อาการเจ็บเต้านมที่เกี่ยวข้องกับประจำเดือน
- เกิดขึ้นก่อนเป็นประจำเดือน และจะหายไปเมื่อประจำเดือนหมดลงในรอบนั้น ๆ
- เกิดในผู้หญิงช่วงอายุ 20-40 ปี
- เกิดบริเวณส่วนบนของเต้านม และรู้สึกเจ็บพร้อมกันทั้ง 2 ข้าง
- อาจรู้สึกเจ็บปวด หรือคัดตึงค่อนข้างรุนแรงช่วง 2 สัปดาห์ก่อนมีประจำเดือน
อาการเจ็บเต้านมที่ไม่เกี่ยวข้องกับประจำเดือน
- ให้ความรู้สึกเจ็บปวดหรือแน่นตึงบริเวณเต้านม
- อาจรู้สึกเจ็บปวดแบบต่อเนื่องหรือเป็น ๆ หาย ๆ โดยไม่ต่อเนื่องก็ได้
- มักรู้สึกเจ็บที่เต้านมข้างใดข้างหนึ่ง แต่อาจรู้สึกเจ็บที่เต้าอีกข้างได้ในภายหลัง
ทั้งนี้ ควรไปพบคุณหมอ หากอาการเจ็บเต้านมมีลักษณะดังนี้
- เกิดขึ้นทุกวัน และเป็นอย่างต่อเนื่องเกิน 2 สัปดาห์
- เกิดขึ้นที่จุดใดจุดหนึ่งของเต้านม
- มีอาการแย่ลงกว่าเดิม
- รบกวนการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น ทำให้นอนไม่หลับ เครียด วิตกกังวล
- มีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น มีไข้ ปวดหัว วิงเวียน คลื่นไส้
เจ็บเต้านม รักษาได้หรือไม่
หากอาการเจ็บเต้านมรบกวนการดำเนินชีวิตประจำวัน อาการรุนแรงขึ้นในแต่ละเดือน หรือไม่หายแม้ว่าประจำเดือนจะหมดลงแล้ว ควรพบคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัย เมื่อไปถึงสถานพยาบาล คุณหมออาจตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุและเลือกรักษาอาการเจ็บเต้านม ด้วยวิธีการต่อไปนี้
- ให้ทายาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non-steroidal Anti-inflammatory Drugs) บริเวณหน้าอก เพื่อบรรเทาความเจ็บปวดหรืออาการอักเสบ
- ให้รับประทานยาต้านเชื้อ เป็นเวลา 10 วันติดต่อกัน เพื่อรักษาการติดเชื้อโรคซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะเต้านมอักเสบ
- ให้รับประทานยาแก้ปวด เช่น ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) พาราเซตามอล เพื่อบรรเทาอาการปวดเบื้องต้น
- ให้รับประทานฮอร์โมนทดแทน เพื่อปรับระดับฮอร์โมนเพศในร่างกายที่มีการเปลี่ยนแปลงก่อนมีประจำเดือนให้อยู่ในภาวะสมดุล เพื่อช่วยบรรเทาอาการเจ็บเต้านม
- ปรับการใช้ยาคุมกำเนิด หากอาการเจ็บเต้านม เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย เนื่องจากการใช้ยาคุมกำเนิด คุณหมออาจแนะนำให้รับประทานยาคุมกำเนิดแบบต่อเนื่อง โดยไม่ต้องเว้น 7 วันหลังยาหมดแผง
- ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยดูจากสาเหตุของอาการเจ็บเต้านม เช่น การเลือกสวมเสื้อชั้นในที่เหมาะสมกับขนาดหน้าอก การปั๊มนมออกอย่างสม่ำเสมอในหญิงระยะให้นมบุตร
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย