backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ

1

ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

อะนอเร็กเซีย เนอร์โวซ่า (Anorexia Nervosa)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 28/08/2019

อะนอเร็กเซีย เนอร์โวซ่า (Anorexia Nervosa)

อะนอเร็กเซีย เนอร์โวซ่า (Anorexia nervosa) หรือ โรคคลั่งผอม หรือ โรคกลัวอ้วน เป็นโรคที่เกี่ยวกับพฤติกรรมการกินผิดปกติ ผู้ป่วยโรคนี้จะมีน้ำหนักตัวที่ต่ำกว่าเกณฑ์ ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพ

รู้เรื่องเบื้องต้น

โรคอะนอเร็กเซียคืออะไร

โรคอะนอเร็กเซีย เนอร์โวซ่า (Anorexia nervosa) หรือ โรคคลั่งผอม หรือ โรคกลัวอ้วน เป็นโรคที่เกี่ยวกับพฤติกรรมการกินผิดปกติ ผู้ป่วยโรคนี้จะมีน้ำหนักตัวที่ต่ำกว่าเกณฑ์เมื่อเทียบกับอายุและส่วนสูง ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพ ผู้ที่ป่วยด้วยโรคผิดปกติทางอารมณ์นี้มักกลัวอย่างมากว่าน้ำหนักจะขึ้น ทั้งที่ความจริงแล้วน้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำกว่าปกติ รวมทั้งมีความคิดเกี่ยวกับน้ำหนักตัวและรูปร่างที่ผิดไปจากความเป็นจริง ผู้ป่วยโรคนี้จึงอดอาหารหรือออกกำลังกายอย่างหักโหม หรือใช้วิธีการอื่นๆ เช่น การใช้ยาระบาย ล้วงคอเพื่อให้อาเจียน เพื่อลดน้ำหนัก

พบได้บ่อยแค่ไหน

โรคอะนอเร็กเซียพบมากในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โรคนี้มักเริ่มในกลุ่มเด็กก่อนวัยรุ่นเรื่อยไปจนถึงผู้ใหญ่ และเป็นสาเหตุของน้ำหนักที่ต่ำกว่าเกณฑ์ ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตหากไม่ได้รับการรักษา คุณควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับข้อมูลเกี่ยวกับโรคเพิ่มเติม

อาการ

อาการของโรคอะนอร์เร็กเซีย

อาการของโรคอะนอร์เร็กเซียที่พบบ่อย ได้แก่

  • กลัวน้ำหนักขึ้น หรือกลัวอ้วนมากเป็นพิเศษ แม้ว่าน้ำหนักตัวอยู่ต่ำกว่าเกณฑ์
  • ล้วงคอเพื่ออาเจียน
  • ใช้ยาขับปัสสาวะหรือยาระบายเพื่อขับถ่าย
  • กินยาลดความอ้วน
  • กินน้อยหรือไม่กินอะไรเลย
  • ออกกำลังกายมาก แม้ในช่วงอากาศไม่ดี หรือมีอาการบาดเจ็บหรือเหนื่อยล้า
  • คำนวณแคลอรี่ และวัดปริมาณอาหาร

โรคอะนอเร็กเซียส่งผลกระทบทางด้านจิตใจของผู้ป่วย กล่าวคือ ทำให้ผู้ป่วยไม่เป็นตัวเอง มักพูดถึงแต่น้ำหนักและอาหารตลอดเวลา และไม่รับประทานอาหารต่อหน้าผู้อื่น อารมณ์เสียหรือเศร้าง่าย หรือไม่ต้องการเข้าสังคม ผู้ป่วยโรคนี้อาจมีอาการทางจิตหรือโรคทางร่างกายต่างๆ ดังนี้

  • ซึมเศร้า
  • วิตกจริต
  • ปากแห้ง
  • มีปัญหาทางระบบหัวใจและหรือสมอง
  • ทนหนาวไม่ได้

และยังมีอาการอื่นๆ ที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น ทั้งนี้ หากคุณกังวลเกี่ยวกับอาการอื่น ควรปรึกษาแพทย์

ควรปรึกษาแพทย์เมื่อไร

หากคุณมีอาการหรือสัญญาณข้างต้นหรือมีคำถาม ควรปรึกษาแพทย์ โรคคลั่งผอม หรือ อะนอเร็กเซีย เป็นโรคที่อาจทำให้เสียชีวิตได้ เมื่อน้ำหนักของร่างกายอยู่ในระดับที่ต่ำเกินไป ผู้ป่วยโรคนี้มักปฏิเสธการรักษา เนื่องจากคิดว่าไม่ได้เป็นปัญหา วิธีที่ดีที่สุดในการรักษาผู้ป่วยโรคนี้คือ เป็นกำลังใจ และพยายามโน้มน้าวให้ผู้ป่วยเห็นว่าตัวเองมีปัญหา และต้องการการดูแลรักษาทางการแพทย์

สาเหตุ

สาเหตุของโรคอะนอเร็กเซีย

ยังไม่มีต้นเหตุที่แน่ชัดของโรคอะนอเร็กเซีย มีหลายปัจจัยประกอบกัน เช่น อาการซึมเศร้า หรือโรคทางจิตอื่นๆ กรรมพันธุ์ และฮอร์โมน อาจเป็นหนึ่งในสาเหตุของโรค สื่อออนไลน์ต่างๆ ก็อาจเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์ด้านความงาม ที่ต้องเป็นผู้ที่มีรูปร่างผอมเท่านั้น

รู้จักปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงของการเป็นโรค

อะนอเร็กเซีย

โรคอะนอเร็กเซียเกิดได้จากปัจจัยหลายประการ เช่น

  • ประวัติทางครอบครัว หากมีบุคคลในครอบครัวป่วยเป็นโรคผิดปกติเกี่ยวกับการกิน คุณมีความเสี่ยงในการเป็นโรคอะนอร์เร็กเซียได้ด้วยเช่นกัน
  • ไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง ผู้ป่วยโรคอะนอเร็กเซียบางคนอาจไม่ชื่นชมตนเอง ไม่ชอบรูปร่างหรือรู้สึกหมดหวัง ผู้ป่วยมักตั้งเป้าหมายไว้สูงเพื่อทำให้ตัวเองสมบูรณ์แบบ
  • การเปลี่ยนแปลงในชีวิตหรือเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจ

    เหตุการณ์ที่ส่งผลต่อสภาพจิตใจ (เช่น การข่มขืน) รวมถึงสถานการ์ตึงเครียดต่างๆ (เช่น การเริ่มต้นงานใหม่) สามารถนำไปสู่การเป็นโรคอะนอร์เร็กเซียได้

  • อิทธิพลจากสื่อ ภาพจากโทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต หรือสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆที่นำเสนอรูปร่างที่ผอมบาง และให้คุณค่ากับรูปร่างแบบนี้ว่าสวยงามและจะประสบความสำเร็จ เป็นอีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยงที่นำไปสู่การเกิดโรคได้

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลนี้ไม่มีเจตนาให้ใช้แทนการปรึกษาทางการแพทย์ ควรปรึกษาหมอเพื่อรับคำปรึกษาเพิ่มเติม

การวินิจฉัยโรคอะนอเร็กเซีย

แพทย์จะทำการวินิจฉัยจากประวัติทางการแพทย์ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำหนักและอาหาร) การทดสอบทางร่างกาย หรือจากผลแล็บป้องกันภาวะอื่น ยังไม่มีการตรวจวินิจฉัยที่แน่ชัดสำหรับโรคนี้ น้ำหนักที่ลดลงอย่างมากโดยที่ไม่มีปัญหาสุขภาพ โดยเฉพาะในผู้หญิง ถือเป็นสัญญาณสำคัญของโรคนี้ แพทย์อาจซักถามดังต่อไปนี้

  • คุณกังวลเกี่ยวกับน้ำหนักของตัวเองมานานแค่ไหนแล้ว
  • คุณออกกำลังอย่างสม่ำเสมอหรือไม่
  • คุณมีวิธีการลดน้ำหนักวิธีใดบ้าง
  • คุณเคยอาเจียนเมื่อรู้สึกอิ่มเกินไปหรือไม่
  • เคยมีคนบอกคุณว่าผอมเกินไปหรือไม่
  • คุณนึกถึงอาการบ่อยแค่ไหน
  • คุณเคยซ่อนอาหารเพื่อเก็บไว้ทานที่หลังหรือไม่
  • มีสมาชิกในครอบครัวที่มีพฤติกรรมการกินที่ผิดปกติหรือไม่
  • หากสงสัยว่าเป็นโรคอะนอเร็กเซีย แพทย์อาจทำการทดสอบเพิ่มเติม การวินิจฉัยอาจประกอบด้วย

    • การตรวจอัลบูมิน (Albumin)
    • การตรจมวลกระดูกเพื่อตรวจหาภาวะกระดูกบาง (osteoporosis)
    • การเจาะเลือด (CB)
    • การทดสอบสัญญาณไฟฟ้าของหัวใจ (ECG or EKG);
    • ตรวจอิเล็กโทรไลต์ (Electrolytes)
    • การตรวจการทำงานของไต (Kidney function tests)
    • การตรวจการทำงานของตับ (Liver function tests)
    • การตรวจระดับโปรตีน
    • การตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ (Thyroid function tests)
    • การตรวจปัสสาวะ (Urianlysis)

    การรักษาโรคอะนอเร็กเซีย

    ความท้าทายที่ใหญ่สุดในการรักษาโรคอะนอเร็กเซีย คือการช่วยผู้ป่วยรู้ตัวว่าตนเองมีอาการป่วย ผู้ป่วยหลายคนปฏิเสธว่าตนเองมีพฤติกรรมการกินที่ผิดปกติ และเข้ารับการรักษาเมื่อถึงขั้นรุนแรงแล้ว การรักษาโรคนี้ประกอบไปด้วย

    • การบำบัดด้วยการพูดคุยใช้สำหรับผู้ป่วยอายุน้อยหรือผู้ป่วยที่มีอาการของโรคเพียงระยะสั้นเพื่อส่งเสริมให้พวกเขากลับมามีพฤติกรรมการรับประทานอาหารอย่างถูกสุขลักษณะ
    • ความคิดและพฤติกรรมบำบัด (การบำบัดด้วยการพูดคุยแบบหนึ่ง)
    • การบำบัดกลุ่ม
    • ครอบครัวบำบัด
    • การรักษาด้วยยา เช่น ยารักษาอาการซึมเศร้า ยาระงับอาการทางจิต ยาควบคุมอารมณ์ อาจถูกใช้เพื่อช่วยผู้ป่วยในการรักษาอย่างสมบูรณ์ยาเหล่านี้ช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้าและความวิตกกังวลแต่ยังไม่ได้รับการรับรองว่าสามารลดความอยากลดน้ำหนักได้

    การเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง

    การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือการเยียวยาเพื่อจัดการกับโรคอะนอเร็กเซียด้วยตนเอง

    พฤติกรรมการใช้ชีวิตและการรักษาด้วยตนเองต่อไปนี้อาจช่วยจัดการกับ

    โรคอะนอเร็กเซีย

    • คลายเครียด
    • ยอมรับว่าเป็นโรคอะนอเร็กเซีย
    • ทานอาหารตามที่แพทย์หรือนักโภชนาการแนะนำ
    • เข้าร่วมกลุ่มให้คำปรึกษา
    • ทานยาตามที่แพทย์สั่ง
    • ซื้อเสื้อผ้าที่เหมาะกับสัดส่วนของร่างกาย ไม่ใช่เสื้อผ้าที่เล็กกว่าสัดส่วนจริงเพื่อลดน้ำหนักให้ใส่ได้

    หากคุณมีคำถาม ควรปรึกษาแพทย์เพื่อเข้าใจและได้รับการรักษาที่เหมาะสม

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 28/08/2019

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา