backup og meta

นิเกิล (Nickel)

สรรพคุณของ Nickel อะไรบ้าง

Nickel เป็นธาตุที่ใช้รักษาโรคหรืออาการต่างๆดังต่อไปนี้

  • เพิ่มการดูดซึมให้กับธาตุเหล็ก
  • ป้องกันโรคโลหิตจาง(anemia) 
  • ป้องกันโรคกระดูกพรุน (osteoporosis)

กลไกการทำงาน Nickel เป็นอย่างไรบ้าง

เนื่องจากงานวิจัยในปัจจุบันยังไม่มีการกล่าวถึงมากนักเกี่ยวกับการทำงานของ Nickel ดังนั้นจึงควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์และเภสัชกรหากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม แต่อย่างไรก็ตาม บางงานวิจัยได้กล่าวว่า Nickel เป็นสารอาหารที่จำเป็นของสารบางอย่างในร่างกาย

ข้อควรระวังในการใช้ Nickel

สิ่งที่ควรรู้ก่อนใช้ Nickel มีอะไรบ้าง?

หากคุณมีคุณสมบัติหรืออาการตามด้านล่างนี้ควรปรึกษาแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรก่อนทาน

  • ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ยาที่จะสามารถรับประทานได้ควรมีแพทย์สั่งจ่ายเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามก็ยังไม่มีงานวิจัยใดที่ยืนยันว่าสามารถทานได้ในช่วงนี้ เพราะฉะนั้นควรหลีกเลี่ยงจะดีกว่า
  • ทานยาอื่นๆอยู่ ที่ไม่ได้รับการสั่งจ่ายจากแพทย์
  • มีอาการแพ้สารใน  Nickel ยาและสมุนไพรต่างๆ
  • ภูมิแพ้ชนิดอื่นๆเช่น แพ้อาหาร แพ้สีย้อมผม แพ้วัตถุกันเสีย หรือแพ้สัตว์ต่างๆ เป็นต้น

โดยทั่วไปแล้ว ข้อตกลงเกี่ยวกับสมุนไพรจะมีข้อจำกัดน้อยกว่ายารักษาโรค แต่ยังคงเน้นความปลอดภัยอ้างอิงโดยงานวิจัยต่างๆซึ่งข้อได้เปรียบของการทานสมุนไพรเสริมคือการทราบถึงความเสี่ยงอันตรายที่จะเกิดขึ้นก่อนการใช้จริง ทั้งนี้ทั้งนั้นควรปรึกษาแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร

การใช้ประโยชน์จาก Nickel ให้ปลอดภัยควรทำอย่างไร

ผู้ใหญ่สามารถทาน Nickel ได้ในปริมาณ 1 mg ต่อวัน หากมากกว่านั้นอาจเป็นอันตรายและอาจเกิดผลข้างเคียงที่อาจเป็นพิษต่อร่างกาย สำหรับคนทำงานที่ได้รับ Nickel เกิดปริมาณที่กำหนดอาจทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ ปอดมีปัญหาและมะเร็งได้

ข้อควรระวังเพิ่มเติม

ช่วงตั้งครรภ์และให้นมบุตร : ในช่วงที่ตั้งครรภ์และให้นมบุตร ผู้หญิงสามารถทาน Nickel ได้ในปริมาณที่ไม่ถึง 1 mg ต่อวัน หากทานมากกว่านี้อาจเป็นอันตรายได้

สำหรับเด็ก:

  • เด็กที่มีอายุ 1-3 ปีสามารถทาน Nickel ได้ในปริมารที่น้อยกว่า 0.2 mg ต่อวัน  
  • เด็กที่มีอายุ 4-8 ปีสามารถทาน Nickel ได้ในปริมารที่น้อยกว่า 0.3 mg ต่อวัน
  • เด็กที่มีอายุ 9-13 ปีสามารถทาน Nickel ได้ในปริมารที่น้อยกว่า 0.6 mg ต่อวัน

ไม่ควรทานเกิดกว่าที่กำหนดข้างบนเพราะอาจเป็นอันตรายได้

สำหรับผู้ป่วยโรคไต: ผู้ป่วยโรคไตสามารถทาน Nickel ได้เท่าๆกับคนทั่วไป แต่ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ทานได้จะดีกว่า

สำหรับผู้ที่แพ้ Nickel: สำหรับผู้ที่สัมผัสพวกเครื่องประดับ เหรียญ สแตนเลส วัสดุในการผ่าตัดและทำฟันที่มี Nickel ผสมอยู่แล้วเกิดผดผื่นคัน ไม่ควรทานอาหารเสริมที่มี Nickel เป็นอันขาด

ผลข้างเคียงของ Nickel

ผลข้างเคียงจากการทาน Nickel มีอะไรบ้าง?

หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับผลข้างเคียงของ Nickel ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

ปฏิกิริยาระหว่างยาของ Nickel มีอะไรบ้าง

การทานสมุนไพรนี้อาจมีผลต่อยาที่ทานในปัจจุบัน ดังนั้นควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรและแพทย์ก่อนใช้ 

ยาที่สามารถทำปฏิกิริยากับ Nickel และจะเกิดอาการต่างๆได้มีดังต่อไปนี้

  • ยาไดซัลฟิแรม (Antabuse)

ยาไดซัลฟิแรมอาจลดปริมาณ Nickel ในร่างกายและทำให้ประสิทธิภาพของอาหารเสริมที่มี Nickel ผสมอยู่น้อยลงไปด้วย

ปริมาณการทาน Nickel

ข้อมูลนี้ไม่ใช้คำแนะนำทางการแพทย์ ดังนั้นควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรและแพทย์ก่อนทาน Nickel

ปริมาณการทาน Nickel ที่เหมาะสม

งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาว่าปริมาณการทาน Nickel มีดังนี้

การรับประทาน:

สำหรับการป้องกันไม่ให้ Nickel ในร่างกายลดต่ำจนเกินไป: สามารถทานอาหารเสริมที่มี Nickel เป็นส่วนผสมได้ แต่ปริมาณเฉลี่ยที่เหมาะสมและควรจะได้ต่อวันยังไม่มีระบุไว้อย่างแน่นอน

การทาน Nickel ที่มากเกินความจำเป็นอาจเกิดผลข้างเคียงได้ ซึ่งผู้ใหญ่ควรทาน 1 mgต่อวัน เด็กที่มีอายุ 1-3 ปีสามารถทาน Nickel ได้ในปริมารที่น้อยกว่า 0.2 mg ต่อวัน  เด็กที่มีอายุ 4-8 ปีสามารถทาน Nickel ได้ในปริมารที่น้อยกว่า 0.3 mg ต่อวัน  เด็กที่มีอายุ 9-13 ปีสามารถทาน Nickel ได้ในปริมารที่น้อยกว่า 0.6 mg ต่อวัน  

ปริมาณที่ได้รับอาจแตกต่างในแต่ละคนซึ่งขึ้นอยู่กับ อายุ สุขภาพ เป็นต้น ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรและแพทย์เกี่ยวกับปริมาณที่ควรจะได้รับเนื่องจากสมุนไพรเสริมไม่ได้ปลอดภัยเสมอไป ดังนั้นควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรและแพทย์เกี่ยวกับปริมาณที่ควรจะได้รับเนื่องจากยาสมุนไพรไม่ได้ปลอดภัยเสมอไป

รูปแบบของ Nickel เป็นอย่างไร

Nickel จะได้รับการบรรจุตามรูปแบบด้านล่างนี้

  • แคปซูล Nickel ที่ผสมส่วนผสมอื่นๆ

***Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ วินิจฉัยหรือการรักษาแต่อย่างใด***

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Nickel http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-1223-nickel.aspx?activeingredientid=1223&activeingredientname=nickel Accessed September 11, 2017

Nickel http://www.rsc.org/periodic-table/element/28/nickel Accessed September 11, 2017

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

07/12/2017

เขียนโดย Ploylada Prommate

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


บทความที่เกี่ยวข้อง

มะก่องข้าว สมุนไพรพื้นบ้านมากคุณประโยชน์

หน่อไม้ (Bamboo shoots)


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 07/12/2017

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา