โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด

โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด เป็นภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการที่ลิ่มเลือดเข้าไปอุดตันในหลอดเลือดปอด ส่งผลให้เลือดไหลเข้าสู่ปอดน้อยลง จนส่งผลกระทบกับความดันโลหิต และอาจทำให้เสียชีวิตได้ในที่สุด

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด

การรักษาโรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด ฟื้นฟูสุขภาพปอด ด้วยเทคนิคทางการแพทย์

สาเหตุที่ทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด ส่วนหนึ่งอาจมาจากผลข้างเคียงจากพฤติกรรมการสูบบุหรี่ หรือการรับประทานยาบางชนิดที่ส่งผลให้เกิดลิ่มเลือด แต่ไม่ต้องเป็นกังวลไปวันนี้ Hello คุณหมอ ได้นำเทคนิค การรักษาโรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด ตามคำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงวิธีป้องกันไม่ให้เกิดลิ่มเลือดซ้ำ มาฝากกัน อาการของ โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด ที่ควรเร่งรักษา อาการทั่วไปของ โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด มักส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจในระดับเบา เช่น อาการหายใจถี่ เจ็บหน้าอก และไอแห้ง หรือไอแบบมีเสมหะ แต่เมื่อใดที่มีอาการรุนแรงกำเริบ สิ่งสำคัญที่คุณควรทำ คือ เร่งเข้ารับการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในทันที เพราะหากชะล่าใจมากจนเกินไป อาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้ อาการรุนแรงของ โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด มีดังต่อไปนี้ หัวใจเต้นเร็ว หรือเต้นผิดปกติ อาการวิงเวียนศีรษะ เหงื่อออกมาก มีไข้ ปวดขาโดยเฉพาะช่วงน่องขา ที่เกิดลิ่มเลือด ขาบวม สีผิวเปลี่ยนเป็นสีเขียว ไอเป็นเลือด เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน ช็อก หมดสติ และถึงขั้นเสียชีวิต การวินิจฉัยหาสาเหตุของโรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด ลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด ก่อนข้างวินิจฉัยได้ยากในผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคหัวใจ และโรคปอด แต่ถึงอย่างไรหากคุณมีอาการผิดปกติที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะอาการไอเป็นเลือด อาจต้องเข้ารับการตรวจเช็กสุขภาพอย่างละเอียดจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโวยเทคนิคต่าง ๆ ดังนี้ การตรวจเลือด แพทย์อาจตรวจเลือดของคุณด้วยการหาค่า D-dimer และออกซิเจนในเลือด เอกซเรย์ทรวงอก เป็นการตรวจที่สามารถแสดงถึงภาพของหัวใจ และปอดบนแผ่นฟิล์ม ถึงแม้จะวินิจฉัย โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด ไม่ได้มาก แต่อาจเผยให้เห็นถึงความผิดปกติบางอย่างที่เป็นสาเหตุสำคัญในการเกิดลิ่มเลือดได้ อัลตราซาวด์ด้วยคลื่นเสียง (Duplex Ultrasonography) คือ เครื่องมือที่แพทย์จะนำอุปกรณ์เคลื่อนที่ไปมาบนผิวหนัง เพื่อให้คลื่นเสียงสะท้อนเป็นตัวแปรในการสร้างภาพเคลื่อนไหวออกมา โดยจะมีรายละเอียดที่ค่อนข้างชัดกว่าเดิม ซีทีแสกน (CT […]

สำรวจ โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด

โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด

โภชนาการสำหรับผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรัง ข้อห้ามและข้อควรปฏิบัติที่ควรรู้

เมื่อต้องมีชีวิตอยู่กับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) โภชนาการที่ดีจึงมีบทบาทสำคัญในการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับปอดของคุณในอนาคต มีอาหารหลายประเภท ที่ก่อให้เกิดอาการท้องอืด หรือแก๊สในกระเพาะอาหาร ซึ่งอาจมีผลต่อความสามารถในการหายใจของคุณ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังสามารถจำกัดความสามารถในการทำงานอย่างเหมาะสมของปอด จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องปรับเปลี่ยนอาหาร เพื่อให้การหายใจของคุณเป็นไปอย่างเหมาะสม บทความต่อไปนี้ของ Hello คุณหมอ เป็นข้อควรปฏิบัติ และข้อห้ามที่คุณควรรู้ เกี่ยวกับ โภชนาการสำหรับผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรัง ข้อควรปฏิบัติเกี่ยวกับ โภชนาการสำหรับผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรัง อาหารให้พลังงานและสารอาหารแก่คุณเพื่อดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน หนึ่งในกิจกรรมเหล่านี้คือการหายใจ เมื่อคุณเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง คุณต้องการพลังงานในการหายใจมากกว่าคนที่ไม่เป็นโรคนี้ กล้ามเนื้อที่ช่วยในการหายใจของคุณ อาจต้องการแคลอรี่ในปริมาณที่มากกว่า 10 เท่าของคนทั่วไป ดังนั้น นี่คือสิ่งที่คุณควรปฏิบัติเมื่อมีภาวะโภชนาการสำหรับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เพิ่มโปรตีนในมื้ออาหารของคุณให้มากขึ้น โปรตีนมีความจำเป็นในการป้องกันร่างกายของคุณจากการติดเชื้อ โดยการสร้างสารภูมิต้านทานให้มากขึ้น เมื่อคุณรับประทานโปรตีนไม่เพียงพอ ปอดของคุณอาจไม่สามารถต้านทานการติดเชื้อได้ ซึ่งแหล่งโปรตีนที่ดีที่สุด คือ เนื้อสัตว์ ปลา ไข่ สัตว์ปีก ถั่ว และผลิตภัณฑ์จากนม ควบคุมน้ำหนักร่างกาย  คุณควรปรึกษาแพทย์หรือนักโภชนาการ เกี่ยวกับน้ำหนักร่างกาย และปริมาณแคลอรี่ที่เหมาะสมสำหรับคุณ เมื่อคุณมีน้ำหนักเกิน ปอดของคุณต้องทำงานหนักขึ้น เพื่อให้ได้รับออกซิเจนในปริมาณที่ร่างกายของคุณต้องการ ดังนั้นการวางแผนเกี่ยวกับอาหารที่เหมาะสม ควบคู่ไปกับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สามารถช่วยให้คุณมีน้ำหนักที่เหมาะสมได้ ดื่มน้ำในปริมาณมาก คุณควรดื่มน้ำอย่างน้อย 6 ถึง 8 แก้วต่อวัน ยิ่งดื่มน้ำมากขึ้น […]


โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด

ทุกสิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับ ปอดอุดกั้นเรื้อรัง และผลกระทบต่อปอด

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) คือ โรคเรื้อรังที่อาการจะแย่ลงเรื่อยๆเมื่อเวลาผ่านไป รูปแบบหลักสองรูปแบบของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง คือโรคหลอดลมอักเสบชนิดเรื้อรัง (chronic bronchitis) และถุงลมโป่งพอง (Emphysema) คนส่วนใหญ่จะมีอาการทั้ง 2 โรค เพื่อให้เข้าใจกับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมากขึ้น เราควรที่จะดูแต่ละอาการ และดูว่า ปอดอุดกั้นเรื้อรัง และผลกระทบต่อปอด เป็นอย่างไร ปอดทำงานอย่างไร การทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังให้มากขึ้น ควรจะเข้าใจการทำงานของปอดก่อน ทุกครั้งที่คุณหายใจเข้าไป อากาศจะผ่านท่อลมเข้าไปในหลอดลม (bronchial tube) ที่ในปอดของคุณ หลอดลมพวกนี้จะแบ่งแยกออกเป็นหลอดเล็กๆ เรียกว่า หลอดลมฝอย (bronchioles) ที่ส่วนปลายสุดของหลอดลมฝอยจะมีถุงลม (alveoli) ถุงลมเหล่านี้มีลักษณะคล้ายบอลลูน เมื่อคุณหายใจเข้าไป มันก็จะขยายออก และเติมเต็มอากาศเข้ามา เมื่อคุณหายใจออกมันก็จะแฟบลงดังเดิม ที่ผนังของถุงลมนั้นมีหลอดเลือดเล็กๆ ที่เรียกว่า เส้นเลือดฝอย (capillaries) เมื่อถุงลมเต็มไปด้วยอากาศ ออกซิเจนจะเข้าสู่เส้นเลือดฝอย เพื่อถูกนำพาไปสู่ทุกส่วนในร่างกาย คาร์บอนไดออกไซน์ (ของเสีย) ก็จะผ่านออกจากเส้นเลือดฝอยเข้าสู่ถุงลม เพื่อให้คุณหายใจออกไป ปอดอุดกั้นเรื้อรัง ส่งผลต่อการหายใจอย่างไร โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในปอด และทางเดินหายใจดังนี้ ถุงลมและทางเดินหายใจ จะสูญเสียความสามารถในการยืดหด ผนังของถังลมถูกทำลาย ผนังของถุงลมหนาขึ้นและอักเสบ ทางเดินหายใจอุดตันไปด้วยเสมหะ หากคุณเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง คุณอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้หนึ่งอย่างหรือมากกว่านั้น การเปลี่ยนแปลงนี้จะลดการไหลเวียนของอากาศในปอด และกีดกันความต้องการออกซิเจนที่มากของร่างกายคุณ รูปแบบของโรค ปอดอุดกั้นเรื้อรัง รูปแบบของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมี 2 […]


โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด

ทางเลือกการรักษา โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ที่ช่วยให้คุณสู้โรคเรื้อรังนี้ได้ดีขึ้น

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ถือเป็นเป็นโรคเรื้อรัง การรักษาจึงมักจะเกี่ยวข้องกับการควบคุมอาการไม่ให้อาการแย่ลง การรักษาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่ดี สามารถช่วยให้คุณแข็งแรงขึ้น และปรับปรุงสุขภาพโดยรวมของคุณให้ดีขึ้น รวมถึงช่วยป้องกันและรักษาอาการแทรกซ้อนอื่นๆ ทางเลือกการรักษา โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ที่เหมาะสม มีอยู่ 4 วิธีหลักๆ ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของโรค ได้แก่ การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ในชีวิตประจำวัน การบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพปอด การรักษาด้วยยา และสุดท้ายคือการผ่าตัด Hello คุณหมอได้รวบรวมข้อมูลมาให้อ่านกันแล้วค่ะ การรักษา โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ด้วยการเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ สำหรับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในระดับเบา แพทย์ส่วนใหญ่มักจะแนะนำให้คุณปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของคุณ แม้แต่อาการในระดับปานกลางหรือรุนแรง คุณก็ยังจำเป็นต้องปรับไลฟ์สไตล์ของคุณด้วยเช่นกัน สิ่งที่ควรเปลี่ยนเป็นอย่างแรก ก็คือ การเลิกสูบบุหรี่ หากคุณยังไม่เคยสูบบุหรี่ ก็อย่าเริ่มสูบบุหรี่เลย พยายามหลีกเลี่ยงควันบุหรี่ และสิ่งระคายเคืองในอากาศ เช่น ฝุ่น ควันและสารพิษอื่นๆ อากาศที่คุณหายใจเข้าไปควรจะสะอาด และไม่มีตัวที่จะกระตุ้นโรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง คุณสามารถเรียนรู้วิธีการทำให้บ้านของคุณ เป็นมิตรต่อผู้ที่เป็นโรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรังได้ สิ่งที่ควรเปลี่ยนอย่างที่สอง คือ การออกกำลังกายของคุณ เนื่องจากการที่คุณไม่สามารถควบคุมการหายใจของคุณได้ดีนัก เพราะโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง แพทย์จะบอกให้คุณหลีกเลี่ยงการอออกกำลังกาย หรือจำกัดการออกกำลังกาย จริงอยู่ที่คุณควรจำกัดปริมาณการออกกำลังกาย แต่คุณไม่ควรที่จะงดออกกำลังกายไปเลย การออกกำลังกายสามารถช่วยทำให้กระบังลมแข็งแรงขึ้นได้ และควรปรึกษากับแพทย์เกี่ยวกับวิธีการออกกำลังกายที่เหมาะสม สิ่งที่ควรเปลี่ยนอย่างที่สาม คือ อาหารของคุณ คุณอาจจะรู้สึกกลืนอาหารได้ลำบากขึ้น หรืออาการเหนื่อยล้า อาจทำให้คุณรู้สึกการรับประทานอาหารทำได้ยาก คุณสามารถรับสารอาหารที่จำเป็นได้ ด้วยการรับประทานอาหารเป็นมื้อเล็กๆ […]


โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด

สิ่งกระตุ้นอาการปอดอุดกั้นเรื้อรัง ที่คุณควรรู้ไว้ จะได้หลีกเลี่ยงทัน

เมื่อคุณเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (chronic obstructive pulmonary disease: COPD) มีบางสิ่งที่ทำให้อาการของคุณแย่ลงได้ สิ่งเหล่านี้เรียกว่า สิ่งกระตุ้นอาการปอดอุดกั้นเรื้อรัง ผู้ป่วยมักมีสิ่งกระตุ้นแตกต่างกัน สาเหตุของอาการในผู้ป่วยรายหนึ่ง อาจไม่ใช่ปัญหาของผู้ป่วยอีกรายหนึ่ง ฉะนั้น คุณจึงควรทำความเข้าใจให้ดีว่า สิ่งกระตุ้นสำหรับคุณคืออะไร และมีผลกระทบต่อคุณได้อย่างไร เพื่อจะได้หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นเหล่านั้น สิ่งกระตุ้นอาการปอดอุดกั้นเรื้อรัง มีอะไรบ้าง โดยปกติแล้ว สิ่งกระตุ้นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ได้แก่ ควันบุหรี่ หรือมลภาวะทางอากาศ อาการป่วย เช่น อาการหวัด หรือปอดบวม ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด หรือสารเคมีอื่นๆ ก๊าซ อนุภาค หรือควันจากไม้ หรือเครื่องทำความร้อนในบ้าน สิ่งกระตุ้นเหล่านี้ทำให้ปอดทำงานหนักขึ้น เนื่องจากเป็นสาเหตุให้เกิดอาการหายใจลำบาก และอาการอื่นๆ เมื่อคุณอยู่ในบริเวณที่มีสิ่งกระตุ้น ก็มีแนวโน้มว่า โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังจะแสดงอาการมากขึ้น และหากมีอาการรุนแรง คุณอาจต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลฉุกเฉิน หรือต้องรีบไปพบโรงพยาบาลทันที หากคุณทราบว่า สิ่งกระตุ้นอาการโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังของคุณคืออะไร และสามารถหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นเหล่านั้นได้ ก็จะช่วยลดการกำเริบ และผลกระทบของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้ สิ่งสำคัญก็คือ คุณควรตื่นตัวอยู่เสมอ และรับประทานยาทุกวันตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัดด้วย เราสามารถหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นได้อย่างไรบ้าง สิ่งแรกก็ คือ คุณต้องรู้ก่อนว่าสิ่งกระตุ้นอาการปอดอุดกั้นเรื้อรังของคุณคืออะไร เมื่อคุณมีอาการ ให้จดบันทึกสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวคุณ ที่อาจเป็นสาเหตุของอาการดังกล่าว แล้วพิจารณาถึงรูปแบบของการกระตุ้นที่เกิดขึ้น เมื่อคุณได้รายการของสิ่งกระตุ้นที่เป็นไปได้แล้ว ให้ปรึกษาแพทย์เพื่อหาแนวทางหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นดังกล่าว ต่อไปนี้เป็น แนวทางในการหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ห้ามสูบบุหรี่ หรือไม่ให้ผู้อื่นสูบบุหรี่ใกล้คุณ หากคุณต้องการความช่วยเหลือในการเลิกสูบบุหรี่ ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับโปรแกรมการเลิกบุหรี่และยาที่ใช้ ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถเลิกบุหรี่ได้สำเร็จ หากมีมลภาวะ […]


โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคร้ายที่คุณอาจไม่รู้ตัวเลยก็ได้ว่าเป็นอยู่!

อาการของ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonary disease: COPD) มีความหลากหลาย โดยขึ้นอยู่กับความเสียหายที่พบในปอด อาการมักจะเพิ่มมากขึ้นเมื่อเวลาผ่านไปหลายปี คุณอาจไม่รู้ตัวว่าคุณเป็นโรคนี้ จนกว่าความเสียหายได้เกิดขึ้นแล้ว ดังนั้น จึงควรระมัดระวังและสังเกตตนเอง เพื่อการป้องกันตัวให้ห่างไกลจากปอดอุดกั้นเรื้อรังอย่างถูกต้อง วันนี้  Hello คุณหมอ จะพาไปทำความรู้จักโณคปวดอุดกั้นเรื้อรังให้มากกว่าที่เคย อาการของ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ที่พบได้ทั่วไป ไอเรื้อรัง การไอเป็นวิธีที่ร่างกายทำความสะอาดทางเดินหายใจ เมือกในปอด สิ่งระคายเคืองอื่นๆ และสารคัดหลั่งต่างๆ โดยปกติแล้วถ้าไม่ได้เป็นโรคเกี่ยวกับปอด เมือกจะเป็นสีใส อย่างไรก็ดี ในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เมือกอาจเป็นสีเหลือง บ่อยครั้งที่อาการไออาจรุนแรงมากในตอนเช้า คุณอาจไอมากขึ้นเมื่อออกกำลังกายหรือสูบบุหรี่ อาจมีอาการไอได้ทุกวัน ถึงแม้ว่าไม่มีอาการของโรคอื่นๆ เช่น อาการหวัดหรือไข้ หายใจมีเสียง เมื่อหายใจออก และลมหายใจออกมาผ่านทางทางเดินหายใจที่แคบหรือถูกปิดกั้น คุณมักจะได้ยินเสียงลมหายใจ สิ่งนี้เรียกว่าการหายใจมีเสียง ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง อาการไอมักมีสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด จากเมือกปริมาณมากที่ปิดกั้นทางเดินหายใจ อย่างไรก็ตาม การหายใจมีเสียงไม่ได้หมายความว่า คุณเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเสมอไป การหายใจมีเสียงเป็นอาการของโรคหอบหืดและโรคปอดบวมได้ด้วยเช่นกัน ดังนั้นควรสังเกตตนเองและปรึกษาแพทย์ หากมีอาการเป็นเวลานาน ดูท่าทางไม่ทุเลาลง หายใจลำบาก (Dyspnea) เมื่อทางเดินหายใจที่ปอดของคุณมีอาการติดเชื้อ เสียหาย และเริ่มตีบตัน คุณอาจรู้สึกหายใจหรือสูดลมหายใจลำบาก อาการโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังดังกล่าวนี้สังเกตได้ในระหว่างการออกกำลังกายที่หนักขึ้น โรคนี้อาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การเดิน ทำงานบ้าน […]


โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด

ออกกำลังกาย อย่างไร...เมื่อเป็น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

การ ออกกำลังกาย เมื่อเป็น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง นั้นสามารถช่วยให้ปอดของคุณรับออกซิเจนได้มากขึ้น และขับไล่สิ่งที่ทำให้เกิดการระคายเคืองใดๆ ออกจากร่างกาย เมื่อเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังจะมีสิ่งที่ทำให้เกิดการระคายเคืองติดอยู่ในปอดของคุณ ทำให้เกิดการอักเสบและความเสียหาย การออกกำลังกายสามารถช่วยให้คุณหายใจได้สะดวกขึ้น และทำให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้นอีกด้วย และนี่คือสิ่งที่คุณควรจะรู้ก่อนออกกำลังกายเมื่อ เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ออกกำลังกาย ดีต่อผู้ป่วย โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง อย่างไร อาการที่พบได้บ่อยของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังคือการหายใจได้น้อย คุณแทบจะหายใจโดยไม่มีเสียงฮืดฮาดหรืออาการหอบได้เลย ดังนั้น การออกกำลังกายคือสิ่งที่คุณต้องทำ เพื่อพัฒนาการหายใจของตัวเอง เมื่อคุณออกกำลังกาย การไหลเวียนของเลือดไปสู่ปอดจะมากขึ้น สิ่งนี้มีข้อดีอยู่ 2 ประการ เพื่อช่วยให้คุณไปเอาเสมหะที่ปิดกั้นปอดของคุณออกมา และช่วยเพิ่มออกซิเจนในกระแสเลือด ออกกำลังกายประเภทใดได้บ้าง การออกกำลังกายในแต่ละประเภทสามารถช่วยในเรื่องโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้แตกต่างกันออกไป ตัวอย่างเช่น การออกกำลังกายกล้ามเนื้อหัวใจ (คาร์ดิโอ) สามารถช่วยให้การหายใจของคุณดีขึ้น โดยการทำให้หัวใจและปอดของคุณแข็งแรงขึ้น เมื่อเวลาผ่านไป การออกกำลังกายกล้ามเนื้อหัวใจ (คาร์ดิโอ) สามารถทำให้อัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิตของคุณลดลงได้ หัวใจของคุณไม่ต้องทำงานหนักในระหว่างการทำกิจกรรมทางร่างกายต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้การหายใจของคุณดีขึ้น การออกกำลังกายด้วยการยกน้ำหนัก กระตุ้นให้เกิดการทำลาย และสร้างใหม่ของกล้ามเนื้อ ด้วยการหดตัวของกล้ามเนื้อบ่อยๆ การออกกำลังกายด้วยการยกน้ำหนักในช่วงบนของร่างกาย สามารถช่วยสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อระบบทางเดินหายใจของคุณ การออกกำลังกายแบบยืดตัว และฝึกความยืดหยุ่นอย่างโยคะและพิลาทิส สามารถเพิ่มการประสานงานภายในและการหายใจได้ อย่างไรก็ตาม คุณยังต้องระวังเมื่อกระทำการออกกำลังกาย ปรึกษาแพทย์ก่อนการเริ่มโปรแกรมการออกกำลังกาย แพทย์ของคุณสามารถแนะนำในเรื่องความปลอดภัยและประโยชน์ของมันได้ ควรออกกำลังกายบ่อยแค่ไหน  เมื่อออกกำลังกายโดยที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังด้วย สิ่งสำคัญคืออยากออกกำลังมากเกินไป คุณควรเริ่มด้วยท่าออกกำลังที่สั้นๆ และช้าๆ จากนั้นค่อยๆเพิ่มขึ้นเมื่อคุณเริ่มชินกับจำนวนการออกกำลังกาย เมื่อเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง กล้ามออกกำลังกายแบบเบาๆ สามารถทำให้หัวใจคุณเต้นได้มากเท่ากับคนปกติออกกำลังกายแบบความเข้มข้นปานกลาง เริ่มต้นด้วยเป้าหมายการออกกำลังอย่างเบาๆ และค่อยๆเพิ่มขึ้นช้าๆเป็น 20 ถึง 30 นาทีต่อรอบ 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ คุณสามารถลองออกกำลังโดยการเดิน หรือการปั่นจักรยานอยู่กับที่ หรือศิลปะการต่อสู้แบบช้ามากๆ ที่เรียกว่า ไทเก๊ก […]


โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด

ยาสูดพ่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ใช้ยังไงให้ถูกวิธี

เมื่อต้องใช้ชีวิตอยู่กับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หรือ COPD คุณอาจจะคุ้นเคยกับตัวช่วยรับมือกับโรคนี้อย่าง ยาสูดพ่น แต่คุณรู้ไหมว่า วิธีใช้ ยาสูดพ่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ที่ถูกต้องควรเป็นอย่างไร จริง ๆ แล้วยาสูดพ่นมีอยู่ด้วยกันหลายประเภท คุณอาจจำเป็นต้องเพิ่มขนาดยา หรือศึกษาวิธีใช้ยาสูดพ่นใหม่ เพื่อประสิทธิภาพที่สูงสุดในการช่วยให้หายใจสะดวกขึ้น เคล็ดลับในการใช้ ยาสูดพ่น สำหรับ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง อย่างถูกต้อง หากคุณจำเป็นต้องพ่นยามากกว่า 1 ครั้งต่อขนาดยา ควรเว้นระยะเวลาระหว่างการพ่นยาแต่ละครั้ง อย่าพ่นยาติด ๆ กัน หรือพ่นยาถี่เกินไป หรือพ่นยาในขนาดยาที่เยอะเกินไปในแต่ละครั้ง ขณะใช้ยาสูดพ่นควรนั่งหลังตรงหรือยืนตัวตรง เมื่อกดพ่นยาก็หายใจเข้าทันที กลั้นหายใจไว้ประมาณ 10 วินาทีหลังจากหายใจเข้า ทำความสะอาดเครื่องพ่นยาเดือนละครั้ง ทำความสะอาดส่วนที่ใช้ปากเป่าหลังจากการใช้แต่ละครั้ง ทิ้งไว้ให้แห้งเองโดยไม่ใช้ผ้าเช็ด ยาสูดพ่นมีอยู่ด้วยกันสองประเภทได้แก่ Metered-dose inhalers (MDI) breath-activated inhalers หรือ dry powdered inhalers การใช้ยาสูดพ่นประเภท Metered-dose inhaler (MDI) อย่างเหมาะสม ยาสูดพ่นประเภท Metered-dose inhaler เป็นยาสูดพ่นชนิดที่พบได้ทั่วไป ทำงานโดยการส่งยาผ่านไปกับแก๊สอัดแรงดัน ที่ผลักเอายาให้ไปถึงยังปอด นี่เป็นหนึ่งในวิธีการใช้งานยาสูดพ่นประเภท MDI อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ก็ยังจำเป็นต้องร่วมกับการทำงานร่วมกันของส่วนอื่นอีก บางคนอาจจะมีปัญหากับการใช้ยาสูดพ่นประเภทนี้ ความผิดพลาดสามารถเกิดขึ้นได้จากการไม่เขย่าขวดก่อนใช้ หรือหายใจเข้าเร็วเกินไป […]


โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด

ภาวะขาดออกซิเจน ในโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

ภาวะขาดออกซิเจน มักจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เนื่องจากโรคนี้จะทำที่ทำให้หายใจลำบาก โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังประกอบด้วยอาการของหลอดลมอักเสบ และถุงลมโป่งพองเรื้อรัง โดยอาการทั้งสองประการนี้จะจำกัดการไหลเวียนของอากาศ และทำให้ปอดไม่สามารถรับออกซิเจนได้เพียงพอ โดยสามารถทำให้คุณมีความเสี่ยงในการเกิด ภาวะขาดออกซิเจนที่เป็นการให้ออกซิเจนไม่เพียงพอกับเซลล์และเนื้อเยื่อของร่างกาย อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงโดยในบางครั้งอาจที่จะคุกคามต่อชีวิตได้ อาการของ ภาวะขาดออกซิเจน คลีฟแลนด์คลินิกได้กำหนดถึงภาวะขาดออกซิเจนว่าเป็น “อาการได้รับออกซิเจนที่ไม่เพียงพอต่อเนื้อเยื่อ โดยถึงแม้ว่าการไหลเวียนของโลหิตจะเพียงพอก็ตาม” ออกซิเจนมีบทบาทสำคัญในการบำรุงรักษาร่างกาย แต่วิธีเดียวที่จะได้รับคือการได้รับผ่านปอด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังนั้นทำให้เกิดการกีดขวางหรือจำกัดการไหลของออกซิเจนเข้าสู่ร่างกาย โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังอาจเป็นผลจากการอักเสบและบวมของทางเดินหายใจในหลอดลมอักเสบที่เรื้อรัง นอกจากนี้ยังคงเกี่ยวข้องกับการทำลายเนื้อเยื่อในปอด (alveoli)  ในถุงลมที่โป่งพอง อาการและอาการของภาวะขาดออกซิเจนอาจรวมถึง อาการหายใจถี่ขณะพักผ่อน อาการหายใจไม่ออกขณะตื่น อาการหายใจถี่อย่างรุนแรงหลังจากการออกกำลังกาย รู้สึกอึดอัด หายใจเสียงดัง ไอที่บ่อยครั้ง ผิวมีสีน้ำเงินอมม่วง ภาวะการขาดออกซิเจนนี้ยังสามารถนำไปสู่ภาวะอื่นที่เกี่ยวข้องกันอย่าง ภาวะการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน โดยภาวะนี้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อภายในปอดนั้นเก็บคาร์บอนไดออกไซด์มากเกินไป โดยอาจจะเนื่องจากการหายใจลำบาก เมื่อคุณไม่สามารถหายใจได้ออกตามปกติหรือคุณอาจไม่สามารถหายใจออกได้ตามเท่าที่ควร โดยอาการนี้อาจเพิ่มระดับคาร์บอนไดออกไซด์ของคุณที่เป็นอาการที่ร้ายแรงได้ หากคุณมีปัญหาในการหายใจและภาวะการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน คุณจะต้องหายใจให้ออกมากขึ้นกว่าปกติ ภาวะแทรกซ้อนของภาวะขาดออกซิเจน แม้ว่าการขาดออกซิเจนในปอดอุดกั้นเรื้อรังทำให้หายใจลำบาก แต่ในอาการนี้ก็มีผลต่ออวัยวะอื่นๆมากกว่าปอด เมื่อคุณหายใจเข้าออกซิเจนไม่เพียงพอเลือดของคุณจะขาดส่วนประกอบที่สำคัญ ออกซิเจนมีความสำคัญต่อการทำหน้าที่พื้นฐานของร่างกาย ตัวอย่างเช่นการขาดออกซิเจนสามารถส่งผลร้ายต่อหัวใจและสมองของคุณได้ การขาดออกซิเจนในปอดอุดกั้นเรื้อรังอาจทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่าภาวะขาดออกซิเจนในสมอง (cerebral hypoxia) การขาดออกซิเจนชนิดนี้เกิดขึ้นเมื่อสมองขาดออกซิเจนแม้ว่าจะมีเลือดเพียงพอต่อร่างกาย ตามที่สถาบันแห่งชาติทางด้านความผิดปกติทางระบบประสาทและโรคหลอดเลือดสมองกล่าวว่า หากคุณพบภาวะขาดออกซิเจนในสมองเซลล์สมองของคุณสามารถเสียชีวิตได้ภายในห้านาที การขาดออกซิเจนในโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังยังอาจนำไปสู่ ภาวะซึมเศร้าและความผิดปกติทางอารมณ์อื่น ๆ ความดันโลหิตสูง ความดันในปอดสูง อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น หัวใจล้มเหลว ระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันล้มเหลว ภาวะเลือดข้น (จำนวนเม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้นผิดปกติ) การรักษาด้วยออกซิเจนและการรักษาภาวะขาดออกซิเจน การรักษา ภาวะขาดออกซิเจน วิธีการทั่วไปในการให้ออกซิเจนเสริมคือการบำบัดด้วยออกซิเจน (Oxygen Therapy) การบำบัดด้วยออกซิเจนเรียกว่าออกซิเจนเสริม หรือการกำหนดปริมาณของออกซิเจน ประกอบด้วยการใช้อุปกรณ์ทางกลที่ให้ออกซิเจนแก่ปอดของคุณ ออกซิเจนเสริมสามารถลดการหายใจถี่เพิ่มปริมาณออกซิเจนในเลือดของคุณและลดปริมาณงานที่หัวใจของคุณต้องทำ นอกจากนี้ยังสามารถลดภาวะที่ระบบการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน ก่อนที่จะสั่งให้ออกซิเจนแพทย์ของคุณจะทำการทดสอบเพื่อวัดระดับออกซิเจนในเลือดของคุณ การบำบัดด้วยออกซิเจนส่วนใหญ่จะใช้ออกซิเจนที่ถูกบีบอัดภายในโดยในประเภทนี้มาเป็นก๊าซในถังสำหรับจัดเก็บ เมตรจะช่วยตรวจสอบปริมาณออกซิเจนที่คุณหายใจเข้าออกซิเจนเคลื่อนผ่านท่อจากอุปกรณ์และเข้าสู่ร่างกายของคุณผ่านทางท่อจมูกหน้ากากหรือท่อแทรกเข้าไปในหลอดลม การบำบัดด้วยออกซิเจนยังมีอยู่ในรูปแบบหัวฉีด โดยหัวฉีดออกซิเจนจะใช้อากาศจากสิ่งแวดล้อมโดยกรองก๊าซอื่นๆ และจัดเก็บอากาศออกซิเจนไว้ใช้ แตกต่างจากที่อัดออกซิเจนคุณไม่จำเป็นต้องใช้ภาชนะบรรจุที่เติมออกซิเจนล่วงหน้า คอนเดนเซอร์มีประโยชน์สำหรับผู้ที่ต้องการการบำบัดด้วยออกซิเจนอยู่ตลอดเวลา อย่างไรก็ตามรูปแบบหัวฉีดต้องใช้ไฟฟ้าในการทำงานดังนั้นจึงอาจไม่สามารถใช้งานได้อย่างหลากหลายเช่น การบีบอัดออกซิเจน อีกทางเลือกหนึ่งคือออกซิเจนเหลว ออกซิเจนเหลวกลายเป็นแก๊สเมื่อออกจากภาชนะบรรจุ […]


โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด

พยาธิวิทยาของโรคปอดอุดกั้น เรื้อรังคืออะไร

เป็นอีกหนึ่งโรคที่ทุกคนอาจพบเห็นได้บ่อยๆ ในสังคมเรา หรือคนรอบข้างตัวคุณ ส่วนใหญ่มักพบในช่วงวัยรุ่นถึงวัยกลางคน ตลอดจนผู้สูงอายุ เพราะฉะนั้นถ้าอยากให้คนที่คุณรักอยู่เคียงข้างกายไปนานๆ ซึ่งก็จำเป็นอย่างมากที่ต้องรู้วิธีการป้องกันของโรคปอดอุดกั้นไว้ในเบื้องต้น วันนี้ Hello คุณหมอก็ได้นำบทความดีๆ เกี่ยวกับสาเหตุ การป้องกัน รวมทั้งเรื่องน่ารู้ของ พยาธิวิทยาของโรคปอดอุดกั้น มาฝากทุกคนกัน พยาธิวิทยาของโรคปอดอุดกั้น เรื้อรัง โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง คือชื่อหนึ่งในกลุ่มอาการของโรคปอด ที่มีผลต่อความสามารถในการหายใจ และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต โดยตรวจสอบจากการสังเกตพยาธิวิทยาของโรคปอดอุดกั้น หรือการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ในส่วนต้นของหลอดลม จนไปถึงถุงลมในปอด ที่เริ่มได้รับความเสียหายจนเกิดเป็นถุงลมโป่งพอง จากนั้นจะเริ่มมีอาการทางระบบทางเดินหายใจ และถุงลมในปอด พร้อมกับไอ มีน้ำมูก จนทำให้หายใจลำบาก หายใจติดขัด รวมทั้งอาการหายใจไม่อิ่ม โรคปอดอุดกั้นมีสาเหตุมาจากอะไร อาการของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมี 2 อาการ ด้วยกัน คือ โรคหลอดลมอักเสบ และโรคถุงลมโป่งพอง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อส่วนต่างๆ ของปอดและส่งผลให้หายใจลำบาก สิ่งสำคัญในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับพยาธิสรีรวิทยาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง คือ ต้องเข้าใจโครงสร้างของปอดอย่างสมบูรณ์ โรคถุงลมโป่งพอง เป็นโรคที่เกี่ยวกับถุงลมปอด และเป็นโรคที่ค่อนข้างมีผลกระทบกับร่างกายที่รุนแรง เพราะเส้นใยบริเวณผนังถุงลมปอดได้รับความเสียหาย ส่งผลให้ปอดไม่มีความยืดหยุ่นและหายใจลำบาก อาการของโรคหลอดลมอักเสบคือ หลอดลมฝอยมีอาการอักเสบจะทำให้มีเสมหะและน้ำมูก หากยังมีอาการหลอดลมอักเสบ อาจพัฒนาจนเป็นโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังได้ และอาจมีอาการหลอดลมอักเสบเฉียบพลันชั่วคราว แต่อาการเหล่านี้ไม่นับว่าเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ซึ่งสาเหตุหลักของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ที่ก่อให้เกิดโรคในข้างต้นอาจมาจากพฤติกรรม ดังนี้ การสูบบุหรี่ การสูดดมควัน และสารเคมีที่อาจเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ เป็นการเพิ่มความเสี่ยงนำไปสู่โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง […]


โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด

ปวดหัวจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ควรรับมืออาการนี้อย่างไร

อาการ ปวดหัวจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง อาจเป็นหนึ่งในอาการที่ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่ต้องพบเจอ อีกทั้งอาการปวดหัวนี้สามารถเชื่อมโยง และพัฒนานำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และอาจถึงแก่ชีวิตได้ วันนี้ Hello คุณหมอ จึงนำวิธีรับมือ และสาเหตุเบื้องต้นมาให้ทุกคนได้ทราบกันค่ะ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ส่งผลให้ปวดหัวได้อย่างไร โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonary disease; COPD) สามารถทำลายบางส่วนของปอด ส่งผลกระทบต่อการหายใจเข้าและออก เมื่อการหายใจมีปัญหาก็จะส่งผลให้ส่งผลกระทบต่อการรับออกซิเจนและอาจทำให้เกิด ภาวะขาดออกซิเจน (Hypoxia) ได้ ภาวะขาดออกซิเจนนั้นจะเกิดขึ้นเมื่อเลือดของคุณได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ทำให้หัวใจทำงานช้าลง และทำให้มีคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดเพิ่มมากขึ้น อาการปวดหัวจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังนั้นเกิดขึ้นจากการขาดออกซิเจนในสมอง บวกกับการมีคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดมากเกินไป อาการปวดหัวจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมักจะเกิดขึ้นในตอนเช้าหลังจากตื่นนอน เนื่องจากร่างกายสะสมคาร์บอนไดออกไซด์ในระหว่างที่คุณนอนหลับ นอกจากนี้หากคุณมีอาการปวดหัวจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในตอนเช้า คุณก็อาจจะมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับอีกด้วย อาการ ปวดหัวจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เป็นอย่างไร อาการปวดหัวโดยทั่วไป อาจแตกต่างกันตามความถี่ และความรุนแรงของอาการ เนื่องจากอาการปวดหัวนั้นเป็นเรื่องปกติ จึงอาจจะเป็นการยากที่จะแยกว่าอาการปวดหัวนี้เกี่ยวข้องกับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังหรือไม่ อาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณของอาการปวดศีรษะจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เช่น เจ็บหน้าอก หายใจเสียงดัง หายใจหอบถี่ มีอาการสำลักเมื่อตื่นนอน หายใจเร็ว อาจมีอาการอื่นๆ เกิดขึ้น หากได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ และอาจมีอาการพร้อมๆ กับการปวดหัวจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เช่น อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น ความดันโลหิตสูง และมีจุดสีแดงหรือสีม่วงจากภาวะการขาดออกซิเจน วิธีจัดการกับอาการ ปวดหัวจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เนื่องจากอาการปวดหัวจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมีสาเหตุมาจากการขาดออกซิเจน ขั้นตอนแรกจึงควรเพิ่มปริมาณออกซิเจนเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งทำได้โดยการบำบัดด้วยออกซิเจน แพทย์มักจะสั่งจ่ายออกซิเจนชนิดถังเพื่อรักษาอาการของคุณ จะใช้การส่งออกซิเจนผ่านท่อด้วยการสูดผ่านหน้ากากและต่อท่อเข้าสู่หลอดลม อาการปวดหัวของคุณจะดีขึ้น เมื่อร่างกายได้รับออกซิเจนในปริมาณที่เพียงพอ แม้จะได้รับการบำบัดด้วยออกซิเจน คุณก็ยังอาจมีปัญหาในการนอนเวลากลางคืน ซึ่งอาจนำไปสู่อาการปวดหัวจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม