backup og meta

ฝ่าไฟแดง ปลอดภัยต่อสุขภาพหรือไม่

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 08/03/2022

    ฝ่าไฟแดง ปลอดภัยต่อสุขภาพหรือไม่

    ฝ่าไฟแดง หรือการมีเพศสัมพันธ์ขณะมีประจำเดือน อาจทำให้ผู้หญิงหลายคนรู้สึกไม่มั่นใจและเป็นกังวล ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของกลิ่น ความสะอาด ทั้งยังอาจก่อให้เกิดการติดเชื้อ เช่น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ อย่างไรก็ตาม การฝ่าไฟแดงในคู่รักบางคู่อาจเพิ่มความรู้สึกตื่นเต้นและผ่อนคลาย ทั้งยังอาจช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือน ปวดไมเกรน หรือบรรเทาอาการตะคริวได้อีกด้วย

    ฝ่าไฟแดง คืออะไร

    ฝ่าไฟแดง คือ การมีเพศสัมพันธ์ขณะมีประจำเดือน ซึ่งยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ระบุว่าการมีเพศสัมพันธ์ขณะมีประจำเดือนอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ ในทางกลับกันการมีเพศสัมพันธ์ขณะมีประจำเดือนอาจส่งผลดีต่อสุขภาพ ไม่ว่าจะช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือน บรรเทาอาการตะคริว เนื่องจาก การมีเพศสัมพันธ์จะทำให้ร่างกายหลั่งสารเอ็นดอร์ฟินที่ช่วยลดความเจ็บปวด นอกจากนี้ ยังอาจช่วยบรรเทาอาการปวดหัวหรือปวดไมเกรนในบางคนได้อีกด้วย

    ดังนั้น หากต้องการมีเพศสัมพันธ์ขณะมีประจำเดือนอาจทำได้ตั้งแต่วันแรกของการมีประจำเดือน แต่หากรู้สึกไม่มั่นใจอาจมีเพศสัมพันธ์ในวันที่ 3-5 ของการมีประจำเดือนก็ได้เช่นกัน

    ฝ่าไฟแดง อาจช่วยทำให้ถึงจุดสุดยอดง่ายขึ้น

    เมื่อถึงจุดสุดยอดกล้ามเนื้อมดลูกจะหดตัว จากนั้นฮอร์โมนเอนดอร์ฟิน (Endorphin) ซึ่งเป็นสารแห่งความสุขจะถูกปล่อยออกมาทำให้รู้สึกผ่อนคลาย ลดความเจ็บปวด นอกจากนี้ ประจำเดือนยังสารหล่อลื่นตามธรรมชาติ ซึ่งอาจทำให้การมีเพศสัมพันธ์ง่ายขึ้น ทั้งยังอาจช่วยเพิ่มความตื่นเต้น เพิ่มความรู้สึกทางเพศ ซึ่งอาจส่งผลทำให้ผู้หญิงถึงจุดสุดยอดง่ายขึ้น

    การฝ่าไฟแดงควรมีความปลอดภัย

    ในช่วงที่มีประจำเดือนปากมดลูกของผู้หญิงจะเปิด ซึ่งอาจทำให้ติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ง่าย ดังนั้น คู่รักควรสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งเพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ต่าง ๆ เช่น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เชื้อเอชไอวี รวมถึงป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อม

    หากคู่รักคนใดคนหนึ่งแพ้ถุงยางอนามัย อาจลองใช้ถุงยางอนามัยที่ทำจากโพลียูรีเทน (Polyurethane) แต่หากเกิดอาการแพ้ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง นอกจากนี้ ยังมีอีกหนึ่งทางเลือกที่อาจช่วยการลดการไหลของประจำเดือน นั่นก็คือ การใช้ฟองน้ำคุมกำเนิด (Contraceptive Sponge) ซึ่งจะช่วยดักจับเลือดบริเวณส่วนบนของช่องคลอดเช่นเดียวกับถ้วยรองรับประจำเดือน ทั้งยังช่วยในการคุมกำเนิดและป้องกันการตั้งครรภ์อีกด้วย

    อย่างไรก็ตาม เนื่องด้วยขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมของประเทศไทย การมีเพศสัมพันธ์ขณะมีประจำเดือน อาจยังไม่ได้รับการยอมรับมากนัก ดังนั้น คุณควรปรึกษาและพูดคุยกับคู่รักของตนอย่างเปิดเผยเพื่อให้เข้าใจตรงกัน เพราะสิ่งสำคัญคือต้องเคารพความรู้สึกของคู่รัก เพื่อป้องกันไม่ให้มีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ในภายหลัง

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


    เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 08/03/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา