backup og meta

มาร์จอรัม (Marjoram)

สรรพคุณของ Marjoram มีอะไรบ้าง

สามารถใช้ส่วนดอก ใบ และน้ำมันในการทำยารักษาโรคและอาการต่างๆดังต่อไปนี้

  • ไข้หวัดและน้ำมูกไหลของเด็กทารกและวัยหัดเดิน
  • ไอแห้งเรื้อรัง
  • จมูกและคออักเสบ
  • เจ็บหู
  • ระบบทางเดินอาหารมีปัญหา เช่น ไม่อยากอาหาร โรคตับ นิ่วในถุงน้ำดี, น้ำย่อย และอาการเกร็งหน้าท้อง
  • ภาวะวัยหมดประจำเดือน
  • อารมณ์แปรปรวนในช่วงมีประจำเดือน
  • ช่วงมีประจำเดือน
  • การไหลของน้ำนม
  • โรคเบาหวาน
  • ปัญหาในการนอน
  • การเกร็งของกล้ามเนื้อ
  • เคล็ดขัดยอก
  • อาการเจ็บตามรอยฟกช้ำและหลัง
  • กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
  • อาการตะคริวหน้าท้อง
  • ภาวะซึมเศร้า
  • อาการเวียนหัว
  • ไมเกรน
  • อาการปวดหัวประสาท
  • ปวดเส้นประสาท
  • ปรสิต
  • ยาขับปัสสาวะ
  • การไหลเวียนของเลือด

นอกจากนี้ Marjoram ยังสามารถนำไปใช้ในด้านอื่นๆได้อีกหากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมควรปรึกษาแพทย์ เภสัชกร และผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร

กลไกการทำงาน Marjoram เป็นอย่างไรบ้าง

เนื่องจากงานวิจัยในปัจจุบันยังไม่มีการกล่าวถึงมากนักเกี่ยวกับการทำงานของ Marjoram ดังนั้นจึงควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์และเภสัชกรหากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

ข้อควรระวังในการใช้ Marjoram

สิ่งที่ควรรู้ก่อนใช้ Marjoram มีอะไรบ้าง

หากคุณมีคุณสมบัติหรืออาการตามด้านล่างนี้ควรปรึกษาแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรก่อนทาน

  • ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ยาที่จะสามารถรับประทานได้ควรมีแพทย์สั่งจ่ายเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามก็ยังไม่มีงานวิจัยใดที่ยืนยันว่าสามารถทานได้ในช่วงนี้ เพราะฉะนั้นควรหลีกเลี่ยงจะดีกว่า
  • ทานยาอื่นๆอยู่ ที่ไม่ได้รับการสั่งจ่ายจากแพทย์
  • มีอาการแพ้สารใน  Marshmallow ยาและสมุนไพรต่างๆ
  • ภูมิแพ้ชนิดอื่นๆเช่น แพ้อาหาร แพ้สีย้อมผม แพ้วัตถุกันเสีย หรือแพ้สัตว์ต่างๆ เป็นต้น

โดยทั่วไปแล้ว ข้อตกลงเกี่ยวกับสมุนไพรจะมีข้อจำกัดน้อยกว่ายารักษาโรค แต่ยังคงเน้นความปลอดภัยอ้างอิงโดยงานวิจัยต่างๆซึ่งข้อได้เปรียบของการทานสมุนไพรเสริมคือการทราบถึงความเสี่ยงอันตรายที่จะเกิดขึ้นก่อนการใช้จริง ทั้งนี้ทั้งนั้นควรปรึกษาแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร

การใช้ประโยชน์จาก Marjoram ให้ปลอดภัยควรทำอย่างไร

สำหรับเด็กMarjoram ไม่สามารถใช้ได้กับเด็ก งดใช้กับเด็กเป็นอันขาด

ช่วงตั้งครรภ์และให้นมบุตร : ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลใดที่ระบุถึงการใช้สมุนไพรนี้ในระหว่างตั้งครรภ์และให้นมบุตรได้อย่างปลอดภัย ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการใช้

การผ่าตัด : งดใช้ Marjoram ก่อนผ่าตัดอย่างน้อย 2 สัปดาห์

ผลข้างเคียงของ Marjoram

ผลข้างเคียงจากการทาน Marjoram มีอะไรบ้าง

หากใช้ Marjoram ในระยะยาวอาจทำให้เกิดโรคมะเร็งได้ และอาจทำให้ผิวและดวงตามีความระคายเคือง

ผลข้างเคียงดังกล่าวอาจไม่เกิดกับทุกคนและอาจมีผลข้างเคียงอื่นๆหากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์

ปฏิกิริยาระหว่างยาของ Marjoram มีอะไรบ้าง

การทานสมุนไพรนี้อาจมีผลต่อยาที่ทานในปัจจุบัน ดังนั้นควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรและแพทย์ก่อนใช้

ยาที่สามารถทำปฏิกิริยากับ Marjoram และจะเกิดอาการต่างๆได้ดังต่อไปนี้

ยาลิเทียม (Lithium)

Marjoram จะลดประสิทธิภาพที่จะได้รับของร่างกายต่อยาลิเทียม ดังนั้นจะเกิดสารตกค้างและผลกระทบที่รุนแรง

ภาวะเลือดออกผิดปกติ: Marjoram อาจทำให้เลือดแข็งตัวขึ้นและเพิ่มโอกาสที่จะเป็นรอยฟกช้ำได้ง่ายและนำไปสู่ภาวะเลือดออกผิดปกติในที่สุด

อัตราการเต้นของหัวใจช้าลง : Marjoram จะทำให้หัวใจเต้นช้าลงเรื่อยๆ

โรคเบาหวาน : Marjoramจะมีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ที่เป็นเบาหวานที่กำลังทานยาที่รักษาอาการเบาหวานในขณะเดียวกันด้วย

การอุดตันทางเดินอาหาร : Marjoram อาจมีผลกระทบต่อผู้ที่มีการอุดตันในสำไส้ได้

แผล ปัญหาเกี่ยวกับปอด อาการชัก การอุดตันของทางเดินปัสสาวะ

ปริมาณการทาน Marjoram

ข้อมูลนี้ไม่ใช้คำแนะนำทางการแพทย์ ดังนั้นควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรและแพทย์ก่อนทาน Marjoram

ปริมาณการทาน Marjoram ที่เหมาะสม

ยาชง: Marjoram สดๆปริมาณ 2 ช้อนชาผสมน้ำ 1 ถ้วย สามารถดื่มวันละครึ่งหรือ1ถ้วยก็ได้

น้ำผลไม้: ใส่ Marjoramในปริมาณ 1 ช้อนชา ทานวันละ 3 มื้อ

โลชั่น: ใส่ Marjoram ในน้ำมันมะกอกและตากแดดเป็นเวลา 2-3 สัปดาห์

ปริมาณที่ได้รับอาจแตกต่างในแต่ละคนซึ่งขึ้นอยู่กับ อายุ สุขภาพ เป็นต้น ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรและแพทย์เกี่ยวกับปริมาณที่ควรจะได้รับเนื่องจากสมุนไพรเสริมไม่ได้ปลอดภัยเสมอไป ดังนั้นควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรและแพทย์เกี่ยวกับปริมาณที่ควรจะได้รับเนื่องจากยาสมุนไพรไม่ได้ปลอดภัยเสมอไป

รูปแบบของ Marjoram เป็นอย่างไร

Marjoram จะได้รับการบรรจุตามรูปแบบด้านล่างนี้

  • ชาที่ทำมาจากใบและดอก
  • น้ำมัน
  • โลชั่น

***Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ วินิจฉัยหรือการรักษาแต่อย่างใด***

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Marjoram. http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-563-Marjoram.aspx?activeingredientid=563. Accessed December 6, 2016

Marjoram. http://medicinalherbinfo.org/herbs/Marjoram.html. Accessed December 6, 2016

เวอร์ชันปัจจุบัน

07/12/2017

เขียนโดย Ploylada Prommate

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


บทความที่เกี่ยวข้อง

มะก่องข้าว สมุนไพรพื้นบ้านมากคุณประโยชน์

หน่อไม้ (Bamboo shoots)


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 07/12/2017

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา