backup og meta

แท้งลูก วิธีรับมือกับอารมณ์ต่าง ๆ และการก้าวข้ามความสูญเสีย

แท้งลูก วิธีรับมือกับอารมณ์ต่าง ๆ และการก้าวข้ามความสูญเสีย

แท้งลูก เป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้ในหญิงตั้งครรภ์ทุกคน เป็นการสูญเสียที่ไม่มีใครอยากให้เกิด สร้างความเจ็บปวดและเสียใจให้หญิงตั้งครรภ์และคนใกล้ชิด  การก้าวข้ามความสูญเสียทั้งทางร่างกายและจิตใจใช้เวลามากน้อยแตกต่างกันไปในแต่ละคน ทั้งนี้ จำเป็นต้องรู้จักวิธีรับมือกับอารมณ์ด้านลบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ระยะยาวในการใช้ชีวิตต่อไป

ความรู้สึกหลังจากการแท้งลูก

หลังจากแท้ง ผู้หญิงอาจเกิดอารมณ์ที่หลากหลาย ตั้งแต่ความรู้สึกผิด ความเศร้า ความโกรธ จนถึงหมดหวัง หรือแม้กระทั่งซึมเศร้า นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกายหลังจากแท้งลูก สามารถนำไปสู่อาการทางร่างกาย เช่น อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ ไม่มีสมาธิ ความอยากอาหารน้อยลง และร้องไห้ตลอดเวลา ซึ่งอาการเหล่านี้สามารถทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นได้

ลำดับอารมณ์หลังจากการแท้งลูก

โดยปกติแล้ว อารมณ์ต่าง ๆ จะประเดประดังเข้ามา ปะปนกันจนแยกไม่ถูก ทั้งเสียใจ โกรธ ผิดหวัง รู้สึกผิด ทั้งนี้ส่วนใหญ่มักมีลำดับอารมณ์หลังแท้งลูก ดังนี้

ขั้นที่ 1: ตกใจ ไม่เชื่อ ไม่ยอมรับ

ผู้หญิงหลายคนรับความจริงไม่ได้ว่า ได้สูญเสียลูกน้อยไปตลอดกาล มักปฏิเสธความจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้ และต้องใช้เวลาในการยอมรับว่า เกิดการแท้งลูก

ขั้นที่ 2: โกรธ รู้สึกผิด และซึมเศร้า

ผู้หญิงที่มีประสบการณ์แท้งลูก รู้สึกโกรธ ที่ตัวเองต้องพบกับความสูญเสีย และคิดว่าเป็นสิ่งที่ไม่ยุติธรรม จากนั้น  จะรู้สึกผิดที่ดูแลเด็กในท้องไม่ดีพอ หลังจากนั้นจะรู้สึกเสียใจและเจ็บปวด ซ่ึ่งอารมณ์เศร้าโศกทั้งหลายอาจพัฒนาไปสู่อาการซึมเศร้าได้

ขั้นที่ 3: ยอมรับความจริง 

หลังจากช่วงเวลาของความรู้สึกผิด และทุกข์ระทมผ่านไป ความเจ็บปวดทางใจจะทุเลาลง ผู้เป็นแม่จะเดินหน้าต่อไป แต่ยังมีปัจจัยที่อาจกระตุ้นความรู้สึกเหล่านั้นให้กลับมาได้ ปัจจัยต่าง ๆ ประกอบด้วย

  • รับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับการคลอดจากข่าว หรือบทความต่าง ๆ
  • เห็นเด็กทารก
  • เห็นแม่ให้นมลูก
  • ได้รับคำวิจารณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจ
  • ไปพบสูตินรีแพทย์
  • อยู่ในงานรวมญาติ

ทั้งนี้ เมื่อเวลาผ่านไป ความรู้สึกแต่ในละวันอาจดีขึ้นเรื่อย ๆ แต่อาจรู้สึกคิดถึงลูกน้อย หรือช่วงเวลาที่ตั้งครรภ์ ซึ่งความรู้สึกเหล่านี้ถือเป็นเรื่องปกติ ไม่ใช่เรื่องผิด หากมีบางวันที่มีช่วงเวลาดังกล่าวก็ควรระบายความรู้สึกออกมา อย่าไปกดความรู้สึกเอาไว้อาจยิ่งทำให้รู้สึกแย่ยิ่งกว่าเดิม แต่หากไม่สามารถควบคุมตนเองได้จนส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน อาจจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์

การก้าวข้ามความรู้สึกหลังจากแท้ง

  • เปิดใจกับคนที่รักที่สุดและคนในครอบครัว เพราะบุคคลเหล่านั้นจะช่วยปลอบใจ ให้กำลังใจและเข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสามี ครอบครัว และเพื่อนสนิท
  • หากความรู้สึกโศกเศร้าไม่จางหายไป ยังคงจมอยู่กับความรู้สึกสูญเสีย ไม่ควรเก็บความรู้สึกไว้คนเดียว อาจบอกสามีหรือคนในครอบครัวเพื่อนัดพบจิตแพทย์
  • ให้เวลากับตัวเอง บาดแผลไม่ว่าจะเป็นทางกายหรือทางใจ ต้องอาศัยเวลาเพื่อเยียวยา ควรคิดในแง่บวกและมองหาความสนใจใหม่ ๆ
  • อย่าลืมดูแลความรู้สึกของสามี พูดคุย ปลอบใจ และให้กำลังใจกันอย่างสม่ำเสมอ

การดูแลความสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยาหลังแท้งลูก

ชายและหญิงมีวิธีการแสดงออกเมื่อเสียใจต่างกัน เมื่อแท้งลูก ผู้หญิงอาจฟูมฟายและแสดงออกทางอารมณ์อย่างชัดเจน ในขณะที่คนเป็นพ่อหรือฝ่ายชายมักเก็บความรู้สึกเหล่านั้นไว้ อาจลือกหมกมุ่นกับงานเพื่อลืมประสบการณ์ที่เจ็บปวดนี้ นอกจากนี้ สายสัมพันธ์ระหว่างแม่และลูกนั้นใกล้ชิดกว่า เพราะผู้หญิงเริ่มสร้างสายสัมพันธ์ตั้งแต่วินาทีแรกที่พบว่าตนเองตั้งท้อง ขณะที่ฝ่ายชายเริ่มรู้สึกเมื่อได้สัมผัสว่าลูกเริ่มดิ้น และสายสัมพันธ์ที่แท้จริงจะพัฒนาขึ้นเมื่อลูกเกิดมา แต่ไม่ได้หมายความว่าผู้ชายไม่รักลูกหรือไม่เสียใจที่ลูกจากไป

ความแตกต่างของการแสดงออกและเรื่องสายสัมพันธ์ที่มีต่อลูก อาจนำไปสู่ความตึงเครียดในความสัมพันธ์ของสามีภรรยาหลังจากการแท้งได้ วิธีการที่จะช่วยแก้ปัญหานี้ ได้แก่

  • แสดงความเคารพและใส่ใจต่อความรู้สึกของอีกฝ่าย ทั้งนี้ อารมณ์และความรู้สึกเป็นเรื่องละเอียดอ่อน
  • พูดคุยกันกันอย่าเก็บไวคนเดียว เพื่อแบ่งปันความรู้สึกและความคิดให้อีกฝ่ายได้เข้าใจ
  • ทำความเข้าใจถึงความแตกต่างในระดับสายสัมพันธ์ ไม่ฉุนเฉียวหรือต่อว่าหากอีกฝ่ายแสดงความรู้สึกเสียใจแตกต่างออกไป
  • ให้เวลาตัวเองและคู่รักในการตัดสินใจว่าต้องการมีลูกหรือไม่ อย่าเร่งรัด ควรปรึกษาแพทย์หากต้องการคำแนะนำ ที่สำคัญอย่าลืมว่าต้องพร้อมทั้งกายและใจ

[embed-health-tool-pregnancy-weight-gain]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

After a Miscarriage: Surviving Emotionally http://americanpregnancy.org/pregnancy-loss/miscarriage-surviving-emotionally/. Accessed January 27. 2022.

Depression (major depressive disorder). https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/depression/symptoms-causes/syc-20356007. Accessed January 27. 2022.

MULTIPLE MISCARRIAGE. https://resolve.org/infertility-101/medical-conditions/multiple-miscarriage/. Accessed January 27. 2022.

Coping with Miscarriage. https://www.stanfordchildrens.org/en/topic/default?id=coping-with-miscarriage-1-4036. Accessed January 27. 2022.

Coping with a miscarriage. https://www.babycentre.co.uk/a4006/coping-with-a-miscarriage. Accessed January 27. 2022.

 

 

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

27/01/2022

เขียนโดย ED API

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

ซึมเศร้าหลังแท้งลูก อาการและวิธีรับมือที่ควรรู้

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับ การขูดมดลูก สำหรับคุณแม่แท้งบุตร


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย ED API · แก้ไขล่าสุด 27/01/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา