backup og meta

สารเคมีเข้าตา อุบัติเหตุอันตราย ที่ต้องรีบปฐมพยาบาลทันที

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง · แก้ไขล่าสุด 08/12/2020

    สารเคมีเข้าตา อุบัติเหตุอันตราย ที่ต้องรีบปฐมพยาบาลทันที

    ดวงตา” เป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดส่วนหนึ่งในร่างกาย หากดวงตาบาดเจ็บ เสียหาย หรือถึงขั้นพิการ ก็อาจทำให้เราใช้ชีวิตยากลำบากขึ้นได้ อุบัติเหตุเกี่ยวกับดวงตาอย่างหนึ่งที่คุณควรระวังก็คือ สารเคมีเข้าตา เพราะในปัจจุบันมีการใช้สารเคมีในชีวิตประจำวันกันอย่างแพร่หลาย เช่น น้ำยาทำความสะอาด สเปรย์กำจัดแมลง สารเคมีเข้าตาถือเป็นอุบัติเหตุอันตราย ที่ควรได้รับการปฐมพยาบาล และรักษาอย่างทันท่วงที เพราะหากปล่อยไว้อาจส่งผลเสียร้ายแรงต่อดวงตาและอวัยวะใกล้เคียงได้ แล้ววิธีปฐมพยาบาลเมื่อสารเคมีเข้าตาจะมีอะไรบ้าง เราไปหาคำตอบจากบทความนี้กันได้เลย

    อันตรายที่เกิดขึ้น เมื่อ สารเคมีเข้าตา

    โดยปกติแล้ว เวลามีสิ่งแปลกปลอมมาสัมผัสบริเวณดวงตา ร่างกายของเราจะตอบสนองด้วยการทำให้เปลือกตาปิดลงอย่างรวดเร็ว เพื่อป้องกันไม่ให้สิ่งแปลกปลอมเข้าตาหรือทำร้ายดวงตาของเราได้ แต่ส่วนใหญ่แล้ว สารเคมีบางส่วนก็มักจะแทรกซึมและสัมผัสกับผิวหน้าสุดของดวงตา จนทำให้ตาของเราระคายเคือง เกิดแผลไหม้จากสารเคมี (Chemical Burn) หรือเกิดปัญหาร้ายแรงกว่านั้นได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของสารเคมี ระดับความเข้มข้นของสารเคมี และระยะเวลาที่สารเคมีสัมผัสกับดวงตา เป็นต้น

    สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อดวงตาของเราได้ เช่น

    กรด

    ผลิตภัณฑ์ที่มีกรดเป็นส่วนประกอบ เช่น น้ำยาทำความสะอาดห้องน้ำ แบตเตอรี่ชนิดตะกั่ว-กรด สารฟอกผ้าขาว ซึ่งกรดในผลิตภัณฑ์เหล่านี้สามารถทำให้เกิดแผลไหม้จากสารเคมี หรือปัญหาสุขภาพตาที่รุนแรงกว่านั้นได้ แต่ส่วนใหญ่แล้ว ความเสียหายที่เกิดขึ้นมักจะเกิดในบริเวณที่สัมผัสกับกรดโดยตรง อย่างผิวชั้นนอกเท่านั้น ไม่ลงลึกไปถึงเนื้อเยื่อที่อยู่ลึกลงไป

    ด่าง

    ผลิตภัณฑ์ที่มีด่างเป็นส่วนประกอบ เช่น ปุ๋ย น้ำยาล้างจาน ประกายไฟจากดอกไม้ไฟ หากเข้าตาสามารถทำให้ดวงตาเสียหายรุนแรงได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งสารเคมีจำพวกกรดยังสามารถแทรกซึมและทำลายเนื้อเยื่อดวงตาและบริเวณโดยรอบที่อยู่ในชั้นลึกลงไปได้ด้วย ปัญหาสุขภาพตาที่เกิดจากสารเคมีจำพวกด่างเข้าตา เช่น กระจกตาเป็นแผล ตาติดเชื้อ ตาบอด

    ปัญหาสุขภาพตาที่พบบ่อยเมื่อสารเคมีเข้าตา ได้แก่ การเกิดแผลไหม้จากสารเคมี ซึ่งมักทำให้มีอาการดังต่อไปนี้

    วิธีปฐมพยาบาลเมื่อ สารเคมีเข้าตา

    หากสารเคมีเข้าตา แนะนำให้คุณรีบปฐมพยาบาลด้วยวิธีดังต่อไปนี้

  • รีบหาผลิตภัณฑ์บรรจุสารเคมีที่เข้าตาให้เจอ เพราะโดยทั่วไปแล้ว ที่ผลิตภัณฑ์จะมีวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อผลิตภัณฑ์ดังกล่าวสัมผัสกับดวงตาระบุไว้อยู่แล้ว แต่หากคุณหาบรรจุภัณฑ์ไม่เจอ หรือไม่มีวิธีปฐมพยาบาลระบุไว้ข้างกล่อง ให้ทำตามวิธีดังต่อไปนี้
    • รีบล้างสารเคมีออกจากดวงตาด้วยน้ำสะอาด หรือน้ำเกลือ วิธีการคือ เทน้ำสะอาดหรือน้ำเกลือลงในถ้วยหรือเหยือกเล็ก ๆ จากนั้นค่อย ๆ เทให้น้ำไหลผ่านดวงตา เป็นเวลา 10-20 นาที หากคุณใส่คอนแทคเลนส์ เมื่อล้างสารเคมีออกจากดวงตาแล้ว อย่าลืมถอดคอนแทคเลนส์ออกด้วย
    • หลังล้างสารเคมีออกจากตาแล้ว ให้ปิดตาข้างนั้นด้วยสำลีปลอดเชื้อ ผ้าก๊อซ หรือแผ่นปิดตา จากนั้นรีบเข้ารับการรักษาที่สถานพยาบาลโดยเร็วที่สุด และอย่าลืมพกบรรจุภัณฑ์ของสารเคมีที่เข้าตาคุณไปให้แพทย์ดูด้วย สุดท้ายแนะนำว่า อย่าขับรถเอง ควรให้เพื่อน หรือคนในครอบครัวขับรถให้จะดีที่สุด
  • ข้อควรระวังในการปฐมพยาบาลเมื่อสารเคมีเข้าตา

    • อย่าถู หรือขยี้ตาเด็ดขาด เพราะอาจทำให้ดวงตาเสียหายรุนแรงขึ้นได้
    • ห้ามใช้ของเหลวอื่น ๆ ล้างทำความสะอาดสารเคมีออกจากดวงตาเด็ดขาด ต้องใช้แค่น้ำสะอาด หรือน้ำเกลือเท่านั้น และห้ามใช้ยาหยอดตาใด ๆ ด้วย เว้นแต่แพทย์จะสั่งให้ทำเช่นนั้น

    วิธีป้องกัน สารเคมีเข้าตา

    เคล็ดลับเหล่านี้ สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพตาจากอุบัติเหตุสารเคมีเข้าตาได้

    • หากต้องทำงานหรือใช้สารเคมี หรือผลิตภัณฑ์ที่มีสารเคมีเป็นส่วนประกอบ โดยเฉพาะสารเคมีอันตราย ควรสวมแว่นตานิรภัยทุกครั้ง
    • เก็บสารเคมี และผลิตภัณฑ์เคมีต่าง ๆ ให้พ้นจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
    • ใช้สารเคมีและผลิตภัณฑ์เคมีตามคำแนะนำที่บรรจุภัณฑ์อย่างเคร่งครัด

    หากคุณเข้ารับการรักษาพยาบาลแล้ว แต่อาการไม่ดีขึ้น หรือแย่ลง ควรรีบเข้ารับคำปรึกษา หรือตรวจวินิจฉัยอาการกับแพทย์โดยด่วน เพราะหากปล่อยไว้ อาจทำให้ดวงตาเสียหายร้ายแรงได้ เช่น ทำให้ตาบอด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง · แก้ไขล่าสุด 08/12/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา