backup og meta

เคล็ดลับดี ๆ ที่จะช่วยให้คุณ หยุดกินมากเกินไป

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 14/12/2020

    เคล็ดลับดี ๆ ที่จะช่วยให้คุณ หยุดกินมากเกินไป

    การรับประทานอาหาร ถือเป็นอีกเรื่องสำคัญที่จะต้องมีการดูแลตนเองอย่างดี ไม่เพียงแต่เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายแล้ว ยังจำเป็นต้องเลือกรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะ พอดี ไม่มากหรือน้อยเกินไป หากรับประทานอาหารมากเกินไป นอกจากจากจะทำให้อ้วนขึ้นแล้ว ยังเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ วันนี้ Hello คุณหมอ มีเคล็ดลับสำหรับผู้ที่รับประทานอาหารมากเกินไปมาฝากค่ะ ว่าทำอย่างไรจึงจะ หยุดกินมากเกินไป ให้ได้ผล

    เคล็ดลับวิธี หยุดกินมากเกินไป ด้วยวิธีเหล่านี้

    สำหรับผู้ที่มีปัญหาในการควบคุมอาหารหรือรับประทานอาหารมากเกินไป ไม่ว่าจะทำอย่างไรก็ยังคงรับประทานอาหารในปริมาณมากไม่เปลี่ยน เคล็ดลับเหล่านี้อาจช่วยควบคุมความอยากอาหาร และช่วยลดความเสี่ยงในการกินอาหารมากเกินไปได้

    มีสมาธิกับการรับประทานอาหาร

    โดยปกติแล้วคนส่วนใหญ่มักจะทำกิจกรรมระหว่างรับประทานอาหาร ไม่ว่าจะเป็นดูทีวี เล่นมือถือ หรือเล่นเกมคอมพิวเตอร์ ซึ่งจากการทบทวนการศึกษาจำนวน 24 ชิ้น ในปีพ.ศ. 2556 พบว่าผู้ที่ไม่มีสมาธิระหว่างการบริโภคจะทำให้บริโภคอาหารเพิ่มขึ้น ดังนั้นการจำกัดสิ่งที่รบกวนในระหว่างการรับประทานอาหาร จะช่วยให้ร่างกายจดจ่อ มีสมาธิกับการรับประทานมากขึ้น และช่วยลดการรับประทานอาหารมากเกินไปได้

    รับประทานอาหารอย่างช้า ๆ

    การรับประทานอาหารอย่างช้า ๆ ช่วยให้สมองมีเวลาในการคิดและตัดสินใจมากขึ้น ทำให้มีเวลารับรู้ได้ว่าท้องอิ่มแล้วหรือยัง หากอิ่มจะส่งสัญญาณไปยังสมองและช่วยให้หยุดกินได้ จากการศึกษาในปีพ.ศ. 2558 พบว่าผู้ใหญ่ที่กินซุปมะเขือเทศอย่างช้า ๆ 400 มิลลิลิตร รู้สึกอิ่มหลัง กว่าคนที่กินอย่างรวดเร็ว

    หลีกเลี่ยงอาหารที่กระตุ้นให้รับประทานเยอะ

    มีอาหารบางชนิดที่สามารถกระตุ้น การกินมากเกินไป ได้ การหลีกเลี่ยงอาหารเปล่านี้มีส่วนช่วยลดโอกาสในการกินมากเกินไปได้ ดังนั้นเราควรรู้ว่าอาหารชนิดใด้ที่สามารถกระตุ้นให้เรารับประทานเยอะ ได้ เช่น หากไอศกรีมมีแนวโน้มที่จะกระตุ้นให้เกิดการรับมากขึ้น ก็ไม่ควรแช่ไอศกรีมไว้ในตู้เย็นมาก ๆ เพราะจะช่วยเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงและรับประทานได้ง่ายขึ้น การเก็บขนมขบเคี้ยวหรือของหวานไว้ในตู้เย็นมากไม่ดี ดังนั้นควรเลือกเก็บอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น ผลไม้ เพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพ

    ลดความเครียด

    ความเครียด เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คุณกินมากเกินไป ความเครียดเรื้อรัง ทำให้ระดับคอร์ติซอล (Cortisol) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยเพิ่มความอยากอาหาร จากการศึกษพบว่าความเครียดทำให้รับประทานอาหารมากเกินไปได้จนทำให้น้ำหนักขึ้นได้ การลดความเครียดจึงเป็นอีกวิธีง่าย ๆ ที่ช่วยลดการรับประทานอาหารมากเกินไปได้ ซึ่งมีวิธีง่าย ๆ หลายอย่างที่ช่วยลดระดับความเครียด เช่น ฟังเพลง ออกกำลังกาย เล่นโยคะ หรือการวาดรูป

    รับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์

    การรับประทานไฟเบอร์มากขึ้นช่วยให้รู้สึกอิ่มได้นานขึ้น ซึ่งมีส่วนช่วยป้องกันการรับประทานอาหารมากเกินไปได้ จากการศึกษาในปีพ.ศ. 2558 พบว่า เข้าร่วมที่กินข้าวโอ๊ต ซึ่งเป็นอาหารมีมีปริมาณไฟเบอร์สูง เป็นอาหารเช้ารู้สึกอิ่มนานขึ้นและกินอาหารกลางวันน้อยกว่าผู้ที่ทานคอร์นเฟลกหรือเพิ่งทานน้ำเปล่า

    จำกัดปริมาณแอลกอฮอล์

    การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป มีส่วนช่วยเพิ่มความอยากอาหารและมีความสัมพันธ์กับโรคอ้วน เพื่อหลีกเลี่ยง การกินมากเกินไป โดยไม่ได้ตั้งใจควรลดหรือจำกัด ปริมาณแอลกอฮอล์เพื่อลดการรับประทานมากเกินไป

    ดื่มน้ำให้เพียงพอ

    การดื่มน้ำให้เพียงพอ เป็นเรื่องที่มีสำคัญนอกจากจะดีต่อสุขภาพแล้ว ยังช่วยป้องกัน การกินมากเกินไป ได้อีกด้วย จากการศึกษาในปีพ.ศ. 2559 พบว่ามีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญระหว่างการขาดน้ำและการมีค่าดัชนีมวลกายสูงหรือโรคอ้วน

    การกินมากเกินไป แบบใด ควรไปพบคุณหมอ

    โรคการกินผิดปกติ (Binge eating disorder หรือ BED) เป็นโรคที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร ที่อาจทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพที่ร้ายแรงได้ เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคหัวใจ ผู้ที่เป็นโรคการกินผิดปกติมักจะไม่สามารถควบคุมการรับประทานของตนเองได้ และมักจะรับประทานอาหารมากเกินไปอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้งเป็นเวลาอย่างน้อย 3 เดือน เนื่องจากโรคการกินผิดปกติมักจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการ ดังต่อไปนี้

    • กินเร็วกว่าปกติ
    • กินเมื่อไม่หิว
    • กินจนรู้สึกอึดอัด
    • รู้สึกเบื่อหน่ายหรือหดหู่หลังจากรับประทานอาหาร
    • มีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน

    สำหรับผู้ที่มีอาการข้างต้นควรปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยว่ามีอาการของโรคการกินผิดปกติจริงหรือไม่ 

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 14/12/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา