เด็กทารก

วัยทารก คือช่วงเวลาที่เปราะบางและควรได้รับการดูแลเอาใจใส่จากคุณพ่อคุณแม่อย่างใกล้ชิด เพื่อให้ลูกน้อยเติบโตอย่างแข็งแรงและมีความสุข เรียนรู้ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับ เด็กทารก ตั้งแต่ทารกแรกเกิดถึงขวบปีแรก ทารกคลอดก่อนกำหนด ตลอดจนถึงโภชนาการสำหรับเด็กทารก และการดูแลเด็กทารก ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

เด็กทารก

แพมเพิส มีประโยชน์อย่างไร เคล็ดลับการใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูป

แพมเพิส ผ้าอ้อมเด็ก หรือผ้าอ้อมสำเร็จรูป ใช้สวมใส่ให้ลูกเพื่อรองรับการขับถ่ายของทารก แพมเพิสนั้นใช้ได้ตั้งแต่แรกเกิด ควรเตรียมไปเพื่อให้ลูกใส่ก่อนออกจากโรงพยาบาล เพราะผ้าอ้อมสำเร็จรูปเพิ่มความสะดวกสบายง่ายต่อการสวมใส่ แต่การใช้ผ้าอ้อมเด็ก ก็มีสิ่งสำคัญที่ต้องระมัดระวังเช่นกัน [embed-health-tool-vaccination-tool] ข้อดีของแพมเพิส หน้าที่ของแพมเพิสหรือผ้าอ้อมสำเร็จรูปเพื่อซึมซับปัสสาวะและอุจจาระของทารกและเด็ก จึงช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สะดวกสบาย เพียงใส่แพมเพิสให้กับทารก ลูกน้อยก็สามารถขับถ่ายได้สะดวก การซึมซับของแพมเพิสยังทำได้ดี คอยห่อตัวลูกให้ขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย ทำให้ทารกสบายตัว นอนหลับได้ดี การใช้แพมเพิสยังง่ายต่อการเปลี่ยน โดยสามารถนำแพมเพิสที่ใช้แล้วทิ้งขยะได้เลย จึงประหยัดเวลา ไม่ต้องซักบ่อย ๆ แบบผ้าอ้อมชนิดผ้า  เคล็ดลับการใส่แพมเพิส แพมเพิสสำหรับทารกมี 2 ประเภท วิธีเปลี่ยนแพมเพิสจึงแตกต่างกัน ดังนี้ เคล็ดลับการใส่แพมเพิสแบบเทปกาว ก่อนเปลี่ยนแพมเพิสควรดูแลทำความสะอาดทารก เช็ด หรือซับ ให้ตัวแห้งก่อนเปลี่ยนแพมเพิส เตรียมแพมเพิสแบบเทปกาวให้พร้อม กางออก หากมีขอบปกป้องการรั่วซึมให้ดึงตั้งขึ้น  จับทารกให้อยู่ในท่านอนหงาย นำแพมเพิสสอดเข้าไปใต้ก้นลูก โดยยกขาทั้ง 2 ข้างขึ้นเล็กน้อย ดึงตัวแพมเพิสขึ้นมาใกล้กับหน้าท้อง ให้ขอบของแพมเพิสต่ำกว่าสะดือเล็กน้อย จากนั้นนำแถบเทปที่อยู่ด้านหลังดึงมาติดให้กระชับกับด้านหน้า โดยสามารถปรับแถบกาวตามความเหมาะสม เพื่อไม่ให้เสียสีกับสะดือทารก โดยเฉพาะทารกแรกเกิดที่สะดือยังไม่หลุด ตรวจความเรียบร้อย ลองใช้นิ้วสอดระหว่างผ้าอ้อมกับตัวลูก ควรพอดีตัว ไม่หลวมเกินจนหลุด และไม่แน่นจนเสียดสีกับผิวของทารก สำหรับแพมเพิสแบบเทปกาวต้องคอยสังเกตไม่ให้แถบของเทปกาวสัมผัสกับผิวหนังลูก เคล็ดลับการใส่แพมเพิสแบบกางเกง ทารกที่น้ำหนักเกิน 5 กิโลกรัม สามารถใส่แพมเพิสแบบกางเกงได้ ซึ่งแพมเพิสชนิดนี้จะเหมาะกับเด็ก […]

หมวดหมู่ เด็กทารก เพิ่มเติม

สำรวจ เด็กทารก

โภชนาการสำหรับทารก

อาหารเด็ก7เดือน ที่ช่วยเสริมสุขภาพและพัฒนาการ

นมแม่เป็นแหล่งพลังงานและสารอาหารหลักที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของเด็ก 7 เดือน อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่สามารถให้ อาหารเด็ก7เดือน ที่เป็นอาหารประเภทอื่นเสริมด้วยได้ โดยอาจให้เด็ก 7 เดือนกินธัญพืช พืชหัว ผักใบเขียว ผลไม้ ผลิตภัณฑ์จากนมวัว ไข่สุก เนื้อปลา ที่บดหรือปั่นจนละเอียดและเคี้ยวง่าย ในปริมาณน้อย วันละ 2-3 ครั้ง ซึ่งอาจเสริมสร้างโภชนาการและช่วยให้ทารกมีพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย [embed-health-tool-child-growth-chart] เด็ก7เดือน กินอาหารแข็งได้หรือยัง อาหารแข็ง (Solid Food) เป็นอาหารที่ผ่านการบดจนละเอียดเพื่อช่วยให้ย่อยได้ง่าย เหมาะกับระบบย่อยอาหารของเด็กที่ยังทำงานได้ไม่เต็มที่ โดยทั่วไปจะเป็นผักและผลไม้บด เนื้อสัตว์บด ธัญพืชบด เป็นต้น บางครั้งอาจผสมกับนมแม่เพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการและช่วยให้เด็กกินได้สะดวกขึ้น คุณพ่อคุณแม่สามารถให้เด็กเริ่มกินอาหารแข็งได้เมื่อเด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไป ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายของเด็กเริ่มต้องการพลังงานมากขึ้นและจำเป็นต้องได้รับสารอาหารอื่น ๆ นอกเหนือไปจากนมแม่ในการเจริญเติบโต ทั้งนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรให้กินนมแม่ในปริมาณเท่าเดิมควบคู่ไปด้วย ไม่ควรหยุดให้นมแม่โดยทันที เนื่องจากนมแม่ยังคงเป็นแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ มีสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ทั้งนี้ เด็ก 7 เดือน ถือเป็นวัยที่กินอาหารแข็งได้แล้ว และหากให้เด็กเริ่มกินอาหารแข็งตั้งแต่อายุ 6 เดือน ในตอนนี้เด็กก็จะคุ้นเคยกับการกินอาหารแข็งบ้างแล้ว แนะนำให้คุณพ่อคุณแม่บดหรือปั่นอาหารให้ละเอียด เด็กจะได้กินง่ายขึ้นและช่วยให้ย่อยง่ายด้วย โดยควรให้เด็ก 7 เดือนกินอาหารแข็งครั้งละครึ่งถ้วย […]


เด็กทารก

ผ้าอ้อมเด็กแรกเกิด เลือกแบบไหนดี และวิธีป้องกันผื่นผ้าอ้อม

ผ้าอ้อม เด็ก แรก เกิด สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่ ผ้าอ้อมแบบผ้า และผ้าอ้อมสำเร็จรูป หลายบ้านมักเลือกใช้ผ้าอ้อมเด็กแรกเกิดทั้ง 2 ประเภทสลับกันไปตามความสะดวก เช่น ใส่ผ้าอ้อมแบบผ้าในตอนกลางวันแล้วใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูปในตอนกลางคืน ทั้งนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรศึกษาวิธีเปลี่ยนผ้าอ้อมที่ถูกต้อง เพราะอาจช่วยป้องกันการเกิดผื่นผ้าอ้อมได้ [embed-health-tool-baby-poop-tool] ผ้าอ้อม เด็ก แรก เกิด ควรเลือกอย่างไร การเลือกใช้ผ้าอ้อมเด็กแรกเกิดอาจพิจารณาจากข้อดีและข้อเสียของผ้าอ้อมแต่ละประเภท ดังนี้ ผ้าอ้อมเด็กแรกเกิดแบบผ้า (Cloth diaper) ผ้าอ้อมเด็กแรกเกิดแบบผ้า เช่น ผ้าอ้อมผ้าสาลู ผ้าอ้อมหนังไก่ (ทำจากผ้าสำลีกับผ้าสาลู) สามารถระบายอากาศได้ดีและไม่ทำให้ผิวระคายเคือง ทั้งยังเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย เนื่องจากผ้าอ้อมเด็กแรกเกิดแบบผ้าสามารถซักให้สะอาดและนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ข้อดี อ่อนโยนต่อผิวเด็กที่บอบบาง ระบายอากาศได้ดี ลดการเกิดผื่นผ้าอ้อม มีชนิดของเนื้อผ้าให้เลือกเยอะ ประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่าแบบใช้แล้วทิ้ง สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้อีก ข้อเสีย ซึมเปื้อนได้ง่าย อาจต้องใช้กางเกงหรือแผ่นรองซับ ต้องซักผ้าอ้อมเป็นประจำทุกวัน ไม่สะดวกเมื่อต้องเดินทาง ผ้าอ้อมเด็กแรกเกิดแบบสำเร็จรูป (Disposable diaper) หรือผ้าอ้อมเด็กแบบใช้แล้วทิ้ง เป็นผ้าอ้อมเด็กที่มีคุณสมบัติดูดซับของเสียได้ดี มีทั้งแบบเทปกาวและแบบกางเกง สำหรับเด็กแรกเกิด คุณพ่อคุณแม่อาจเลือกใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูปแบบเทปกาวที่มีราคาถูกกว่าเนื่องจากเด็กในวัยนี้จะขับถ่ายบ่อย โดยเฉพาะหลังกินนมทุกครั้ง ทำให้อาจต้องเปลี่ยนผ้าอ้อมประมาณ 10 ครั้ง/วัน […]


เด็กทารก

ทารก 2 เดือน และการเสริมพัฒนาการอย่างสร้างสรรค์

ทารก 2 เดือน เป็นวัยที่เริ่มแสดงลักษณะนิสัยให้คุณพ่อคุณแม่เห็นมากขึ้น คุณแม่จะเริ่มสังเกตได้ว่าลูกชอบหรือไม่ชอบอะไร จะนอนหลับ ขับถ่าย หรือรู้สึกหิวช่วงไหน โดยทั่วไป ทารกวัยนี้จะเริ่มตื่นในตอนกลางวันมากขึ้น เปิดโอกาสให้คุณพ่อคุณแม่ได้สื่อสารกับทารกมากขึ้น อีกทั้งทารก 2 เดือนยังสามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายได้ราบรื่นขึ้น เริ่มแสดงกิริยาเพื่อสื่อสารกับคนรอบข้าง คุณพ่อคุณแม่อาจช่วยเสริมพัฒนาการของทารก 2 เดือนได้ด้วยการใช้เวลาพูดคุย เปิดเพลงกล่อมเบา ๆ เล่านิทานให้ฟังก่อนนอน เป็นต้น [embed-health-tool-child-growth-chart] ทารก 2 เดือน และพัฒนาการที่ควรรู้ พัฒนาการทั่วไปของทารก 2 เดือน อาจมีดังต่อไปนี้ พัฒนาการด้านอารมณ์และสังคม มีท่าทางสงบลงเมื่อถูกอุ้มและมีคนพูดคุยด้วย ยิ้มแย้มเมื่อมีคนพูดคุยด้วยหรือยิ้มให้ แสดงอาการดีใจเมื่อมีคนเดินเข้าไปหา ชอบมองใบหน้าของคุณพ่อคุณแม่ พัฒนาการด้านภาษาและการสื่อสาร ตื่นตัวเมื่อได้ยินเสียงและหันไปหาต้นเสียง ส่งเสียงอ้อแอ้ แทนที่จะร้องไห้เพียงอย่างเดียว แสดงออกทางสีหน้าและท่าทางเพื่อพยายามบอกความต้องการของตัวเอง พัฒนาการด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว ยกศีรษะเมื่ออยู่ในท่านอนคว่ำ ขยับแขนขาทั้งสองข้างไปมาได้อย่างราบรื่น คลายมือออกได้ เอื้อมมือไปจับใบหน้าของคนที่เอาหน้ามาใกล้ ๆ แกว่งมือไปทางวัตถุ พัฒนาการด้านสติปัญญา เริ่มมองตามคนและวัตถุ เริ่มงอแงหรือหงุดหงิดเมื่อรู้สึกเบื่อหน่าย ให้ความสนใจกับใบหน้าที่เห็น สัญญาณความผิดปกติใน ทารก 2 เดือน ตามปกติแล้ว พัฒนาการของทารกแต่ละคนจะแตกต่างกันไป และอาจพัฒนาได้ช้าเร็วไม่เท่ากันแม้จะอยู่ในวัยเดียวกัน อย่างไรก็ตาม หากทารก 2 เดือน มีความผิดปกติต่อไปนี้ […]


การดูแลทารก

6 ท่า อุ้ม เด็ก ที่เหมาะสมกับคุณแม่และลูก

คุณพ่อคุณแม่มือใหม่หลายท่านอาจกำลังศึกษา ท่า อุ้ม เด็ก ที่เหมาะสม เพื่อให้ดีต่อร่างกายของเด็กและช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สบายตัวมากขึ้น เนื่องจากการอุ้มมีประโยชน์อย่างมากทั้งต่อพัฒนาการทางร่างกาย จิตใจและสมองของเด็ก ทั้งยังช่วยเพิ่มความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้อุ้มกับเด็กอีกด้วย [embed-health-tool-vaccination-tool] ประโยชน์ของการอุ้มเด็ก การอุ้มเด็กมีประโยชน์ต่อพัฒนาการทางร่างกาย จิตใจ และระบบประสาทของเด็ก ทั้งยังช่วยเพิ่มความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้อุ้มกับเด็ก และยังช่วยให้เด็กรู้สึกปลอดภัย นอกจากนี้ การใช้ท่าอุ้มเด็กที่เหมาะสมยังมีประโยชน์ต่อเด็กในด้านอื่น ๆ อีก เช่น ช่วยควบคุมอุณหภูมิ อัตราการเต้นของหัวใจ การหายใจ และการเจริญเติบโตทางร่างกายและอารมณ์ของเด็ก ช่วยให้กระดูกสันหลังของเด็กพัฒนาในรูปทรงที่ดี ไม่คดงอเมื่อโตขึ้น เพราะการอุ้มเด็กในท่าทางที่ถูกต้องจะช่วยให้กระดูกสันหลังของเด็กที่ยังอ่อนอยู่ตั้งตรงในตำแหน่งที่ดี แต่หากอุ้มในท่าที่เด็กจะต้องเอียงตัวไปข้างใดข้างหนึ่ง อาจเสี่ยงที่เด็กจะมีกระดูกสันหลังคดงอได้ ช่วยลดอาการร้องไห้งอแงในเด็กได้ เพราะเด็กจะรู้สึกปลอดภัยเมื่อถูกอุ้ม อาจช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาและการเข้าสังคม เพราะในระหว่างอุ้มเด็กจะได้ยินเสียงอย่างใกล้ชิด และสามารถตอบสนองต่อการสื่อสารได้ง่ายขึ้น 6 ท่า อุ้ม เด็ก มีอะไรบ้าง ท่าอุ้มเด็กต่อไปนี้อาจช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สบายมากขึ้น และยังช่วยให้เด็กปลอดภัยอีกด้วย ท่าที่ 1 ท่าอุ้มรับทารกแรกเกิด ใช้มือข้างหนึ่งประคองศีรษะและคอของทารกแรกเกิดไว้ และอีกมือหนึ่งอยู่ใต้ก้นของทารก งอเข่าเล็กน้อยระหว่างยกตัวทารกเพื่อป้องกันอาการปวดหลัง เมื่อยกตัวทารกขึ้นมาแล้วให้อุ้มทารกไว้แนบอก จากนั้นเลื่อนมือที่อยู่ด้านล่างของทารกขึ้นมารองรับคอของทารก ค่อย ๆ เคลื่อนศีรษะของทารกไปที่ข้อพับแขน โดยยังคงประคองคอของทารกไว้ แล้วย้ายมืออีกข้างมาไว้ใต้ก้นทารก ท่าที่ 2 ท่าอุ้มช่วยให้แขนและมือเด็กอยู่นิ่ง คุณแม่นั่งในท่าที่สบาย จากนั้นให้เด็กนั่งบนตักหั่นหน้าไปด้านข้างหรือหันออกห่างจากตัวแม่ โดยให้อกเด็กชิดกับอกแม่ ให้ขาของเด็กกางออกอยู่ระหว่างเอวทั้ง […]


โภชนาการสำหรับทารก

นมผง เด็ก 1 ขวบ และอาหารเสริมที่ควรกิน

โดยทั่วไป เด็กที่อายุ 1 ขวบขึ้นไปสามารถกินอาหารแข็งหรือนมชนิดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่นมแม่ และนมผงได้แล้ว จึงสามารถหย่านมได้ อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะเริ่มให้เด็กปรับมากินอาหารอื่น ๆ และดื่มนมวัวหรือนมชนิดอื่นแทน คุณพ่อคุณแม่อาจต้องใช้นมวัวหรืนมชนิดอื่นเป็นส่วนประกอบในการปรุงอาหาร เพื่อให้ระบบย่อยอาหารของเด็กปรับตัว แต่สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ยังต้องการให้ลูกกินนมผง ควรเลือกนมที่ระบุว่าเป็น นมผง เด็ก 1 ขวบ หรือเลือกนมผงที่มีสารอาหารที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการและระบบภูมิคุ้มกัน เพื่อส่งเสริมพัฒนาการและสุขภาพของเด็กให้แข็งแรง [embed-health-tool-bmi] นมผง เด็ก 1 ขวบ มีประโยชน์อย่างไร โดยทั่วไปเด็กอายุ 1 ขวบ สามารถกินอาหารแข็งได้มากขึ้น และกำลังอยู่ในช่วงหย่านมแม่และนมผง เพราะเด็กสามารถดื่มนมวัว นมถั่วเหลือง หรืออาหารอื่น ๆ ได้แล้ว นมผงจึงอาจไม่จำเป็นสำหรับเด็กที่อายุ 1 ขวบขึ้นไปมากนัก อย่างไรก็ตาม สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องการให้ลูกดื่มนมผงอยู่ อาจเลือกนมผงสำหรับเด็ก 1 ขวบที่เสริมสารอาหารเหล่านี้ กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนสายยาว (Long Chain Polyunsaturated Fatty Acids หรือ LCPs) ซึ่งมีประโยชน์ต่อการพัฒนาสมองและระบบประสาท โดยเฉพาะเด็กที่คลอดก่อนกำหนดหรือไม่ได้กินนมแม่ เบต้าแคโรทีน เป็นแหล่งของวิตามินเอและสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้เด็ก พรีไบโอติก […]


เด็กทารก

TTNB คือ ภาวะหายใจลำบากชั่วขณะในทารกแรกเกิด สาเหตุและการรักษา

TTNB คือ ภาวะหายใจลำบากชั่วขณะในทารกแรกเกิด ทำให้ทารกหายใจเร็วกว่าปกติ หายใจเสียงดัง รูจมูกบาน หายใจลึกจนเห็นซี่โครง ภาวะนี้พบได้ไม่บ่อยนัก มักเกิดในเด็กที่คลอดตามกำหนดหรือช้ากว่ากำหนดเล็กน้อยด้วยวิธีผ่าคลอด ทำให้ขาดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่เกิดขึ้นในระหว่างการคลอดธรรมชาติ ส่งผลให้ของเหลวบางส่วนยังคั่งอยู่ในปอดและทารกต้องใช้เวลาในการดูดซึมของเหลวกลับเข้าสู่ร่างกายหลังคลอด นอกจากนี้ยังอาจพบได้เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์เป็นหอบหืดหรือเบาหวาน โดยทั่วไป ภาวะ TTNB มักเกิดขึ้นนานไม่เกิน 3 วัน และไม่ส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพในระยะยาว [embed-health-tool-child-growth-chart] TTNB คือ อะไร Transient Tachypnea of the Newborn หรือ TTNB คือภาวะกลุ่มอาการหายใจลำบากชั่วขณะในทารกแรกเกิด ทำให้ทารกหายใจเร็วชั่วขณะ ส่งผลให้มีปัญหาในการดูดหรือกลืนนม ทั้งยังอาจทำให้มีอาการกระสับกระส่าย หายใจเสียงดัง สีผิวเปลี่ยนเป็นสีคล้ำเนื่องจากขาดออกซิเจน TTNB เป็นภาวะที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว อาจพบได้ตั้งแต่คลอดหรือภายใน 6 ชั่วโมงหลังคลอด และจะมีอาการประมาณ 24-72 ชั่วโมง ส่วนใหญ่เมื่อได้รับการรักษาแบบประคับประคอง ทารกก็จะมีอาการดีขึ้นจนสามารถกลับบ้านได้และกินนมได้ตามปกติ และไม่กระทบต่อการเจริญเติบโตหรือพัฒนาการของทารก สาเหตุของ TTNB คืออะไร สาเหตุหลักของภาวะ TTNB คือ ทารกมีของเหลวหลงเหลืออยู่ในปอดมากกว่าปกติหลังคลอด ซึ่งเป็นของเหลวหรือน้ำคร่ำที่อยู่ในครรภ์กับทารกมาตลอดการตั้งครรภ์ ขณะอยู่ในครรภ์ทารกไม่จำเป็นต้องใช้ปอดในการหายใจเนื่องจากรับออกซิเจนผ่านทางรก ปอดจึงเต็มไปด้วยของเหลวที่จำเป็นต่อการพัฒนาอวัยวะให้สมบูรณ์ แต่ในช่วงใกล้คลอดปอดจะเริ่มดูดซับของเหลวและขับของเหลวบางส่วนออกเมื่อทารกเคลื่อนตัวผ่านช่องคลอด จากนั้นเมื่อทารกแรกเกิดเริ่มร้องไห้และหายใจด้วยตัวเอง ปอดจะถูกเติมเต็มด้วยอากาศ […]


ทารกคลอดก่อนกำหนด

BPD คือ โรคปอดเรื้อรังในทารกแรกเกิด สาเหตุ อาการ วิธีรักษา

Bronchopulmonary Dysplasia หรือ BPD คือ โรคปอดเรื้อรังในทารกแรกเกิดที่คลอดก่อนกำหนดหรือมีปัญหาการหายใจหลังคลอด และต้องใช้เครื่องช่วยหายใจเพื่อให้ออกซิเจนเป็นเวลานาน โดยอาจพิจารณาว่าเป็นโรค BPD เมื่อทารกต้องใช้เครื่องช่วยหายใจนานกว่า 28 วัน การรักษาสามารถทำได้ด้วยการประคับประคองอาการไปจนกว่าปอดของทารกจะทำงานได้ตามปกติ ส่วนใหญ่ทารกจะมีอาการดีขึ้นแต่อาจมีภาวะสุขภาพในภายหลัง เช่น โรคหอบหืด ปัญหาพัฒนาการล่าช้า ปัญหาการหายใจในวัยเด็กไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ จึงควรป้องกันด้วยการเข้ารับการฝากครรภ์ เพื่อลดความเสี่ยงของการคลอดก่อนกำหนดซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรค BPD ในทารกแรกเกิด [embed-health-tool-child-growth-chart] โรค BPD คือ อะไร Bronchopulmonary Dysplasia หรือ โรค BPD คือโรคปอดเรื้อรังในทารกแรกเกิดที่เกิดจากพัฒนาการของเนื้อเยื่อปอดผิดปกติ มักพบในเด็กที่คลอดก่อนกำหนดเกิน 10 สัปดาห์ หรือในเด็กที่มีน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า 900 กรัม ซึ่งปอดจะยังพัฒนาไม่เต็มที่และได้รับออกซิเจนเสริมหรือใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นเวลานาน เช่น เด็กที่มีกลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน (Acute Respiratory Distress Syndrome) นอกจากนี้ยังอาจเกิดในทารกที่มีภาวะหลอดเลือดหัวใจเกิน (Patent Ductus Arteriosus หรือ PDA) ทารกที่ติดเชื้อในกระแสเลือด แม้ว่าจะคลอดตามกำหนดก็ตาม ทั้งนี้ โรค BPD ยังสามารถเกิดขึ้นในทารกที่ผ่านวัยแรกเกิดไปแล้วแต่มีพัฒนาการของปอดผิดปกติ มีการติดเชื้อขณะอยู่ในครรภ์ […]


เด็กทารก

ทารกตัวเหลือง อาการ สาเหตุและการรักษา

ทารกตัวเหลือง (Jaundice) มักพบในทารกที่คลอดก่อนกำหนด ทารกแรกเกิด และทารกที่กินนมแม่ ซึ่งเป็นภาวะที่ทารกมีระดับบิลิรูบิน (Bilirubin) ซึ่งเป็นสารที่เกิดจากการแตกตัวของเซลล์เม็ดเลือดแดงในหลอดเลือดมากเกินไป เนื่องจากร่างกายไม่สามารถขับบิลิรูบินออกได้หมด จึงส่งผลให้ทารกมีอาการตัวเหลือง [embed-health-tool-baby-poop-tool] คำจำกัดความ ทารกตัวเหลือง คืออะไร ทารกตัวเหลือง คือ ภาวะที่ตับของทารกยังพัฒนาไม่สมบูรณ์จนไม่สามารถขับสารบิลิรูบินในกระแสเลือดได้ ซึ่งเป็นสารที่เกิดจากการแตกตัวของเซลล์เม็ดเลือดแดงในหลอดเลือด ทำให้มีบิลิรูบินในกระแสเลือดมากเกินไป ส่งผลให้ทารกมีอาการตัวเหลือง ซึ่งภาวะนี้มักพบในทารกคลอดก่อนกำหนด ทารกแรกเกิดประมาณ 2-3 วันหลังคลอด และทารกที่กินนมแม่ไม่เพียงพอ อาการ อาการของทารกตัวเหลือง อาการที่แสดงว่าทารกมีภาวะตัวเหลืองมักสังเกตเห็นได้ประมาณวันที่ 2-4 หลังคลอด โดยทารกจะมีผิวหนังบริเวณต่าง ๆ เริ่มจากใบหน้า หน้าอก ท้อง และขา รวมทั้งตาขาวเป็นสีเหลือง นอกจากนี้ ทารกอาจมีอาการหหงุดหงิด ร้องไห้งอแง หรืออาจมีปัญหาในการกินอาหารร่วมด้วย อย่างไรก็ตาม หากสังเกตว่าทารกเริ่มมีอาการป่วย ไม่กินอาหาร ง่วงนอนกว่าปกติ และอาการตัวเหลืองรุนแรงขึ้น ควรเข้าพบคุณหมอทันที สาเหตุ สาหตุของทารกตัวเหลือง สาเหตุหลักของอาการตัวเหลืองในทารก คือ ในกระแสเลือดมีสารบิลิรูบินมากกว่าปกติ เนื่องจากตับของทารกยังพัฒนาไม่สมบูรณ์จนไม่สามารถขับสารบิลิรูบินได้อย่างเต็มที่ ส่งผลให้สารบิลิรูบินสะสมในกระแสเลือดมากเกินไปและมีอาการตัวเหลืองเกิดขึ้น โดยเฉพาะร่างกายของทารกแรกเกิดประมาณ 2-3 วันแรก เนื่องจากร่างกายอาจผลิตสารบิลิรูบินมากกว่าผู้ใหญ่ ซึ่งการผลิตสารบิลิรูบินที่มากอาจทำให้การสลายตัวของเม็ดเลือดมากตามไปด้วย นอกจากนี้ ยังอาจมีสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้ทารกตัวเหลืองได้ ดังนี้ เลือดออกภายใน โดยเฉพาะใต้เยื่อหุ้มกระโหลกซึ่งเกิดจากภาวะบีบรัดขณะคลอดผ่านทางช่องคลอด […]


เด็กทารก

Tongue Tie คือ อะไร อาการและการรักษา

ภาวะลิ้นติดในทารก หรือ Tongue Tie คือ ภาวะที่เกิดขึ้นตั้งแต่กำเนิด โดยภาวะนี้จะทำให้ทารกไม่สามารถเคลื่อนไหวลิ้นได้เต็มที่ เนื่องจากการยึดตัวของพังผืดใต้ลิ้นที่มากเกินไป ส่งผลให้ทารกดูดนมแม่ได้ไม่ดีเท่าที่ควร และมีแนวโน้มที่ทารกจะได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ น้ำหนักตัวน้อย ตัวเหลือง และอาจมีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมาได้ [embed-health-tool-baby-poop-tool] คำจำกัดความ Tongue Tie คืออะไร Tongue Tie คือ ภาวะลิ้นติดในทารก โดยลิ้นจะมีลักษณะสั้น หนา และพังผืดใต้ลิ้นอาจยึดบริเวณพื้นปากกับปลายลิ้นมากเกินไป ส่งผลให้ทารกไม่สามารถเคลื่อนไหวลิ้นได้เต็มที่ ซึ่งภาวะนี้อาจส่งผลต่อการดูดนมของทารก การกินอาหาร การพูด และการกลืนของเด็ก อาการ อาการ Tongue Tie อาการของภาวะลิ้นติดในทารก อาจมีดังนี้ ทารกจะขยับลิ้นขึ้นด้านบน หรือขยับลิ้นไปด้านข้างลำบาก ทารกอาจมีปัญหาในการแลบลิ้น เมื่อทารกแลบลิ้น ลิ้นอาจมีลักษณะหยักหรือคล้ายรูปหัวใจ อาการที่เกี่ยวข้องกับภาวะลิ้นติดในทารก ดังนี้ ทารกอาจเคี้ยวหัวนมมากกว่าดูดนม ทารกน้ำหนักไม่เพิ่มขึ้น ทารกอาจต้องใช้เวลากินนมนาน และต้องป้อนนมหลายครั้ง ทารกหิวง่าย และร้องไห้งอแงบ่อย อาจมีเสียงจากปากทารกขณะป้อนนม หากอาการลิ้นติดในทารกส่งผลกระทบต่อการดูดนม การกินอาหารหรือการออกเสียง ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อทำการรักษา สาเหตุ สาเหตุของ Tongue Tie ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของภาวะลิ้นติดในทารก อาจเป็นไปได้ว่าภาวะลิ้นติดในทารกเกิดขึ้นจากปัจจัยทางพันธุกรรมหรือจากปัญหาในขั้นตอนการสร้างหรือพัฒนาอวัยวะ ภาวะแทรกซ้อน ภาวะลิ้นติดในทารกอาจส่งผลต่อพัฒนาการของทารกในอนาคต เช่น ปัญหาการดูดนม ลิ้นเป็นส่วนประกอบสำคัญในการดูดนม ทารกที่มีภาวะลิ้นติดจะไม่สามารถใช้ลิ้นในการดูดนมได้สะดวกและทารกอาจเคี้ยวมากกว่าดูด ทำให้คุณแม่รู้สึกเจ็บปวดหัวนม นอกจากนี้ […]


เด็กทารก

ทารกอุจจาระ มีมูก เกิดจากอะไร เป็นเรื่องปกติหรือไม่

ในบางครั้ง คุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตเห็นว่า ทารกอุจจาระ มีมูก ลักษณะเหนียวใส และกังวลว่าเป็นเรื่องปกติหรือไม่ จริง ๆ แล้ว ทารกอุจจาระมีมูกมักเป็นภาวะที่พบได้ทั่วไปและไม่เป็นอันตราย พบได้ทั้งในทารกที่กินนมแม่และในทารกที่เปลี่ยนอาหารกะทันหัน เช่น เปลี่ยนจากนมแม่ไปเป็นอาหารแข็ง อย่างไรก็ตาม ทารกอุจจาระเป็นมูกในบางกรณีก็อาจเป็นสัญญาณของภาวะผิดปกติ เช่น การติดเชื้อ อาการท้องเสีย หากพบว่าทารกอุจจาระมีมูกมากกว่าปกติ ร่วมกับอาการอื่น ๆ เช่น อุจจาระมีเลือดปน ร้องไห้ ไม่ยอมนอน ควรไปพบคุณหมอเพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุและรับการรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-child-growth-chart] ทารกอุจจาระ มีมูก เกิดจากอะไร ทารกอุจจาระมีมูก ถือเป็นเรื่องปกติ เนื่องจากมูกในอุจจาระของทารกช่วยเคลือบอุจจาระให้สามารถเคลื่อนตัวออกมาจากระบบขับถ่ายได้สะดวก พบได้บ่อยในทารกที่กินนมแม่ซึ่งอุจจาระจะมีมูกปนและเนื้อค่อนข้างเหลว และอาจพบมูกในอุจจาระทารกได้มากขึ้นในช่วงที่ทารกเปลี่ยนจากการกินนมแม่เพียงอย่างเดียวไปกินอาหารแข็ง (Solid food) เช่น ผักบด ผลไม้นึ่งหั่นเต๋า โจ๊กปลา นอกจากนี้ ทารกอุจจาระ มีมูกยังอาจเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้ได้ด้วย การติดเชื้อ เช่น ไวรัส แบคทีเรีย พยาธิ อาจทำให้ทารกอุจจาระ มีมูก ร่วมกับอาการอื่น ๆ เช่น ถ่ายเหลว ถ่ายเป็นน้ำ ซึ่งสามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาตามคำแนะนำของคุณหมอหรือเภสัชกร อาการท้องเสีย อาจทำให้ทารกอุจจาระมีมูกปน […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน