backup og meta

ยาฮอร์โมนเพศหญิง มีประโยชน์และข้อควรระวังอย่างไร

ยาฮอร์โมนเพศหญิง มีประโยชน์และข้อควรระวังอย่างไร

ยาฮอร์โมนเพศหญิง มีส่วนประกอบของฮอร์โมนเพศหญิงอย่าง เอสโตรเจน (Estrogen) และโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ที่ใช้เพื่อรักษาปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของฮอร์โมนเพศหญิง อย่างไรก็ตาม ยาฮอร์โมนเพศหญิงก็อาจมีผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ดังนั้นจึงควรศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์และผลข้างเคียงให้ดี รวมถึงปรึกษาคุณหมอก่อนใช้ยา

[embed-health-tool-ovulation]

ยาฮอร์โมนเพศหญิง คืออะไร

ยาฮอร์โมนเพศหญิง คือ ยาที่ส่วนประกอบของฮอร์โมนเพศหญิง เช่น เอสโตรเจน โปรเจสเตอโรน ใช้ในกระบวนการฮอร์โมนบำบัดเพื่อรักษาความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนเพศหญิงและวัยหมดประจำเดือน เช่น ประจำเดือนมาไม่ปกติ อาการร้อนวูบวาบ ภาวะช่องคลอดแห้ง อารมณ์แปรปรวน เหนื่อยล้าง่าย

ประเภทของยาฮอร์โมนเพศหญิง

ยาฮอร์โมนเพศหญิงแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้

  • ยาฮอร์โมนเอสโตรเจน หมายถึงยาที่มีส่วนประกอบหลักเป็นฮอร์โมนเอสโตรเจนเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
  • ยาฮอร์โมนโปรเจสติน หมายถึงยาที่มีส่วนประกอบหลักเป็นฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนแบบสังเคราะห์เท่านั้น เท่านั้น
  • ยาฮอร์โมนรวม หมายถึงยาที่มีส่วนประกอบของฮอร์โมนเอสโตรเจนและฮอร์โมนโปรเจสติน (Progestin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนสังเคราะห์

อย่างไรก็ตาม ประเภทของยาฮอร์โมนเอสโตรเจนยังสามารถแบ่งออกตามรูปแบบของยา ดังนี้

  • ยาเม็ดสำหรับรับประทาน มีทั้งในรูปแบบของยาฮอร์โมนเอสโตรเจนเพียงอย่างเดียว ฮอร์โมนโปรเจสตินเพียงอย่างเดียว และยาฮอร์โมนรวม
  • แผ่นแปะผิวหนัง มีทั้งในรูปแบบของยาฮอร์โมนเอสโตรเจนเพียงอย่างเดียวและยาฮอร์โมนรวม
  • ครีมทาผิว มีในรูปแบบของยาฮอร์โมนเอสโตรเจนเพียงอย่างเดียว
  • ห่วงคุมกำเนิด มีในรูปแบบของยาฮอร์โมนโปรเจสตินเพียงอย่างเดียว
  • ยาเหน็บช่องคลอด มีในรูปแบบของยาฮอร์โมนเอสโตรเจนเพียงอย่างเดียว
  • สเปรย์พ่น มีในรูปแบบของยาฮอร์โมนเอสโตรเจนเพียงอย่างเดียว

ประโยชน์ของยาฮอร์โมนเพศหญิง

ยาฮอร์โมนเพศหญิงอาจมีประโยชน์สำหรับการบรรเทาอาการที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนเพศหญิงในวัยหมดระดู ดังนี้

  • อารมณ์แปรปรวน
  • วิตกกังวล
  • อาการร้อนวูบวาบ
  • ภาวะช่องคลอดแห้ง
  • ผิวแห้ง อาการคันที่ผิวหนัง
  • ปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ
  • เหงื่อออกตอนกลางคืน
  • ปัญหาเสื่อมสมรรถภาพทางเพศในผู้หญิง

นอกจากนี้ ยาฮอร์โมนเพศหญิงยังอาจช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน ลดการสูญเสียมวลกระดูก บรรเทาอาการปวดข้อต่อ และอาจช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้อีกด้วย

ข้อควรระวังเกี่ยวกับการใช้ยาฮอร์โมนเพศหญิง

การใช้ยาฮอร์โมนเพศหญิงอาจส่งผลให้เกิดผลข้างเคียงดังต่อไปนี้

  • ปวดหัว
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ท้องเสีย
  • ท้องอืด ท้องเฟ้อ
  • ปวดท้อง
  • สิว
  • อาจมีความอยากอาหารมากขึ้นหรือลดลง
  • ประจำเดือนมาผิดปกติ เลือดออกจากช่องคลอดแบบกะปริบกะปรอย
  • ความต้องการทางเพศเปลี่ยนแปลง
  • อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อลิ่มเลือดและโรคหลอดเลือดสมอง
  • อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะปัสสาวะและนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
  • อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านม

อย่างไรก็ตาม หากเกิดอาการดังต่อไปนี้ ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อรับการตรวจและวินิจฉัยในทันทีเนื่องจากอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้

  • มองเห็นภาพซ้อน
  • ดวงตาและผิวหนังเป็นสีเหลือง
  • เบื่ออาหาร
  • มีเลือดออกผิดปกติ
  • ปวดท้องอย่างรุนแรง
  • มีผดผื่น
  • มีไข้สูง
  • เหนื่อยล้า ไม่มีแรง
  • ปัสสาวะสีเข้มและอุจจาระสีอ่อน

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Hormone Therapy for Menopause. https://www.acog.org/womens-health/faqs/hormone-therapy-for-menopause. Accessed February 29, 2023.

Hormone Therapy for Menopause Symptoms. https://my.clevelandclinic.org/health/treatments/15245-hormone-therapy-for-menopause-symptoms. Accessed February 29, 2023.

Estrogen and Progestin (Hormone Replacement Therapy). https://medlineplus.gov/druginfo/meds/a601041.html. Accessed February 29, 2023.

Hormone therapy: Is it right for you? https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/menopause/in-depth/hormone-therapy/art-20046372. Accessed February 29, 2023.

Hormone replacement therapy (HRT). https://www.nhs.uk/conditions/hormone-replacement-therapy-hrt/. Accessed February 29, 2023.

เวอร์ชันปัจจุบัน

24/04/2023

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงอรกนิษฐา อรุณาทิตย์

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

เทคฮอร์โมนชาย มีประโยชน์อย่างไร มีเกิดผลข้างเคียงหรือไม่

โรคเบาหวาน เกิดจากฮอร์โมนชนิดใดทำงานผิดปกติ และการควบคุมอาการ


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงอรกนิษฐา อรุณาทิตย์

สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสุขุมวิท


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 24/04/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา