backup og meta

วิธีจับลูกเรอ ป้องกันอาการจุดเสียด ท้องอืด ทำได้อย่างไร

วิธีจับลูกเรอ ป้องกันอาการจุดเสียด ท้องอืด ทำได้อย่างไร
วิธีจับลูกเรอ ป้องกันอาการจุดเสียด ท้องอืด ทำได้อย่างไร

ทารกแรกเกิดอาจมีระบบย่อยอาหารที่ยังพัฒนาไม่เต็มที่ ทำให้การย่อยอาหารยังทำได้ไม่ดี ส่งผลให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร อาการจุดเสียด กรดไหลย้อน และอาเจียนหลังกินนม การทำให้ลูกเรอ จึงอาจช่วยขับแก๊สออกจากกระเพาะ และลดอาการท้องอืด จุกเสียดได้ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรศึกษา วิธีจับลูกเรอ และวิธีป้องกันการเกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร เพื่อช่วยให้ลูกน้อยสบายตัว ลดอาการท้องอืด

[embed-health-tool-vaccination-tool]

ทำไมควรทำให้ทารกเรอหลังจากกินนม

ระหว่างที่ทารกกินนมอาจทำให้กลืนอากาศเข้าไปในช่องท้อง ส่งผลให้เกิดการสะสมของแก๊สในกระเพาะอาหาร นอกจากนี้ โปรตีนในนมวัว และสารอาหารบางชนิดที่คุณแม่รับประทาน เช่น ไข่ ถั่ว กะหล่ำ น้ำอัดลม โซดา ขนมที่มีน้ำตาลสูง อาจปะปนในน้ำนม เมื่อทารกกินนมจึงทำให้ร่างกายตอบสนองโดยการสร้างแก๊สในช่องท้องมากขึ้น ทำให้ทารกปวดท้อง ไม่สบายตัว และแสดงอาการออกมาเป็นการร้องไห้ ดังนั้น การทำให้ลูกน้อยเรอหลังจากดื่มนมจะช่วยระบายแก๊สส่วนเกินในกระเพาะอาหารเหล่านี้ออกไป

วิธีจับลูกเรอ ทำอย่างไร

วิธีจับลูกเรอ อาจทำได้ด้วยการอุ้มท่าต่าง ๆ ดังนี้

  • อุ้มลูกพาดไหล่

คุณพ่อคุณแม่ควรอุ้มทารกพาดไหล่แนบชิดกับหน้าอก โดยให้หลังทารกตั้งตรง ใช้แขนข้างหนึ่งประคองก้น และจับศีรษะทารกพิงกับไหล่เอาไว้ จากนั้นใช้มืออีกข้างตบหลังทารกเบา ๆ หรือลูบหลังเป็นวงกลม เพื่อไล่อากาศ

  • อุ้มลูกนั่งบนตัก

หลังจากทารกกินนมเสร็จ ให้คุณพ่อคุณแม่จับลูก นั่งหลังตรงหันด้านข้างพิงกับหน้าอก และใช้มือประคองลำคอและศีรษะไว้ ใช้มืออีกข้างหนึ่งลูบหลังทารกเป็นวงกลมอย่างช้า ๆ หากทารกยังไม่เรอ ให้ลองตบหลังเบา ๆ

  • อุ้มแบบนอนคว่ำหน้าบนแขน

อุ้มทารกนอนคว่ำหน้าวางบนแขนข้างใดข้างหนึ่ง โดยให้ศีรษะอยู่บริเวณข้อพับแขน และหันหน้าทารกไปด้านข้างเพื่อให้ทารกหายใจได้สะดวก จากนั้นนำมืออีกข้างลูบหลังทารกเป็นวงกลมเบา ๆ 

  • อุ้มแบบนอนคว่ำหน้าบนหน้าท้อง

เป็นวิธีจับทารกที่เหมือนกับการนอนคว่ำหน้าบนแขนแต่เปลี่ยนมาอุ้มมาไว้บนหน้าท้องของคุณพ่อคุณแม่เพื่อให้ทารกนอนสบายขึ้น โดยหันศีรษะทารกออกด้านข้าง จากนั้นค่อย ๆ ตบหลังทารกหรือลูบหลังทารกเป็นวงกลมและลูบขึ้น เพื่อไล่แก๊สในกระเพาะอาหาร

ทำอย่างไร เมื่อทารกไม่เรอ

หากทารกยังไม่เรอภายใน 5 นาที คุณพ่อคุณแม่อาจลองปรับเปลี่ยนท่าทางการอุ้มที่ช่วยทำให้ลูกเรอไปเรื่อย ๆ หรือนวดทารกโดยให้ทารกนอนหงายบนที่นอน และจับขาทั้ง 2 ข้าง ทำท่าเหมือนปั่นจักรยาน หากทารกยังคงไม่เรออยู่ก็อาจหมายความว่าทารกไม่มีแก๊สในช่องท้องมาก อย่างไรก็ตาม หากทารกกินนมแล้วมีอาการอาเจียน ตัวร้อน มีไข้สูงกว่า 38 องศา ท้องร่วง ขับถ่ายเป็นเลือด ควรเข้าพบคุณหมอทันที เพราะอาจเป็นสัญญาณเตือนถึงอาการเจ็บป่วย

การป้องกันไม่ให้ทารกมีแก๊สมากเกินไป

วิธีที่อาจช่วยป้องกันไม่เกิดแก๊สในกระเพาะอาหารของทารกมากเกินไป อาจทำได้ดังนี้

  • เปลี่ยนจุกนม หากสังเกตว่าจุกนมมีรูขยายใหญ่ขึ้น
  • ทดสอบการไหลของจุกนม โดยการจับขวดพลิกคว่ำ หากนมในขวดไหลออกมาเร็วจนเกินไป อาจหมายความว่าขวดนมเสื่อมสภาพ ควรเปลี่ยนทันที
  • ควรถือขวดนมให้ทารกในลักษณะเอียงขวดเล็กขึ้นไปเล็กน้อย เพื่อป้องกันไม่ให้ทารกดูดอากาศเข้าไปมากเกินไปขณะกินนม
  • สังเกตน้ำนมจากเต้าของคุณแม่ หากน้ำนมไหลเร็วจนเกินไปควรหยุดให้นมทารกสักครู่ และนำผ้าซับน้ำนมจนกว่าน้ำนมจะไหลช้า จากนั้นจึงให้ทารกดูดกินได้ตามปกติ
  • ตรวจดูว่าปากของทารกประกบกับเต้านมหรือจุกนมสนิทหรือไม่ เพื่อป้องกันไม่ให้ดูดอากาศเข้าไปในระหว่างที่ดูดนม

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

How to breastfeed. https://www.nhs.uk/start4life/baby/feeding-your-baby/breastfeeding/how-to-breastfeed/burping-your-baby/. Accessed February 08, 2022  

Baby basics: How to burp your baby. https://www.unicef.org/parenting/child-care/how-to-burp-baby. Accessed February 08, 2022  

Burping Your Baby. https://kidshealth.org/en/parents/burping.html. Accessed February 08, 2022   

Newborn wind and burping: in pictures. https://raisingchildren.net.au/newborns/health-daily-care/health-concerns/wind. Accessed February 08, 2022

Burping a Baby. https://www.uofmhealth.org/health-library/not42086. Accessed February 08, 2022   

DEBUNKING OLD WIVES’ TALES: DO BABIES NEED TO BURP AFTER FEEDING? HTTPS://HEALTHCARE.UTAH.EDU/THE-SCOPE/SHOWS.PHP?SHOWS=0_J8JQTR2M. Accessed February 08, 2022  

เวอร์ชันปัจจุบัน

27/03/2023

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงหทัยทิพย์ ชัยประภา

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

วิธีเก็บนมแม่ เก็บอย่างไรให้ถูกวิธีและคงคุณค่าสารอาหาร

การนอนของทารก ที่เหมาะสม และวิธีช่วยให้ทารกหลับง่ายขึ้น


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงหทัยทิพย์ ชัยประภา

พ่อแม่เลี้ยงลูก · โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช (ศรีนครินทร์)


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 27/03/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา