backup og meta

ลูกน้อยร้องไห้ไม่ยอมหยุด คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ควรทำอย่างไร

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 13/08/2020

    ลูกน้อยร้องไห้ไม่ยอมหยุด คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ควรทำอย่างไร

    โดยปกติแล้วเมื่อ ลูกน้อยร้องไห้ไม่ยอมหยุด เหล่าคุณพ่อคุณแม่มือใหม่มักจะรู้สึกกังวล เนื่องจากไม่รู้ว่าการที่ลูกร้องไห้ไม่ยอมหยุดเกิดจากสาเหตุอะไร เป็นเพราะไม่สบายเนื้อไม่สบายตัว หิว หรือสาเหตุอื่นๆ ดังนั้น ทาง Hello คุณหมอ จึงมีเรื่องนี้มาฝากเหล่าคุณพ่อคุณแม่มือใหม่กัน

    เหตุผลที่ ลูกน้อยร้องไห้ไม่ยอมหยุด

    ทารกแรกเกิดทุกคนมักจะร้องไห้และงอแงในบางครั้ง ซึ่งเถือเป็นเรื่องปกติที่ในช่วง 6 สัปดาห์แรก พวกเขาจะร้องไห้ 2-3 ชั่วโมงต่อวัน ส่วนในช่วง 3 เดือนแรกของชีวิตพวกเขาจะร้องไห้มากกว่าในช่วงเวลาอื่นๆ ของอายุ ซึ่งนี่คือสิ่งที่ทำให้เหล่าคุณพ่อคุณแม่มือใหม่มักจะมีเวลานอนที่น้อยลง แต่ก็จะคุ้นเคยกับชีวิตของลูกน้อยมากขึ้น เนื่องจากเหล่าคุณพ่อคุณแม่จะได้เรียนรู้ว่าเมื่อลูกน้อยร้องไห้ นั่นหมายความว่าพวกเขาอาจจะต้องการสิ่งต่างๆ ดังนี้

    • หิว
    • เหนื่อย
    • จำเป็นต้องเรอ
    • ถูกกระตุ้นมากเกินไป (Overstimulated)
    • ผ้าอ้อมเปียกหรือสกปรก
    • รู้สึกร้อนหรือเย็นมากเกินไป

    บางครั้งการร้องไห้ของเด็กทารกจะนานขึ้น ซึ่งทำให้คุณพ่อคุณแม่ต้องดูแลความต้องการของทารกให้เพียงพอ เพื่อที่จะปลอบประโลมพวกเขา

    วิธีรับมือเมื่อ ลูกน้อยร้องไห้ไม่ยอมหยุด

    สำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ การร้องไห้ของลูกน้อยอาจจะเป็นเรื่องที่ท้าทาย น่ากลัว และบางครั้งก็อาจจะทำให้รู้สึกหงุดหงิดขึ้นได้ เนื่องจากพวกคุณไม่สามารถคาดเดาได้เลยว่า การที่ลูกน้อยร้องไห้นั้นมาสาเหตุมาจากอะไร การร้องไห้ของลูกน้อยมักจะทำให้ผู้เป็นแม่มีความรู้สึกกังวลอย่างยิ่ง ดังนั้น ลองมาดูกลยุทธ์ที่จะทำให้ลูกน้อยสงบลงกันดีกว่า

    ทำเสียง “ชู่” พร้อมอุ้มลูกแล้วเขย่าเบาๆ

    Dr.Kristie Rivers กุมารแพทย์จากกลุ่มแพทย์ Phoenix Physicians LLC ใน Fort Lauderdale กล่าวว่า จากการศึกษาชี้ให้เห็นว่า การตอบสนองที่สงบเงียบจะเกิดขึ้นในสมองของทารก เมื่อถูกอุ้มหรือโยก ซึ่งจะทำให้อัตราการเต้นของหัวใจของทารกช้าลง ในขณะเดียวกันการเขย่าทารกเบาๆ ซ้ำๆ อาจจะสร้างความว้าวุ่นใจให้ลูกน้อย จนพวกเขาต้องจดจ่อกับสิ่งนั้นแทนที่จะร้องไห้

    เปิดเพลงหรือร้องเพลงกล่อม

    Dr.Rivers กล่าวว่า อย่าอายที่คุณจะร้องเพลงกล่อมลูกน้อย เพราะการร้องเพลงกล่อมและการเคลื่อนไหวตามจังหวะของดนตรี สามารถทำให้การทำงานขอระบบประสาท อัตราการเต้นของหัวใจ และการหายใจของทารกลดลง ดังนั้นเหล่าคุณพ่อคุณแม่โปรดอย่าดูถูกพลังเสียงของตัวเอง เนื่องจากเด็กทารกอาจจะได้รับการปลอบประโลมจากเสียงเพลงของแม่ร้อง เพราะเขาคุ้นเคยกับเสียงของแม่และจังหวะที่สงบนั่นเอง

    บันทึกเสียงร้องของลูกน้อยแล้วเปิดให้พวกเขาฟัง

    Dr.Rivers กล่าวว่า บางครั้งทารกก็มีความทุกข์ และรู้สึกยากลำบากในการที่จะต้องสงบสติอารมณ์ของตัวเอง แม้ว่าสิ่งที่ทำให้เขาร้องไห้อาจจะเกิดจากการที่ผ้าอ้อมสกปรก และได้รับการเปลี่ยนแล้วก็ตาม การบันทึกเสียงร้องของทารกตอนที่พวกเขาร้องไห้เอาไว้ แล้วเปิดให้พวกเขาฟังตอนที่พวกเขาร้องไห้

    มันสามารถทำให้ลูกน้อยของคุณเกิดความไขว้เขวได้อย่างน่าประหลาดใจ เมื่อพวกเขาได้ยินเสียงของตัวเองตอนร้องไห้ มันจะทำให้พวกเขาตื่นขึ้นจากสิ่งที่กำลังทำให้พวกเขาอารมณ์เสียได้ ปกติแล้วเด็กทารกมักจะสนใจสิ่งรอบตัวมาก จนสามารถช่วยให้หยุดการร้องไห้ได้

    ดับไฟ

    เด็กทารกมักจะใช้เสียงและแสงไฟในการใช้ชีวิตประจำวันมากจนเกินไป ซึ่งความจริงแล้วทารกแรกเกิดนั้นมักจะเคยชินกับความเงียบและความมืดมิดในครรภ์ของแม่มากกว่า ดังนั้น เมื่อพวกเขาร้องไห้ การปิดไฟอาจเหมือนเป็นการปิดกั้นสิ่งกระตุ้นทั้งหมดที่อาจจะสามารถทำให้พวกเขาสงบลงได้

    เปลี่ยนทิวทัศน์

    หากคุณไม่สามารถเปลี่ยนผู้ดูแลทารกน้อยไม่ได้ การเปลี่ยนสภาพแวดล้อม หรือทิวทัศน์ให้แตกต่างออกไปจากเดิม ก็สามารถทำให้ทารกหยุดร้องไห้ได้ เพียงแค่เดินออกไปที่เรือนเพาะชำ ห้องครัว หรือชานบ้าน แค่นี้ก็เพียงพอแล้ว การเปลี่ยนสถานที่ใหม่ให้ทารกโฟกัส ถือเป็นการเปลี่ยนอารมณ์ของพวกเขา

    ป้อนอาหารให้แก่ลูกน้อย

    เมื่อลูกน้อยของคุณเริ่มร้องไห้ สิ่งแรกที่คุณอาจจะทำก็คือการให้นมแก่พวกเขา ไม่ว่าจะให้จากเต้านมหรือขวดนม แต่ผลลัพธ์อาจจะไม่ได้เป็นอย่างที่คุณคาดหวังเอาไว้ และบางครั้งอาจจะส่งผลทำให้เกิดการดูดนมที่บ้าคลั่งและไม่เป็นระเบียบ การที่ทารกหิวจนร้องไห้นั่นแสดงว่ามันสายเกินไปแล้วที่จะทำให้พวกเขาหยุดร้องไห้ได้

    ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ควรจะสังเกตพฤติกรรมของลูกว่ากำลังส่งสัญญาณว่าเขากำลังหิวอยู่รึเปล่า โดยพวกเขามักจะส่งสัญญาณที่บ่งบอกความหิวด้วยการดูดมือ หรือเอามือถูกที่หัวนมของคุณแม่แรงๆ นั่นเอง

    พยายามแยกแยะเสียงร้องไห้ให้ออก

    โดยทั่วไปแล้วเสียงกรีดร้องที่มีเสียงแหลมและยาวอย่างกะทันหัน มักจะหมายถึงความเจ็บปวด ในขณะที่เสียงร้องสั้นๆ เสียงต่ำ ที่ดังขึ้นและลง จะบ่งบอกถึงความหิวโหย แต่บางครั้งมันก็ไม่ใช่อย่างนั้นเสมอไป สำหรับเด็กทารก การร้องไห้เป็นเรื่องของแต่ละบุคคล โดยมีส่วนเกี่ยวข้องกับอารมณ์ หากคุณพยายามสังเกตและฟังเสียงร้องไห้ของลูกน้อยทุกวัน คุณจะเริ่มแยกแยะเสียงร้องไห้ของพวกเขาได้ว่าพวกเขากำลังต้องการอะไร

    สังเกตพฤติกรรมของลูกน้อย

    บางครั้งพฤติกรรมของลูกน้อยก็สามารถบอกความของต้องการของพวกเขาได้อย่างชัดเจน เช่น การขยี้ตาหรือหาว นั่นหมายความว่าพวกเขากำลังเหนื่อย แต่ความจริงแล้วคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ควรจะต้องสังเกตพฤติกรรมต่างๆ อย่างใกล้ชิดในช่วงเวลาต่างๆ ของวัน ไม่ว่าจะเป็น การเคลื่อนไหวของร่างกาย ตำแหน่ง การแสดงออกทางสีหน้า และเสียงร้อง เพื่อเรียนรู้พฤติกรรมที่บ่งบอกความต้องการของพวกเขา

    ทารกแต่ละคนจะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ดังนั้น อย่าคิดว่าพฤติกรรมของลูกคนแรกและคนที่ 2 จะเหมือนกันเสมอไป คุณจำเป็นจะต้องใจเย็นๆ และสังเกตพฤติกรรมของพวกเขา

    สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ควรทำ เมื่อลูกน้อยร้องไห้ไม่ยอมหยุด  

    แน่นอนว่าเมื่อลูกน้อยร้องไห้หนักเข้าแบบไม่ยอมหยุด นอกจากจะสร้างความกังวลใจให้กับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่แล้ว บางครั้งยังทำให้เกิดภาวะเครียดขึ้นมาได้อีกด้วย ดังนั้น หากลูกน้อยไม่ยอมหยุดร้องไห้จริงๆ คุณพ่อคุณแม่มือใหม่อาจจะต้องจัดการกับตัวเองด้วยวิธีต่างๆ เหล่านี้ ก่อนที่จะกลับไปจัดการปลอบลูกน้อยให้หยุดร้องไห้

    จัดการกับความเครียด

    แน่นอนว่าเมื่อลูกร้องไห้ไม่ยอมหยุด ก็อาจจะทำให้คุณแม่เกิดความเครียดได้ ดังนั้น การออกกำลังกายจึงถือเป็นเรื่องที่คุณแม่ควรทำ เพราะเมื่อออกกำลังกายแล้ว ร่างกายจะปล่อยฮอร์โมนเอนดอร์ฟิน (Endorphin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำให้อารมณ์ดีขึ้น

    นอกจากนี้คุณยังต้องหันเหความสนใจที่มีต่อลูกน้อย เพื่อหันมาให้ความสนใจกับร่างกายตัวเองสักพัก เพื่อจะได้ควบคุมร่างกายเวลาออกกำลังกายได้ เมื่อคุณแม่ได้คลายความเครียดลง ก็จะทำให้คุณพร้อมที่จะกลับเข้าสู่การต่อสู้และจัดการกับการร้องไห้ของลูกน้อยได้อย่างสงบ

    ออกจากบ้าน

    ปกติแล้วคุณแม่มือใหม่ส่วนใหญ่อาจจะเป็นกังวลว่า หากพาลูกที่กำลังร้องไห้ไปเดินในสวนสาธารณะจะสร้างความรำคาญให้กับผู้อื่น แต่ความจริงแล้วคุณควรพาลูกน้อยออกไปข้างนอกและรับอากาศบริสุทธิ์จะดีกว่า แม้ว่าทารกจะยังร้องไห้ก็ตาม การทำเช่นนี้มันจะดีกว่าตอนที่คุณนอนอยู่ในบ้าน เพราะเป็นการช่วยลดความเครียดของตัวคุณแม่ลง

    ปลอบตัวเองก่อน

    แน่นอนว่าการเลี้ยงลูกนั้นสามารถส่งผลทำให้คุณแม่เกิดความเครียดได้ บางครั้งการเปิดเพลงเพื่อปลอบลูก ก็ต้องถูกนำมาใช้ปลอบตัวคุณแม่เองเช่นกัน ถ้าการร้องไห้ของลูกแย่มากๆ คุณอาจจะต้องปล่อยให้เขานอนร้องไห้ในเปล และปลีกตัวออกมาฟังเพลงในห้องเงียบๆ คนเดียว เพื่อที่จะได้รู้สึกผ่อนคลายและปลุกความอดทนขึ้นมาอีกครั้ง

    การหลีกหนีจากเสียงร้องไห้ของลูกน้อยไปอยู่ในที่เงียบๆ สัก 2-3 นาที สามารถทำให้คุณแม่หยุดหัวหมุนและลดการเต้นของหัวใจที่แรงงลงได้ เมื่อคุณแม่รู้สึกสงบแล้ว จากก็ค่อยกลับไปพยายามปลอบลูกน้อยที่กำลังร้องไห้อยู่อีกครั้ง

    สร้างเสียงหัวเราะ

    การหัวเราะมีประโยชน์สำหรับทุกคนที่กำลังรู้สึกไม่สบายใจ โดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่ที่มักจะต้องรับมือกับการร้องไห้ของลูกน้อยในเวลาเดียวกันทุกเช้า ในขณะที่คุณกำลังยุ่ง ลองหาการ์ตูนคลายเครียดมาอ่านให้รู้สึกสนุกที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะมันจะทำให้คุณคลายเครียด ไม่รู้สึกหดหู่ หรือวิตกกังวลอีกด้วย

    หายใจลึกๆ

    Jana Davis นักบำบัดโรคและคุณแม่มือใหม่จากนอร์ฟอล์ก เวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา พบว่า ไม่ใช่เพียงการร้องไห้ของทารกเท่านั้นที่ทำให้คุณแม่รู้สึกไม่สบายใจ แต่การนอนหลับไม่เพียงพอ ฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงอย่ารวดเร็ว และบทบาทใหม่ในการเป็นแม่ ก็สามารถทำให้รู้สึกเครียดและวิตกกังวลได้เช่นกัน

    การใช้เทคนิคการหายใจเข้ามาช่วย ด้วยการนั่งหลับตา และใช้มือทั้ง 2 ข้างวางไปบนท้อง จากนั้นหายใจเข้าช้าๆ และลึกๆ ให้มือรู้สึกได้ว่าหน้าท้องกำลังยุบลง การหายใจแบบนี้จะช่วยผ่อนคลาย ทั้งยังสามารถควบคุมความรู้สึกของตัวเองได้อีกด้วย

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 13/08/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา