Flavoxate ใช้เพื่อรักษาอาการที่กระเพาะปัสสาวะ หรือท่อปัสสาวะบางชนิด ยา ฟลาโวเซท เป็นยาคลายกล้ามเนื้อ ยานี้ออกฤทธิ์โดยคลายกล้ามเนื้อในกระเพาะปัสสาวะ
[embed-health-tool-heart-rate]
ข้อบ่งใช้
Flavoxate ใช้สำหรับ
การใช้ยา ฟลาโวเซท (Flavoxate) เพื่อรักษาอาการที่กระเพาะปัสสาวะ หรือท่อปัสสาวะบางชนิด ยา ฟลาโวเซท เป็นยาคลายกล้ามเนื้อ ยานี้ออกฤทธิ์โดยคลายกล้ามเนื้อในกระเพาะปัสสาวะ ยาฟลาโวเซทช่วยลดอาการของการกลั้นปัสสาวะไม่ได้ ต้องการปัสสาวะทันทีทันใด การไปเข้าห้องน้ำบ่อยๆ และอาการปวดกระเพาะปัสสาวะ ไม่ใช้ยานี้เพื่อรักษาสาเหตุของอาการที่เกิดขึ้นกับกระเพาะปัสสาวะ เช่น การติดเชื้อหรืออักเสบที่ท่อปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะ หรือต่อมลูกหมาก
วิธีการใช้ Flavoxate
รับประทานยานี้ตามที่แพทย์สั่ง ปกติรับประทานวันละ 3 ถึง 4 ครั้ง รับประทานยานี้พร้อมอาหาร หากมีอาการท้องไส้ปั่นป่วน
ขนาดยาขึ้นอยู่กับโรค และการตอบสนองต่อการรักษา แพทย์อาจแนะนำให้เริ่มรับประทานยานี้ในปริมาณต่ำเมื่ออาการดีขึ้น ระยะเวลาในการรับประทานยาขึ้นอยู่กับสาเหตุของโรค
อย่าเพิ่มขนาดยา หรือรับประทานยาบ่อยขึ้น โดยไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์ โรคจะไม่ได้หายดีไวขึ้น และความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียงจะเพิ่มขึ้น แจ้งให้แพทย์ทราบหากยังคงมีอาการหรืออาการแย่ลง
การเก็บรักษา Flavoxate
คุณควรเก็บยาฟลาโวเซทไว้ในอุณหภูมิห้อง รวมถึงเก็บให้พ้นจากแสงและความชื้น เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับยา คุณไม่ควรเก็บยาฟลาโวเซทไว้ให้ห้องน้ำหรือตู้เย็น ยาฟลาโวเซทแต่ละยี่ห้ออาจมีวิธีเก็บแตกต่างกันไป สิ่งสำคัญคือการอ่านคำแนะนำการเก็บรักษายาบนหีบห่อของผลิตภัณฑ์ หรือถามเภสัชกร เพื่อความปลอดภัย คุณควรเก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
คุณไม่ควรทิ้งยาฟลาโวเซทลงในชักโครก หรือเทลงในท่อระบายน้ำ เว้นแต่คุณได้รับคำแนะนำให้ทำอย่างนั้น ดังนั้น สิ่งสำคัญคือทิ้งยาเมื่อยาหมดอายุ หรือไม่จำเป็นต้องรับประทานอีกต่อไป ปรึกษาเภสัชกรเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีทิ้งยาอย่างปลอดภัย
ข้อควรระวังและคำเตือน
ข้อควรรู้ก่อนใช้ Flavoxate
ก่อนจะใช้ยา ฟลาโวเซท ต้องมีการปรึกษาแพทย์หรือเภสัชก่อนการใช้ยา เพราะหากคุณเป็นโรคบางชนิดไม่ควรใช้ยานี้ หากคุณมีอาการ กระเพาะอาหารหรือลำไส้อุดตัน เช่น การอุดตันที่กระเพาะอาหารส่วนปลาย หรือลำไส้เล็กส่วนต้น รวมถึงลำไส้ไม่ทำงาน มีเลือดออกในกระเพาะอาหารหรือลำไส้ กระเพาะปัสสาวะอุดตัน ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้ยา
ก่อนใช้ยานี้ แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบเกี่ยวกับประวัติความเจ็บป่วย โดยเฉพาะโรคหัวใจ เช่น หัวใจเต้นเร็วหรือผิดปกติ ภาวะหัวใจล้มเหลว โรคตาบางชนิด เช่น ต้อหิน โรคไต โรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อบางชนิด เช่น โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ต่อมลูกหมากโต ปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะอาหารหรือลำไส้เช่นการติดเชื้อ กรดไหลย้อน ท้องผูกเรื้อรัง ลำไส้ใหญ่อักเสบชนิดเป็นแผล ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน (hyperthyroidism) ยานี้อาจทำให้คุณวิงเวียนศีรษะ หลีกเลี่ยงการขับรถ ใช้เครื่องจักรหรือทำกิจกรรมใดๆ ที่จำเป็นต้องอาศัยความตื่นตัว จนกว่าคุณจะแน่ใจว่าคุณสามารถทำสิ่งเหล่านั้นได้อย่างปลอดภัย ที่สำคัญงดการดื่มแอลกอฮอล์
ยานี้ช่วยลดเหงื่อออก เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดการตอบสนองของร่างกายมีความร้อนมากเกินไป ฮีทสโตรก หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ทีอากาศร้อน ห้องซาวน่า รวมถึงออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมที่ใช้แรงอื่นๆ ผู้สูงอายุอาจตอบสนองต่อผลข้างเคียงมากกว่าคนทั่วไป โดยเฉพาะอาการวิงเวียนศีรษะ (มักจะเป็นตอนยืนขึ้น) ง่วงซึม ท้องผูก มีปัญหาในการปัสสาวะหรือมึนงง อาการมึนงงห ง่วงซึมรือวิงเวียนศีรษะอาจเพิ่มความเสี่ยงที่จะสะดุดล้ม
อย่าใช้ยานี้ระหว่างตั้งครรภ์ ควรใช้ยานี้เมื่อจำเป็นเท่านั้น ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับความเสี่ยงและข้อดีไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่ายานี้ซึมเข้าสู่น้ำนม ปรึกษาแพทย์ก่อนให้นมบุตร
ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร
ไม่มีการศึกษาในผู้หญิงที่เพียงพอที่จะระบุความเสี่ยงขณะที่ใช้ยาฟลาโวเซทระหว่างตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เป็นประจำเพื่อชั่งน้ำหนักระหว่างข้อดีและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นก่อนรับประทานยาฟลาโวเซท อ้างอิงจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) ยาฟลาโวเซทจัดเป็นยาที่มีความเสี่ยงสำหรับสตรีมีครรภ์ประเภท C
ต่อไปนี้คือประเภทความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา:
- A = ไม่เสี่ยง
- B = ไม่เสี่ยง (อ้างอิงจากงานวิจัยบางงาน)
- C = อาจมีความเสี่ยงบางอย่าง
- D = พบหลักฐานเกี่ยวกับความเสี่ยงโดยตรง
- X = ห้ามใช้
- N = ไม่ทราบแน่ชัด
ผลข้างเคียง
ผลข้างเคียงจากยาฟลาโวเซท
คุณอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปากแห้ง ปวดศีรษะ ง่วงซึม วิงเวียนศีรษะ มองเห็นไม่ชัดเจนและกระวนกระวาย หากยังคงมีอาการอยู่หรืออาการแย่ลง แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบทันที เพื่อบรรเทาอาการปากแห้ง การอมลูกกวาด และควรเลือกลูกกวาดที่ไม่มีน้ำตาลหรือน้ำตาลก้อนเล็กๆ เคี้ยวหมากฝรั่ง ดื่มน้ำหรือใช้สารให้ความหวานน้ำตาล สามารถช่วยบรรเทาอาการปากแห้งได้
เพื่อหลีกเลี่ยงอาการท้องผูก รับประทานอาหารที่มีเส้นใยเพียงพอ ดื่มน้ำมากๆ และออกกำลังกาย หากคุณท้องผูก ปรึกษาเภสัชกรเพื่อเลือกยาระบาย เช่น ยาระบายที่ช่วยให้อุจจาระนิ่ม (stimulant-type with stool softener)
ระลึกไว้ว่าแพทย์ได้จ่ายยานี้เนื่องจากเขาได้ตัดสินใจแล้วว่า นี่จะมีประโยชน์ต่อคุณ มากกว่าความเสี่ยงที่เกิดจากผลข้างเคียง หลายคนใช้ยานี้แล้วไม่มีผลข้างเคียงรุนแรงใดๆ
โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบหากเกิดผลข้างเคียงที่ไม่น่าจะเกิดขึ้น แต่รุนแรงเหล่านี้ เช่น การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจหรืออารมณ์เช่นรู้สึกสับสน ปวดตา
แจ้งให้แพทย์ทราบหากเกิดผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นน้อยครั้งแต่รุนแรงมากเหล่านี้ ได้แก่ เจ็บหน้าอก หัวใจเต้นเร็วหรืออย่างหนัก สัญญาณของการติดเชื้อ เช่น เป็นไข้หรือเจ็บคอเป็นระยะเวลานาน กระเพาะอาหารหรือลำไส้อุดตัน เช่น คลื่นไส้หรืออาเจียนเป็นระยะเวลานาน ท้องผูกเป็นระยะเวลานาน ปัสสาวะลำบาก หรือรู้สึกเจ็บเมื่อปัสสาวะ
ไม่ค่อยมีอาการแพ้ยาที่รุนแรงเท่าไหร่นัก อย่างไรก็ตาม เข้ารับการรักษาทันที หากคุณสังเกตเห็นอาการแพ้ ได้แก่ ผื่น คันผิวหรือผิวบวม โดยเฉพาะที่ใบหน้า ลิ้นหรือลำคอ วิงเวียนศีรษะอย่างรุนแรง มีปัญหาเรื่องการหายใจ
ไม่ใช่ทุกคนที่จะแสดงอาการอันเนื่องมาจากผลข้างเคียงเหล่านี้ อาจมีผลข้างเคียงอื่นที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากคุณมีความกังวลเรื่องผลข้างเคียง โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
ปฏิกิริยาของยา
ปฏิกิริยากับยาอื่น
ไม่ควรใช้ยานี้กับยาแพรมลินไทด์ (pramlintide) เพราะอาจเกิดปฏิกิริยาที่รุนแรงขึ้น หากคุณใช้ยาดังกล่าวอยู่ แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบก่อนเริ่มใช้ยาฟลาโวเซท ก่อนรับประทานยานี้ แจ้งรายชื่อยาทั้งหมดที่คุณอาจใช้ ไม่ว่าจะเป็นยาที่จำหน่ายตามใบสั่งยา ยาที่ซื้อรับประทานเอง และสมุนไพร กับแพทย์หรือเภสัชกร โดยเฉพาะยากลุ่ม Anticholinergic Drug เช่น
- ยาอะโทรปีน (atropine)
- ยากลุ่มเบลลาดอนนา อัลคาลอยด์ (belladonna alkaloid)
- ยาสโคโปลามีน (scopolamine)
- ยาเบนซ์โทรปีน (benztropine)
- ยาไตรเฮกซิเฟนิดิล (trihexyphenidyl)
- ยาคลายการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ เช่น ยาคลินิเดียม (clidinium) ยาไดไซโคลมีน (dicyclomine)
- ยากลุ่มบิสฟอสโฟเนต (bisphosphonate drug) เช่น ยาอะเลนโดรเนท (alendronate) ยาเอทิโดรเนท (etidronate)
ยาไรซีโดรเนท (risedronate)
- ยาเม็ดหรือแคปซูลโพแทสเซียม (potassium tablets/capsules)
แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบ หากคุณใช้ยาที่อาจทำให้ง่วงซึม เช่น
- ยาต้านฮิสตามีน (antihistamine) บางชนิด เช่น ยาไดเฟนไฮดรามีน (diphenhydramine)
- ยานอนหลับหรือยาคลายเครียด เช่น ยาอัลปราโซแลม (alprazolam) ยาไดอะซีแพม (diazepam) ยาโซลพิเดม (zolpidem)
- ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาแก้ปวด เช่น ยาโคเดอีน (codeine)
- ยารักษาโรคจิตเวช เช่น ยาคลอโปรมาซีน (chlorpromazine) ยาริสเพอริโดน (risperidone) ยาอะมิทริปไทลีน (amitriptyline) ยาทราโซโดน (trazodone)
ตรวจสอบฉลากของยาทั้งหมดที่คุณใช้ เช่น ยาแก้ไอและไข้หวัด เพราะยาเหล่านั้นอาจมีสารที่ทำให้ง่วงซึม ถามเภสัชกรเกี่ยวกับการใช้ยาอย่างปลอดภัย
ยาฟลาโวเซทอาจมีปฏิกิริยาต่อยาตัวอื่นที่คุณกำลังรับประทานอยู่ และอาจส่งผลให้ยาที่คุณรับประทานออกฤทธิ์ต่างไปจากเดิม หรือเพิ่มความเสี่ยงของผลข้างเคียงที่รุนแรง เพื่อหลีกเลี่ยงการทำปฏิกิริยาต่อกันระหว่างยาที่อาจเป็นไปได้ คุณควรเก็บรายชื่อยาทั้งหมดที่คุณใช้ ไม่ว่าจะเป็นยาที่จำหน่ายตามใบสั่งยา ยาที่ซื้อรับประทานเอง และสมุนไพร และแจ้งให้แพทย์รวมถึงเภสัชกรทราบ เพื่อความปลอดภัย อย่าเริ่มหรือหยุดรับประทาน รวมถึงเปลี่ยนปริมาณยาโดยไม่ได้รับอนุญาตจากแพทย์
ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์
ยาฟลาโวเซทอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์ โดยเปลี่ยนฤทธิ์ยา หรือเพิ่มความเสี่ยงให้ที่จะเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรง โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร เพื่อถามถึงอาหารหรือแอลกอฮอล์ ที่อาจทำปฏิกิริยากับยานี้ก่อนรับประทานยา
ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น
ยาฟลาโวเซทอาจส่งผลต่อสุขภาพของคุณ ปฏิกิริยาของยาที่มีต่อร่างกายอาจทำให้สุขภาพของคุณย่ำแย่ลง หรือเปลี่ยนฤทธิ์ของยา สิ่งสำคัญคือโปรดแจ้งให้แพทย์และเภสัชกรทราบ เกี่ยวกับสุขภาพและโรคประจำตัวของคุณ
ขนาดยา
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งหรือเภสัชกรก่อนใช้ยาฟลาโวเซท
ขนาดยาฟลาโวเซทสำหรับผู้ใหญ่
ขนาดยาทั่วไปสำหรับผู้ป่วยที่กลั้นปัสสาวะไม่ได้
รับประทานยา 100 ถึง 200 มิลลิกรัม 3 ถึง 4 ครั้งต่อวัน หากอาการดีขึ้นแล้วอาจปรับลดขนาดยาได้
ขนาดยาทั่วไปสำหรับผู้ป่วยที่ปัสสาวะบ่อย
รับประทานยา 100 ถึง 200 มิลลิกรัม 3 ถึง 4 ครั้งต่อวัน หากอาการดีขึ้นแล้วอาจปรับลดขนาดยาได้
ขนาดยาทั่วไปสำหรับผู้ป่วยที่ปัสสาวะลำบาก
รับประทานยา 100 ถึง 200 มิลลิกรัม 3 ถึง 4 ครั้งต่อวัน หากอาการดีขึ้นแล้วอาจปรับลดขนาดยาได้
ข้อควรระวัง
การใช้ยาฟลาโวเซทอาจทำให้เกิดอาการในผู้ป่วยที่มีปัสสาวะปริมาณน้อย หรือกระเพาะและลำไส้อุดตัน อาการดังกล่าวอาจรวมถึงกระเพาะส่วนปลาย หรือลำไส้เล็กส่วนต้นอุดตัน ลำไส้ไม่ทำงาน หลอดอาหารเกร็งตัว เลือดออกที่กระเพาะและลำไส้หรือทางเดินปัสสาวะอุดตัน
ยาฟลาโวเซทจะทำให้ฤทธิ์ anticholinergic agents ลดลง และผู้ป่วยที่เป็นโรคต้อหินควรได้รับการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด
ยาฟลาโวเซทอาจทำให้ง่วงซึมหรือมองเห็นไม่ชัดเจน
ขนาดยาฟลาโวเซทสำหรับเด็ก
ขนาดยาทั่วไปสำหรับเด็กที่กลั้นปัสสาวะไม่ได้
อายุมากกว่า 12 ปี รับประทานยา 100 ถึง 200 มิลลิกรัม 3 ถึง 4 ครั้งต่อวัน หากอาการดีขึ้นแล้วอาจปรับลดขนาดยาได้
ขนาดยาทั่วไปสำหรับเด็กที่ปัสสาวะบ่อย
อายุมากกว่า 12 ปี รับประทานยา 100 ถึง 200 มิลลิกรัม 3 ถึง 4 ครั้งต่อวัน หากอาการดีขึ้นแล้วอาจปรับลดขนาดยาได้
ขนาดยาทั่วไปสำหรับผู้ป่วยที่ปัสสาวะลำบาก
อายุมากกว่า 12 ปี รับประทานยา 100 ถึง 200 มิลลิกรัม 3 ถึง 4 ครั้งต่อวัน หากอาการดีขึ้นแล้วอาจปรับลดขนาดยาได้
ข้อควรระวัง
ไม่ได้มีการระบุประสิทธิภาพและความปลอดภัยสำหรับผู้ป่วย ที่มีอายุน้อยกว่า 12 ปี
รูปแบบยาฟลาโวเซท
ยาฟลาโวเซทมีรูปแบบดังต่อไปนี้
- ยาเม็ดสำหรับรับประทาน
กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด
หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที
กรณีลืมใช้ยา
หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติ ไม่ควรเพิ่มขนาดยา
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด