backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

วิตกกังวล (Anxiety)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 14/03/2021

วิตกกังวล (Anxiety)

วิตกกังวล เป็นหนึ่งในอารมณ์ที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั่วไป แต่หากคุณมีความกังวลที่รุนแรงมากในทุกๆ วัน และความกังวลนั้นส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของคุณ นั่นอาจหมายความว่าคุณกำลังเป็น โรควิตกกังวล (Anxiety)  ก็เป็นได้

คำจำกัดความ

วิตกกังวล คืออะไร

เป็นเรื่องปกติที่เราอาจจะรู้สึกกังวลได้ในนานๆ ครั้ง ความกังวลนั้นเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตที่ทุกคนจะต้องพบเจอ อย่างไรก็ตาม หากคุณมีความกังวลที่รุนแรงมากในทุกๆ วัน และความกังวลนั้นส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของคุณ คุณอาจจะกำลังเป็นโรควิตกกังวลอยู่ก็เป็นได้

ความวิตกกังวลและตื่นตระหนกเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของคุณ ความรู้สึกเหล่านี้จะยากต่อการควบคุม คุณอาจจะพยายามหลีกเลี่ยงสถานที่หรือสถานการณ์ต่างๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอารมณ์เหล่านี้ขึ้น อาการของโรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ในช่วงสมัยเด็กหรือวัยรุ่น และยังคงมีอยู่ในจนถึงช่วงวัยผู้ใหญ่ ในบางครั้งความวิตกกังวลอาจส่งผลให้เกิดสภาวะที่ต้องรับการรักษา

โรควิตกกังวลมีอยู่หลายประเภทดังต่อไปนี้

  • โรคแพนิค (Panic disorder) หรือโรคตื่นตระหนก เป็นช่วงที่เกิดอาการกลัวกะทันหันและเกิดขึ้นซ้ำๆ พร้อมกับเกิดอาการเหงื่อออก เจ็บหน้าอก และหัวใจเต้นผิดปกติ อาการตื่นตระหนกกำเริบนั้นอาจจะรู้สึกคล้ายกันอาการหัวใจวาย (heart attack)
  • โรคกลัวการเข้าสังคม (Social anxiety disorder) ผู้ที่มีภาวะนี้จะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ทางสังคมต่างๆ ศูนย์กลางของความกังวลคือความกลัวที่จะถูกตัดสิน หรือการอับอายต่อหน้าผู้อื่น
  • ความกลัวเฉพาะอย่างหรือโรคโฟเบีย (Specific phobias) ความกลัวต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากเป็นพิเศษ (เช่น ความสูง) ทำให้คนต้องการที่จะหลีกเลี่ยงต่อสิ่งที่ทำให้เกิดความกลัวนั้นๆ
  • โรควิตกกังวลทั่วไป (Generalized anxiety disorder) คุณอาจจะรู้สึกกังวลและตึงเครียดอย่างมากเกินจริงจากสาเหตุเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีสาเหตุใดๆ

โรคนี้พบได้บ่อยเพียงใด

โรคนี้สามารถพบได้บ่อยมาก คุณสามารถจัดการกับโรคได้โดยลดปัจจัยเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

อาการ

อาการของโรควิตกกังวล

อาการทั่วไปของโรควิตกกังวล ได้แก่

  • รู้สึกประหม่า อ่อนเพลีย หรือเหนื่อย
  • หัวใจเต้นเร็วขึ้น
  • หายใจเร็ว
  • เหงื่อออกและตัวสั่นเทา
  • ควบคุมความกลัวหรือความกังวลได้ยาก
  • นอนไม่หลับ
  • รู้สึกว่ามีอันตรายหรือตื่นตระหนก

อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการบางประการที่ไม่ได้กล่าวถึงข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการ โปรดปรึกษาแพทย์

ควรไปพบหมอเมื่อใด

หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถามใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละคนนั้นจะมีการตอบสนองที่แตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดจึงควรปรึกษาแพทย์ เกี่ยวกับวิธีรักษาที่เหมาะสมที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ

สาเหตุ

สาเหตุของโรควิตกกังวล

สาเหตุของโรควิตกกังวลนั้นยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด โรควิตกกังวลสามารถกระตุ้นได้จากอุบัติเหตุในอดีต ปัญหาสุขภาพ ยาบางชนิด หรือความเครียดที่สะสมมาเป็นเวลานาน

โรควิตกกังวลอาจทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น

  • โรคซึมเศร้า (Depression)
  • การใช้สารเสพติด
  • นอนไม่หลับ
  • อาการปวดตามร่างกาย
  • การแยกตัวจากสังคม
  • การทำร้ายตัวเอง

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของโรควิตกกังวล

ปัจจัยที่อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรควิตกกังวลมีดังต่อไปนี้

  • ประสบการณ์ความเครียดในชีวิต
  • ภาวะสุขภาพที่ร้ายแรง
  • ปัญหาการใช้สารเสพติด

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลที่นำเสนอในที่นี้ ไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ ให้ปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยโรควิตกกังวล

แพทย์ต้องประเมินอาการต่างๆ อย่างระมัดระวังเพื่อทำการวินิจฉัยโรค หากคุณมีความกังวลอย่างต่อเนื่อง หรือมีปัญหาในการควบคุมความกลัว และผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต คุณควรเข้ารับการรักษาโดยเร็วที่สุด

การรักษาโรควิตกกังวล

โรควิตกกังวลสามารถจัดการด้วยยา การบำบัดทางจิต (psychotherapy) และการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (cognitive-behavioral therapy) โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับคุณ

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองที่ช่วยจัดการโรควิตกกังวล

รควิตกกังวลนั้นก็เหมือนกับภาวะสุขภาพอื่นๆ เนื่องจากโรคนี้จะไม่สามารถหายไปได้เอง คุณควรจะทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคของคุณและทำตามแผนการรักษาอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์ไปในทางที่ดีก็เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยในการรักษาโรค อย่าลังเลที่จะขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นหากจำเป็น

หากคุณมีข้อสงสัย โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจได้ดีขึ้นถึงวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

Hello Health Group ม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 14/03/2021

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา