วัยรุ่นสูบบุหรี่ เป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครองไม่ควรละเลย เพราะบุหรี่เป็นสิ่งอันตรายที่สามารถส่งผลเสียระยะยาวต่อร่างกายของวัยรุ่นได้ ในปัจจุบัน มีวัยรุ่นจำนวนไม่น้อยที่สูบบุหรี่และมีแนวโน้มว่าจำนวนของวัยรุ่นที่สูบบุหรี่จะเพิ่มสูงขึ้นด้วย สาเหตุหนึ่งเพราะเรื่องนี้ถูกมองว่าเป็นเรื่องปกติ หรือบางก็คนใช้เป็นเครื่องมือระบายความเครียด เพื่อจัดการกับปัญหาวัยรุ่นสูบหรี่ บทความนี้อาจช่วยให้คุณเข้าใจสาเหตุ และอันตรายของบุหรี่มากขึ้น เราไปหาคำตอบเรื่องนี้กันเลย
สาเหตุที่ทำให้ วัยรุ่นสูบบุหรี่
สาเหตุที่ทำให้วัยรุ่นสูบบุหรี่มีด้วยกันหลายสาเหตุทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก มาดูกันว่ามีอะไรกันบ้าง
สภาพแวดล้อมทางสังคมและทางกายภาพ
- การโฆษณาจากสื่อโทรทัศน์อาจทำให้วัยรุ่นหนุ่มสาวรู้สึกอยากลองสูบบุหรี่
- แนวโน้มการสูบบุหรี่จะเพิ่มขึ้น หากพวกเขาเห็นเพื่อนในวัยเดียวกันสูบบุหรี่
- หากคนในครอบครัวสูบบุหรี่ ก็มีแนวโน้มว่าบุตรหลานอาจรู้สึกอยากลองสูบบุหรี่ตามไปด้วย
ปัจจัยทางชีวภาพและพันธุกรรม
- วัยรุ่นบางคนอาจมีความรู้สึกไวต่อสารนิโคติน จึงทำให้รู้สึกอยากนิโคตินได้เร็วกว่าผู้ใหญ่
- ปัจจัยทางพันธุกรรมบางอย่างอาจทำให้การเลิกบุหรี่ในวัยรุ่นยากขึ้น
- คุณแม่ตั้งครรภ์สูบบุหรี่อาจส่งผลต่อลูก และอาจส่งผลให้เด็กสูบบุหรี่เป็นประจำในอนาคต
สุขภาพจิต
ปัญหาสุขภาพจิตในวัยรุ่น เช่น ภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล และความเครียด อาจทำให้วัยรุ่นต้องการสูบบุหรี่
ความรู้สึกส่วนตัว
วัยรุ่นบางคนเริ่มสูบบุหรี่เพราะต้องการระบายความเครียดที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เนื่องจากพวกเขารู้สึกว่าบุหรี่เป็นเพียงทางออกเดียวในการกำจัดความเครียด
อิทธิพลอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อวันรุ่น
- ความเครียดจากเศรษฐกิจตกต่ำ หรือรายได้ลดลง
- ไม่รู้ว่าจะเลิกบุหรี่อย่างไร
- ครอบครัวไม่สนับสนุนหรือมีส่วนร่วมในการเลิกบุหรี่
- วัยรุ่นยังสามารถเข้าถึงการซื้อบุหรี่ได้
- อาจมีพฤติกรรมเกเร
- ไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง มองว่าตัวเองต่ำต้อย
- เห็นจากโฆษณาผลิตภัณฑ์บุหรี่ในร้านค้า โทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต ภาพยนตร์ นิตยสาร หรือหนังสือพิมพ์
วัยรุ่นสูบบุหรี่ ส่งผลเสียต่อสุขภาพ
ในบุหรี่มีสารเคมีหลายชนิดที่เป็นสารพิษและส่งผลเสียต่อร่างกาย เช่น นิโคติน ไซยาไนด์ ผู้ที่เริ่มสูบบุหรี่ครั้งแรกมักมีอาการเจ็บหรือแสบร้อนในลำคอและปอด บางคนถึงกับอาเจียนได้ และเมื่อสูบบุหรี่เป็นระยะเวลานานอาจทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมา เช่น
- โรคหัวใจ
- ปอดเสียหาย
- มะเร็ง เช่น มะเร็งปอด มะเร็งคอ มะเร็งท้อง และมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
และอาจทำให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ได้ เช่น
- โรคเหงือก
- ฟันเหลือง
- โรคตา
- เพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อ เช่น โรคปอด
- เพิ่มความเสี่ยงโรคเบาหวาน
- กระดูกอ่อนและหักง่าย
- ปัญหาผิวหนัง เช่น โรคสะเก็ดเงิน มีผื่น ผิวเหี่ยวย่น
- เกิดแผลพุพอง
- ส่งผลต่อปัญหาทางเพศทั้งชายและหญิง
วัยรุ่นที่สูบบุหรี่ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานอาจส่งผลเสียต่อร่างกายในระยะยาว ดังนี้
- กลิ่นปาก บุหรี่ส่งผลทำให้ผู้สูบมีกลิ่นปากได้
- เสื้อผ้าและผมมีกลิ่นเหม็น เมื่อคุณสูบบุหรี่กลิ่นควันมักติดกับเสื้อผ้าและผมของคุณ รวมถึงเฟอร์นิเจอร์ และรถยนต์
- ปัญหาทางร่างกายเมื่อเล่นกีฬา เมื่อเทียบระหว่างคนที่สูบบุหรี่กับคนที่ไม่สูบบุหรี่เมื่อมาแข่งกีฬาร่วมกัน คนที่สูบบุหรี่จะมีอาการหัวใจเต้นเร็ว การไหลเวียนเลือดลดลง หายใจลำบาก ส่งผลต่อสมรรถภาพในการเล่นกีฬาอย่างมาก
- เพิ่มความเสี่ยงอาการบาดเจ็บรุนแรงขึ้น การสูบบุหรี่สามารถทำร้ายร่างกายในการสร้างคอลลาเจน ดังนั้นเมื่อคุณได้รับบาดเจ็บ เช่น เกิดการบาดเจ็บที่เส้นเอ็นจะหายได้ช้ากว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่
- เพิ่มความเสี่ยงการเจ็บป่วย ผู้ที่สูบบุหรี่มักมีเจ็บป่วยได้ง่ายด้วยโรคหวัด เป็นไข้ หลอดลมอักเสบ โรคปอดบวม และสำหรับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพอยู่แล้ว เช่น โรคหอบหืด อาจยิ่งทำให้อาการหนักมากขึ้น
ลดการสูบบุหรี่ในวัยรุ่นทำได้อย่างไร
ลดการสูบบุหรี่ในวัยรุ่นอาจจำเป็นที่จะต้องได้รับความร่วมมือจากสังคมส่วนรวมในหลายเรื่อง ดังนี้
- เพิ่มต้นทุน และราคาบุหรี่ให้สูงขึ้นเพราะวัยรุ่นอาจไม่มีกำลังพอที่จะซื้อ
- ห้ามสูบบุหรี่ในอาคาร สถานที่ทำงาน และสถานที่สาธารณะ
- เพิ่มอายุขั้นต่ำในการขายบุหรี่
- สร้างโฆษณาเพื่อรณรงค์เลิกบุหรี่ทางโทรทัศน์ วิทยุ โปสเตอร์
- ตั้งโครงการในชุมชนและโรงเรียนที่สนับสนุนการเลิกกบุหรี่ในวัยรุ่น
- ชุมชนลดการส่งเสริมการขายบุหรี่ และทำให้วัยรุ่นเข้าถึงบุหรี่ได้ยากที่สุด
[embed-health-tool-bmi]