backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

โคลซาปีน (Clozapine)

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ · ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ข้อบ่งใช้

ยาโคลซาปีนใช้สำหรับ

ยาโคลซาปีน (Clozapine) มักใช้เพื่อรักษาความผิดปกติทางจิตใจหรืออารมณ์บางอย่าง เช่น โรคจิตเภท (Schizophrenia) โรคจิตอารมณ์ (Schizoaffective Disorder)

ยาโคลซาปีนนั้นเป็นยาที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท (psychiatric medication) ประเภทยาต้านโรคจิต ทำงานโดยการช่วยฟื้นฟูความสมดุลของสารเคมีในสมองบางอย่าง เช่น สารสื่อประสาท (neurotransmitter)

ยาโคลซาปีนจะลดภาพหลอน และช่วยป้องกันการฆ่าตัวตายในผู้ป่วยที่อาจจะทำร้ายตัวเอง ยานี้ช่วยให้คุณคิดได้ชัดเจนขึ้น คิดถึงตัวเองในแง่บวก และรู้สึกกังวลใจน้อยลง

วิธีใช้ยาโคลซาปีน

รับประทานยานี้พร้อมอาหาร หรือรับประทานแยกต่างหากตามที่แพทย์กำหนด หากคุณใช้ยาเม็ดแบบแตกตัวในปาก ค่อยๆ แกะยาแต่ละเม็ดออกจากห่อก่อนใช้ยา ปล่อยให้ยาเม็ดแบบแตกตัวละลายบนลิ้นแล้วจึงกลืน ไม่จำเป็นต้องรับประทานพร้อมกับน้ำ กำจัดยาเม็ดแตกตัวที่เคยสัมผัสกับอากาศเนื่องจากการเปิดห่อหรือห่อยาเสียหาย อย่าเก็บไว้สำหรับการใช้ยาครั้งต่อไป

หากคุณกำลังใช้ยาน้ำ ควรเขย่าขวดยาให้ดีเป็นเวลา 10 วินาทีก่อนใช้ยาทุกครั้ง ควรตวงยาด้วยเครื่องมือหรือช้อนสำหรับตวงยา อย่าใช้ช้อนธรรมดาเนื่องจากอาจจะได้ขนาดยาไม่ถูกต้อง

ควรเริ่มต้นใช้ยาที่ขนาดต่ำ แล้วจึงค่อยๆ เพิ่มขนาดยาเพื่อลดผลข้างเคียง เช่น วิงเวียน ง่วงซึม อาการชัก ควรทำตามแนวทางการใช้ยาจากแพทย์อย่างเคร่งครัด ขนาดยาขึ้นอยู่กับสภาวะทางการแพทย์ และการตอบสนองต่อการรักษา เนื่องจากยาโคลซาปีนสามารถทำให้จำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาวได้ คุณควรจะรับการตรวจเลือดเป็นประจำตามที่กำหนด ควรไปตามนัดตรวจทุกครั้ง

หากคุณลืมใช้ยานานกว่าหนึ่งหรือสองวัน โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับตารางการใช้ยาใหม่ เพื่อกลับไปใช้ยาตามเดิม (อ่านเพิ่มเติมในส่วนการลืมใช้ยา) ใช้ยานี้เป็นประจำเพื่อให้ได้ประโยชน์จากยาสูงสุด เพื่อให้ง่ายต่อการจำควรใช้ยาในเวลาเดียวกันทุกวัน

อย่าหยุดใช้ยาโคลซาปีนโดยไม่ปรึกษากับแพทย์ สภาวะบางอย่างอาจรุนแรงขึ้นหากหยุดใช้ยากะทันหัน และคุณยังอาจเกิดอาการเหงื่อออก ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน และท้องร่วงอย่างรุนแรง เพื่อป้องกันอาการเหล่านี้ขณะหยุดใช้ยา ควรค่อยๆ ลดขนาดยาลงมา

อาจต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์ กว่าจะได้ประโยชน์จากยาสูงสุด แจ้งให้แพทย์ทราบ หากอาการไม่หายไป หรือแย่ลง

การเก็บรักษายาโคลซาปีน

ยาโคลซาปีนควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง ให้พ้นแสงและความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเสื่อมสภาพ ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาโคลซาปีนบางยี่ห้ออาจมีวิธีเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรอ่านคำแนะนำบนบรรจุภัณฑ์หรือสอบถามเภสัชกรเสมอ และโปรดเก็บยาให้พ้นจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยงเพื่อความปลอดภัย

ไม่ควรทิ้งยาโคลซาปีนลงในชักโครก หรือเทยาลงในท่อระบายน้ำ เว้นเสียแต่จะได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น หากยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้ยา ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้อง โดยสามารถสอบถามข้อมูลวิธีกำจัดยาที่ถูกต้องได้จากเภสัชกร

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยาโคลซาปีน

ก่อนใช้ยานี้แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบหากคุณแพ้ยานี้ หรือหากคุณเป็นโรคภูมิแพ้อื่นๆ ยานี้อาจมีสารไม่ออกฤทธิ์ที่ทำให้เกิดอาการแพ้หรือปัญหาอื่น โปรดปรึกษาเภสัชกรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ก่อนใช้ยานี้ แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบเกี่ยวกับประวัติทางการแพทย์ของคุณ โดยเฉพาะ

  • เคยมีความผิดปกติเกี่ยวกับเลือด เช่น โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว (leukemia) หรือจำนวนเม็ดเลือดขาวต่ำ
  • ปัญหาเกี่ยวกับลำไส้ เช่น ภาวะลำไส้อืด (paralytic ileus) หรือลำไส้แปรปรวน (irritable bowel syndrome)
  • ปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ
  • เป็นโรคเบาหวาน หรือคนในครอบครัวเคยเป็นโรคเบาหวาน
  • ระดับคอเลสเตอรอลหรือไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) สูง
  • โรคต้อหิน
  • ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ ไต หรือตับ
  • เป็นโรคอ้วน หรือคนในครอบครัวเป็นโรคอ้วน ประวัติเคยเป็นโรคอ้วน
  • อาการชัก
  • ปัสสาวะลำบาก เช่น เนื่องจากอาการต่อมลูกหมากโต
  • ปัญหาเกี่ยวกับการหายใจขณะหลับ เช่น อาการหยุดหายใจขณะนอนหลับ (sleep apnea)

ยาโคลซาปีนอาจทำให้เกิดสภาวะที่ส่งผลกระทบต่อการเต้นของหัวใจ อย่างระยะคิวทียาวในการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (QT prolongation) ในนานๆ ครั้ง อาการระยะคิวทียาวนี้อาจทำให้เกิดอาการหัวใจเต้นเร็วหรือผิดปกติรุนแรงจนอาจถึงแก่ชีวิต และอาการอื่นๆ เช่น วิงเวียนอย่างรุนแรง หมดสติ และจำเป็นต้องรับการรักษาในทันที

ความเสี่ยงในการเกิดระยะคิวทียาวนั้นอาจเพิ่มขึ้น หากคุณมีสภาวะหรือใช้ยาที่อาจทำให้เกิดอาการนี้ได้ ก่อนใช้ยาโคลซาปีน แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบเกี่ยวกับยาทั้งหมดที่คุณใช้ และหากคุณมีสภาวะดังต่อไปนี้

  • ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจบางอย่าง เช่น หัวใจล้มเหลว หัวใจเต้นช้า ระยะคิวทียาวในการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (QT prolongation in the EKG)
  • คนในครอบครัวเคยมีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจบางอย่าง เช่น ระยะคิวทียาวในการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ หรือหัวใจตายฉับพลัน (sudden cardiac death)

ระดับของโพแทสเซียมหรือแมกนีเซียมในเลือดต่ำ ยังอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดระยะคิวทียาวได้อีกด้วย ความเสี่ยงนี้จะเพิ่มขึ้นหากคุณกำลังใช้ยาบางอย่าง เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาขับน้ำ หรือหากคุณมีสภาวะ เช่น เหงื่อออกมาก ท้องร่วง หรืออาเจียน ปรึกษากับแพทย์ถึงวิธีการใช้ยาโคลซาปีนอย่างปลอดภัย

ยานี้อาจทำให้เกิดอาการวิงเวียน ง่วงซึม หรือมองเห็นไม่ชัด อย่าขับรถ ใช้เครื่องจักร หรือทำกิจกรรมที่ต้องการความตื่นตัวหรือการมองเห็นที่ชัดเจนจนกว่าคุณจะสามารถทำได้อย่างปลอดภัย และควรจำกัดปริมาณเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วย

ก่อนการผ่าตัด แจ้งให้แพทย์หรือทันตแพทย์ทราบว่าคุณกำลังใช้ยานี้

ยาในรูปแบบยาน้ำหรือยาเม็ดแบบแตกตัว อาจมีน้ำตาลหรือสารให้ความหวานทดแทนน้ำตาล (aspartame) ยาน้ำยังอาจมีแอลกอฮอล์อีกด้วย จึงควรใช้อย่างระมัดระวังหากคุณเป็นโรคเบาหวาน โรคตับโรคฟีนิลคีโตนูเรีย (phenylketonuria) หรือโรคที่ต้องจำกัด หรือหลีกเลี่ยงสารเหล่านี้ในอาหาร สอบถามแพทย์หรือเภสัชกรถึงวิธีการใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้อย่างปลอดภัย

ผู้สูงอายุอาจมีปฏิกิริยาไวต่อผลข้างเคียงของยานี้ได้มากกว่า โดยเฉพาะอาการท้องผูก ปัสสาวะลำบาก ง่วงซึม วิงเวียน หน้ามืด และระยะคิวทียาว (อ่านเพิ่มเติมด้านบน) อาการง่วงซึม วิงเวียน และหน้ามืด สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการหกล้มได้

ในช่วงตั้งครรภ์ ควรใช้ยานี้เมื่อจำเป็นเท่านั้น ทารกที่เกิดจากแม่ที่ใช้ยานี้ในช่วง 3 เดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์ในนานๆ ครั้ง อาจเกิดอาการกล้ามเนื้อแข็งเกร็งหรือสั่นเทา ง่วงซึม หายใจลำบาก ร้องไห้ไม่หยุด หากคุณสังเกตเห็นอาการเหล่านี้ในทารกแรกเกิด โดยเฉพาะช่วงเดือนแรก โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบทันที

เนื่องจากปัญหาทางจิตใจหรืออารมณ์ที่ไม่ได้รับการรักษา เช่น โรคจิตเภท หรือโรคจิตอารมณ์ สามารถกลายเป็นสภาวะที่รุนแรงได้ อย่าหยุดใช้ยานี้นอกเสียจากแพทย์จะสั่ง หากคุณมีแผนที่ตั้งครรภ์ กำลังตั้งครรภ์ หรือคาดว่าอาจจะตั้งครรภ์ ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับประโยชน์และความเสี่ยงของการใช้ยาระหว่างตั้งครรภ์

ยานี้อาจเข้าสู่น้ำนมแม่ และทำอันตรายต่อทารกได้ ไม่แนะนำการให้นมบุตรระหว่างการใช้ยาโคลซาปีน โปรดปรึกษาแพทย์ก่อนให้นมบุตร

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือ เกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ ในช่วงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์ เพื่อประเมินประโยชน์และความเสี่ยงก่อนใช้ยานี้

ยาคีโตโรแลคจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์ หมวด B โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์ โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา มีดังนี้

  • A = ไม่มีความเสี่ยง
  • B = ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C = อาจจะมีความเสี่ยง
  • D = มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X = ห้ามใช้
  • N = ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยาโคลซาปีน

อาจเกิดอาการน้ำลายไหล ง่วงซึม วิงเวียน หน้ามืด ปวดศีรษะ สั่นเทา มีปัญหากับการมองเห็น (เช่น มองเห็นไม่ชัด) น้ำหนักขึ้น และท้องผูก อาการเหล่านี้ โดยเฉพาะอาการง่วงซึม จะลดลงเมื่อร่างกายของคุณคุ้นเคยกับยา หากอาการเหล่านี้ไม่หายไปหรือรุนแรงขึ้น โปรดแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรในทันที

เพื่อป้องกันอาการท้องผูก ควรรับประทานเส้นใยอาหารให้เหมาะสม ดื่มน้ำให้มากๆ และออกกำลังกายเป็นประจำ หากคุณมีอาการท้องผูกระหว่างใช้ยานี้โปรดปรึกษาแพทย์ในการเลือกใช้ยาระบาย (ยาประเภทกระตุ้นและทำให้อุจจาระอ่อนนุ่ม)

โปรดจำไว้ว่า การที่แพทย์ให้คุณใช้ยาตัวนี้ เนื่องจากคำนวณแล้วว่า ยามีประโยชน์มากกว่าเป็นโทษ และคนที่ใช้ยานี้ส่วนใหญ่ไม่พบผลข้างเคียงที่ร้ายแรงใดๆ

ในนานๆ ครั้ง ยานี้อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น และทำให้เกิดโรคเบาหวาน หรือทำให้โรคเบาหวานรุนแรงขึ้น แจ้งให้แพทย์ทราบในทันที หากคุณมีอาการระดับน้ำตาลในเลือดสูง เช่น ปัสสาวะเพิ่มขึ้น กระหายน้ำเพิ่มขึ้น หากคุณเป็นโรคเบาหวานอยู่แล้ว ควรตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำ และแจ้งผลให้แพทย์ทราบ แพทย์อาจจำเป็นต้องปรับขนาดยาสำหรับโรคเบาหวาน โปรแกรมการออกกำลังกาย หรืออาหารที่รับประทาน

ยานี้ยังอาจทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และเพิ่มระดับของคอเลสเตอรอลหรือไตรกลีเซอไรด์ อาการนี้ควบคู่กับโรคเบาหวานอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ โปรดปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับความเสี่ยงและประโยชน์ของการรักษา

แจ้งให้แพทย์ทราบทันที หากคุณมีผลข้างเคียงที่รุนแรง คือ

  • มีอาการกระตุกที่ใบหน้า หรือกล้ามเนื้ออาการชัก
  • ไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวได้
  • อาการหยุดหายใจขณะนอนหลับ
  • ปัสสาวะติดขัด

รับการรักษาในทันทีหากคุณมีผลข้างเคียงที่รุนแรงมาก คือ

  • วิงเวียนอย่างรุนแรง หมดสติ
  • มีความเปลี่ยนแปลงทางจิตใจหรืออารมณ์
  • หายใจติดขัด ขณะออกกำลังกาย
  • อ่อนแรงเฉียบพลัน
  • มีอาการปวด รอยแดง หรืออาการบวมที่มือหรือเท้า
  • คลื่นไส้อาเจียนบ่อยครั้ง
  • ปวดท้อง
  • ผิวหนังหรือดวงตาเป็นสีเหลือง

ในนานๆ ครั้งยานี้อาจทำให้เกิดสภาวะที่รุนแรงมาก อย่างกลุ่มอาการนิวโรเล็ปติกร้ายแรง (neuroleptic malignant syndrome) รับการรักษาในทันทีหากคุณมีอาการ คือ

  • เป็นไข้
  • กล้ามเนื้อมีอาการแข็งเกร็ง ปวด กดเจ็บ
  • อ่อนแรง เหนื่อยล้าอย่างรุนแรง
  • สับสน
  • เหงื่อออก
  • หัวใจเต้นเร็วหรือผิดปกติ
  • ปัสสาวะสีคล้ำ
  • มีปัญหาเกี่ยวกับไต เช่น ปริมาณของปัสสาวะเปลี่ยนแปลง

การแพ้ยาที่รุนแรงต่อยานี้ ค่อนข้างเกิดขึ้นได้ยาก แต่จำเป็นต้องได้รับการรักษาที่ทันท่วงที อาการของการแพ้รุนแรง ได้แก่

  • ผดผื่น คันหรือบวม โดยเฉพาะบริเวณใบหน้า ลิ้น และลำคอ
  • วิงเวียนขั้นรุนแรง
  • หายใจติดขัด

ผลข้างเคียงที่กล่าวมาข้างต้น อาจไม่ได้เกิดกับทุกคน หรือบางคนอาจมีอาการอื่นนอกเหนือจากนี้ หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยาที่อาจมีปฏิกิริยากับยานี้ได้แก่ เมโธโคลพราดีน (metoclopramide)

ยาอื่นอาจส่งผลกระทบต่อการกำจัดยาโคลซาปีนออกจากร่างกาย และส่งผลกระทบต่อการทำงานของยานี้ เช่น

  • ยาฟลูวอกซามีน (fluvoxamine)
  • ยาไรฟามัยซิน (rifamycin) อย่างไรฟาบิวทิน (rifabutin) หรือไรแฟมพิน (rifampin)
  • สมุนไพรเซนต์จอห์น (St. John’s wort)
  • ยาที่ใช้รักษาอาการชัก อย่างคาร์บามาเซพีน (carbamazepine) หรือเฟนีโทอิน (phenytoin)

แจ้งให้แพทย์ทราบ หากคุณใช้ผลิตภัณฑ์อื่นที่อาจทำให้เกิดอาการง่วงซึม เช่น

  • ยาแก้ปวดหรือบรรเทาอาการไอโอปิออยด์ (opioid) อย่างโคดีน (codeine) หรือไฮโดรโคโดน (hydrocodone)
  • สุรา กัญชา
  • ยานอนหลับหรือยาสำหรับอาการวิตกกังวล อย่างอัลพราโซแลม (alprazolam) ลอราซีแพม (lorazepam) หรือโซลพิเดม (zolpidem)
  • ยาคลายกล้ามเนื้อ อย่างคาริโซโพรดอล (carisoprodol) หรือไซโคลเบนซาพรีน (cyclobenzaprine)
  • ยาต้านฮีสตามีน (antihistamines) อย่างเซทิริซีน (cetirizine) หรือไดเฟนไฮดรามีน (diphenhydramine)

ควรอ่านฉลากยาของยาที่คุณใช้ทั้งหมด เช่น ยาแก้แพ้หรือยาแก้ไอแก้หวัด เนื่องจากยาเหล่านี้อาจมีส่วนประกอบที่ทำให้เกิดอาการง่วงซึมได้ โปรดสอบถามเภสัชกรสำหรับวิธีการใช้ยาเหล่านี้อย่างปลอดภัย

ควันบุหรี่อาจลดระดับของยานี้ในเลือดได้ แจ้งให้แพทย์ทราบ หากคุณสูบบุหรี่หรือหยุดสูบบุหรี่ไม่นาน

ยาโคลซาปีนอาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น

คุณควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรด้วยว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง สมุนไพร เป็นต้น และเพื่อความปลอดภัย คุณไม่ควรเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาเองโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาโคลซาปีนอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาโคลซาปีนอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาโคลซาปีนสำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคจิตเภท (Schizophrenia)

  • ขนาดยาเริ่มต้น : 12.5 มก. รับประทานวันหนึ่งหรือสองครั้ง
  • การปรับขนาดยาและขนาดยาปกติ : อาจเพิ่มขนาดยา 25 มก. ถึง 50 มก. ต่อวันไปที่ขนาดยาเป้าหมายที่ 300 มก. ถึง 450 มก. ต่อวัน (แบ่งให้ยา) ในตอนท้ายของสัปดาห์ที่ 2 การเพิ่มขนาดยาหลังจากนั้นอาจเพิ่มขึ้นถึง 100 มก. สัปดาห์ละหนึ่งหรือสองครั้ง
  • ขนาดยาสูงสุด : 900 มก. ต่อวัน

คำแนะนำ 

  • จำนวนของเม็ดเลือดขาวนิวโทรฟิลในเลือด (The absolute neutrophil count) ต้องอยู่ที่ 1,500 ไมโครลิตรหรือมากกว่า สำหรับประชากรทั่วไป และควรมีอย่างน้อย 1,000 ไมโครลิตร สำหรับผู้ป่วยที่มีหลักฐานว่าเป็นโรคบีอีเอ็น (Benign Ethnic Neutropenia หรือ BEN) ก่อนเริ่มต้นการรักษา ควรเฝ้าระวังจำนวนของเม็ดเลือดขาวนิวโทรฟิลในเลือด เป็นประจำเพื่อดำเนินการรักษาต่อไป
  • อาจจำเป็นต้องใช้ยาในขนาดต่ำ ปรับขนาดยาอย่างช้าๆ และแบ่งให้ยาเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดความดันโลหิตต่ำเมื่อลุกยืน (orthostatic hypotension) หัวใจเต้นช้ากว่าปกติ (bradycardia) และโรควูบ (syncope)
  • เมื่อระงับการรักษาเป็นเวลา 2 วันขึ้นไป ให้เริ่มต้นใช้ยาอีกครั้งที่ขนาด 12.5 มก. วันละหนึ่งหรือสองครั้ง อาจเพิ่มขนาดยาไปกลับไปยังขนาดยาเดิมได้เร็วกว่าการรักษาครั้งก่อนขึ้นอยู่กับความสามารถในการทนต่อยา

การใช้ยา 

  • เพื่อรักษาผู้ป่วยโรคจิตเภทขั้นรุนแรงที่ไม่ตอบสนองต่อ การรักษาด้วยยาระงับอาการทางจิตตามปกติ (antipsychotic treatment)
  • เพื่อลดความเสี่ยงในการกำเริบของพฤติกรรมอยากฆ่าตัวตายในผู้ป่วยโรคจิตเภทหรือโรคจิตอารมณ์ หรือผู้ที่ได้รับการตัดสินว่ามีความเสี่ยงเรื้อรังในการเกิดพฤติกรรมอยากฆ่าตัวตายกำเริบ ขึ้นอยู่กับประวัติทางการแพทย์และสถานะทางการแพทย์ล่าสุด

การปรับขนาดยาสำหรับไต

ไตบกพร่องอย่างมีนัยสำคัญ : อาจจำเป็นต้องลดขนาดยา

การปรับขนาดยาสำหรับตับ

ตับบกพร่องอย่างมีนัยสำคัญ : อาจจำเป็นต้องลดขนาดยา

การปรับขนาดยา

  • ผู้ป่วยสูงอายุ : ควรระมัดระวังในการใช้ยาโดยคำนึงถึงความถี่ในการลดลงของการทำงานของไต ตับ หรือหัวใจ เช่นเดียวกับโรคอื่นที่เป็นร่วมกันและการใช้ยาอื่นร่วมกัน
  • กระบวนการสร้างและสลายเอนไซม์ไซโตโครมพี450 2ดี6 ต่ำ (CYP450 2D6 Poor Metabolizers) : อาจจำเป็นต้องลดขนาดยา

การหยุดใช้ยา

  • การหยุดใช้ยาอย่างมีแบบแผน : ค่อยๆ ลดขนาดยาลงมานานกว่า 1 ถึง 2 สัปดาห์
  • การหยุดใช้ยาอย่างฉับพลัน เนื่องจากภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำระดับปานกลางถึงรุนแรง : ควรเฝ้าระวังจำนวนของเม็ดเลือดขาวนิวโทรฟิลในเลือดแต่ละโปรแกรมกลยุทธ์การประเมินความเสี่ยงและบรรเทาอาการโคลซาปีน (Clozapine REMS program)
  • การหยุดใช้ยาอย่างฉับพลันโดยไม่เกี่ยวข้องกับภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ : เฝ้าระวังจำนวนของเม็ดเลือดขาวนิวโทรฟิลในเลือดต่อไปจนกว่าจำนวนของเม็ดเลือดขาวนิวโทรฟิลในเลือดจะอยู่ที่อย่างน้อย 1,500 ไมโครลิตร สำหรับประชากรทั่วไป หรืออย่างน้อย 1,000 ไมโครลิตร สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคบีอีเอ็น
  • ผู้ป่วยที่มีไข้ เช่น 38.5 องศาเซียสเซียสขึ้นไป :เฝ้าระวังจำนวนของเม็ดเลือดขาวนิวโทรฟิลในเลือดต่อไปเป็นเวลาเพิ่มเติม 2 สัปดาห์หลังจากหยุดการรักษา
  • เมื่อหยุดใช้ยา ควรเฝ้าระวังผู้ป่วยทุกรายว่ามีการกำเริบของอาการจิตเภทและอาการที่เกี่ยวข้องกับระดับโคลิเนอร์จิคที่เปลี่ยนแปลง (cholinergic rebound) อย่าง เหงื่อออกมาก ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน และท้องร่วงหรือไม่
  • ใช้ร่วมกับยายับยั้งไซโตโครมพี450 1เอ2 (CYP450 1A2 inhibitors) เช่น ฟลูวอกซามีน (fluvoxamine) ไซโปรฟลอกซาซิน (ciprofloxacin) อีนอกซาซิน (enoxacin)
  • เมื่อเริ่มต้นการรักษาหรือเพิ่มยายับยั้งไซโตโครมพี450 1เอ2 ขนาดแรงเข้ากับการรักษาด้วยยาโคลซาปีน : ลดขนาดยาโคลซาปีนลงมาที่หนึ่งในสาม
  • เมื่อหยุดใช้ยายับยั้งไซโตโครมพี450 1เอ2 ขนาดแรงและใช้ยาโคลซาปีนต่อ : เพิ่มขนาดของยาโคลซาปีนโดยขึ้นอยู่กับการตอบสนองทางการแพทย์

ใช้ร่วมกับยายับยั้งไซโตโครมพี450 1เอ2 ขนาดปานกลางหรือเบา เช่น ยาคุมกำเนิดแบบรับประทานหรือแคฟเฟอีน (caffeine) ยายับยั้งไซโตโครมพี450 2ดี6 (CYP450 2D6 Inhibitors) ยายับยั้งไซโตโครมพี450 3เอ4 (CYP450 3A4 Inhibitors) เช่น ไซเมทิดีน (cimetidine) เอสซิตาโลแพรม (escitalopram) อิริโทรมัยซิน (erythromycin) พาร็อกซีทีน (paroxetine) บูโพรพิออน (bupropion) ฟลูออกซิทีน (fluoxetine) ควินิดีน (quinidine) ดูล็อกซีทีน (duloxetine) เทอร์บินาฟีน (terbinafine) เซอร์ทราลีน (sertraline)

เมื่อเริ่มต้นการรักษาด้วยยาโคลซาปีน หรือเพิ่มยายับยั้งไซโตโครมพี450 1เอ2 ขนาดปานกลางหรือเบา ยายับยั้งไซโตโครมพี450 2ดี6 หรือยายับยั้งไซโตโครมพี450 3เอ4 เข้าไปในยาโคลซาปีน :

ควรมีการเฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์และลดขนาดยาโคลซาปีนหากจำเป็น

เมื่อหยุดใช้ยายับยั้งไซโตโครมพี 450 1เอ2 ขนาดปานกลางหรือเบา หรือ ยายับยั้งไซโตโครมพี 450 2ดี6 หรือยายับยั้งไซโตโครมพี450 3เอ4 แล้วใช้ยาโคลซาปีนต่อ :

ควรเฝ้าระวังเพื่อดูว่าประสิทธิภาพเพียงพอหรือไม่และอาจพิจารณาเพิ่มขนาดยาโคลซาปีนหากจำเป็น

ใช้ร่วมกับยาเหนี่ยวนำไซโตโครมพี450 3เอ4 (CYP450 3A4 Inducers) ขนาดแรง เช่นเฟนิโทอิน (phenytoin) คาร์บาเมเซพีน (carbamazepine) สมุนไพรเซนต์จอห์น (St. John’s wort) และไรแฟมพิน (rifampin) :

  • ไม่แนะนำการใช้ร่วมกับยาโคลซาปีน แต่หากจำเป็นต้องใช้ยาเหนี่ยวนำไซโตโครมพี450 3เอ4 อาจจำเป็นต้องเพิ่มขนาดยาโคลซาปีน ควรเฝ้าระวังเพื่อดูว่าประสิทธิภาพเพียงพอหรือไม่
  • เมื่อหยุดใช้ยาเหนี่ยวนำไซโตโครมพี450 3เอ4ขนาดแรง และใช้ยาโคลซาปีนต่อ : ให้ลดขนาดของยาโคลซาปีนโดยขึ้นอยู่กับการตอบสนองทางการแพทย์
  • ใช้ร่วมกับยาเหนี่ยวนำไซโตโครมพี450 1เอ2 ขนาดปานกลางหรือเบา (เช่นสูบบุหรี่) หรือยาเหนี่ยวนำไซโตโครมพี450 3เอ4
  • เมื่อเริ่มต้นการรักษาด้วยยาโคลซาปีน หรือเพิ่มยาเหนี่ยวนำไซโตโครมพี450 1เอ2 ขนาดปานกลางหรือเบา หรือยาเหนี่ยวนำไซโตโครมพี450 3เอ4 เข้าในการรักษาด้วยยาโคลซาปีน : ควรเฝ้าระวังเพื่อดูว่าประสิทธิภาพเพียงพอหรือไม่และอาจพิจารณาเพิ่มขนาดยาโคลซาปีนหากจำเป็น
  • เมื่อหยุดใช้ยาเหนี่ยวนำไซโตโครมพี450 1เอ2 ขนาดปานกลางหรือเบา หรือยาเหนี่ยวนำไซโตโครมพี450 3เอ4 และใช้ยาโคลซาปีนต่อ : ควรมีการเฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์และลดขนาดยาโคลซาปีนหากจำเป็น

คำแนะนำอื่นๆ

คำแนะนำการใช้ยา

ยาเม็ดสำหรับรับประทาน

  • อาจรับประทานพร้อมกับอาหารหรือรับประทานแยกต่างหาก
  • หากลืมใช้ยานานมาก 2 วันให้เริ่มใช้ยาใหม่ที่ขนาด 12.5 มก. วันละหนึ่งหรือสองครั้ง

ยาเม็ดแบบแตกตัว

  • อย่าแกะยาออกจากห่อจนกว่าจะพร้อมใช้ ลอกแผ่นฟอยด์ออกแล้วแกะยาออกมา  อย่าดันยาทะลุแผ่นฟอยด์เพราะอาจทำให้ยาเสียหาย
  • วางยาเม็ดลงในปากแล้วปล่อยให้ละลาย กลืนยาลงไปพร้อมกับน้ำลาย ไม่จำเป็นต้องดื่มน้ำเพิ่มและสามารถเคี้ยวยาได้

ยาแขวนตะกอนสำหรับรับประทาน

  • คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญบางท่าน : เขย่าขวดให้ดีเป็นเวลา 90 วินาที ก่อนใช้งาน 24 ชั่วโมง เพื่อให้ตะกอนที่เกิดขึ้นระหว่างการเก็บยากลับไปแขวนตะกอน
  • ก่อนใช้ยาควรเขย่าขวด 10 วินาที สำหรับครั้งแรกในการใช้งาน ให้เปิดฝาออกและกดตัวรับเข็มฉีดยาเข้าไปในขวดเพื่อเปิดขวดยา
  • สูบอากาศให้เต็มกระบอกฉีดยาสำหรับรับประทาน ต่อกระบอกฉีดยาเข้ากับขวดยาแล้วดันอากาศเข้าไปในขวดยา
  • สูบยาขนาดที่กำหนดเข้าไปในกระบอกฉีดยา รับประทานยาโดยตรงจากกระบอกฉีดยา
  • ยาที่ตวงแล้วควรใช้ในทันที อย่าเก็บยาแขวนตะกอนไว้ในกระบอกฉีดยา
  • ล้างกระบอกฉีดยาด้วยน้ำอุ่นทุกครั้งหลังใช้งาน สามารถปิดฝาขวดยาได้โดยไม่ต้องถอดตัวรับกระบอกฉีดยา

การเก็บรักษา

ยาแขวนตะกอนสำหรับรับประทาน

  • อย่าเก็บไว้ในตู้เย็นหรือช่องแช่แข็ง เก็บให้พ้นจากแสง
  • ยาจะมีความเสถียรอยู่เป็นเวลา 100 วันหลังจากเปิดขวดให้ยาครั้งแรก

ยาแตกตัวสำหรับรับประทาน 

  • เก็บยาไว้ในบรรจุภัณฑ์เดิมจนกว่าจะพร้อมใช้งาน

ทั่วไป 

  • เนื่องจากความเสี่ยงในการเกิดภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำที่รุนแรง ยานี้จึงอยู่ภายใต้โปรแกรมที่จำกัด เรียกว่าโปรแกรมกลยุทธ์การประเมินความเสี่ยงและบรรเทาอาการโคลซาปีน (Clozapine REMS program) อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.clozapinerems.com

การเฝ้าระวัง

  • รับผลการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC) พื้นฐาน รวมถึงค่าจำนวนของเม็ดเลือดขาวนิวโทรฟิลในเลือด เพื่อการเริ่มต้นการรักษาจำนวนของเม็ดเลือดขาวนิวโทรฟิลในเลือดนั้นควรมีอย่างน้อย 1,500 ไมโครลิตรสำหรับประชากรทั่วไป และอย่างน้อย 1,000ไมโครลิตรสำหรับผู้ป่วยที่มีหลักฐานว่าเป็นโรคบีอีเอ็น ดังนั้นจึงควรตรวจสอบและเฝ้าระวังจำนวนของเม็ดเลือดขาวนิวโทรฟิลในเลือดตามโปรแกรมกลยุทธ์การประเมินความเสี่ยงและบรรเทาอาการโคลซาปีน
  • เฝ้าระวังอิเล็กโทรไลต์ เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดอาการระยะคิวทียาว (QT prolongation)
  • เฝ้าระวังสถานะของหัวใจ
  • เฝ้าระวังการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำตาลในเลือด น้ำหนักตัว และลิพิด (lipid )
  • เฝ้าระวังอาการที่แย่ลง ความเสี่ยงในการฆ่าตัวตาย

คำแนะนะสำหรับผู้ป่วย

  • ผู้ป่วยควรรับทราบถึงความเสี่ยงในการเกิดภาวะขาดเม็ดเลือดขาว (agranulocytosis) และควรปฏิบัติตามโปรแกรมกลยุทธ์การประเมินความเสี่ยงและบรรเทาอาการโคลซาปีนที่ออกแบบมาเพื่อลดความเสี่ยงนี้ ผู้ป่วยควรแจ้งให้แพทย์ทราบในทันทีหากเกิดภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำอย่างรุนแรง หรือการติดเชื้อที่ไม่หายไป เช่น เป็นไข้ อ่อนแรง เซื่องซึม เจ็บคอ
  • ผู้ป่วยควรทราบเกี่ยวกับความเสี่ยงในการเกิดความดันโลหิตต่ำเมื่อลุกยืน (orthostatic hypotension) หัวใจเต้นช้ากว่าปกติ (bradycardia) และโรควูบ (syncope) เช่นเดียวกับความเสี่ยงในการเกิดระยะคิวทียาว ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการใช้ยาใหม่หรือการใช้ยาที่หาซื้อหรือการดื่มสุรา
  • ยานี้อาจส่งผลเสียต่อการตัดสินใจ ความคิด หรือทักษะการใช้เครื่องยนต์ และมีความเสี่ยงในการเกิดอาการชัก ผู้ป่วยควรระมัดระวังในการทำกิจกรรมที่อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อตนเองหรือผู้อื่น หากมีการหมดสติกะทันหัน
  • ผู้ป่วยควรติดต่อผู้เชี่ยวชาญการดูแลสุขภาพ หากลืมใช้ยามานานกว่า 2 วัน
  • ผู้ป่วยควรแจ้งให้แพทย์ทราบหากตั้งครรภ์ มีแผนที่จะตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร

ขนาดยาโคลซาปีนสำหรับเด็ก

ยังไม่มีการพิสูจน์ความความปลอดภัยและประสิทธิภาพของขนาดยานี้สำหรับผู้ป่วยเด็ก  ยานี้อาจเป็นอันตรายต่อเด็กได้ ดังนั้น จึงควรทำความเข้าใจกับความปลอดภัยของยาก่อนการใช้ยา สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดติดต่อแพทย์หรือเภสัชกร

รูปแบบของยา

ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้

  • ยาเม็ด

กรณีฉุกเฉินหรือการใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติ ไม่ควรเพิ่มขนาดยาเป็นสองเท่า

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา