backup og meta

อาเคเชีย (Acacia)

การใช้ Acacia

ประโยชน์ของ Acacia มีอะไรบ้าง

Acacia ถูกพูดถึงกันแบบปากต่อปากในเรื่องของประโยชน์ทางด้านการเป็นยา ดังนี้

  • ช่วยแก้ปัญหาคอเรสเทอรอลสูง
  • ช่วยในการลดน้ำหนัก
  • โรคลำไส้แปรปรวน (Irritable bowel syndrome หรือ IBS)
  • โรคเบาหวาน
  • แก้ปัญหาความเสียหายของตับ

นอกจากนี้ Acacia ยังสามารถใช้ในด้านอื่นๆ ได้อีก สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมของ Acacia ได้ที่แพทย์ผู้ดูแล เภสัชกรหรือนักสมุนไพรศาสตร์

การทำงานของ Acacia เป็นอย่างไร

มีการศึกษาเกี่ยวกับการทำงานของสมุนไพรชนิดนี้ที่ไม่เพียงพอนัก จึงจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลและนักสมุนไพรศาสตร์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม แต่อย่างไรก็ตาม มีบางการศึกษาที่ได้รายงานเกี่ยวกับสมุนไพรชนิดนี้ว่า :

ช่วยแก้ปัญหาคอเรสเทอรอลสูง

Acacia เป็นแหล่งของไฟเบอร์ที่ช่วยในการควบคุมอาหาร เนื่องจากสามารถช่วยให้รู้สึกอิ่มได้จึงทำให้เราหยุดรับประทานอาหารเร็วกว่าปกติ ซึ่งส่งผลให้น้ำหนักลดและลดระดับของคอเรสเทอรอลในร่างกาย

แก้ปัญหาความเสียหายของตับ

จากการทดลองค้นคว้าในสัตว์พบว่าไฟเบอร์ใน Acacia อาจช่วยป้องกันความเสียหายต่อตับที่เกิดจาก Acetaminophen (ยาแก้ปวด) ยกตัวอย่างเช่น ในการศึกษาค้นคว้าด้านเภสัชศาสตร์ปี 2003 พบว่าไฟเบอร์ใน Acacia ช่วยต่อต้านความเสียหายของตับโดยการลดภาวะเครียดที่เกิดจากออกซิเดชั่น

ข้อควรระวังและคำเตือน

สิ่งที่ต้องรู้ก่อนการใช้ Acacia คืออะไรบ้าง

ปรึกษาแพทย์ผู้ดูแล เภสัชกรหรือนักสมุนไพรศาสตร์ หากว่า :

  • อยู่ในระหว่างตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากระหว่างการตั้งครรภ์หรือช่วงให้นมบุตรนั้นควรจะใช้ยาภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้น
  • อยู่ในระหว่างการใช้ยาชนิดอื่น ซึ่งรวมถึงการใช้ยาที่สามารถหาซื้อได้เองโดยไม่ต้องใช้ใบสั่งยาจากแพทย์
  • มีอาการแพ้สารใดๆ ใน Acacia หรือแพ้ยาและสมุนไพรอื่นๆ
  • มีอาการป่วย อาการผิดปกติของร่างกายหรือผลข้างเคียงจากยา
  • มีอาการแพ้อื่นๆ เช่นแพ้อาหาร สีย้อม สารกันบูดหรือสัตว์ชนิดต่างๆ

ข้อปฏิบัติในการใช้สมุนไพรนั้นมีความเข้มงวดที่น้อยกว่าการใช้ยารักษาโรค จำเป็นต้องมีการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเพื่อรับรองความปลอดภัย ซึ่งการจะใช้ประโยชน์ของสมุนไพรนั้นต้องศึกษาความเสี่ยงก่อนใช้และควรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับแพทย์ผู้ดูแลหรือนักสมุนไพรศาสตร์ก่อน

Acacia นั้นมีความปลอดภัยแค่ไหน

สำหรับผู้ที่ตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร:

ยังไม่มีข้อมูลที่เพียงพอเกี่ยวกับความปลอดภัยของการใช้สมุนไพรนี้ระหว่างการตั้งครรภ์และช่วงให้นมบุตร ควรปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลในเรื่องของประโยชน์จากการใช้สมุนไพรและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ก่อนการใช้ยาสมุนไพรนี้

การศัลยกรรม:

ต้องหยุดใช้ Acacia อย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนถึงกำหนดการศัลยกรรม

ผลข้างเคียง

มีผลข้างเคียงใดบ้างที่อาจเกิดขึ้นได้จากการใช้ Acacia

Acacia อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น :

  • เกิดแก๊ส
  • ท้องอืด
  • มีอาการคลื่นไส้
  • ท้องเสีย เช่น มีอาการคลื่นไส้ในตอนเช้า ท้องร่วงและท้องอืดในช่วงสัปดาห์แรก

ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีผลข้างเคียงดังกล่าว บางครั้งอาจเกิดผลข้างเคียงอื่นๆ ที่ไม่ได้กล่าวถึงซึ่งหากพบอาการข้างเคียงใดๆ ควรปรึกษาแพทย์หรือนักสมุนไพรศาสตร์

อันตรกิริยาระหว่างยา (การตีกันของการใช้ยา)

หากใช้ Acacia จะเกิดอันตรกิริยาแบบใด

การใช้ยาดังกล่าวนี้อาจเกิดปฏิกริยากับยาหรือการรักษาอื่นๆ ที่ใช้อยู่เป็นประจำได้ ควรปรึกษาแพทย์หรือนักสมุนไพรศาสตร์ก่อนใช้

การใช้สาร Amoxicillin (Amoxil, Trimox) ร่วมกับ Acacia อาจทำให้ร่างกายไม่สามารถดูดซึม Antibiotic amoxicillin (Amoxil, Trimox) ได้

ปริมาณการใช้ยา

ข้อมูลนี้ไม่สามารถเป็นคำสั่งในการใช้ยาได้ ควรปรึกษานักสมุนไพรศาสตร์หรือแพทย์ก่อนการใช้ยาเสมอ

 

ปกติแล้วควรใช้ Acacia ในปริมาณเท่าใด

ปริมาณในการใช้สมุนไพรนี้อาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล โดยขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพและปัจจัยอื่นๆ การใช้ยาสมุนไพรนั้นอาจไม่ได้มีความปลอดภัยเสมอ จึงควรปรึกษานักสมุนไพรศาสตร์หรือแพทย์ในเรื่องปริมาณที่เหมาะสม

Acacia ที่ใช้อยู่ในรูปแบบใด

สมุนไพรดังกล่าวอาจอยู่ในรูปแบบต่อไปนี้ :

  • ผง Acacia

Hello Health Group ไม่ใช่แหล่งคำแนะนำในการใช้ยา การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาใดๆ

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Acacia. http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-268-acacia.aspx?activeingredientid=268&activeingredientname=acacia. Accessed March 11, 2017.

เวอร์ชันปัจจุบัน

12/05/2020

เขียนโดย Ploylada Prommate

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Ploylada Prommate


บทความที่เกี่ยวข้อง

มะก่องข้าว สมุนไพรพื้นบ้านมากคุณประโยชน์

หน่อไม้ (Bamboo shoots)


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 12/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา