backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

โรคเลือด อาการ สาเหตุ การรักษา


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 29/09/2021

โรคเลือด อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคเลือด คือ ความผิดปกติของเซลล์เม็ดเลือดแดง เซลล์เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย หายใจลำบาก ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ นอกจากนี้ยังเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง

คำจำกัดความ

โรคเลือด คืออะไร

เลือด เป็นประกอบด้วยส่วนที่เป็นของเหลวซึ่งเรียกว่า พลาสมา และของแข็งซึ่งประกอบด้วยเซลล์เม็ดเลือดแดง เซลล์เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด เมื่อเลือดเกิดความผิดปกติอาจส่งผลต่อองค์ประกอบของเลือด ดังนี้ 

  • เซลล์เม็ดเลือดแดง ออกซิเจนไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย หายใจลำบาก 
  • เซลล์เม็ดเลือดขาว ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ส่งผลให้ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย
  • เกล็ดเลือด หากเกล็ดเลือดต่ำอาจส่งผลให้ผู้ป่วยเสียเลือดมากแม้ได้รับอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อย หรือหากเกล็ดเลือดสูงอาจส่งผลให้เลือดก่อตัวเป็นลิ่มเลือดจนเกิดอาการอุดตัน ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองหรือหัวใจวาย 

อาการ

อาการของโรคเลือด

ความผิดปกติของเลือดที่ส่งผลต่อเซลล์เม็ดเลือดแดง 

  • เหนื่อยล้า 
  • อ่อนเพลีย 
  • หายใจหอบ 
  • ภาวะโลหิตจาง
  •  ธาลัสซีเมีย 
  • โรคเลือดข้น 
  • ความผิดปกติของเลือดที่ส่งผลต่อเซลล์เม็ดเลือดขาว 

  • เสี่ยงต่อการติดเชื้อต่าง ๆ ได้ง่ายเนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ 
  • มะเร็งเม็ดเลือดขาว 
  • มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
  • โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • อาการวิงเวียนศีรษะ
  • หายใจถี่
  • หัวใจเต้นเร็ว
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • ความผิดปกติของเลือดที่ส่งผลต่อเกล็ดเลือด 

    • เสียเลือดได้ง่ายถึงแม้ว่าจะมีอาการบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย 
    • ผิวช้ำกระจายใต้ผิวหนัง 
    • เลือดออกบริเวณจมูก เหงือก ระบบทางเดินอาหาร ระบบปัสสาวะ โดยไม่ทราบสาเหตุ

    สาเหตุ

    สาเหตุที่อาจทำให้เกิดโรคเลือด

    สาเหตุที่อาจทำให้เกิดโรคเลือด มีดังต่อไปนี้

    • กรรมพันธุ์

    โรคเลือดสามารถถ่ายทอดได้ในครอบครัว หมายความว่าหากพ่อแม่หรือพี่น้องของเป็นโรคเลือด อาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคเลือดได้

  • การติดเชื้อ
  • การติดเชื้อบางชนิดสามารถลดจำนวนของเซลล์เม็ดเลือดขาวในเลือดได้ การติดเชื้ออื่น ๆ ยังอาจเพิ่มการสร้างเซลล์เม็ดเลือดขาวได้อีกด้วย

    • การขาดสารอาหาร

    ความผิดปกติเกี่ยวกับการดูดซึมธาตุเหล็ก สามารถทำให้เกิดโรคเลือดได้ เนื่องจากร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์เซลล์เม็ดเลือดแดงได้อย่างเพียงพอ

    ปัจจัยเสี่ยง

    ปัจจัยเสี่ยงของโรคเลือด

    ปัจจัยเสี่ยงของโรคเลือด มีดังต่อไปนี้

    • รับประทานอาหารที่มีปริมาณไขมันสูง
    • โรคอ้วน
    • การสูบบุหรี่
    • ลำไส้ผิดปกติ โรคเรื้อรัง
    • ประจำเดือนหรือการตั้งครรภ์
    • อายุที่มากขึ้น
    • มีการออกกำลังกายที่ใช้แรงมาก
    • ขาดการออกกำลังกาย

    การวินิจฉัยโรค

    การวินิจฉัยและการรักษา

    ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ควรปรึกษาคุณหมอทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

    การวินิจฉัยโรคเลือด

    เพื่อตรวจหาความผิดปกติเกี่ยวกับเลือด คุณหมออาจทำการทดสอบ ดังต่อไปนี้

    • การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด เป็นการทดสอบที่พบได้บ่อยที่สุด สำหรับการตรวจหาความผิดปกติของเลือด เพื่อประเมินส่วนประกอบเกี่ยวกับเซลล์เลือดทั้งหมด 
    • อัตราการสร้างเม็ดเลือดแดง เป็นการวัดจำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดงที่สร้างขึ้นใหม่ ในปริมาณเลือดเฉพาะ เพื่อวัดประสิทธิภาพของไขกระดูกในการสังเคราะห์เซลล์เม็ดเลือดแดงที่สร้างขึ้นใหม่
    • การทดสอบเซลล์เม็ดเลือดพิเศษ คุณหมออาจวัดสัดส่วนของเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดที่แตกต่างกัน และความสามารถของเซลล์เม็ดเลือดขาว ในการต้านการติดเชื้อ
    • การทดสอบการแข็งตัวของเลือด คุณหมออาจทดสอบประสิทธิภาพการแข็งตัวของเลือด รวมถึงประเมินความผิดปกติในระบบการแข็งตัวของเลือด
    • การวัดค่าโปรตีนและสารต่าง ๆ คุณหมออาจใช้ตัวอย่างปัสสาวะ ซึ่งเป็นส่วนประกอบของโปรตีนในการทดสอบหาความผิดปกติโครงสร้างของโปรตีน

    การรักษาโรคเลือด

    หากผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรงคุณหมออาจแนะนำใหใช้ยาเพื่อกระตุ้นให้ไขกระดูกผลิตเกล็ดเลือด เช่น ยาโรมิโพลสติม รวมถึงการรับประทานอาหารเสริมเพื่อบำรุงเซลล์เม็ดเลือดแดงอย่าง ธาตุเหล็ก วิตามินบี 9 วิตามินบี 12 เป็นต้น 

    สำหรับผู้ป่วยโรคเลือดที่ใช้การรักษาด้วยยาไม่ได้ผล แพทย์อาจทำการผ่าตัดปลูกถ่ายไขกระดูกเพื่อทดแทนเซลล์เม็ดเลือดแดงในร่างกาย 

    การปรับไลฟ์สไตล์และการดูแลตนเอง

    การปรับไลฟ์สไตล์และดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคเลือด

    รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อลดความเสี่ยงของโรคเลือด แต่ในกรณีที่พ่อแม่เคยมีประวัติเป็นโรคเลือด อาจต้องปรึกษาคุณหมอเพื่อรับคำแนะนำเกี่ยวกับความเสี่ยงในการเป็นโรคเลือด 

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด


    เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 29/09/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา