สุขภาพ

สุขภาพ เป็นเรื่องสำคัญ เราจึงได้รวบรวมข้อมูลที่จะช่วยให้คุณดูแลสุขภาพได้ดียิ่งขึ้นไว้ที่นี่ ไม่ว่าจะเป็นข่าวสารสุขภาพ ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป และอื่น ๆ อีกมากมาย หากคุณมีข้อสงสัยใด ๆ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ ข้อมูลเหล่านี้ช่วยคุณได้แน่นอน

เรื่องเด่นประจำหมวด

สำรวจ สุขภาพ

ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ตรวจสุขภาพประจําปี สำคัญอย่างไร อายุเท่าไหร่ควรตรวจทุกปี

สุขภาพกับอายุเป็นสิ่งที่สวนทางกัน อายุที่มากขึ้นทุกวัน ความแข็งแรงของร่างกายก็กลับเสื่อมถอยลงไปทุกปี เพราะอวัยวะที่ใช้งานมาอย่างหนักเริ่มเกิดความเสื่อมไปตามวัย ตรวจสุขภาพประจําปี จึงเป็นสิ่งสำคัญ ยิ่งอายุมากยิ่งต้องตรวจเป็นประจำทุกปี  [embed-health-tool-bmi] ความสำคัญของการตรวจสุขภาพประจําปี ก่อนที่ร่างกายจะแสดงอาการเจ็บป่วยออกมา การตรวจสุขภาพประจําปีเพื่อดูแลสุขภาพ ส่งเสริมให้ร่างกายแข็งแรงนั้นเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อค้นหาความเสี่ยงหรือโอกาสการเกิดโรคในอนาคต เตรียมพร้อม ป้องกัน หรือรักษาโรคตั้งแต่เนิ่น ๆ  การตรวจเช็คสุขภาพจะช่วยพยากรณ์โอกาสการเกิดโรค ความเสี่ยงของโรค หรือค้นหาโรค ที่ซ่อนอยู่ในร่างกาย เมื่อพบเร็วการรักษาให้หายขาดก็ง่ายขึ้น หรือถ้าพบความเสี่ยงของโรคบางชนิด การรู้ก่อนจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคนั้นได้ ซึ่งร่างกายของคนทุกคนล้วนมีความเสี่ยงในการเกิดโรคอยู่แล้ว หากใช้ชีวิตโดยไม่ป้องกันการเกิดโรคเลย เมื่อเกิดโรคแล้ว อาการอาจรุนแรง รักษาได้ยาก บางโรคอาจมีภาวะแทรกซ้อนอื่นเพิ่มเติมเข้ามา หากการดำเนินโรคนั้นเข้าสู่ระยะที่หนักขึ้น กลุ่มไหนที่ควรตรวจสุขภาพประจําปี ตั้งแต่แรกเกิด วัยทารกจวบจนผู้สูงวัย ควรได้รับการตรวจสุขภาพประจําปี แต่ละกลุ่มมีแนวทางการตรวจสุขภาพที่แตกต่างกัน ซึ่งคณะกรรมการพัฒนาการตรวจสุขภาพที่จำเป็นและเหมาะสม กระทรวงสาธารณสุข ได้แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่  กลุ่มวัยเด็กและวัยรุ่น อายุ 0-18 ปี กลุ่มวัยทำงาน อายุ18-60 ปี ช่วงวัยที่ควร ตรวจสุขภาพประจําปี กลุ่มวัยผู้สูงอายุ อายุ 60 ปีขึ้นไป ช่วงวัยที่ควรตรวจสุขภาพประจําปี หรือตรวจสุขภาพเป็นประจำตามที่แพทย์แนะนำ กลุ่มหญิงมีครรภ์  ตรวจสุขภาพประจําปี โรงพยาบาลรัฐกับโรงพยาบาลเอกชน ต่างกันหรือไม่ โปรแกรมตรวจสุขภาพสามารถเลือกได้หลายรายการ เกณฑ์การตรวจสุขภาพควรแบ่งตามช่วงอายุเพื่อความเหมาะสม […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ใบรับรองแพทย์ มีกี่ประเภท และใช้ทำอะไรได้บ้าง

การใช้ ใบรับรองแพทย์ ในปัจจุบันมีอยู่หลายวัตถุประสงค์ เพราะเป็นเอกสารสำคัญใช้ในรับรองสุขภาพ โดยผู้ป่วยจะเข้ารับการตรวจสุขภาพได้จากสถานพยาบาลของรัฐหรือเอกชน โดยแพทย์จะออกใบรับรองด้านสุขภาพเมื่อทำการตรวจร่างกาย หรือตรวจโรคให้ผู้เข้ารับบริการ ซึ่งมีจุดประสงค์ในการใช้ใบรับรองแพทย์แตกต่างกันไป [embed-health-tool-bmi] ใบรับรองแพทย์ คืออะไร  ใบรับรองแพทย์ ใบรับรองสุขภาพ หรือใบแพทย์ ปัจจุบันมีทั้งเป็นเอกสารและใบรับรองแพทย์ดิจิทัล เป็นเอกสารสำคัญที่ออกโดยแพทย์หรือผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม เพื่อใช้ยืนยันว่า แพทย์ได้ตรวจร่างกาย หรือตรวจโรค เรียบร้อยแล้ว และมีผลการตรวจสุขภาพหรือการรับรองด้านสุขภาพ ดังที่ระบุไว้ในใบรับรองแพทย์  ใบรับรองแพทย์ใช้ยื่นเรื่องอะไร ใบรับรองแพทย์แต่ละประเภทจะมีวัตถุประสงค์ในการใช้แตกต่างกันไป เพื่อยืนยันการมารับการตรวจที่สถานพยาบาลจริง โดยประเภทของใบรับรองแพทย์ จำแนกได้โดย เหตุผลที่ผู้ป่วยต้องการ เช่น เกี่ยวข้องกับการมาตรวจรักษา เกี่ยวข้องกับการเบิกจ่าย (ค่ารักษาพยาบาล) เกี่ยวข้องกับการลางาน ลาป่วย ลาหยุดงาน หรือลาการเรียน เกี่ยวข้องกับทางประกัน (เรียกร้องสิทธิ์ทางประกันภัยประเภทต่างๆ) หรือใช้ประกอบในการเบิกค่ารักษาพยาบาล เกี่ยวข้องกับการฟ้องร้อง หรือดำเนินการทางคดี ใช้เป็นหลักฐานในการเรียกร้องทางแพ่งหรือค่าสินไหมทดแทน  ใบรับรองแพทย์ยังใช้เพื่อรับรองสุขภาพ เช่น การศึกษาต่อทั้งในและต่างประเทศ การเดินทางไปต่างประเทศ ใช้ในการเล่นกีฬา การสมัครเข้าทำงาน และใช้เพื่อขออนุญาต เช่น การขอทำใบขับขี่รถยนต์   ใบรับรองแพทย์ 5 โรค ก่อนปี 2551 ใบรับรองแพทย์ถูกเรียกว่าใบรับรองแพทย์ 5 โรค เพราะมีโรคที่จำเป็นต้องให้แพทย์รับรอง 5 โรค ประกอบด้วย […]


ข่าวสารสุขภาพทั่วไป

ไซยาไนด์ คือ อะไร อันตรายแค่ไหน มีผลต่อร่างกายอย่างไร

ไซยาไนด์ คือ สารเคมีชนิดหนึ่งที่มีความเป็นพิษสูง ออกฤทธิ์เร็ว และเป็นอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นการหายใจเอาก๊าซไซยาไนด์เข้าร่างกาย การกินผลึกไซยาไนด์หรือของเหลวที่มีไซยาไนด์เป็นส่วนผสม การได้รับสารไซยาไนด์แม้ในปริมาณเล็กน้อยก็เป็นอันตรายร้ายแรงโดยก่อให้เกิดอาการผิดปกติที่สังเกตได้ เช่น อาเจียน ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ สับสน และมักทำให้เสียชีวิตภายในเวลาไม่กี่นาทีเท่านั้น [embed-health-tool-bmi] ไซยาไนด์ คือ อะไร ไซยาไนด์ (Cyanide) เป็นสารพิษที่นำมาใช้ในอุตสาหกรรมร่วมกับสารเคมีอื่น ๆ เพื่อใช้ทำผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น กระดาษ ผ้า พลาสติก รวมทั้งใช้เป็นยาฆ่าแมลง มีกลิ่นคล้ายอัลมอนด์ขม นอกจากนั้นยังพบอยู่ตามในธรรมชาติในปริมาณเล็กน้อย เช่น แบคทีเรีย เชื้อรา สาหร่ายบางชนิด พืชอย่างผักโขม หน่อไม้ อัลมอนด์ ถั่วลิมา เม็ดของลูกพีชและแอปเปิล มันสำปะหลัง นอกจากนี้ ยังพบได้ในควันบุหรี่ ควันท่อไอเสียรถยนต์ รวมทั้งจากการเผาไหม้สารพลาสติกโพลียูรีเทน (Polyurethane) และหนังเทียม ไซยาไนด์เป็นสารที่มีรูปแบบหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นโซเดียมไซยาไนด์ที่เป็นก้อนผลึกใส แท่ง หรือผงที่ไม่มีสี (Sodium cyanide หรือ NaCN) สารละลายโพแทสเซียมไซยาไนด์ (Potassium cyanide) หรือในรูปแบบไฮโดรเจนไซยาไนด์ […]


สุขภาพ

โรคที่มากับ น้ำท่วม และวิธีดูแลสุขภาพ

น้ำท่วม มักก่อให้เกิดการสะสมของเชื้อโรค โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีน้ำขังเป็นเวลานาน ส่งผลให้คนในพื้นที่ที่น้ำท่วมเสี่ยงเกิดปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ได้ง่าย เช่น โรคฉี่หนู โรคตาแดง โรคอุจจาระร่วง โรคน้ำกัดเท้า การศึกษาเกี่ยวกับโรคที่มากับน้ำท่วม การดูแลตนเอง และวิธีรับมืออย่างเหมาะสม อาจช่วยลดความเสี่ยงการติดเชื้อโรคที่มากับน้ำท่วมได้ [embed-health-tool-bmi] โรคและความเสี่ยงต่อสุขภาพที่มากับ น้ำท่วม โรคและความเสี่ยงต่อสุขภาพที่มากับน้ำท่วม ที่อาจพบได้บ่อย มีดังนี้ โรคฉี่หนู (Leptospirosis หรือ Weil's disease) โรคฉี่หนู เกิดจากร่างกายติดเชื้อแบคทีเรียเลปโตสไปรา (Leptospira) ผ่านทางดวงตา ปาก หรือบาดแผล ส่วนใหญ่มักเป็นหนู วัว หมู สุนัข เพราะเมื่อเกิดน้ำท่วมมักทำให้มีน้ำขังและเชื้ออาจปนเปื้อนอยู่ในน้ำและเข้าสู่ร่างกายผ่านบาดแผลที่เป็นอยู่เดิม หรือผ่านบาดแผลใหม่ที่เกิดจากการขีดข่วนจากสิ่งของที่ลอยมาตามน้ำ อาการโรคฉี่ เช่น ร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้น หนาวสั่น คลื่นไส้ ท้องเสีย ปวดเมื่อยตามตัว ไม่อยากอาหาร ซึ่งมักทำให้สับสนกับโรคอื่นหรือทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นไข้หวัดได้ โรคตาแดง (Conjunctivitis หรือ Pink eye) เป็นการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียบริเวณเปลือกตาและในลูกตาซึ่งมักปนเปื้อนมากับน้ำ เชื้อก่อโรคที่พบได้บ่อยคืออะดีโนไวรัส (Adenoviruses) แต่ก็อาจเกิดจากไวรัสหรือแบคทีเรียชนิดอื่น ได้เช่นกัน ทำให้หลอดเลือดฝอยในเยื่อบุตาอักเสบจนบวมแดง ตาขาวจึงกลายเป็นสีแดงหรือสีชมพู หากขยี้ตาข้างที่ติดเชื้อแล้วไปสัมผัสกับดวงตาอีกข้างอาจทำให้เป็นตาแดงทั้งสองข้างได้ […]


สุขภาพ

5 คำถามที่ต้องตอบก่อนทำ ศัลยกรรม

ความไม่พึงพอใจต่อการรับบริการศัลยกรรมความงาม เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ทั้งในเรื่องมาตรฐานของคลินิกหรือสถานพยาบาล ความเชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการ ตั้งแต่ขั้นตอนให้คำปรึกษา เทคนิคการผ่าตัดของทีมแพทย์พยาบาล ตลอดจนวัสดุอุปกรณ์ และความพร้อมของเครื่องมือ หรือแม้แต่สุขภาพร่างกายของผู้เข้ารับการศัลยกรรมเอง ล้วนมีส่วนทั้งสิ้น ก่อนตัดสินใจทำ ศัลยกรรม ควรศึกษาข้อมูลต่าง ๆ ให้ครบถ้วนเพื่อหลีกเลี่ยงผลลัพธ์ที่ไม่น่าพึงพอใจและป้องกันผลข้างเคียงที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ [embed-health-tool-ovulation] 5 คำถามที่ต้องตอบก่อนตัดสินใจทำ ศัลยกรรม ปัจจัยใดบ้างที่จะสร้างมั่นใจในการเข้ารับบริการศัลยกรรมความงามแต่ละครั้ง  ก่อนตัดสินใจไปทำศัลยกรรม ควรศึกษาข้อมูลต่าง ๆ ให้มั่นใจเพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพ 1.สุขภาพตนเอง แข็งแรงมากพอ และพร้อมทุกข้อในการผ่าตัดศัลยกรรม หรือไม่ สำหรับผู้ที่ไม่มีโรคประจำตัว จำเป็นต้องมีสุขภาพแข็งแรง ไม่เครียด ไม่กังวล นอนพักผ่อนเพียงพอ เพื่อไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนในช่วงรับบริการ สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว จำเป็นต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เข้ารับการผ่าตัด ตั้งแต่ระดับความดัน ประวัติการรักษาโรคประจำตัว และการใช้ยา 2.มาตรฐานศูนย์ศัลยกรรมฯ มีการรับรองความน่าเชื่อถือของสถานพยาบาล หรือไม่ ต้องมีมาตรฐาน ถูกต้องตามกฏหมาย ได้รับใบอนุญาตประกอบการ จากกระทรวงสาธารณสุข ต้องมีคุณสมบัติทางกายภาพของศูนย์ฯ พร้อม เช่น มีห้องผ่าตัดใหญ่ สำหรับการศัลยกรรมฯ ต้องมีความน่าไว้วางใจ ด้วยประสบการณ์การบริการเคสศัลยกรรมความงามที่มากเพียงพอ และต่อนเนื่องมายาวนาน 3. มาตรฐานบุคลากรทางการแพทย์และความชำนาญการ มีมากน้อยแค่ไหน ทีมแพทย์และพยาบาลที่ประกอบการทำหัตถการ จำเป็นต้องมีคุณสมบัติและความสามารถตรงสายงานด้านศัลยกรรมฯ ทีมแพทย์และพยาบาล […]


อาการของโรค

ปวดหัวตุ๊บๆ สาเหตุ และวิธีรักษา

อาการปวดหัว สามารถเกิดขึ้นได้ทุกวันและทุกช่วงเวลา โดยเฉพาะเมื่อรู้สึกตึงเครียด พักผ่อนไม่เพียงพอ หรือเจ็บป่วย ที่ทำให้รู้สึกเหมือนมีแรงกดหรือรู้สึกปวดจี๊ด ๆ ภายในหัว ซึ่งบางคนอาจมีอาการปวดหัวข้างเดียว หรือ ปวดหัวตุ๊บๆ ส่งผลให้รบกวนการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ดังนั้น จึงควรรักษาด้วยการรับประทานยาที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาหรือเข้าพบคุณหมอโดยตรง [embed-health-tool-bmi] ปวดหัวตุ๊บๆ มีสาเหตุจากอะไร อาการปวดหัวตุ๊บ ๆ มีสาเหตุที่แตกต่างกันออกไปตามประเภท ซึ่งมีมากกว่า 100 ประเภท แต่ที่พบบ่อยได้ที่สุดนั้น อาจมีดังนี้ ปวดหัวตึงเครียด เป็นอาการปวดหัวที่เกิดจากความเครียดทางจิตใจ มีปัญหาบริเวณเส้นประสาทท้ายทอยซึ่งมีปัจจัยมาจากการนั่งหรือยืนผิดท่า ออกกำลังกายมากเกินไป ข้อต่อบริเวณท้ายทอยอักเสบ อาการปวดหัวประเภทนี้อาจเป็นนานประมาณ 30 นาที หรือ 2-3 วัน ที่สังเกตได้จากอาการปวดหัวตุ๊บๆ ด้านหลังศีรษะ และเริ่มแผ่ไปบริเวณด้านหน้าของศีรษะด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้งสองข้าง ปวดหัวไมเกรน  ปวดหัวไมเกรนมักจะมีอาการปวดศีรษะตุ๊บๆ เป็นจังหวะด้านใดด้านหนึ่งหรืออาจเป็นทั้ง 2 ด้าน ที่อาจเกิดจากความไม่สมดุลของสารเคมีในสมอง เช่น สารเซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งเป็นสารเคมีที่บทบาทในการควบคุมการทำงานของสมองและระบบประสาท หากมีระดับเซโรโทนินต่ำหรือมากเกินไปอาจทำให้หลอดเลือดขยายและหดตัว ส่งผลให้เลือดไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงสมองน้อยลงหรือและอาจทำให้หลอดเลือดขยายจนกดทับบริเวณปลายประสาทที่นำไปสู่อาการไมเกรน นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ เช่น การอดนอน การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ การใช้ยาคุมกำเนิด การใช้ยาขยายหลอดเลือด […]


อาการของโรค

เป็นไข้ สาเหตุ อาการ และการรักษา

เมื่อรู้สึกว่าร่างกายอ่อนแรง ร้อนวูบวาบ บางคนอาจมีอาการไอ มีน้ำมูกร่วมด้วย ซึ่งอาจเป็นสัญญาณเตือนของอาการไข้ที่สามารถเช็กได้ด้วยการใช้เทอร์โมมิเตอร์มาสอดบริเวณใต้รักแร้ หรือในช่องปากใต้ลิ้นเพื่อวัดอุณหภูมิร่างกาย หากมีอุณหภูมิที่สูงตั้งแต่ 38 ขึ้นไป อาจมีความหมายว่า เป็นไข้ ที่ควรเข้ารับการรักษาอย่างรวดเร็วโดยสามารถซื้อยาบรรเทาอาการตามอาการที่เป็น หรือเข้าพบคุณหมอโดยตรง [embed-health-tool-heart-rate] สาเหตุที่ทำให้ เป็นไข้ ปกติแล้วอุณหภูมิของร่างกายจะถูกควบคุมโดยสมองส่วนไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) ที่ทำให้อุณหภูมิลดลงหรือเพิ่มขึ้นตามสถานการณ์และสภาพอากาศ แต่เมื่อติดเชื้อหรือเจ็บป่วยสมองส่วนนี้จะทำให้อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นชั่วคราวกว่า 38 องศาเซลเซียส เพื่อเป็นสัญญาณเตือนว่ามีความผิดปกติที่อาจเกิดจาก การติดเชื้อไวรัส เช่น ไวรัสโควิด-19 ไวรัสอินซูเอ็นซาจากไข้หวัดใหญ่  การติดเชื้อแบคทีเรีย มีการอักเสบภายในร่างกาย เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ การอักเสบของข้อต่อ เป็นเนื้องอกมะเร็ง โรคแพ้ภูมิตัวเอง เช่น โรคลำไส้อักเสบ โรคลูปัส มีภาวะเพลียแดดที่เกิดจากการตากแดดเป็นเวลานาน มีความผิดปกติเกี่ยวกับฮอร์โมนในร่างกาย เช่น ไทรอยด์เป็นพิษ การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาควบคุมความดันโลหิต ยาปฏิชีวนะ ยาต้านอาการชัก การฉีดวัคซีน เพราะอาจเป็นปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกายระหว่างระบบภูมิคุ้มกันกับวัคซีน อาการของคนเป็นไข้ อาการของคนเป็นไข้ อาจมีดังนี้ อาการของคนเป็นไข้ในเด็กทารก อายุน้อยกว่า 3 เดือน อาจมีอุณหภูมิร่างกาย 38 องศาเซลเซียสหรือสูงกว่า อายุระหว่าง 3-6 เดือน […]


อาการของโรค

ปวดหัวด้านหลัง สาเหตุ อาการ และการรักษา

ปวดหัวด้านหลัง คือ อาการปวดศีรษะบริเวณด้านหลังตั้งแต่ตรงกลางจนถึงท้ายทอย ที่ทำให้รู้สึกเหมือนถูกบีบ ซึ่งอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น อาการตึงเครียด นั่งในท่าทางที่ไม่เหมาะสม โรคข้ออักเสบ ดังนั้น เมื่อรู้สึกว่ามีอาการปวดหัวด้านหลัง ควรเข้ารับการวินิจฉัยโดยคุณหมอ เพื่อหาสาเหตุและรับการรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-bmr] ปวดหัวด้านหลัง มีสาเหตุมาจากอะไร ปวดหัวด้านหลัง อาจมีสาเหตุดังต่อไปนี้ อาการตึงเครียด เช่น พักผ่อนไม่เพียงพอ ความเครียดทางจิตใจ ความวิตกกังวล การใช้สายตาหนัก ระดับธาตุเหล็กในร่างกายต่ำ การสูบบุหรี่ และการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนปริมาณมาก ที่ล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้อวัยวะของร่างกายรู้สึกตึงเครียดที่นำไปสู่อาการปวดหัวด้านหลังตลอดทั้งวัน โดยอาจเริ่มปวดจากบริเวณตรงกลางของด้านหลังศีรษะและค่อน ๆ ปวดหัวด้านหน้า บางคนอาจมีอาการปวดลงมาบริเวณท้ายทอยและกล้ามเนื้อไหล่ โรคข้ออักเสบ อาจทำให้รู้สึกปวดบริเวณท้ายทอยที่เกิดจากกระดูกในส่วนท้ายทอยเสียหายหรืออักเสบ ซึ่งบริเวณนี้จะรวมเส้นประสาทและหลอเลือดจึงอาจส่งผลให้หลอดเลือดบริเวณศีรษะอักเสบนำไปสู่อาการปวดหัวด้านหลังร่วมด้วยได้ อาการปวดเส้นประสาทท้ายทอย อาจเกิดขึ้นต่อเมื่อมีแรงกดบริเวณเส้นประสาทท้ายทอยหรือเกิดการบาดเจ็บบริเวณท้ายทอยที่กระทบต่อเส้นประสาททำให้เส้นประสาทนั้นถูกกดทับและเกิดการอักเสบนำไปสู่อาการปวดหัวด้านหลัง การยืนและนั่งผิดท่า การนั่งหรือยืนในท่าทางที่ไม่เหมาะสมจากการทำงาน เรียน หรือออกกำลังกายและยกของหนักที่ใช้แรงมากเป็นเวลานานอาจทำให้กล้ามเนื้อ ข้อต่อบริเวณท้ายทอยที่เชื่อมกับศีรษะตึงและรู้สึกปวดจนส่งผลให้ปวดหัวด้านหลัง อาการของปวดหัวด้านหลัง นอกจากอาการของปวดหัวด้านหลัง ยังอาจมีอาการอื่น ๆ ที่ควรสังเกตดังนี้ มีอาการปวดหัวจี๊ด ๆ คล้ายกับไฟช็อต อาการปวดหัวด้านหลังที่เป็น ๆ หาย ๆ  มีอาการปวดหัวด้านหลังและเริ่มปวดหัวด้านหน้าร่วมด้วย มีอาการปวดศีรษะข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง มีอาการปวดหัวต่อเนื่องในวันถัดไป มีปัญหาการนอนหลับ รู้สึกหงุดหงิด ไม่มีสมาธิในการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

อาการวัยทอง เกิดจากอะไร และรับมือได้อย่าง

อาการวัยทอง คือ ช่วงวัยที่มีระดับฮอร์โมนเพศลดลงเมื่ออายุมากขึ้นที่เข้าสู่ช่วงวัยสูงอายุ เช่น ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ฮอร์โมนเอสโตรเจน และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ที่เกิดขึ้นได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง โดยอาจสังเกตได้จากอารมณ์แปรปรวน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อบ่อย สภาพผิวเปลี่ยนแปลง  [embed-health-tool-ovulation] อาการวัยทองเกิดจากอะไร อาการวัยทอง สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง ที่มีสาเหตุแตกต่างกัน ดังนี้ อาการวัยทองในผู้หญิง ฮอร์โมนเพศลดลง ผู้หญิงที่อายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป การทำงานของรังไข่ที่ช่วยผลิตระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนจะเริ่มน้อยลง ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่มีส่วนสำคัญในภาวะเจริญพันธุ์และการมาของประจำเดือน จึงอาจทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ ประจำเดือนมาน้อย และอาจหยุดลงเมื่ออายุ 40-50 ขึ้นไป การผ่าตัดรังไข่ออก เพราะรังไข่เป็นอวัยวะในระบบสืบพันธุ์ที่ช่วยผลิตฮอร์โมนเพศและควบคุมการมาของประจำเดือน ดังนั้น เมื่อผ่าตัดนำรังไข่ออกทั้งหมดจะทำให้ประจำเดือนหยุดและเข้าสู่ช่วงวัยทอง การทำเคมีบำบัดและการฉายรังสี เพื่อรักษาโรคมะเร็งอาจส่งผลกระทบต่อกระบวนการทำงานของรังไข่ที่ส่งผลให้การผลิตฮอร์โมนลดลง ประจำเดือนหยุดลงและเริ่มมีอาการวัยทอง ภาวะรังไข่เสื่อมก่อนกำหนด (Primary ovarian insufficiency) อาจพบได้น้อยในผู้หญิง ซึ่งมีสาเหตุมาจากรังไข่ไม่สามารถผลิตฮอร์โมนเพศได้ในระดับที่เพียงพอต่อร่างกาย จึงส่งผลให้เข้าสู่วัยหมดประจำเดือนก่อนถึงช่วงวัยกลางคนหรือวัยสูงอายุ อาการวัยทองในผู้ชาย อาการวัยในทองในผู้ชายอาจเกิดจากระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนลดลง ที่อาจเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงอายุ 45-50 ปีขึ้นไป และอาจมีอาการรุนแรงขึ้นหลังจากอายุ 70 ปี ซึ่งอาจตรวจสอบด้วยการเข้ารับการตรวจเลือดเมื่อเช็กระดับฮอร์โมนว่าลดลงหรือไม่ เพื่อรับการบำบัดเพื่อบรรเทาอาการวัยทอง หากมีอาการระดับรุนแรงที่นำไปสู่การเสื่อมสมรรถภาพทางเพศและภาวะซึมเศร้า อาการวัยทอง เป็นอย่างไร อาการวัยทองอาจสังเกตได้ ดังนี้ ประจำเดือนมาไม่ปกติหรือประจำเดือนหมดในผู้หญิงอารมณ์แปรปรวน ช่องคลอดแห้ง เจ็บเต้านม ซึมเศร้าและรู้สึกหดหู่ ปวดไมเกรน ร้อนวูบวาบ […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

เครื่องช่วยหายใจ คืออะไร ใช้อย่างไร

เครื่องช่วยหายใจ เป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ช่วยให้ผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบหายใจสามารถหายใจได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยทั่วไป เครื่องช่วยหายใจมักใช้กับผู้ป่วยที่ติดเชื้อในปอด ป่วยเป็นโรคโควิด-19 เป็นโรคหอบหืดหรือโรคปอดอักเสบ รวมทั้งใช้ระหว่างผ่าตัดด้วย [embed-health-tool-heart-rate] เครื่องช่วยหายใจคืออะไร เครื่องช่วยหายใจ (Mechanical Ventilation หรือ Ventilator) เป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ช่วยให้ผู้ป่วยที่หายใจได้ลำบากหรือไม่สะดวก หายใจได้ตามปกติ ด้วยการปล่อยออกซิเจนเข้าไปในปอด และกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์จากปอดในเวลาเดียวกัน โดยทั่วไป เครื่องช่วยหายใจนิยมใช้ในสถานพยาบาลหรือรถพยาบาล แต่หากผู้ป่วยต้องใช้เครื่องช่วยหายใจอย่างต่อเนื่อง จึงมีการใช้เครื่องช่วยหายใจเมื่ออยู่บ้านด้วย ทั้งนี้ เครื่องช่วยหายใจมีอยู่ 2 แบบ คือแบบไม่ใส่ท่อ (Noninvasive Ventilation) ซึ่งเชื่อมต่อกับหน้ากากพลาสติกที่รัดกับใบหน้าของผู้ป่วย และแบบใส่ท่อ (Invasive Mechanical Ventilation) ซึ่งเชื่อมต่อกับท่อที่สอดเข้าไปในหลอดลมของผู้ป่วย และนิยมใช้ในกรณีที่มีอาการหายใจติดขัดหรือมีปัญหาระบบหายใจผิดปกติรุนแรง เครื่องช่วยหายใจใช้ตอนไหน เครื่องช่วยหายใจมักใช้ในสถานการณ์ต่อไปนี้ เมื่อเป็นโรคเกี่ยวกับปอด หรือมีการติดเชื้อบริเวณปอด ซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพในการหายใจ เมื่อมีปัญหาสุขภาพฉุกเฉิน เช่น ภาวะแพ้รุนแรง ซึ่งส่งผลต่อความสามารถในการหายใจ หรือทำให้หายใจไม่ออก เมื่อมีอาการป่วยหรือบาดเจ็บบริเวณสมอง ซึ่งทำให้การทำงานระหว่างสมองกับปอดบกพร่อง เป็นผลให้หายใจไม่สะดวก เมื่อมีปัญหาสุขภาพที่ทำให้คาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดสูงกว่าปกติ หรือออกซิเจนในเลือดต่ำกว่าปกติ เมื่อมีความเสี่ยงที่ของเหลวจะไหลเข้าไปในปอด ระหว่างผ่าตัด เนื่องจากยาสลบที่คุณหมอใช้มีออกฤทธิ์ทำให้หายใจลำบาก เครื่องช่วยหายใจ ต้องใช้นานแค่ไหน ระยะเวลาใช้เครื่องช่วยหายใจนั้นขึ้นอยู่กับอาการป่วยหรือภาวะสุขภาพของแต่ละคน อย่างไรก็ตาม หากต้องใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นเวลา 2 สัปดาห์หรือนานกว่านั้น คุณหมอมักเปลี่ยนจากการสอดท่อเข้าไปในหลอดลมผ่านลำคอ เป็นการเจาะคอแล้วสอดท่อเข้าไปในหลอดลมแทน กระบวนการอื่น ๆ ระหว่างใช้เครื่องช่วยหายใจ ระหว่างใช้เครื่องช่วยหายใจ […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม