หลับดี สุขภาพดี

ด้วยวิถีชีวิตที่เร่งรีบอย่างในปัจจุบัน การจะนอนหลับ ฝันดี จึงทำได้ยากกว่าที่เคย และเมื่อเราพักผ่อนไม่เพียงพอ ก็อาจส่งผลให้สุขภาพของเราย่ำแย่ลงไปด้วย หมวด หลับดี สุขภาพดี ของ Hello คุณหมอ จึงขอรวบรวบเรื่องที่น่าสนใจ เพื่อการนอนหลับอย่างมีคุณภาพ ไว้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

หลับดี สุขภาพดี

นอนบนพื้น ดีต่อสุขภาพหรือส่งผลเสียต่อสุขภาพกันแน่

ที่หลาย ๆ คนมีความเชื่อว่า นอนบนพื้น เป็นรูปแบบการนอนที่ช่วยลดอาการปวดหลัง แถมยังดีต่อสุขภาพ ช่วยให้นอนหลับได้สบายขึ้น วันนี้ Hello คุณหมอ จึงมีข้อมูลที่น่าสนใจเรื่อง การนอนที่พื้น มาให้อ่านกันว่า ส่งผลดีหรือส่งผลเสียต่อสุขภาพกันแน่ ใครบ้างที่ควรหลีกเลี่ยงการนอนที่พื้น ไปติดตามกัน นอนบนพื้น ส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างไร แม้จะมีงานวิจัยชี้ว่า การนอนที่พื้น มีส่วนช่วยแก้อาการปวดหลังและช่วยให้นอนหลับสบายขึ้น แต่ การนอนที่พื้น นั้นมีผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ ดังนี้ ปวดหลังเพิ่มขึ้น งานวิจัยบางชิ้นบ่งบอกว่า การนอนที่พื้น ช่วยลดอาการปวดหลังได้ แต่ก็ยังมีงานวิจัยบางชิ้นที่บ่งบอกว่า การนอนที่พื้น ช่วยเพิ่มอาการปวดหลัง ทำให้ข้อมูลในส่วนนี้ยังมีความขัดแย้งกัน แต่อย่างไรก็ตาม การนอนที่พื้นผิวแข็ง ๆ มีส่วนทำให้กระดูกสันหลังรักษาความโค้งตามธรรมชาติได้ยาก จากการศึกษาในผู้ใหญ่ที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรังจำนวน 313 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มแบบไม่เฉพาะเจาะจง สุ่มให้ 2 กลุ่มนอนบนที่นอนขนาดกลางและที่นอนเนื้อแน่น เป็นเวลา 90 วัน พบว่ากลุ่มที่นอนบนที่นอนที่มีเนื้อแน่นปานกลางมีอาการปวดหลังน้อยกว่า เมื่อเทียบกับกลุ่มที่นอนบนที่นอนเนื้อแน่น จากการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า การนอนบนพื้นผิวที่กระชับ อาจไม่ได้ส่งผลในการบรรเทาอาการปวดหลังได้ แต่อย่างไรก็ตามยังจำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติม เพื่อทำความเข้าใจว่า การนอนที่พื้น มีผลต่ออาการปวดหลังอย่างไร ทำให้เกิดอาการภูมิแพ้ การนอนที่พื้น โดยเฉพาะพื้นที่ไม่มีความสะอาด เต็มไปด้วยฝุ่นและสิ่งสกปรก […]

หมวดหมู่ หลับดี สุขภาพดี เพิ่มเติม

สำรวจ หลับดี สุขภาพดี

เคล็ดลับในการนอนหลับ

ท่านอนสุดโปรด กับปัญหาสุขภาพที่ไม่โปรดปรานอย่างที่คิด

เชื่อหรือไม่คะว่า ท่านอน ที่เรานอนอยู่ทุกวัน เป็นสิ่งสำคัญที่เราต้องให้ความสำคัญเหมือนกันนะ เพราะมันอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเราได้ เรามาดูกันดีกว่าค่ะว่า ท่านอนสุดโปรด ของเรานั้นสามารถบ่งบอกอะไรเกี่ยวกับสุขภาพของเราได้บ้าง ติดตามอ่านได้ในบทความ Hello คุณหมอ  ท่านอน ส่งผลกระทบต่อสุขภาพเราได้อย่างไร? ท่านอนนั้นเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อสุขภาพได้อย่างไม่น่าเชื่อ เพราะท่านอนนั้นอาจส่งผลกระทบต่อการนอนหลับ เช่น ส่งผลกระทบต่อระบบการหายใจ การนอนกรน การปวดเอว อาการนอนไม่หลับ หรือบางรายอาจร้ายแรงถึงขั้นหยุดหายใจขณะหลับ  เช็กด่วน! ท่านอนสุดโปรด บ่งบอกอะไรเกี่ยวกับสุขภาพได้บ้าง ท่านอนสุดโปรด ของเรานั้นสามารถบ่งบอกอะไรเกี่ยวกับสุขภาพได้บ้าง วันนี้ Hello คุณหมอ นำข้อดี และข้อเสีย ลักษณะท่านอนมาฝากทุกคนค่ะ โดยมีรายละเอียดที่น่าสนใจ ดังต่อไปนี้ 1.นอนหงาย ข้อดี การนอนหงายนั้นเป็นท่าที่ทำให้เรารู้สึกหายใจสะดวกขึ้นขณะหลับ ช่วยลดอาการปวดหลัง ปวดคอ และอาการปวดสะโพก เป็นต้น  ข้อเสีย สำหรับหลาย ๆ คนอาจคิดว่าการนอนหงายนั้นดีต่อสุขภาพ แต่อาจไม่ดีสำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบการหายใจ เช่น การนอนกรน โรคสมาธิสั้น ไซนัสอักเสบ ความดันโลหิตสูง  2.นอนตะแคงซ้าย ข้อดี ท่านอนตะแคงซ้ายมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการแก้ไขอาการนอนกรน ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ นอกจากนี้ยังช่วยให้ระบบหายใจทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น สำหรับผู้หญิงที่ตั้งครรภ์อาจวางหมอนไว้ใต้ท้อง หรือระหว่างหัวเข่า จะช่วยลดแรงกดดันต่อกระเพาะปัสสาวะ และอาการปวดหลัง  ข้อเสีย เมื่อนอนตะแคงด้านซ้ายอวัยวะภายในทรวงอกจะขยับได้ ปอดอาจมีน้ำหนักมากต่อหัวใจ ความดันที่เพิ่มขึ้นอาาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจ หัวใจอาจตอบสนองต่อความดันที่เพิ่มขึ้น […]


โรคนอนไม่หลับ

การนอนไม่หลับ กับผลกระทบที่อาจส่งผลต่อร่างกาย

แม้ว่าการนอนไม่หลับจะดูเหมือนเป็นเรื่องที่ปกติ แต่ความจริงแล้วการนอนไม่หลับอาจส่งผลกระทบต่อร่างกาย การใช้ชีวิตประจำวัน การทำงาน และการเรียน ซึ่งสาเหตุของการนอนไม่หลับนั้นมีอยู่ด้วยกันหลายสาเหตุ เช่น ความเครียด นิสัยการนอนหลับที่ไม่ดี รวมไปถึงสาเหตุทางการแพทย์ ซึ่ง การนอนไม่หลับ จะส่งผลระทบต่อร่างกายอย่างไรบ้าง ทาง Hello คุณหมอ มีเรื่องนี้มาฝากกัน สาเหตุที่ทำให้คุณ นอนไม่หลับ เกือบทุกคนมักจะประสบปัญหานอนไม่หลับเป็นครั้งคราว ซึ่งอาจเกิดจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น ความเครียด อาการเจ็ตแล็ก หรือแม้แต่อาหาร ก็ส่งผลต่อความสามารถในการนอนหลับได้ ในความเป็นจริงชาวอเมริกันเกือบ 60 ล้านคนต่อปีมีอาการนอนไม่หลับ และตื่นขึ้นมาโดยที่รู้สึกไม่สดชื่น บางครั้งปัญหาที่เกิดขึ้นอาจกินเวลา 1-2 คืน แต่ในบางกรณีก็อาจกลายเป็นปัญหาต่อเนื่อง การรักษาอาการนอนไม่หลับถือเป็นเรื่องที่สำคัญ เนื่องจากสภาวะนี้สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ได้ สำหรับอาการนอนไม่หลับนั้นอาจมีสาเหตุมาจาก ความเครียด เจ็ตแล็ก (Jet Lag) นิสัยการนอนหลับที่ไม่ดี กินอาหารดึกเกินไป ไม่นอนตามกำหนดเวลาปกติ เรื่องจากการทำงาน หรือการเดินทาง ส่วนสาเหตุทางการแพทย์ที่ทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ ได้แก่ ความผิดปกติของสุขภาพจิต ยา เช่น ยาบรรเทาอาการซึมเศร้า หรือยาแก้ปวด เงื่อนไขต่าง ๆ เช่น มะเร็ง โรคหัวใจ และโรคหอบหืด อาการปวดเรื้อรัง กลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุขหรือโรค (Restless legs syndrome หรือ RLS) หยุดหายใจขณะหลับ ผลกระทบและความเสี่ยงต่อสุขภาพจาก […]


โรคนอนไม่หลับ

การอดนอน ของคุณอยู่ในระดับไหน และควรรักษาอย่างไร

โดยปกติแล้วคนเราจำเป็นที่จะต้องนอนหลับให้ได้ 7-8 ชั่วโมง เพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อนและซ่อมแซมส่วนต่าง ๆ ของร่างกายแต่ด้วยเหตุผลหลาย ๆ อย่างที่ต่างกันออกไป อาจทำให้เกิด การอดนอน ซึ่งระดับของการอดนอนนั้นจะส่งผลต่อร่างกายที่แตกต่างกันออกไป แล้วเมื่อเกิดการอดนอนจะต้องรักษาอย่างไร ทาง Hello คุณหมอ ได้นำเรื่องนี้มาฝากกัน การอดนอน (Sleep Deprivation) คืออะไร คนเราต้องการการนอนหลับ เพื่อความอยู่รอด ทั้งยังช่วยให้ร่างกายได้ซ่อมแซมตัวเองและทำหน้าที่ทางชีวภาพที่จำเป็น ผู้ใหญ่ต้องการการนอนหลับประมาณ 7-8 ชั่วโมงในแต่ละคืน แต่บางครั้งปัจจัยการทำงานและการดำเนินชีวิตอาจขัดขวางความสามารถในการนอนหลับของคุณได้ เมื่อคุณนอนน้อยกว่าที่ต้องการหรือไม่ได้นอนเลย นั่นเรียกว่า “การอดนอน” สำหรับคนส่วนใหญ่การอดนอนไม่ได้เป็นสาเหตุที่ทำให้น่ากังวลใจสักเท่าไหร่ แต่การอดนอนบ่อย ๆ หรือเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพที่รุนแรงได้ การอดนอนอาจนำไปสู่ความสามารถในการรับรู้ที่ไม่ดี การอักเสบที่เพิ่มขึ้น และทำให้การทำงานของภูมิคุ้มกันลดลง หากอดนอนต่อไปอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเรื้อรัง โดยทั่วไปการอดนอนมีอยู่ด้วยกัน 5 ระดับ ซึ่งแต่ละระดับมักจะแบ่งออกเป็นครั้งละ 12 ชั่วโมงหรือ 24 ชั่วโมง อาการมักจะแย่ลงเมื่อคุณอดนอนนานขึ้น ระดับของ การอดนอน ที่คุณควรรู้ ความจริงแล้วไม่มีระยะเวลาที่ระบุเป็นสากลในเรื่องของการอดนอน อย่างไรก็ตามระดับการอดนอนทั่วไปจะพิจารณาจากจำนวนชั่วโมงของการนอนหลับที่คุณพลาดไป อาการของการอดนอนมักจะแย่ลงในแต่ละระดับ สำหรับสิ่งอาจเกิดขึ้นกับร่างกายของคุณระหว่างที่อดนอน มีดังนี้ ระดับที่ 1 : อดนอน […]


เคล็ดลับในการนอนหลับ

นอนหลับยาก อีกหนึ่งปัญหาใหญ่ในการนอนหลับ มีวิธีรักษาอย่างไรบ้าง

การนอนหลับถือเป็นสิ่งที่คนทุกเพศทุกวัยจะต้องทำเป็นกิจวัตรประจำวัน เพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อนและซ่อมแซมส่วนต่าง ๆ แต่สำหรับบางคนแล้วอาจ นอนหลับยาก อาจเกิดจากสาเหตุที่แตกต่างกันไป แล้วเมื่อเกิดอาการนอนหลับยากขึ้น ควรจะต้องรักษาอย่างไร เพื่อให้การนอนหลับมีประสิทธิภาพมากที่สุด ทาง Hello คุณหมอ ได้นำเรื่องนี้มาฝากกัน นอนหลับยาก ปัญหาสำคัญในการนอนหลับ การนอนหลับยาก คือ การที่คุณมีปัญหาการนอนหลับในตอนกลางคืน ซึ่งมันอาจเป็นเรื่องที่ยากที่คุณจะหลับหรือตื่นหลาย ๆ ครั้งตลอดทั้งคืน ความยากลำบากในการนอนหลับ อาจส่งผลต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจของคุณ การขาดการนอนหลับอาจทำให้คุณปวดหัวบ่อย ๆ หรือมีปัญหาเกี่ยวกับสมาธิ คนส่วนใหญ่มักจะต้องประสบปัญหาในการนอนหลับยากในช่วงหนึ่งของชีวิต บางคนอาจรู้สึกสดชื่นหลังจากได้นอนหลับเพียง 6-7 ชั่วโมง แต่อย่างไรก็ตามผู้ใหญ่ส่วนใหญ่ต้องการการนอนหลับประมาณ 8 ชั่วโมงทุกคืน เพื่อให้รู้สึกว่าได้พักผ่อน สัญญาณของความยากลำบากในการนอนหลับ อาจรวมถึงการตื่นเช้าเกินไป การไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในระหว่างวัน จนอาจส่งผลให้ปวดหัวบ่อย หงุดหงิด อ่อนเพลียในตอนกลางวัน การนอนหลับยากนั้นอาจจะทำให้คุณตื่นตลอดทั้งคืน หรือใช้เวลาหลายชั่วโมงเพื่อที่จะทำให้ตัวเองหลับได้ นอกจากนี้ การนอนหลับยาก ยังอาจทำให้คุณมีพลังงานต่ำในระหว่างวัน หรือมีรอยคล้ำใต้ตาอย่างเห็นได้ชัด สาเหตุของ การนอนหลับยาก มีอะไรบ้าง สำหรับสาเหตุของการนอนหลับยากนั้นมีอยู่ด้วยกันหลายประการ นอกจากนั้น การนอนหลับยากในผู้ใหญ่ และการนอนหลับยากในทารกก็จะแตกต่างกันออกไป ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ การนอนหลับยากในผู้ใหญ่ การนอนหลับยากในผู้ใหญ่นั้นมีสาเหตุหลายประการที่ทำให้นอนไม่หลับ รวมถึงพฤติกรรมการนอน การเลือกใช้ชีวิต และเงื่อนไขทางการแพทย์ สาเหตุบางอย่างอาจจะเป็นเรื่องเพียงเล็กน้อย และอาจจะดีขึ้นเมื่อคุณดูแลตัวเอง ในขณะที่สาเหตุอื่น […]


เคล็ดลับในการนอนหลับ

นอนในห้องเย็นๆ ทั้งหลับสบาย แถมยังได้ประโยชน์สุขภาพ

คุณเคยลองสังเกตกันไหมคะว่า ในวันที่อากาศร้อนอบอ้าว เรามักจะมีปัญหาในเรื่องของการนอนหลับ ทั้งนอนหลับไม่สนิท หรือเหงื่อออกจนไม่สบายตัว ในขณะที่วันที่อากาศเย็น เรามักจะรู้สึกง่วง แถมยังหลับสบายอีกต่างหาก วันนี้ Hello คุณหมอ จะมานำเสนอความรู้ดีๆ เกี่ยวกับ ห้องนอนเย็น ว่าส่งผลต่อสุขภาพ และการนอนหลับได้อย่างไร และจะมีวิธีใดที่สามารถช่วยให้ห้องนอนของเราเย็นขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งเครื่องปรับอากาศบ้าง อุณหภูมิ ส่งผลอย่างไรต่อการนอน อุณภูมิหายในห้องนอนนั้น มีความสำคัญอย่างมาก ต่อคุณภาพในการนอนหลับ เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องกับ การควบคุมอุณหภูมิภายในร่างกายของเรา ร่างกายของเรานั้นสามารถปรับเปลี่ยนอุณหภูมิภายในร่างกายได้เอง โดยการขยายหลอดเลือดที่อยู่ตามผิวหนัง ทำให้ร่างกายสามารถระบายความร้อนภายในร่างกายออกไปได้ผ่านทางผิวหนัง และทำให้อุณภูมิภายในร่างกายลดลง แต่หากอุณหภูมิแวดล้อมนั้นร้อนเกินไป หรือเย็นจนเกินไป ก็อาจจะไปรบกวนกระบวนการปล่อยความร้อนของร่างกายนี้ ทำให้การควบคุมอุณหภูมิของร่างกายเสียสมดุล และส่งผลกระทบต่อการนอนหลับได้ โดยปกติแล้ว อุณหภูมิของร่างกายเรานั้นมักจะลดลงต่ำเมื่อใกล้กับเวลาเข้านอน และจะเพิ่มสูงขึ้นเมื่อใกล้เวลาที่เราต้องตื่น แต่หากว่าภายในห้องนอนของเรานั้นมีอุณหภูมิที่สูง ก็อาจจะทำให้ร่างกายของเราเข้าใจผิด คิดว่าถึงเวลาที่จะต้องตื่น ทำให้เราเกิดปัญหานอนหลับไม่สนิท สะดุ้งตื่นกลางดึก หรืออาการเหงื่อออกในตอนกลางคืนได้ ดังนั้น การรักษาระดับอุณหภูมิของห้องนอนให้มีความเย็น จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยเพิ่มคุณภาพในการนอนหลับได้ มีงานวิจัยที่พบว่า อุณภูมิที่เหมาะสมสำหรับการนอนหลับมากที่สุด สำหรับผู้ใหญ่ มักจะอยู่ที่ราวๆ 15 – 22 องศาเซลเซียส ส่วนสำหรับเด็ก จะอยู่ที่ประมาณ 18 – 21 องศาเซลเซียส […]


เคล็ดลับในการนอนหลับ

รู้รึเปล่า นอนคว่ำ อันตรายต่อสุขภาพ มากกว่าที่คิด

เชื่อว่าแต่ละคนล้วนแล้วแต่ก็มีท่านอนประจำ ที่นอนแล้วหลับสบายเป็นของตัวเองกันทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นท่านอนตะแคง ท่านอนหงาย หรือท่านอนคว่ำ แต่คุณรู้หรือเปล่าว่า ท่านอนคว่ำที่หลายๆ คนอาจจะชอบนอนนี้ จริงๆ แล้วอาจจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพมากกว่าที่ทุกคนคิด วันนี้ Hello คุณหมอ จะมานำเสนอ อันตรายจากการ นอนคว่ำ ให้ทุกคนได้รู้จักกันค่ะ นอนคว่ำ ส่งผลอะไรต่อร่างกาย การหายใจ หลายคนน่าจะสังเกตเห็นได้อยู่แล้วว่า ท่านอนคว่ำนั้นเป็นท่านอนที่ทำให้เราหายใจได้ไม่สะดวกเอาเสียเลย เนื่องจากคุณได้นอนกดทับอยู่บนแกนกลางของกล้ามเนื้อกระบังลม ที่อยู่ตรงกลางระหว่างหน้าอกและหน้าท้องของคุณ ทำให้คุณไม่สามารถสูดลมหายใจเข้าสู่ปอดได้อย่างเต็มที่ ทำให้หายใจลำบาก และรู้สึกอึดอัดมากขึ้น นอกจากนี้ การที่เราหายใจไม่สะดวกนั้น ยังส่งผลต่อสุขภาพจิตอีกด้วย มีงานวิจัยที่พบว่า การหายใจตื้นๆ อาจส่งผลให้ระดับความเครียดและความวิตกกังวลเพิ่มมากขึ้น ท่านอนคว่ำที่ไปกดทับปอดและกะบังลมจนทำให้เราหายใจไม่สะดวกนั้น จึงอาจทำให้เราเกิดความเครียดมากขึ้น และส่งผลให้นอนหลับได้ยากขึ้นด้วยนั่นเอง กระดูกสันหลัง มีงานวิจัยที่พบว่า ท่านอนคว่ำนั้นเป็นท่านอนที่ไม่ดีต่อสุขภาพของกระดูกสันหลังเป็นอย่างมาก เนื่องจากการนอนคว่ำนั้นจะทำให้เกิดแรงทับอย่างมากที่กระดูกสันหลัง ทำให้ไม่สามารถอยู่ในท่าที่ถูกต้องและเหมาะสมกับรูปร่างของกระดูกสันหลัง ส่งผลให้เกิดอาการปวดหลัง โดยเฉพาะหลังส่วนล่าง ช่วงกระดูกเชิงกราน นอกจากนี้ยังอาจทำให้เกิดอาการเหน็บชา และปวดเมื่อยตามตัวอีกด้วย ลำคอ เช่นเดียวกันกับกระดูกสันหลัง ท่านอนคว่ำนั้นจัดได้ว่าเป็นท่านอนที่ไม่เหมาะสมต่อกระดูกสันหลัง และบริเวณคอ เวลาที่เราต้องนอนคว่ำนั้น ใบหน้าจะหันเข้าสู่ที่นอน ทำให้เราจำเป็นต้องหันหน้าออกไปทางอื่น เพราะไม่อาจหายใจได้ การที่เรานอนอยู่ในท่าหันคออย่างนี้นานๆ จะทำให้กระดูกสันหลังและศีรษะไม่อยู่ในแนวเดียวกัน ส่งผลให้เกิดอาการปวดคอ และอาจนำไปสู่อาการที่รุนแรงได้ หากยังคงนอนคว่ำอยู่แบบนี้ไปเรื่อยๆ คนท้อง ท่านอนคว่ำนั้นเป็นท่านอนที่ไม่เหมาะสมสำหรับผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ เพราะไม่เพียงแต่จะเป็นการลงน้ำหนักตัวกดทับไปยังบริเวณครรภ์แล้ว ขนาดของครรภ์ที่ใหญ่นั้น จะทำให้เรานอนไม่สบาย และยังอาจเพิ่มแรงดึงกระดูกสันหลังให้กดทับลงมา […]


โรคนอนไม่หลับ

นอนไม่พอ อดนอน จะทำยังไงให้สดชื่นเต็มตา

หลายๆ คนคงจะเคย นอนน้อย นอนดึก หรือ นอนไม่พอ เป็นประจำอยู่แล้ว ซึ่งจะทำให้เช้าวันต่อมาร่างกายต้องแบกรับอาการอ่อนล้า อ่อนเพลีย และง่วงนอนเอาไว้ตลอดทั้งวัน และกว่าจะหมดวันจนถึงเวลาเข้านอนอีกครั้งก็ต้องรออีกหลายชั่วโมง ระหว่างนั้นอาการง่วงนอนเนื่องจากนอนไม่พอ อาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ แต่ไม่ต้องเป็นกังวลไป เพราะวันนี้ Hello คุณหมอ มีเคล็ดลับดีๆ สำหรับคนที่นอนไม่พอ และต้องเอาชีวิตรอดในเช้าวันใหม่มาฝากค่ะ อดนอน นอนไม่พอ ส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างไร หากเมื่อคืน นอนน้อย หรือนอนไม่พอมาล่ะก็ คุณจะสามารถรู้ตัวเองได้ทันทีหลังจากที่ตื่นนอน เพราะร่างกายจะมีอาการอ่อนเพลีย ไร้เรี่ยวแรง หรือง่วงนอนตลอดทั้งวัน ทั้งยังไม่ค่อยมีสมาธิในการจดจ่ออยู่กับสิ่งที่กำลังทำ ไม่ว่าจะเป็นการเรียน หรือการทำงาน อย่างไรก็ตาม อาการดังกล่าวไม่ได้ส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพมากนัก หากอาการ นอนน้อย อยู่ในระยะเวลาสั้นๆ เพียง 1-2 วัน ถ้าหากติดต่อกันเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน อาการนอนน้อยจะส่งผลต่ออาการทางสุขภาพในระดับที่รุนแรงมากขึ้น อาจทำให้สมองอ่อนล้า ร่างกายอ่อนเพลียอย่างหนัก ระดับฮอร์โมนในร่างกายเปลี่ยนแปลง น้ำหนักไม่คงที่ อาจมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างผิดปกติ ทั้งยังมีผลต่ออารมณ์ที่อาจรู้สึกหงุดหงิด หรือโมโหระหว่างวันได้ง่าย รวมทั้งอาจมีผลต่อการตัดสินใจอีกด้วย นอกจากนี้อาการ นอนน้อย ยังเสี่ยงที่จะทำให้เสียชีวิตด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น มีอาการนอนน้อย แต่ต้องขับรถด้วยตนเอง หากเกิดอาการหลับในขณะที่กำลังขับรถ […]


เคล็ดลับในการนอนหลับ

วิธีนอนหลับไว ภายใน 10 วินาที 60 วินาที และ120 วินาที ไหนลองซิ ว่าจริงหรือเปล่า?

ใครที่มีปัญหานอนไม่หลับ ข่มตาเท่าไหร่ก็ไม่ง่วงสักที รู้ตัวอีกทีก็เกือบเช้าแล้ว ทำให้นอนน้อย นอนไม่พอ จนมีผลเสียต่อสุขภาพตามมา และถ้าใครที่กำลังมองหาวิธีเด็ดๆ ที่ช่วยให้ นอนหลับ ได้ไวขึ้นล่ะก็ Hello คุณหมอ มี วิธีนอนหลับไว ภายใน 10 วินาที 60 วินาที และ120 วินาที มาฝากค่ะ แต่วิธีไหนจะได้ผล หรือทำแล้วเวิร์คแค่ไหน ไปลองดูกันได้เลยค่ะ [embed-health-tool-heart-rate] ทำไมถึงนอนหลับยากทุกที มีอยู่ด้วยกันหลายเหตุผลทีเดียวที่ทำให้เราไม่สามารถเข้านอนและ นอนหลับ ได้อย่างง่ายดาย ซึ่งปัจจัยหลักๆ ก็คือมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของเรานั่นเอง ไม่ว่าจะเป็น การรับประทานอาหาร พฤติกรรมในการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสมมีส่วนสำคัญที่ทำให้นอนหลับยากหรือนอนไม่หลับ ไม่ว่าจะเป็นการกินอาหารที่มีรสเผ็ดหรือเผ็ดจัด หากกินก่อนเข้านอนจะส่งผลให้เกิดอาการไม่สบายท้อง ทำให้นอนไม่หลับ หรือถ้ารับประทานอาหารเย็นใกล้กับเวลาเข้านอนโดยไม่มีช่วงพักให้อาหารย่อยก่อน ก็จะทำให้รู้สึกมวนท้อง ไม่สบายท้อง หรือเป็นกรดไหลย้อนได้ การกินอาหารและดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้นอนไม่หลับได้เหมือนกัน เนื่องจากคาเฟอีนจะไปกระตุ้นให้ร่างกายรู้สึกตื่นตัว ทำให้ไม่ง่วง หรือการดื่มน้ำหรือเครื่องดื่มมากเกินไป ก็ทำให้นอนหลับไม่สนิทได้เหมือนกัน เนื่องจากต้องลุกมาเข้าห้องน้ำอยู่บ่อยๆ อาจทำให้ นอนหลับ ได้ไม่เต็มที่ ไม่ค่อยออกกำลังกาย การออกกำลังกายนอกจากจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงแล้ว ก็ยังมีส่วนสำคัญที่ช่วยในการนอนหลับหรือทำให้นอนหลับได้ดีขึ้นด้วย เพราะการออกกำลังกายช่วยเพิ่มอุณหภูมิให้พุ่งสูงขึ้น เมื่อถึงเวลาค่ำหรือเวลาเข้านอน อุณหภูมิในร่างกายที่พุ่งสูงเมื่อตอนออกกำลังกายจะค่อยๆ ลดลงจนอยู่ในระดับปกติ จึงทำให้รู้สึกง่วงและนอนหลับได้ดีขึ้น […]


ความผิดปกติด้านการนอน

ผู้สูงอายุกับการนอนหลับ เมื่ออายุมากขึ้น การนอนหลับก็เปลี่ยนไป

เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น อะไรหลายๆ อย่างในชีวิตก็จะเริ่มเปลี่ยนแปลงไป ทั้งสุขภาพร่างกาย พละกำลัง การใช้ชีวิต หรือแม้กระทั่งการนอนหลับ จนอาจทำให้ความเคยชินในการทำกิจวัติประจำวันของผู้สูงอายุแต่ละคนต้องเปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกัน แล้วความเปลี่ยนแปลงระหว่าง ผู้สูงอายุกับการนอนหลับ นั้นมีอะไรบ้าง ทาง Hello คุณหมอ มีข้อมูลมาฝากกันในบทความนี้ ผู้สูงอายุกับการนอนหลับ มีความเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง คนเรานั้นจะมีกิจวัตรในการนอนที่แตกต่างกัน บ้างก็อาจจะนอนเร็วตื่นเช้า บ้างก็อาจจะนอนดึกตื่นสาย หรือบางคนก็อาจจะชอบโต้รุ่งติดกันหลายๆ วัน โดยไม่รู้สึกเหนื่อยอะไรมากมาย แต่เมื่อเรามีอายุที่เพิ่มมากขึ้น เราก็อาจจะเริ่มสังเกตเห็นว่า รูปแบบการนอนของเรานั้นค่อยๆ เปลี่ยนไปตามอายุด้วยเช่นกัน จากเดิมที่บางคนอาจจะสามารถนอนหลับได้สนิทเป็นเวลานาน ก็อาจจะเริ่มมีอาการสะดุ้งตื่นขึ้นกลางดึก บางคนที่สามารถโต้รุ่งไม่นอนได้ทั้งคืน ก็อาจจะไม่สามารถอดนอนได้นอนๆ เหมือนแต่ก่อน หรือบางคนก็อาจจะตื่นเช้ามากขึ้นเมื่อมีอายุเพิ่มมากขึ้น สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ก็เป็นความเปลี่ยนแปลงของรูปแบบการนอนที่ปกติ ที่ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักจะต้องเจอ นั่นก็เป็นเพราะว่า ผู้สูงอายุนั้นจะมีปัจจัยอื่นๆ ที่อาจส่งผลกระทบกับการนอนหลับได้ ไม่ว่าจะเป็น การที่จำเป็นต้องลุกมาเข้าห้องน้ำกลางดึกบ่อยๆ เพราะร่างกายไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายได้ดีเหมือนแต่ก่อน นอกจากนี้ยังปัญหาทางด้านความวิตกกังวล ความเครียด หรือแม้กระทั่งอาการป่วยจากโรคเรื้อรังที่รุมเร้า ปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่อการนอนหลับของผู้สูงอายุ ทำให้ระยะเวลาในการนอนของผู้สูงอายุสั้นลง อยู่ที่ประมาณคืนละ 6-7 ชั่วโมง และมีโอกาสสะดุ้งตื่นกลางดึกได้มากขึ้น การตื่นกลางคันนี้จะไปรบกวนการนอนของผู้สูงอายุ ทำให้ไม่ได้นอนพักผ่อนอย่างเต็มที่ และอาจส่งผลให้เกิดความรู้สึกอ่อนเพลียในเวลากลางวัน หรือทำให้นอนหลับได้ยากขึ้นในคืนถัดๆ มาอีกด้วย ปัญหาการนอนหลับในผู้สูงอายุ ที่ไม่ควรมองข้าม รูปแบบของการนอนที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งการสะดุ้งตื่นกลางดึก การตื่นเช้าขึ้น และเวลาในการหลับลึกที่สั้นลง ปัญหาเหล่านี้สามารถส่งผลให้เกิดปัญหาในการนอนหลับในผู้สูงอายุได้ […]


โรคนอนไม่หลับ

รู้หรือเปล่า มีปัญหานอนไม่หลับ การหัวเราะ ช่วยคุณได้

ปัญหาในเรื่องของการนอนหลับนั้นอาจจะมีสาเหตุมาจากปัจจัยต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน (Caffeine) การเจ็บป่วย สภาพแวดล้อม หรือความเครียด แต่คุณรู้รึเปล่าคะ ว่ามีวิธีดีๆ ที่จะช่วยแก้ปัญหาอาการนอนไม่หลับได้อย่างง่ายๆ อย่าง การหัวเราะ อยู่ด้วย แต่ การหัวเราะช่วยในการนอนหลับ ได้อย่างไร มาหาคำตอบร่วมกันกับ Hello คุณหมอ เลยค่ะ การหัวเราะ ช่วยในการนอนหลับ ช่วยอย่างไร นักวิจัยกลุ่มหนึ่งจากญี่ปุ่น ได้ทำการศึกษาค้นคว้าและพบว่า การหัวเราะ โดยเฉพาะการหัวเราะในช่วงเวลาค่ำนั้น จะสามารถช่วยกระตุ้นการผลิตของฮอร์โมนเมลาโทนิน (Melatonin) ฮอร์โมนที่สมองหลั่งออกมาเมื่ออยู่ในที่มืดหรือมีแสงน้อย ฮอร์โมนเมลาโทนินนี้จะมีส่วนสำคัญอย่างมากในการนอนหลับตามปกติ หากในร่างกายมีเมลาโทนินมาก เราก็จะสามารถนอนหลับได้ง่ายขึ้น อีกทั้งยังหลับได้สนิทและนานยิ่งขึ้นอีกด้วย โดยในงานวิจัยนี้ได้ให้กลุ่มผู้เข้ารับการทดลองกลุ่มหนึ่ง ชมภาพยนตร์ตลกในช่วงเวลา 2 ทุ่ม ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งชมภาพยนตร์อื่นๆ ที่ไม่ใช่ภาพยนตร์ตลก เป็นเวลา 87 นาทีจนหนังจบ จากนั้นจึงได้เก็บตัวอย่างน้ำนมแม่จากกลุ่มผู้เข้ารับการทดลอง พบว่าน้ำนมแม่ของกลุ่มที่รับชมภาพยนตร์ตลกก่อนเวลานอนนั้น จะมีระดับของฮอร์โมนเมลาโทนินมากกว่าผู้ที่รับชมภาพยนตร์แนวอื่นๆ ดังนั้นจึงได้สรุปออกมาว่า การหัวเราะและความรู้สึกตลกขบขันนั้น สามารถช่วยเพิ่มการหลั่งฮอร์โมนเมลาโทนินออกมาได้ นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยอื่นๆ ที่พบว่า การหัวเราะนั้นสามารถช่วยบรรเทาความเครียด ทำให้อารมณ์ดีขึ้น และทำให้กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของร่างกายผ่อนคลายลง ส่งผลให้คุณสามารถนอนหลับได้ง่ายขึ้นอีกด้วย การหัวเราะส่งผลอย่างไรต่อร่างกายได้อีกบ้าง ช่วยกระตุ้นการทำงานของอวัยวะ การหัวเราะนั้นจะกระตุ้นการทำงานของระบบการหายใจและการไหลเวียนโลหิต ทำให้เราสูดอากาศที่มีออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายมากขึ้น […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน