backup og meta

ภาวะขาดออกซิเจน ในโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

ภาวะขาดออกซิเจน ในโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

ภาวะขาดออกซิเจน มักจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เนื่องจากโรคนี้จะทำที่ทำให้หายใจลำบาก โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังประกอบด้วยอาการของหลอดลมอักเสบ และถุงลมโป่งพองเรื้อรัง โดยอาการทั้งสองประการนี้จะจำกัดการไหลเวียนของอากาศ และทำให้ปอดไม่สามารถรับออกซิเจนได้เพียงพอ โดยสามารถทำให้คุณมีความเสี่ยงในการเกิด ภาวะขาดออกซิเจนที่เป็นการให้ออกซิเจนไม่เพียงพอกับเซลล์และเนื้อเยื่อของร่างกาย อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงโดยในบางครั้งอาจที่จะคุกคามต่อชีวิตได้

อาการของ ภาวะขาดออกซิเจน

คลีฟแลนด์คลินิกได้กำหนดถึงภาวะขาดออกซิเจนว่าเป็น “อาการได้รับออกซิเจนที่ไม่เพียงพอต่อเนื้อเยื่อ โดยถึงแม้ว่าการไหลเวียนของโลหิตจะเพียงพอก็ตาม’ ออกซิเจนมีบทบาทสำคัญในการบำรุงรักษาร่างกาย แต่วิธีเดียวที่จะได้รับคือการได้รับผ่านปอด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังนั้นทำให้เกิดการกีดขวางหรือจำกัดการไหลของออกซิเจนเข้าสู่ร่างกาย

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังอาจเป็นผลจากการอักเสบและบวมของทางเดินหายใจในหลอดลมอักเสบที่เรื้อรัง นอกจากนี้ยังคงเกี่ยวข้องกับการทำลายเนื้อเยื่อในปอด (alveoli)  ในถุงลมที่โป่งพอง

อาการและอาการของภาวะขาดออกซิเจนอาจรวมถึง

  • อาการหายใจถี่ขณะพักผ่อน
  • อาการหายใจไม่ออกขณะตื่น
  • อาการหายใจถี่อย่างรุนแรงหลังจากการออกกำลังกาย
  • รู้สึกอึดอัด
  • หายใจเสียงดัง
  • ไอที่บ่อยครั้ง
  • ผิวมีสีน้ำเงินอมม่วง

ภาวะการขาดออกซิเจนนี้ยังสามารถนำไปสู่ภาวะอื่นที่เกี่ยวข้องกันอย่าง ภาวะการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน โดยภาวะนี้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อภายในปอดนั้นเก็บคาร์บอนไดออกไซด์มากเกินไป โดยอาจจะเนื่องจากการหายใจลำบาก เมื่อคุณไม่สามารถหายใจได้ออกตามปกติหรือคุณอาจไม่สามารถหายใจออกได้ตามเท่าที่ควร โดยอาการนี้อาจเพิ่มระดับคาร์บอนไดออกไซด์ของคุณที่เป็นอาการที่ร้ายแรงได้ หากคุณมีปัญหาในการหายใจและภาวะการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน คุณจะต้องหายใจให้ออกมากขึ้นกว่าปกติ

ภาวะแทรกซ้อนของภาวะขาดออกซิเจน

แม้ว่าการขาดออกซิเจนในปอดอุดกั้นเรื้อรังทำให้หายใจลำบาก แต่ในอาการนี้ก็มีผลต่ออวัยวะอื่นๆมากกว่าปอด เมื่อคุณหายใจเข้าออกซิเจนไม่เพียงพอเลือดของคุณจะขาดส่วนประกอบที่สำคัญ ออกซิเจนมีความสำคัญต่อการทำหน้าที่พื้นฐานของร่างกาย ตัวอย่างเช่นการขาดออกซิเจนสามารถส่งผลร้ายต่อหัวใจและสมองของคุณได้

การขาดออกซิเจนในปอดอุดกั้นเรื้อรังอาจทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่าภาวะขาดออกซิเจนในสมอง (cerebral hypoxia) การขาดออกซิเจนชนิดนี้เกิดขึ้นเมื่อสมองขาดออกซิเจนแม้ว่าจะมีเลือดเพียงพอต่อร่างกาย ตามที่สถาบันแห่งชาติทางด้านความผิดปกติทางระบบประสาทและโรคหลอดเลือดสมองกล่าวว่า หากคุณพบภาวะขาดออกซิเจนในสมองเซลล์สมองของคุณสามารถเสียชีวิตได้ภายในห้านาที

การขาดออกซิเจนในโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังยังอาจนำไปสู่

  • ภาวะซึมเศร้าและความผิดปกติทางอารมณ์อื่น ๆ
  • ความดันโลหิตสูง
  • ความดันในปอดสูง
  • อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น
  • หัวใจล้มเหลว
  • ระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันล้มเหลว
  • ภาวะเลือดข้น (จำนวนเม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้นผิดปกติ)
  • การรักษาด้วยออกซิเจนและการรักษาภาวะขาดออกซิเจน

การรักษา ภาวะขาดออกซิเจน

วิธีการทั่วไปในการให้ออกซิเจนเสริมคือการบำบัดด้วยออกซิเจน (Oxygen Therapy) การบำบัดด้วยออกซิเจนเรียกว่าออกซิเจนเสริม หรือการกำหนดปริมาณของออกซิเจน ประกอบด้วยการใช้อุปกรณ์ทางกลที่ให้ออกซิเจนแก่ปอดของคุณ ออกซิเจนเสริมสามารถลดการหายใจถี่เพิ่มปริมาณออกซิเจนในเลือดของคุณและลดปริมาณงานที่หัวใจของคุณต้องทำ นอกจากนี้ยังสามารถลดภาวะที่ระบบการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน ก่อนที่จะสั่งให้ออกซิเจนแพทย์ของคุณจะทำการทดสอบเพื่อวัดระดับออกซิเจนในเลือดของคุณ

การบำบัดด้วยออกซิเจนส่วนใหญ่จะใช้ออกซิเจนที่ถูกบีบอัดภายในโดยในประเภทนี้มาเป็นก๊าซในถังสำหรับจัดเก็บ เมตรจะช่วยตรวจสอบปริมาณออกซิเจนที่คุณหายใจเข้าออกซิเจนเคลื่อนผ่านท่อจากอุปกรณ์และเข้าสู่ร่างกายของคุณผ่านทางท่อจมูกหน้ากากหรือท่อแทรกเข้าไปในหลอดลม

การบำบัดด้วยออกซิเจนยังมีอยู่ในรูปแบบหัวฉีด โดยหัวฉีดออกซิเจนจะใช้อากาศจากสิ่งแวดล้อมโดยกรองก๊าซอื่นๆ และจัดเก็บอากาศออกซิเจนไว้ใช้ แตกต่างจากที่อัดออกซิเจนคุณไม่จำเป็นต้องใช้ภาชนะบรรจุที่เติมออกซิเจนล่วงหน้า คอนเดนเซอร์มีประโยชน์สำหรับผู้ที่ต้องการการบำบัดด้วยออกซิเจนอยู่ตลอดเวลา อย่างไรก็ตามรูปแบบหัวฉีดต้องใช้ไฟฟ้าในการทำงานดังนั้นจึงอาจไม่สามารถใช้งานได้อย่างหลากหลายเช่น การบีบอัดออกซิเจน

อีกทางเลือกหนึ่งคือออกซิเจนเหลว ออกซิเจนเหลวกลายเป็นแก๊สเมื่อออกจากภาชนะบรรจุ แม้ว่าระบบของเหลวออกซิเจนอาจใช้พื้นที่น้อยกว่าการบีบอัดออกซิเจน แต่โดยทั่วไปมีราคาแพงมากขึ้นตามที่ สถาบันหัวใจ ปอดและเลือดแห่งชาติ นอกจากนี้ยังสามารถระเหยได้อีกด้วย ดังนั้นการจัดหาอาจไม่นานเท่ารูปแบบอื่นๆ

นอกจากการรักษาด้วยออกซิเจนแล้วในการรักษาภาวะขาดออกซิเจนคุณอาจต้องใช้

  • ยาความดันโลหิต
  • ยารักษาโรคหัวใจ
  • ยาพ่น
  • ยาขยายหลอดลมเพื่อขยายทางเดินหายใจ
  • สเตียรอยด์สำหรับการอักเสบทางเดินลมหายใจ

นอกเหนือจากการรักษาพยาบาลแล้วสิ่งสำคัญคือควรหลีกเลี่ยงจากสาเหตุที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ได้แก่ 

  • สูบบุหรี่
  • ควันบุหรี่หรือบุหรี่มือสอง
  • มลพิษทางอากาศ
  • สารเคมีหรือฝุ่นละอองในอากาศ

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังไม่สามารถหายขาดได้จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องรักษาสภาพอย่างเหมาะสมเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน ภาวะแทรกซ้อนทางเดินหายใจเป็นภาวะแทรกซ้อนที่เป็นไปได้คือสาเหตุที่ทำให้เสียชีวิตจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้มากที่สุด

การรักษาออกซิเจนต่ำจะช่วยให้คุณหายใจได้ง่ายขึ้นและช่วยให้คุณสามารถทำงานประจำวันได้ การบำบัดด้วยออกซิเจนอาจช่วยให้คุณนอนหลับได้ดีขึ้นในเวลากลางคืน ถ้าคุณเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือรัการกษาโรคแต่อย่างใด 

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

NINDS cerebral hypoxia information page. http://www.ninds.nih.gov/disorders/anoxia/anoxia.htm Accessed August 19, 2015.

What is oxygen therapy? http://www.nhlbi.nih.gov/health/health-topics/topics/oxt/ Accessed August 19, 2015.

How does oxygen therapy work? http://www.nhlbi.nih.gov/health/health-topics/topics/oxt/howdoes.html. Accessed August 19, 2015.

COPD glossary of terms. http://my.clevelandclinic.org/disorders/chronic_obstructive_pulmonary_disease/hic_copd_glossary_of_terms.aspx. Accessed August 19, 2015.

Mayo Clinic Staff.COPD. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/copd/basics/definition/con-20032017. Accessed August 19, 2015

Mayo Clinic Staff. Hypoxemia.  http://www.mayoclinic.org/symptoms/hypoxemia/basics/definition/sym-20050930. Accessed August 19, 2015.

เวอร์ชันปัจจุบัน

08/02/2021

เขียนโดย วรภพ ไกยเดช

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

ทางเลือกการรักษา โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ที่ช่วยให้คุณสู้โรคเรื้อรังนี้ได้ดีขึ้น

โภชนาการสำหรับผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรัง ข้อห้ามและข้อควรปฏิบัติที่ควรรู้


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย วรภพ ไกยเดช · แก้ไขล่าสุด 08/02/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา