ชุมชนสุขภาพทางเพศ

มีข้อสงสัยเกี่ยวกับสุขภาพทางเพศ อยากรู้เคล็ดลับเรื่องบนเตียง ปรึกษาคุณหมอของเราได้เลย

trendingUp

เรื่องเด่น

เรื่องใหม่ล่าสุด

โรคติดเชื้อ

ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป 'LAAB' เสริมภูมิประชากรกลุ่มเสี่ยง ป้องกันได้ 83%

แม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 (COVID-19) ในประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะคลี่คลายลง หลังจากที่รัฐบาลได้ประกาศผ่อนคลายมาตรการควบคุมและป้องกันโรค เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2565 อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข ณ  วันที่ 22 มกราคม 2566 พบว่าในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีผู้ป่วยสะสม 2,593 คน เฉลี่ยวันละ 90 คน โดยในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจจำนวน 178 คน จากข้อมูลดังกล่าว จะเห็นได้ว่ายังคงมีประชากรที่จำเป็นจะต้องได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น (ในกลุ่มที่ร่างกายสามารถรับวัคซีนได้) และภูมิคุ้มกันสำเร็จรูปหรือ LAAB  สำหรับประชากรกลุ่มเสี่ยงที่ตอบสนองต่อวัคซีนได้น้อยกว่าคนทั่วไป หรือไม่ตอบสนองต่อวัคซีนเพื่อช่วยลดความรุนแรงของการเจ็บป่วยและเสียชีวิต โดยที่ผ่านมายังมีประชาชนบางกลุ่มที่ไม่สามารถรับวัคซีนได้ตามปกติหรือไม่ตอบสนองต่อวัคซีน อีกทั้งยังมีกลุ่มที่ได้รับวัคซีนแล้วแต่ร่างกายไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้เพียงพอต่อการป้องกันโรค อย่างไรก็ตาม ล่าสุดทางกรมการแพทย์[2] ได้รณรงค์ให้ประชาชนกลุ่มเปราะบาง เช่น ผู้ติดเชื้อเอชไอวี (HIV) ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ ผู้มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค (กลุ่ม 607) ให้เข้ารับบริการการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นและภูมิคุ้มกันสําเร็จรูป LAAB ในโรงพยาบาลสังกัดกรมการแพทย์ 35 แห่งทั่วประเทศ LAAB ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป ลดอาการป่วยรุนแรง Long-acting […]


เรื่องเด่น

สุขภาพจิต

/author/hellodoktor
ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ
อยู่ก็ได้ ไม่อยู่ก็ดี ภาวะเฉยชากับชีวิต ที่นำไปสู่การคิดฆ่าตัวตายอยู่ก็ได้ ไม่อยู่ก็ดี ภาวะเฉยชากับชีวิต ที่นำไปสู่การคิดฆ่าตัวตายอยู่ก็ได้ ไม่อยู่ก็ดี ภาวะเฉยชากับชีวิต ที่นำไปสู่การคิดฆ่าตัวตาย
การป้องกันการฆ่าตัวตาย
02/02/2021
อยู่ก็ได้ ไม่อยู่ก็ดี ภาวะเฉยชากับชีวิต ที่นำไปสู่การคิดฆ่าตัวตาย
เบื่อหน่ายกับการใช้ชีวิต แม้แต่ตอนหลับสมองก็ยังคิดถึงแต่ความตาย หากตัวคุณ หรือคนรอบข้างกำลังแสดงอาการ และพฤติกรรมที่ทำร้ายตนเองอยู่ละก็ พวกเขาอาจกำลังเข่าสู่ ภาวะเฉยชากับชีวิต ที่อาจเกี่ยวข้องกับโรคซึม แต่จะมีอาการอย่างไรเพิ่มเติมนั้น มารู้ให้เท่าทันกับบทความนี้ ที่ Hello คุณหมอ ได้นำมาฝากทุกๆ คนกัน รู้จักกับ ภาวะเฉยชากับชีวิต (Passive Death Wish) เพื่อการรับมืออย่างเท่าทัน ภาวะเฉยชากับชีวิต หรือการคิดฆ่าตัวตายแบบพาสซีพ คือ อาการหมกมุ่นที่จะอยากจบชีวิตตนเองแบบไม่มีการคาดการณ์ หรือวางแผนไว้ล่วงหน้า เป็นการฆ่าตัวตายทางความคิดจินตนาการร่วมด้วย เช่น หากนอนหลับไปแล้ว ถ้าไม่ตื่นขึ้นมาก็คงจะดี หรือโลกจะน่าอยู่กว่านี้ถ้าไม่มีเรา ถึงแม้จะเป็นเพียงแค่ความคิดแต่ไม่ได้หมายความว่าเหตุการณ์ร้ายแรงจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ อย่าประมาทภาวะน่ากลัวนี้เพราะคุณคาดเดาไม่ได้เลยว่าผู้ป่วยจะลงมือทำร้าย หรือจบชีวิตของพวกเขาตอนไหน สาเหตุหลักๆ ของภาวะเฉยชากับชีวิต มีหลายปัจจัยด้วยกัน คือ การใช้สารเสพติด ความกดดันจากสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่งของชีวิตจนทำให้สะสม ปัญหาตามสภาพแวดล้อมในสังคม เช่น ปัญหาทางการเงิน ปัญหาด้านความสัมพันธ์ หรือสภาพแวดล้อมตามถิ่นที่อยู่อาศัยเป็นเชิงลบ มีความผิดปกติด้านจิตใจ (ภาวะซึมเศร้า หรือโรคซึมเศร้า) ความเครียด วิตกกังวล เช็กอาการตนเอง และคนที่คุณรักโดยด่วน ก่อนจะสายเกินแก้ รู้สึกสิ้นหวังกับบางอย่างที่เกิดขึ้นในชีวิตของพวกเขา พูดถึงความตาย หรือคิดที่จะฆ่าตัวตายอยู่บ่อยครั้ง การพึ่งสารเสพติดในปริมาณที่มากขึ้น อารมณ์แปรปรวนง่าย มีวิธีการคิดฆ่าตัวตายอย่างรุนแรง เช่น การใช้อาวุธปืน และของมีคม เป็นต้น คำพูดสื่อความหมายในเชิงบอกลาผู้คนที่พวกเขารัก ชอบแยกตนเองออกมาจากสังคม หรือผู้อื่น คุณสามารถสังเกตอาการข้างต้นที่กล่าวมาได้ หรือหากมีอาการอื่นๆ ที่ใกล้เคียง หรือรุนแรงกว่านั้น ให้คุณรีบพาผู้ป่วยไปขอรับคำปรึกษาจากแพทย์ […]
/author/hellodoktor
ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ
อาการเตียงดูด (Dysania) อีกหนึ่งสัญญาเตือน อาการป่วยทางจิตอาการเตียงดูด (Dysania) อีกหนึ่งสัญญาเตือน อาการป่วยทางจิตอาการเตียงดูด (Dysania) อีกหนึ่งสัญญาเตือน อาการป่วยทางจิต
ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น
07/06/2020
อาการเตียงดูด (Dysania) อีกหนึ่งสัญญาเตือน อาการป่วยทางจิต
หลายคนคงเคยเป็นกันใช่ไหม เมื่อถึงเวลาต้องตื่นนอนในตอนเช้า แล้วรู้สึกไม่อยากลุกออกจากเตียง หรือบางครั้งลุกมาแล้วก็อยากกลับไปนอนอีก นั่นอาจกำลังเป็นสัญญาณเตือนว่าคุณกำลังมี อาการเตียงดูด ก็เป็นได้ ซึ่งโรคนี้สามารถทำให้เกิดผลกระทบทั้งร่างกายและจิตใจได้ วันนี้ Hello คุณหมอ มีเรื่องนี้มาฝากกัน ทำความรู้จักกับ อาการเตียงดูด (Dysania หรือ Clinomania) อาการเตียงดูด (Dysania หรือ Clinomania) เป็นสภาวะที่พบว่ามีอาการลุกออกจากเตียงได้ยากในตอนเช้า มันทำให้คนที่มีอาการนี้รู้สึกทุกข์ทรมาน เพราะลุกออกจากเตียงได้ยากในตอนเช้าทั้งยังมีความรู้สึกที่มากกว่าการง่วงนอนอีกด้วย แม้ว่าผู้ที่ได้รับผลกระทบจะนอนนานกว่าชั่วโมงที่ได้แนะนำเอาไว้ แต่พวกเขาก็ยังพบว่าพวกเขาสามารถลุกออกจากเตียงได้ยากมาก นอกจากนั้นพวกเขายังจะมีความรู้สึกอยากกลับไปนอนที่เตียงอีกทั้งๆ ที่ลุกออกมาได้แล้ว ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นอาจทำให้พวกเขาเกิดความหดหู่ ความเหนื่อยล้าเรื้องรัง จนถึงขั้นเป็นโรคซึมเศร้าได้เลยทีเดียว อาการเตียงดูดเป็นสัญญาณของโรคอะไรได้บ้าง ผู้ที่เป็นมีอาการเตียงดูดนั้น ยังสามารถทำให้เกิดโรคต่างๆ ตามมาได้อีกด้วย ซึ่งโรคที่ตามมา ได้แก่ อาการซึมเศร้า อาการซึมเศร้านั้นเป็นโรคทางอารมณ์ที่อาจทำให้เกิดความเศร้า การสูญเสียพลังงาน และความเหนื่อยล้า กลุ่มอาการเหนื่อยล้าเรื้อรัง (Chronic fatigue syndrome หรือ CFS) ผู้ที่อยู่ในกลุ่มอาการเหนื่อยเรื้อรังจะมีความรู้สึกว่าเหนื่อยล้าเป็นอย่างมาก ซึ่งอาการนี้จะคงอยู่เป็นเวลานานและไม่สามารถหายได้ ซึ่งนี่เป็นหนึ่งเหตุผลที่ทำให้เกิดอาการเตียงดูดนั่นเอง ไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia)  โรคนี้ทำให้เกิดความเจ็บปวดอย่างมากมาย เช่น ส่งผลทางด้านความจำ การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ นอกจากนี้ยังสามารถทำให้เกิดความเหนื่อยล้าขึ้นได้ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ สิ่งนี้จะเกิดขึ้นเมื่อมีบางสิ่งขัดขวางการหายใจของคุณในขณะที่คุณหลับ ส่งผลให้พลังงานของคุณลดต่ำลง และเกิดอาการง่วงตอนกลางวันได้อีกด้วย โรคโลหิตจาง เมื่อคุณไม่มีเซลล์เม็ดเลือดแดงที่แข็งแรงเพียงพอ ระดับพลังงานของคุณอาจจะลดลง ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ หากต่อมไทรอยด์ของคุณทำงานอย่างไม่เต็มประสิทธิภาพ มันจะส่งผลให้คุณรู้สึกเฉื่อยชา โรคเบาหวาน ระดับน้ำตาลในเลือดสูงสามารถส่งผลต่อพลังงานในร่างกายของคุณได้ โรคขาอยู่ไม่สุข […]
/author/sitthinisa
ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย
วิธีคลายเครียด เพื่อสุขภาพจิตที่ดีวิธีคลายเครียด เพื่อสุขภาพจิตที่ดีวิธีคลายเครียด เพื่อสุขภาพจิตที่ดี
การจัดการความเครียด
27/09/2021
วิธีคลายเครียด เพื่อสุขภาพจิตที่ดี
วิธีคลายเครียด เป็นวิธีที่อาจช่วยจัดการกับความเครียดให้ทุเลาได้ ก่อนที่จะพัฒนากลายเป็นความเครียดเรื้อรัง ซึ่งอาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การอยู่ร่วมกับสังคม และปัญหาสุขภาพ เช่น โรคเครียด ความวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้า การดูแลตัวเองเพื่อจัดการกับอารมณ์และผ่อนคลายเรื่องตึงเครียด จึงอาจช่วยส่งเสริมสุขภาพชีวิตและทำให้ชีวิตมีความสุขขึ้นได้ ความเครียด คืออะไร ความเครียด คือ ปฏิกิริยาตอบสนองทางร่างกายและจิตใจที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ซึ่งเป็นการตอบสนองในเชิงบวก ที่ช่วยให้ร่างกายรู้สึกตื่นตัวเพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้น แต่ถ้าหากความเครียดเกิดขึ้นยาวนานอาจส่งผลเสียร้ายแรงต่อร่างกายและจิตใจได้ ทั้งนี้ความเครียดอาจเกิดขึ้นระยะสั้นหรือระยะยาวขึ้นอยู่กับการจัดการความเครียดของแต่ละบุคคล หากเกิดความเครียดสะสม อาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพ เช่น ความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคจิตเวท วิธีคลายเครียด มีอะไรบ้าง วิธีคลายเครียดเพื่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีดังนี้ รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ ผู้ที่มีความเครียดอาจแก้ปัญหาหรือหนีความเครียดด้วยการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือกินอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพมากเกินไป การกระทำเหล่านี้อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพระยะยาวได้ ดังนั้นการรับประทานอาหารให้ตรงตามโภชนาการและดีต่อสุขภาพจึงเป็นวิธีที่จะช่วยจัดการกับความเครียดได้ ดังนั้น การรับประทานอาหารให้ตรงตามโภชนาการและดีต่อสุขภาพจึงเป็นวิธีที่จะช่วยจัดการกับความเครียดได้ เช่น ธัญพืชไม่ขัดสี ไก่ ไข่ มีวิตามินบี 12 ช่วยเผาผลาญคอร์ติซอลซึ่งเป็นฮอร์โมนความเครียด ดาร์กช็อกโกแลต อะโวคาโด กล้วย มีแมกนีเซียมช่วยลดการอักเสบ เผาผลาญคอร์ติซอล ผ่อนคลายร่างกายและจิตใจ แซลมอน ปลาซาร์ดีน ทูน่า อาหารที่อุดมไปด้วยไขมันโอเมก้า 3 ลดการอักเสบและส่งเสริมการทำงานของสมอง ลดความเสี่ยงความผิดปกติทางอารมณ์ เมล็ดฟักทอง อุดมไปด้วยโพแทสเซียมและสังกะสี ช่วยควบคุมความดันโลหิต ลดความเครียดและความวิตกกังวล ชาเขียว มีกรดอะมิโนที่เรียกว่า “ธีอะนีน […]

สุขภาพผิว

/author/sitthinisa
ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย
มือลอก สัญญาณสะท้อนปัญหาสุขภาพด้านใดบ้างมือลอก สัญญาณสะท้อนปัญหาสุขภาพด้านใดบ้างมือลอก สัญญาณสะท้อนปัญหาสุขภาพด้านใดบ้าง
การดูแลและทำความสะอาดผิว
19/10/2022
มือลอก สัญญาณสะท้อนปัญหาสุขภาพด้านใดบ้าง
มือลอก เป็นอาการที่ผิวหนังบริเวณฝ่ามือลอกเป็นขุย แห้ง และแตก ส่วนใหญ่เกิดขึ้นเพราะแพ้สารเคมีบางชนิด เช่น น้ำยาล้างจาน น้ำยาซักผ้า รวมถึงในช่วงที่อากาศหนาวเย็น เนื่องจากผิวหนังขาดความชุ่มชื้น นอกจากนี้ มือลอกอาจเป็นหนึ่งในอาการของโรคบางชนิด เช่น ผิวหนังที่มืออักเสบ โรคสะเก็ดเงิน ดังนั้น จึงควรหมั่นสังเกตมือของตัวเองอยู่สม่ำเสมอ และควรปรึกษาคุณหมอหากไม่แน่ใจว่าสาเหตุมือลอกเกิดขึ้นเพราะอะไร  [embed-health-tool-bmi] มือลอก เกิดจากอะไร อาการมือลอกอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้  แสงแดด หากมือถูกแสงแดดติดต่อกันเป็นระยะเวลานานเกินไป ผิวหนังบริเวณฝ่ามือและนิ้วมือจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีแดง มีอาการเจ็บและปวด หรือร้อนจัด และในวันต่อมาผิวหนังบริเวณนั้นจะเริ่มลอก การถูกแดดเผาหรือความร้อนชนิดอื่นก็อาจทำให้เกิดอาการมือลอกได้ด้วยเช่นกัน สภาพอากาศ สภาพอากาศที่ร้อนหรือหนาวเย็นมากจนเกินไป ล้วนมีส่วนทำให้มือลอกได้ทั้งนั้น โดยเฉพาะสภาพอากาศหนาวเย็น อาจทำให้ผิวหนังเสี่ยงต่อสภาพผิวแห้งได้ง่าย หากไม่บำรุงผิวให้ชุ่มชื้น หรือดื่มน้ำไม่เพียงพอ ดังนั้น จึงควรทาครีมบำรุงผิวอย่างสม่ำเสมอ เพื่อช่วยกักเก็บความชุ่มชื้น และควรดื่มน้ำประมาณ 2-3 ลิตร/วัน สารเคมี สารเคมีที่พบในผลิตภัณฑ์ในชีวิตประจำวัน เช่น สบู่ ยาสระผม ครีมบำรุงผิว รวมถึงสารละลายต่าง ๆ ทั้งที่เป็นสารกันบูด หรือเป็นตัวทำละลาย ซึ่งพบในผลิตภัณฑ์อย่างผงซักฟอก ล้วนมีส่วนที่ทำให้มือลอกได้เช่นกัน เนื่องจากปริมาณของสารดังกล่าวอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองของผิวหนังหากสัมผัสในปริมาณมาก   การล้างมือบ่อยจนเกินไป แม้การล้างมืออาจช่วยให้ห่างไกลจากเชื้อโรคและแบคทีเรีย แต่ก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้มือลอกได้ เนื่องจากผิวอาจเกิดการระคายเคือง และสูญเสียน้ำเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น […]
/author/ploy
ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล
เล็บเป็นเส้นขีดดำ สัญญาณเตือนเกี่ยวกับสุขภาพที่ไม่ควรมองข้ามเล็บเป็นเส้นขีดดำ สัญญาณเตือนเกี่ยวกับสุขภาพที่ไม่ควรมองข้ามเล็บเป็นเส้นขีดดำ สัญญาณเตือนเกี่ยวกับสุขภาพที่ไม่ควรมองข้าม
การดูแลเล็บ
4 สัปดาห์ก่อน
เล็บเป็นเส้นขีดดำ สัญญาณเตือนเกี่ยวกับสุขภาพที่ไม่ควรมองข้าม
เล็บเป็นเส้นขีดดำ คือใต้ผิวเล็บมีเส้นขีดสีดำ หรือน้ำตาลปรากฏขึ้นในแนวตั้งเล็บใดเล็บหนึ่งหรือทุกเล็บ เป็นได้ทั้งเล็บมือและเล็บเท้า ซึ่งอาการดังกล่าวเป็นสัญญาณสะท้อนสุขภาพเกี่ยวกับความผิดปกเกี่ยวกับร่างกายและระบบต่าง ๆ จำเป็นที่จะต้องได้รับการตรวจและรักษา เพราะอาจเป็นได้ทั้งเส้นเลือดใต้เล็บแตก หรือกระทั่งโรคร้ายแรงอย่างมะเร็ง [embed-health-tool-bmr] เล็บเป็นเส้นขีดดำ คืออะไร เล็บเป็นเส้นขีดดำ (Melanonychia) คือ รอยเส้นยาวส่วนมากจะเป็นแนวตั้งสีดำ หรือน้ำตาลเข้มปรากฏขึ้นให้เห็นเด่นชัดบนเล็บ สามารถเกิดขึ้นได้กับเล็บมือ และเล็บเท้า รอยเส้นนี้อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุที่แตกต่างกันไป ดังนี้ เนื้องอกใต้ผิวหนัง เมื่อเกิดเนื้องอกใต้ผิวหนัง จะทำให้เกิดเส้นใต้ผิวเล็บปรากฎขึ้น เนื่องจากเนื้องอกเติบโตขึ้น และในบางรายอาจไม่ได้มีเพียงแค่เส้นสีดำเท่านั้น อาจทำให้เกิดการเจ็บปวดบริเวณรอบ ๆ เล็บ ร่วมด้วย พร้อมทั้งมีอาการเลือดออกปะปนตามออกมา จากการรายงานของ Podiatry Management พบว่า ประมาณ 40-50 เปอร์เซ็นต์มักปรากฎเส้นขีดดำกับเล็บเท้าบ่อยที่สุด เส้นเลือดใต้เล็บแตก เป็นอาการตกเลือด ที่เกิดมาจากเส้นเลือดภายใต้เล็บบาดเจ็บ หรือประสบกับอุบัติเหตุรุนแรงจนหลอดเลือดในบริเวณนั้นขาด จนเกิดเป็นร่องรอยสีน้ำตาลเข้ม หรือดำ ปรากฏอยู่บนเล็บ โดยปกติแล้วอาการเช่นนี้จะสามารถหายไปได้เองภายในไม่กี่วัน แต่ถ้าหากเส้นเลือดใต้เล็บนี้ขาดเป็นจำนวนมาก  อาจทำให้รอยเส้นสีดำอยู่บนเล็บถาวรก็เป็นได้ ภาวะของโรคที่เป็นสาเหตุเล็บเป็นเส้นขีดดำ ปกติแล้วสีของเล็บ ผม ผิวหนังถูกผลิตโดยเซลล์ที่มีชื่อว่า “เมลาโนไซต์ (Melanocytes)” ซึ่งภายในประกอบไปด้วยเซลล์เม็ดสีเมลานิน (Melanin) หากสังเกตว่า เส้นขีดดำบนเล็บมีความเข้มขึ้นเรื่อย ๆ จนในที่สุดเกิดการลุกลามไปยังนิ้วอื่น ๆ […]
/expert/แพทย์หญิงเกศอร-ป้องอาณา
ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงเกศอร ป้องอาณา
จุด แดง ใต้ ผิวหนัง ไม่ คัน อาการ สาเหตุและการรักษาจุด แดง ใต้ ผิวหนัง ไม่ คัน อาการ สาเหตุและการรักษาจุด แดง ใต้ ผิวหนัง ไม่ คัน อาการ สาเหตุและการรักษา
สุขภาพผิว
03/01/2023
จุด แดง ใต้ ผิวหนัง ไม่ คัน อาการ สาเหตุและการรักษา
จุด แดง ใต้ ผิวหนัง ไม่ คัน (Petechiae) เป็นอาการที่เกิดขึ้นเมื่อเส้นเลือดฝอยใต้ผิวหนังแตก ทำให้เกิดเป็นจุดเลือดสีแดง สีม่วง หรือสีน้ำตาล ไม่คันและไม่เจ็บปวด ซึ่งอาการดังกล่าวสามารถหายเองได้โดยไม่ต้องรักษา แต่ในบางกรณีอาการจุดแดงใต้ผิวหนังอาจเป็นสัญญาณของภาวะสุขภาพร้ายแรงบางชนิดได้เช่นกัน จึงควรเข้าพบคุณหมอหากพบว่ามีจุดแดงใต้ผิวหนังร่วมกับอาการอื่น ๆ เช่น มีไข้ หนาวสั่น ฟกช้ำ ปัสสาวะหรืออุจจาระมีเลือดปน อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามร่างกาย หายใจถี่ [embed-health-tool-bmr] จุด แดง ใต้ ผิวหนัง ไม่ คัน เกิดจากอะไร จุดแดงใต้ผิวหนัง ไม่คัน สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ที่ทำให้เส้นเลือดฝอยใต้ผิวหนังแตกจนเกิดเป็นจุดแดง ดังนี้ การบาดเจ็บ ผิวหนังที่ถูกระทบกระเทือนจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ การกัด การเสียดสีบนผิวหนัง การถูกแดดเผาหรืออื่น ๆ อาจส่งผลให้เส้นเลือดฝอยแตกจนกลายเป็นจุดแดงใต้ผิวหนังได้ การหดเกร็งกร้ามเนื้ออย่างรุนแรง เช่น อาเจียน ยกของหนัก คลอดลูก อาจส่งผลให้หลอดเลือดใต้ผิวหนังแตกได้ การติดเชื้อ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น โรคคออักเสบ ไข้อีดำอีแดง ไข้รากสาดใหญ่ (Rocky Mountain […]

การตั้งครรภ์

/author/sitthinisa
ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย
ท้อง1เดือนกินยาขับเลือดออกไหม และมีอันตรายอย่างไรบ้างท้อง1เดือนกินยาขับเลือดออกไหม และมีอันตรายอย่างไรบ้างท้อง1เดือนกินยาขับเลือดออกไหม และมีอันตรายอย่างไรบ้าง
การตั้งครรภ์
12/01/2023
ท้อง1เดือนกินยาขับเลือดออกไหม และมีอันตรายอย่างไรบ้าง
ยาขับเลือด เป็นยาสตรีที่ช่วยให้ประจำเดือนมาปกติ หลายคนจึงอาจสงสัยว่า ท้อง1เดือนกินยาขับเลือดออกไหม โดยทั่วไปการกินยาขับเลือดชนิดนี้ไม่สามารถทำให้แท้งได้ ไม่ว่าจะกินในช่วงอายุครรภ์ไหนหรือกินในปริมาณมาก แต่หากกินอย่างต่อเนื่องในปริมาณที่มากเกินไปอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพในระยะยาวได้ [embed-health-tool-due-date] ยาขับเลือด คืออะไร ยาขับเลือด หรือ ยาสตรี มักใช้ในผู้หญิงที่ประจำเดือนมาไม่ปกติ เป็นยาที่ช่วยปรับความสมดุลของฮอร์โมน อาจมีส่วนประกอบของสมุนไพรหรือตัวยาที่ออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ช่วยให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวขึ้น ช่วยให้ประจำเดือนมีปริมาณปกติและมาในช่วงรอบเดือนที่เป็นปกติมากขึ้น ท้อง1เดือนกินยาขับเลือดออกไหม ยาขับเลือดมีคุณสมบัติที่ช่วยในการขับประจำเดือนและช่วยให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ ซึ่งส่วนผสมในยาประกอบด้วยสมุนไพรหลายชนิด เช่น ว่านชักมดลูก สะระแหน่ ดอกคำฝอย ชะเอม ดอกจันทน์ น้ำผึ้ง เปลือกส้ม ขิง ไพล ที่ไม่ได้มีคุณสมบัติช่วยขับตัวอ่อนหรือทำแท้ง ถึงแม้ว่าบางคนจะกินยาขับเลือดในช่วงท้อง 1 เดือน หรือช่วงเวลาใดของการตั้งท้อง หรือจะกินในปริมาณมากก็ไม่สามารถทำให้แท้งได้ แต่อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาวได้หากกินในปริมาณที่มากเกินไป ท้อง1เดือนกินยาขับเลือดอันตรายไหม การกินยาขับเลือดในปริมาณที่มากเกินไปและเป็นเวลานาน อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ ดังนี้ ตกขาวมีปริมาณมากขึ้นและยาวนานขึ้น ช่องคลอด โพรงมดลูก และปากมดลูกอาจอักเสบได้ อาจทำให้ทารกในท้องมีภาวะพิการแต่กำเนิด เนื่องจากยาขับเลือดบางยี่ห้ออาจมีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ อาจเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งเต้านม มะเร็งโพรงมดลูก หรือเนื้องอกบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ เช่น รังไข่ มดลูก ปากมดลูก โดยเฉพาะในผู้ที่กินยาขับเลือดติดต่อกันเป็นเวลานาน การกินยาขับเลือดอาจเสี่ยงทำให้อาการของโรคประจำตัวบางชนิดรุนแรงขึ้น เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด ความดันโลหิตสูง เส้นเลือดอุดตัน การยุติการตั้งครรภ์ที่เหมาะสม สำหรับผู้ที่ต้องการยุติการตั้งครรภ์ ในปัจจุบันมีสถานพยาบาลหลายแห่งที่บริการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการทำแท้งอย่างถูกกฎหมายและปลอดภัย หรือโทร […]
/expert/แพทย์หญิงสุจิณันฐ์-นันทาภิวัธน์
ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงสุจิณันฐ์ นันทาภิวัธน์
คนท้อง อาการและการดูแลคนท้อง อาการและการดูแลคนท้อง อาการและการดูแล
ระหว่างตั้งครรภ์
31/03/2022
คนท้อง อาการและการดูแล
ร่างกายของ คนท้อง รวมถึงการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกในครรภ์จะเปลี่ยนแปลงไปตามระยะของการตั้งครรภ์ ในช่วงตั้งครรภ์ร่าอาจมีปัญหาสุขภาพที่พบบ่อย หรือที่มักเรียกว่า อาการคนท้อง เช่น คลื่นไส้อาเจียน เต้านมบวมและเจ็บปวด ปัสสาวะมากขึ้น เหนื่อยล้า การดูแลในระหว่างตั้งครรภ์จึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะอาจช่วยบรรเทาอาการคนท้อง และมีส่วนช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกด้วย คนท้องแต่ละไตรมาส การตั้งครรภ์เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่อสุจิเข้าไปผสมกับไข่ หรือที่เรียกว่าการปฏิสนธิ แล้วกลายเป็นตัวอ่อนฝังอยู่ในผนังมดลูก โดยการตั้งครรภ์นิยมแบ่งเป็น 3 ไตรมาส ดังนี้ คนท้องไตรมาสที่ 1 เริ่มต้นตั้งแต่วันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้ายไปจนถึง 14 สัปดาห์ เป็นช่วงเวลาที่ฮอร์โมนและร่างกายของคุณแม่เริ่มเปลี่ยนแปลง บางคนอาจมีอาการที่เป็นสัญญาณของการตั้งครรภ์ เช่น เจ็บเต้านม มีเลือดล้างหน้าเด็ก เมื่อยล้า ปัสสาวะมากขึ้น ท้องอืด อารมณ์แปรปรวน การเจริญเติบโตของทารกในช่วงไตรมาสแรกเริ่มจากไข่ผสมกับอสุจิและกลายเป็นตัวอ่อนฝังในผนังมดลูก ในไตรมาสนี้ เซลล์จะแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว ระบบประสาท ไขสันหลัง เส้นประสาท หัวใจและกล้ามเนื้อ รวมถึงอวัยวะส่วนอื่น ๆ เริ่มพัฒนา ผู้ที่สงสัยว่าตัวเองอาจตั้งครรภ์ สามารถตรวจการตั้งครรภ์ได้หลังประจำเดือนขาด 1 สัปดาห์ โดยอาจไปตรวจการตั้งครรภ์ที่สถานพยาบาล หรือซื้อชุดตรวจการตั้งครรภ์จากร้านขายยามาตรวจเบื้องต้นเองก็ได้ ชุดตรวจการตั้งครรภ์จะตรวจหาฮอร์โมน hCG ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่พบได้ในปัสสาวะของสตรีมีครรภ์ หากตรวจไม่พบควรเว้นไปอีก 1 สัปดาห์แล้วตรวจซ้ำอีกครั้ง เนื่องจากปริมาณฮอร์โมน hCG ในครั้งแรกอาจยังไม่เพียงพอ คนท้องไตรมาสที่ […]
/author/ploy
ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล
ประจำเดือนไม่มา 3 เดือน เกิดจากสาเหตุอะไรประจำเดือนไม่มา 3 เดือน เกิดจากสาเหตุอะไรประจำเดือนไม่มา 3 เดือน เกิดจากสาเหตุอะไร
การตั้งครรภ์
14/12/2021
ประจำเดือนไม่มา 3 เดือน เกิดจากสาเหตุอะไร
ประจำเดือนของผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ส่วนใหญ่จะมาทุก ๆ 21-35 วัน หรืออาจมาคลาดเคลื่อนไม่เกิน 7 วัน แต่หากประจำเดือนไม่มา 3 เดือน ก็อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ระดับฮอร์โมนไม่สมดุล ความเครียด การตั้งครรภ์ หรืออาจเป็นสัญญาณบ่งบอกอันตรายต่อสุขภาพได้ ดังนั้น ผู้ที่ประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือประจำเดือนไม่มา 3 เดือน ควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและหาสาเหตุให้แน่ชัด  [embed-health-tool-”ovulation”] ประจำเดือน คืออะไร ประจำเดือน คือ เลือดที่ไหลออกมาจากทางช่องคลอดเป็นประจำทุกเดือนเมื่อถึงวัยเจริญพันธุ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในกระบวนการสืบพันธุ์ของร่างกาย เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย โดยสมองจะสั่งให้ต่อมใต้สมองผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน ฮอร์โมนเหล่านี้จะทำให้เยื่อบุมดลูกหนาขึ้น เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการฝังตัวของไข่ที่ปฏิสนธิกับอสุจิแล้ว แต่ถ้าหากไข่ไม่มีการปฏิสนธิกับอสุจิ เยื่อบุมดลูกก็จะหลุดลอกออกมากลายเป็นประจำเดือน โดยปกติประจำเดือนจะมาประมาณ 4-6 วัน ซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล สาเหตุประจำเดือนไม่มา 3 เดือน  ประจำเดือนไม่มา 3 เดือน อาจมีสาเหตุหลายปัจจัยดังนี้   การตั้งครรภ์ อาจส่งผลให้ประจำเดือนไม่มาได้ ทั้งนี้ ควรตรวจให้แน่ชัดว่าตั้งครรภ์หรือไม่ โดยซื้อที่ตรวจครรภ์จากร้านขายยา หรือเพื่อความมั่นใจควรไปตรวจที่โรงพยาบาล การตรวจการตั้งครรภ์ สามารถตรวจจากปัสสาวะหรือเลือด เพื่อวัดระดับฮอร์โมน HCG ที่เป็นฮอร์โมนที่ผลิตจากเซลล์ของรก การให้นมบุตร เนื่องจากโพรแลคติน (Prolactin) ที่เป็นฮอร์โมนสำหรับการผลิตน้ำนมอาจส่งผลยับยั้งการหลั่งฮอร์โมนสืบพันธุ์ ทำให้ช่วงให้นมบุตรอาจยังไม่มีการตกไข่ การรับประทานยาคุมกำเนิด ผู้ที่รับประทานยาคุมกำเนิดอาจส่งผลให้ประจำเดือนไม่มา […]
โฆษณา
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพอื่น ๆ
โฆษณา

ค้นหาชุมชนของคุณ

ดูทั้งหมด

ดูทั้งหมด

Hello คุณหมอ แหล่งข้อมูลที่คุณต้องการมากที่สุด

ผลการวิจัย
ผลการวิจัย

บทความทั้งหมดเกี่ยวกับ Hello คุณหมอ ได้รับการค้นคว้า เรียบเรียง และเขียนอย่างละเอียด โดยอ้างอิงจากการศึกษา ข่าวสาร และบทวิจารณ์ล่าสุด จากสถาบันการศึกษาและการแพทย์ที่มีชื่อเสียง

ตรวจสอบแล้ว
ตรวจสอบแล้ว

บทความในเว็บไซต์ของเราได้รับการตรวจสอบโดยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ

ติดตาม
ติดตาม

บทความของเราผ่านการรังสรรค์ร่วมกับแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้แน่ใจว่าเนื้อหาของเราถูกต้องและครบถ้วน

เชื่อถือได้
เชื่อถือได้

Hello คุณหมอ ในฐานะแพลตฟอร์มดิจิทัลด้านสุขภาพชั้นนำ ที่มุ่งเน้นในการนำเสนอเนื้อหาด้านสุขภาพที่ถูกต้อง ตรงประเด็น และเป็นปัจจุบันที่สุด เพื่อช่วยให้ผู้อ่านตัดสินใจเรื่องสุขภาพได้ดีขึ้น

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม