backup og meta

ซิตากลิปติน (Sitagliptin)

ซิตากลิปติน (Sitagliptin)

ข้อบ่งใช้

ยา ซิตากลิปติน ใช้สำหรับ

ยา ซิตากลิปติน (sitagliptin) ใช้ร่วมกับโปรเเกรมการออกกำลังกายหรือควบคุมอาหาร รวมถึงอาจใช้ร่วมกับยาอื่นๆ เพื่อควบคุมภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ยา ซิตากลิปติน นี้ใช้กับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 การควบคุมภาวะน้ำตาลในเลือดสูงช่วยป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับไต ตามองไม่เห็น ปัญหาเกี่ยวกับเส้นประสาท การสูญเสียเเขนขาหรือปัญหาเกี่ยวกับการทำงานของอวัยวะสืบพันธุ์ การควบคุมเบาหวานอย่างเหมาะสม อาจช่วยลดความเสี่ยงหัวใจวายหรือโรคหลอดเลือดสมอง

ซิตากลิปตินเป็นยารักษาเบาหวาน ที่ทำงานด้วยการเพิ่มระดับของสารที่เรียกว่า อินคริติน (incretin) อินคริตินช่วยควบคุมภาวะน้ำตาลในเลือดสูงด้วยการเพิ่มการปล่อยสารอินซูลิน โดยเฉพาะหลังมื้ออาหาร อินคริตินยังลดจำนวนน้ำตาลที่ตับผลิตอีกด้วย

วิธีใช้ยาซิตากลิปติน

รับประทานยาร่วมกับอาหาร หรือรับประทานแยกต่างหากตามที่แพทย์สั่ง โดยทั่วไป คือ วันละครั้ง

ปริมาณยาขึ้นอยู่กับอาการ การทำงานของไต การตอบสนองต่อการรักษา และยาอื่นๆ ที่คุณรับประทานอยู่ เพื่อผลในการรักษาที่ดีที่สุด ให้รับประทานยานี้สม่ำเสมอ และเพื่อให้จำง่ายขึ้น

คุณควรรับประทานยานี้ในเวลาเดิมทุกวัน โปรดทำตามเเผนการรักษาด้วยยาอย่างระมัดระวัง รวมถึงแผนการรับประทานอาหารและโปรเเกรมการออกกำลังกายตามที่เเพทย์เเนะนำ

วัดระดับน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอตามที่เเพทย์สั่ง ติดตามผลเเละเเจ้งให้เเพทย์ทราบ รวมถึงเเจ้งให้เเพทย์ทราบหากระดับน้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำเกินไป เพราะอาจต้องเปลี่ยนปริมาณยาหรือวิธีการรักษาของคุณ

การเก็บรักษายาซิตากลิปติน

ยาซิตากลิปตินควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงและความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหายหรือเสื่อมสภาพ ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาซิตากลิปตินบางยี่ห้ออาจมีวิธีเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยาหรือสอบถามเภสัชกรเสมอ และโปรดเก็บยาให้พ้นจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยงเพื่อความปลอดภัย

ไม่ควรทิ้งยาซิตากลิปตินลงในชักโครก หรือเทลงในท่อระบายน้ำ เว้นแต่ได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น หากยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้ยา ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้อง โดยสามารถสอบถามข้อมูลวิธีกำจัดยาที่ถูกต้องเพิ่มเติมได้จากเภสัชกร

ข้อควรระวังเเละคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยาซิตากลิปติน

ก่อนรับประทานยาแซกซ่ากลิปติน โปรดแจ้งกับแพทย์หรือเภสัชกรหากคุณแพ้ต่อยานี้หรือส่วมผสมอื่นๆ ของยานี้ หรือคุณแพ้ต่อยาอื่น หรือเป็นภูมิแพ้อื่นๆ ยานี้อาจมีผสมไม่ออกฤทธิ์ในการรักษาบางอย่างที่ทำให้เกิดการแพ้ได้

ก่อนรับประทานยานี้ ควรแจ้งประวัติทางการแพทย์ให้แพทย์ หรือเภสัชกรทราบ โดยเฉพาะ

  • ภาวะหัวใจวาย
  • โรคไต
  • โรคเกี่ยวกับตับอ่อน เช่น โรคตับอ่อนอักเสบ
  • นิ่วในถุงน้ำดี (gallstone)

คุณอาจมีอาการตาพร่ามัว วิงเวียน หรือเซื่องซึม เนื่องจากน้ำตาลในเลือดต่ำหรือสูงเกินไป อย่าขับรถ ใช้เครื่องจักร หรือ ทำกิจกรรมใดๆ ที่ต้องใช้ความระมัดระวัง หรือต้องการการมองเห็นที่ชัดเจน จนกว่าคุณจะแน่ใจว่าคุณจะสามารถทำกิจกรรมดังกล่าวได้อย่างปลอดภัย

งดดื่มปริมาณเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในขณะที่ใช้ยานี้ เพราะสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำได้

การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอาจจะยากขึ้น เมื่อร่างกายของคุณเครียด เช่น เกิดจากไข้ การติดเชื้อ การบาดเจ็บ การผ่าตัด โปรดปรึกษาแพทย์ เนื่องจากคุณจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนแผนการรักษา ยา หรือการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด

ก่อนการผ่าตัด โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบด้วยว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ

ในช่วงตั้งครรภ์ ควรใช้ยานี้เมื่อจำเป็นเท่านั้น ปรึกษาเเพทย์ก่อนใช้ยานี้เพื่อจัดการกับระดับน้ำตาลระหว่างตั้งครรภ์ เเพทย์อาจเปลี่ยนการรักษาเบาหวานในช่วงที่คุณตั้งครรภ์ สอบถามความเสี่ยงเเละข้อดีของการรักษาเเต่ละประเภท เช่น การควบคุมน้ำหนัก ออกกำลังกาย ยาอื่นๆ รวมถึงอินซูลิน

ยานี้อาจซึมเข้าไปในน้ำนมเเละมีผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ต่อทารกที่ดูดนมมารดา ดังนั้น จึงไม่ควรให้นมบุตรระหว่างที่รับประทานยานี้ในระยะยาวเเละในปริมาณมาก ปรึกษาเเพทย์ก่อนให้นมบุตร

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้

ยาซิตากลิปตินจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์ หมวด N โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A = ไม่มีความเสี่ยง
  • B = ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C = อาจจะมีความเสี่ยง
  • D = มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X = ห้ามใช้
  • N = ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของยาซิตากลิปติน

เเม้ว่าโดยปกติเเล้วยาซิตากลิปตินจะไม่ได้ทำให้น้ำตาลในเลือดลดลง (น้ำตาลพร่องในเลือด) แต่น้ำตาลในเลือดอาจลดลงได้หากเเพทย์จ่ายยานี้ร่วมกับยารักษาเบาหวานตัวอื่น ปรึกษาเเพทย์หรือเภสัชกรหากจำเป็นต้องลดปริมาณยารักษาเบาหวานตัวอื่นลง

สัญญาณและอาการของน้ำตาลในเลือดต่ำ เช่น เหงื่อออกฉับพลัน หัวใจเต้นเร็ว หิว ตาพร่ามัว วิงเวียนศีรษะ หรือเป็นเหน็บที่มือและเท้า ทางที่ดีคุณควรพกเม็ดหรือเจลกลูโคสติดตัวเสมอ เผื่อจำเป็นต้องใช้เมื่อน้ำตาลในเลือดต่ำ

แต่หากคุณไม่มีน้ำตาลกลูโคสในรูปแบบที่น่าเชื่อถือได้เหล่านี้ ให้รีบเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดด้วยการรับประทานน้ำตาลทราย น้ำผึ้ง ลูกอม น้ำผลไม้ หรือน้ำอัดลมที่ไม่ใช่แบบไม่มีน้ำตาล

แจ้งให้แพทย์ทราบทันทีเกี่ยวกับปฏิกิริยาและการใช้ยาตัวนี้ โอกาสในการเกิดน้ำตาลในเลือดต่ำจะมีมากขึ้น หากคุณดื่มแอลกอฮอล์จำนวนมาก ออกกำลังกายหนักผิดปกติ หรือได้รับแคลอรี่จากอาหารไม่เพียงพอ เพื่อป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ควรรับประทานอาหารเป็นประจำ และอย่าข้ามมื้ออาหาร โปรดปรึกษาแพทย์ถึงแนวทางการปฏิบัติ หากคุณพลาดอาหารมื้อใดมื้อหนึ่งไป

หากมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง (hyperglycemia) ซึ่งสามารถสังเกตได้จากสัญญาณและอาการ คือ กระหายน้ำ ปัสสาวะเพิ่มขึ้น สับสน เซื่องซึม หน้าแดง หายใจเร็ว และมีกลิ่นปากเป็นกลิ่นผลไม้ หากคุณมีอาการเหล่านี้โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบทันที เพราะอาจจำเป็นต้องเปลี่ยนยาที่ใช้ในการรักษาเบาหวาน

เเจ้งให้เเพทย์ทราบทันทีหากคุณมีอาการที่เป็นผลข้างเคียงที่รุนเเรง ได้เเก่ สัญญาณของปัญหาโรคไต (เช่น การเปลี่ยนเเปลงของปริมาณปัสสาวะ) ปวดข้อต่อ แผลพุพองผิดปกติ สัญญาณของโรคหัวใจล้มเหลว (เช่น หายใจถี่ ข้อเท้าหรือเท้าบวม เหนื่อยล้าผิดปกติ น้ำหนักขึ้นผิดปกติหรือฉับพลัน)

โปรดเข้ารับการรักษาโดยด่วนหากมีอาการที่เป็นผลข้างเคียงที่รุนเเรงมาก ได้เเก่ สัญญาณของตับอ่อนอักเสบ เช่น คลื่นไส้อาเจียนเป็นระยะเวลานาน เบื่ออาหาร ปวดท้อง เเสบที่กระเพาะอาหาร หรือปวดหลัง

การแพ้ยาที่รุนแรงต่อไปนี้ค่อนข้างเกิดขึ้นได้ยาก แต่จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาการของการแพ้รุนแรง เช่น เวียนศีรษะรุนแรง หายใจติดขัดผดผื่น คันหรือบวม โดยเฉพาะบริเวณใบหน้า ลิ้น และลำคอ

ผลข้างเคียงที่กล่าวมาข้างต้น อาจไม่ได้เกิดกับทุกคน หรือบางคนอาจมีอาการอื่นนอกเหนือจากนี้ หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยากลุ่มเบต้าบล็อกเกอร์ (Beta-blocker) เช่น เมโทโพรลอล (metoprolol) โพรพราโนลอล (propranolol) น้ำยาหยอดตารักษาโรคต้อกระจก เช่น ทิโมลอล (timolol) อาจป้องกันอาการหัวใจเต้นเร็วหรือรัว ที่คุณมักจะรู้สึกเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดลดลงมากเกินไป (hypoglycemia) ได้ อาการอื่นๆของน้ำตาลในเลือดต่ำ เช่น วิงเวียนศีรษะ หิว หรือเหงื่อออก นั้นไม่ได้รับผลกระทบจากยาเหล่านี้

มียาจำนวนมากที่ส่งผลกระทบต่อภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูง และทำให้ควบคุมภาวะนี้ได้ยาก ฉะนั้นก่อนเริ่มหรือหยุดใช้ยาตัวใด ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรถึงผลกระทบของยาต่อระดับน้ำตาลในเลือดก่อนเสมอ ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดของคุณเป็นประจำตามที่กำหนด และแจ้งผลให้แพทย์ทราบด้วย

แจ้งให้แพทย์ทราบทันที หากคุณมีอาการน้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำ เนื่องจากอาจต้องปรับเปลี่ยนยารักษาโรคเบาหวาน โปรแกรมการออกกำลังกาย หรืออาหารของคุณ

ยาซิตากลิปตินอาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น

คุณควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรด้วยว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง สมุนไพร เป็นต้น และเพื่อความปลอดภัย คุณไม่ควรเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาเองโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ปฏิกิริยากับอาหารหรือเเอลกอฮอล์

ยาซิตากลิปตินอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ซิตากลิปตินอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาซิตากลิปตินสำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อใช้รักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2

ปริมาณยาโดยทั่วไป : 100 มิลลิกรัมต่อวัน

คำเเนะนำ : เมื่อใช้ยานี้ร่วมกับยาที่กระตุ้นการหลั่งอินซูลินจากตับอ่อน เช่น ซัลโฟนิลยูเรีย อินซูลิน อาจจำเป็นต้องใช้ปริมาณยาที่กระตุ้นการหลั่งอินซูลินจากตับอ่อนลดลง เพื่อลดความเสี่ยงจากภาวะน้ำตาลพร่องในเลือด

วิธีใช้ : ในคลินิกหลายแห่งใช้ยานี้เป็นยาเสริมอาหารและออกกำลังกายเพื่อเพิ่มการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดสำหรับผู้ใหญ่ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2

การปรับปริมาณยาสำหรับผู้ป่วยโรคไต

โรคไตชนิดไม่รุนเเรง (อัตราการกรองไต 45 มิลลิลิตรต่อนาทีต่อ 1.73 ตารางเมตร) : ไม่มีการแนะนำให้ปรับปริมาณยา

โรคไตขั้นปานกลาง (อัตราการกรองไต 30 มิลลิลิตรต่อนาทีต่อ 1.73 ตารางเมตรถึงต่ำกว่า 45 มิลลิลิตรต่อนาทีต่อ 1.73 ตารางเมตร) : 50 มิลลิกรัมต่อวัน

โรคไตขั้นรุนเเรง (อัตราการกรองไตต่ำกว่า 30 มิลลิลิตรต่อนาทีต่อ 1.73 ตารางเมตร) : 25 มิลลิกรัมต่อวัน

การปรับปริมาณยาสำหรับผู้ป่วยโรคตับ

โรคตับชนิดไม่รุนเเรงหรือขั้นปานกลาง : ไม่มีการเเนะนำให้ปรับปริมาณยา

โรคไตขั้นรุนเเรง : ใช้ความระมัดระวัง ไม่มีข้อมูลการปรับปริมาณยา

การฟอกเลือด

ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม : 25 มิลลิกรัมต่อวัน

ฟอกเลือดทางช่องท้อง : 25 มิลลิกรัมต่อวัน

  • อาจให้ยาโดยไม่ต้องคำนึงถึงเวลาที่ใช้ในการฟอกเลือด

คำเเนะนำอื่นๆ

คำเเนะนำในการใช้

  • รับประทานยานี้พร้อมกับอาหารหรือไม่ก็ได้
  • หากลืมรับประทานยา ควรรับประทานยาทันทีที่นึกออก ไม่ควรรับประทานยาเกินขนาดที่กำหนดต่อวัน

ทั่วไป

  • อาจใช้ยานี้เพียงชนิดเดียวหรือใช้ร่วมกับยาอื่นในการรักษาผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เป็นผู้ใหญ่เเล้ว
  • ไม่เเนะนำให้ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 หรือผู้ที่มีภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตนจากเบาหวาน (diabetic ketoacidosis) รับประทานยาชนิดนี้ เนื่องจากยาจะไม่ออกฤทธิ์ในภาวะดังกล่าว
  • ยังไม่มีการศึกษาวิจัยในผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคตับอ่อนอักเสบ จึงไม่อาจทราบได้ว่า ผู้ป่วยจะมีความเสี่ยงที่จะเป็นตับอ่อนอักเสบรุนเเรงขึ้นหรือไม่

การเฝ้าสังเกต

  • เฝ้าสังเกตสัญญาณหรืออาการตับอ่อนอักเสบ
  • เฝ้าสังเกตการควบคุมน้ำตาล
  • เข้ารับการตรวจการทำงานพื้นฐานของไต เเละเฝ้าสังเกตเป็นระยะระหว่างการรักษา ผู้ป่วยที่มีอายุมากควรได้รับการตรวจเป็นประจำ

คำเเนะนำสำหรับผู้ป่วย

  • เเนะนำให้ผู้ป่วยเเจ้งสัญญาณหรืออาการของตับอ่อนอักเสบ หากปวดท้องอย่างรุนเเรงเเละเป็นเวลานาน โปรดเข้ารับการรักษาโดยด่วน
  • คุณอาจเเพ้อย่างรุนเเรง ถ้าอาการแพ้เกิดขึ้น โปรดเข้ารับการรักษาาโดยด่วน
  • โดยปกติเเล้วภาวะน้ำตาลพร่องในเลือดอาจเกิดขึ้น เมื่อใช้ยานี้ร่วมกับอินซูลินหรือซัลโฟนิลยูเรีย
  • ผู้ป่วยควรเข้าใจความสำคัญของการทำตามคำเเนะนำเรื่องการควบคุมอาหารหรือการออกกำลังกายอย่างเป็นประจำ ในช่วงที่ร่างกายเกิดความตึงเครียด เช่น เป็นไข้ บาดเจ็บ ติดเชื้อหรือเข้ารับการผ่าตัด อาจมีการปรับวิธีการรักษาเบาหวาน ผู้ป่วยควรได้รับการเเนะนำให้ปรึกษาเเพทย์
  • แนะนำให้ผู้ป่วยติดต่อผู้ให้บริการด้านสุขภาพหากเจ็บข้อต่ออย่างรุนเเรงเเละเป็นระยะเวลานาน หรือหากมีสัญญาณหรืออาการหัวใจวาย

ขนาดยาซิตากลิปตินสำหรับเด็ก

ยังไม่มีการจัดขนาดยาสำหรับเด็กโดยเฉพาะ ดังนั้น การใช้ยาซิตากลิปตินอาจไม่ปลอดภัยสำหรับเด็ก ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อทำความเข้าใจตัวยาก่อนการใช้งาน

รูปแบบของยา

  • ยาเม็ดสำหรับรับประทาน

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ทันทีที่นึกได้ หรือหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Sitagliptin Dosage. https://www.drugs.com/dosage/sitagliptin.html. Accessed April 19, 2018.

Sitagliptin Tablet. https://www.webmd.com/drugs/2/drug-145697/sitagliptin-oral/details. Accessed April 19, 2018.

Sitagliptin. https://www.drugbank.ca/drugs/DB01261. Accessed April 19, 2018.

Sitagliptin, Oral Tablet. https://www.healthline.com/health/sitagliptin/oral-tablet. Accessed April 19, 2018.

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย จิดาภา ติยะสิริทานนท์

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

อัปเดตโดย: Nattavara Pasathan


บทความที่เกี่ยวข้อง

ขนมสำหรับคนเป็นเบาหวาน มีขนมอะไรบ้างที่กินได้

กลิ่นปากคล้ายน้ำยาล้างเล็บ สัญญาณเตือนของโรคเบาหวาน


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย จิดาภา ติยะสิริทานนท์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา