกจากนี้ ผู้ที่สัมผัสกับคุณควรได้รับภูมิคุ้มกันโกลบูลินพร้อมกับวัคซีนตับอักเสบ บี ภายใน 2 สัปดาห์ของการสัมผัสกับโรค

โรคติดเชื้อตับอักเสบ บี ชนิดเรื้อรัง

หากคุณถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคติดเชื้อตับอักเสบ บี ชนิดเรื้อรัง คุณอาจต้องรับการรักษาเพื่อลดความเสี่ยงของโรคตับ และป้องกันคุณจากการแพร่เชื้อไปยังผู้อื่น การรักษา ได้แก่

  • ยาต้านไวรัส ยาต้านไวรัสหลายชนิด ได้แก่ ยาลามิวูดีน (lamivudine) ยาอะเดโฟเวียร์ (adefovir) ยาเทลบิวูดีน (telbivudine) และ ยาเอนเทคาเวียร์ (entecavir) จะสามารถช่วยสู้กับไวรัส และชะลอการสร้างความเสียหายต่อตับของคุณ คุยกับหมอของคุณว่ายาชนิดไหนที่อาจเหมาะกับคุณ
  • ยาอินเตอร์เฟอรอน อัลฟา-สองบี (Intron A) ยาตัวนี้ จัดเป็นสารสังเคราะห์ประเภทหนึ่ง ผลิตโดยร่างกายเพื่อสู้กับอาการติดเชื้อ ที่นำมาใช้หลักๆ สำหรับวัยรุ่นที่เป็นตับอักเสบ บี ที่ไม่ต้องการเข้ารับการรักษาระยะยาว หรือผู้ที่ต้องการตั้งครรภ์ภายในไม่กี่ปี ซึ่งจะให้โดยการฉีดยา ผลข้างเคียงอาจเกิดขึ้น ได้แก่ โรคซึมเศร้า ปัญหาการหายใจ และแน่นหน้าอก
  • การปลูกถ่ายตับ หากตับของคุณได้รับความเสียหายอย่างรุนแรง การปลูกถ่ายตับอาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ระหว่างการปลูกถ่าย ศัลยแพทย์จะผ่าตัดนำตับที่เสียหายออก และปลูกถ่ายตับใหม่ลงไป ตับที่ทำการปลูกถ่ายส่วนใหญ่ มาจากผู้บริจาคที่เสียชีวิตแล้ว แต่ก็ยังมีชิ้นส่วนของตับจำนวนหนึ่ง ที่ได้รับมาจากการบริจาคของผู้ที่ยังมีชีวิตกอยู่

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองแบบไหนที่ช่วยจัดการกับ ตับอักเสบ บี

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองต่อไปนี้ อาจช่วยคุณจัดการกับตับอักเสบ บี ได้

  • พักผ่อนให้เยอะๆ และรับประทานอาหารที่สมดุล
  • ใช้ถุงยางเมื่อมีเพศสัมพันธ์
  • หลีกเลี่ยงการทำให้ผู้อื่นสัมผัสเลือดและของเหลวในร่างกายของคุณ
  • โทรแจ้งหมอของคุณ หากอาการของคุณไม่หายไปใน 4 หรือ 6 สัปดาห์ หรือมีอาการใหม่เกิดขึ้น
  • สอบถามหมอของคุณเกี่ยวกับวัคซีนสำหรับคนในครอบครัว และคนอื่นที่ใกล้ชิดกับคุณ

หากมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษากับหมอของคุณ เพื่อเข้าใจวิธีแก้ปัญหาที่ชัดเจนยิ่งขึ้นสำหรับตัวคุณเอง

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปราโมทย์ วงศ์คำ · แก้ไขล่าสุด 20/01/2020

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา