backup og meta

เก๋ากี้ดำ (Black Wolfberry)

สรรพคุณ

เก๋ากี้ดำหรือเป็นที่รู้จักกันคือ โกจิเบอรี่ดำ (black goji berry) ใช้สำหรับ:

  • ลดระดับคอเรสเตอรอลสูง
  • ลดอาการของหญิงวัยหมดประจำเดือน
  • ลดความผิดปกติของประจำเดือนต่างๆ
  • รักษาโรคโลหิตจาง
  • แก้อาการอ่อนเพลีย
  • แก้โรคหัวใจ
  • แก้อาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ
  • รักษาอาการปอดติดเชื้อ
  • รักษาโรคตับ
  • แก้โรคเหงือก
  • ลดความดันโลหิตสูง
  • แก้ผิวหนังติดเชื้อ
  • แก้อาการเวียนศีรษะ
  • แก้อาการติดเชื้อที่ตา
  • รักษาไตวาย
  • ชะลอวัย
  • ต้านมะเร็ง
  • ลดอาการเบาหวาน
  • เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย

นอกจากนี้ยังใช้ในการล้างพิษในตับ และ ดีท็อกซ์ขจัดพิษ (detoxicant) อีกด้วย

กลไกการออกฤทธิ์

เนื่องจากยังมีงานวิจัยเกี่ยวกับเก๋ากี้ดำไม่มากพอ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมอย่างไรก็ดี เป็นที่ทราบกันว่า Black wolfberry อุดมไปด้วยวิตามินและเกลือแร่มากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิตามิน เอ ซี อี มีสารต้านอนุมูลอิสระ และสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพอื่นๆ นอกจากนี้ยังมีกรดไขมัน ที่จำเป็นต่างๆ ซึ่งไม่มีในผลไม้ทั่วไป มีการค้นพบว่าสามารถลดอัตราการเกิดของมะเร็งได้ ซึ่งขัดขวางหรือชะลอการเติบโตของเชื้อมะเร็งได้อีกด้วย

ข้อควรระวังและคำเตือน

ปรึกษาแพทย์ เภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรในกรณีที่:

  • ตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจากในขณะให้นมบุตรนั้น ควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
  • กำลังใช้ยาอื่น ๆ รวมถึงยาที่สามารถซื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งจากแพทย์
  • มีอาการแพ้สารเก๋ากี้ดำ ยาอื่น ๆ หรืออาหารเสริมอื่น ๆ
  • มีโรคอื่น ๆ มีความผิดปกติหรือพยาธิสภาพอื่น ๆ
  • มีอาการแพ้อื่น ๆ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูดหรือเนื้อสัตว์ต่าง ๆ

ข้อกำหนดสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเก๋ากี้ดำนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อกำหนดยาอื่น ๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัย การใช้ผลิตภัณฑ์นี้ต้องมีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

ความปลอดภัย

เก๋ากี้ดำถือว่าปลอดภัย หากรับประทานเพียงระยะสั้น

 

ช่วงตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร: การใช้ การรับประทานเก๋ากี้ดำไม่ปลอดภัยสำหรับสตรีมีครรภ์ เนื่องจากประกอบด้วยสารเคมีต่างๆ สารบีเทน (betaine) ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดการแท้งบุตรได้  ห้ามใช้เก๋ากี้ดำ หากอยู่ในระหว่างตั้งครรภ์หรือระหว่างการให้นมบุตร

แพ้โปรตีนในผลิตภัณฑ์ต่างๆ: เก๋ากี้ดำ อาจเป็นสาเหตุทำปฏิกิริยาให้เกิดอาการแพ้ในคนที่แพ้ ใบยาสูบ ลูกพีช มะเขือเทศ และถั่วต่างๆได้

ผู้ที่มีความดันเลือดต่ำ: เก๋ากี้ดำอาจทำให้ความดันต่ำลงได้ หากเป็นผู้ที่มีความโลหิตที่ต่ำอยู่แล้วการใช้เก๋ากี้ดำ จะยิ่งทำให้ความดันต่ำลงมากขึ้นไปอีก

ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง: เก๋ากี้ดำอาจทำให้ความดันโลหิตต่ำลง ซึ่งจะส่งผลให้ความดันเลือดต่ำลงมากเกินไปหากมีการรับประทานยาลดความดันร่วมด้วย

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงที่อาจจะได้รับจากการใช้เก๋ากี้ดำ

เก๋ากี้ดำอาจเป็นสาเหตุให้เกิดผลข้างเคียงเช่น อาการคลื่นไส้ และอาเจียน

จากอาการผลข้างเคียงที่กล่าวมาข้างต้น ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีผลข้างเคียง หากมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียงของยา ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพรหรือแพทย์

ปฏิกิริยาระหว่างยา

จะเกิดปฏิกิริยาอะไรเมื่อใช้เก๋ากี้ดำพร้อมกับสารชนิดอื่น

เก๋ากี้ดำอาจมีปฏิกิริยากับยาที่ใช้อยู่ควบคู่กัน ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้ยา

ตัวยาที่อาจมีปฏิกิริยากับ Black wolfberry

  • ตับจะเปลี่ยนแปลงการออกฤทธิ์ของยาในการรักษาโรค

ตับจะทำลายหรือเปลี่ยนแปลงการออกฤทธิ์ของยารักษาโรคบางตัว

เก๋ากี้อาจเจือจางลงเมื่อตับทำลายการออกฤทธิ์ของยารักษาโรค การรับประทานเก๋ากี้ ร่วมกับยารักษาโรคบางตัวตับจะทำลายการรักษาลง ซึ่งอาจจะส่งผลที่มากขึ้นหรือเกิดผลข้างเคียงในการรักษาโรคบางอย่าง ก่อนการใช้เก๋ากี้ จึงควรปรึกษาแพทย์ หากผลการรักษาเปลี่ยนแปลงไป จากการทำงานของตับ

ตัวยาที่ตับทำลายการออกฤทธิ์ยา ประกอบด้วย amitriptyline (Elavil), diazepam (Valium), zileuton (Zyflo), celecoxib (Celebrex), diclofenac (Voltaren), fluvastatin (Lescol), glipizide (Glucotrol), ibuprofen (Advil, Motrin), irbesartan (Avapro), losartan (Cozaar), phenytoin (Dilantin), piroxicam (Feldene), tamoxifen (Nolvadex), tolbutamide (Tolinase), torsemide (Demadex), warfarin (Coumadin) และอื่นๆ

  • ยาลดความดันโลติด (Antihypertensive drugs)

เก๋ากี้ช่วยลดความดันโลหิตลงได้  การใช้เก๋ากี้ควบคู่กับยาลดความดันโลหิตสูงจะทำให้ความดันโลหิตต่ำเกินไป

ยาลดความดันโลหิตสูงบางตัว ประกอบด้วย captopril (Capoten), enalapril (Vasotec), losartan (Cozaar), valsartan (Diovan), diltiazem (Cardizem), Amlodipine (Norvasc), hydrochlorothiazide (HydroDiuril), furosemide (Lasix) และอื่นๆ

  • ยาละลายลิ่มเลือด (Warfarin)

Warfarin (Coumadin) ใช้สำหรับลดการแข็งตัวของเลือด Lycium อาจเพิ่มระยะการออกฤทธิ์ยาในร่างกายให้นานขึ้น และทำให้มีโอกาสเกิดรอยช้ำหรือภาวะเลือดไหลไม่หยุดได้ ควรตรวจเลือดอย่างสม่ำเสมอ อาจจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงขนาดการใช้ยา warfarin (Coumadin)

ขนาดยา

ข้อมูลนี้ไม่ใช่คำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้ยาเสมอ

ขนาดปกติของการใช้เก๋ากี้ดำอยู่ที่เท่าไร:

ปริมาณการใช้เก๋ากี้ดำ อาจแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งปริมาณยาที่ใช้จะขึ้นอยู่กับช่วงอายุ สุขภาพ และพยาธิสภาพอื่น ๆ อาหารเสริมประเภทสมุนไพรนี้อาจไม่ปลอดภัยเสมอไป ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์เพื่อรับปริมาณยาที่เหมาะสม

รูปแบบของเก๋ากี้ดำ

เก๋ากี้ดำอาจมีจำหน่ายอยู่ในรูปแบบต่อไปนี้:

  • ผลสดของเก๋ากี้ดำ
  • ชาสกัดจากเก๋ากี้ดำ

***Hello Health Group  ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษา***

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

BLACK WOLFBERRY https://herbpathy.com/Uses-and-Benefits-of-Black-Goji-Berry-Cid9548 Accessed September 13, 2017

Lycium ruthenicum http://www.naturalmedicinalherbs.net/herbs/l/lycium-ruthenicum.php Accessed September 13, 2017

เวอร์ชันปัจจุบัน

21/12/2021

เขียนโดย Ploylada Prommate

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

มะก่องข้าว สมุนไพรพื้นบ้านมากคุณประโยชน์

หน่อไม้ (Bamboo shoots)


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 21/12/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา